จักรพรรดิฮิงาชิยามะ

(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิฮิงะชิยะมะ)

อาซาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 朝仁โรมาจิAsahito) ได้รับการเลื่อนพระเกียรติหลังสวรรคตเป็น จักรพรรดิฮิงาชิยามะ (ญี่ปุ่น: 東山天皇โรมาจิHigashiyama-tennō; 21 ตุลาคม ค.ศ. 1675 – 16 มกราคม ค.ศ. 1710) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 113 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[1][2] ครองสิริราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1687 จนกระทั่งสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1709 ตรงกับศักราชเก็นโรกุในยุคเอโดะ[3]

จักรพรรดิฮิงาชิยามะ
東山天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์2 พฤษภาคม ค.ศ. 1687 – 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1709
ก่อนหน้าเรเง็ง
ถัดไปนากามิกาโดะ
โชกุน
ประสูติ21 ตุลาคม ค.ศ. 1675(1675-10-21)
เกียวโต จังหวัดเกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
อาซาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 朝仁โรมาจิAsahito)
สวรรคต16 มกราคม ค.ศ. 1710(1710-01-16) (34 ปี)
เกียวโต จังหวัดเกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
ฝังพระศพสึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ เกียวโต
คู่อภิเษกยูกิโกะ (สมรส 1697)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิฮิงาชิยามะ (東山院 หรือ 東山天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิเรเง็ง
พระราชมารดามัตสึกิ มูเนโกะ [ja] (พระราชมารดา)
ทากัตสึกาซะ ฟูซาโกะ (รับเลี้ยง)

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของฮิงาชิยามะ

แก้

ในปี เท็นนะ ที่ 2 ตรงกับ ค.ศ. 1682 เจ้าชายอะซะฮิโตะขณะมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษาได้รับการสถาปนาจากจักรพรรดิเรเง็งผู้เป็นพระราชบิดาให้ขึ้นเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์โดยได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่หลังจากเว้นว่างไปกว่า 300 ปี

จักรพรรดิเรเง็งได้สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายอะซะฮิโตะพระชนมายุเพียง 11 พรรษาขึ้นเป็น จักรพรรดิฮิงะชิยะมะ เมื่อวันที่ 21 เดือน 3 ปี โจเคียว ที่ 4 ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1687 โดยได้จัดพิธีราชาภิเษกในอีก 4 วันต่อมาคือวันที่ 25 เดือน 3 ปี โจเคียว ที่ 4 ตรงกับวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1687 หลังจากสละราชบัลลังก์แล้วอดีตจักรพรรดิเรเง็งได้เสด็จไปประทับที่ พระราชวังหลวงเซนโต

ซึ่งพระนามของพระองค์มีที่มาจากชื่อเขต ๆ หนึ่งใน นครเคียวโตะ คือ เขตฮิงะชิยะมะ โดยในรัชสมัยนี้ความสัมพันธ์ของราชสำนักกับบะคุฟุเริ่มดีขึ้น

หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 22 ปีจักรพรรดิฮิงะชิยะมะได้สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายยะซุฮิโตะพระราชโอรสองค์ที่ 5 ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดินะกะมิกะโดะ เมื่อวันที่ 21 เดือน 6 ปี โฮเอะ ที่ 6 ตรงกับวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1709 โดยอดีตจักรพรรดิฮิงะชิยะมะได้กุมพระราชอำนาจเหนือพระราชโอรสพร้อมกับอดีตจักรพรรดิเรเง็ง

หลังจากอดีตจักรพรรดิฮิงะชิยะมะเป็น ไดโจเท็นโน (มหาธรรมราชา) ได้ไม่กี่เดือนก็ประชวรและเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 17 เดือน 12 ปี โฮเอะ ที่ 6 ตรงกับวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1710 ขณะมีพระชนมายุเพียง 34 พรรษา

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้

ฮิงาชิยามะมีพระราชโอรสธิดาอย่างน้อย 11 พระองค์

พระมเหสี

แก้
บรรดาศักดิ์ พระนาม พระราชสมภพ สวรรคต พระราชบิดา พระราชธิดา
ชูงู เจ้าหญิงยูกิโกะ (ญี่ปุ่น: 幸子女王)
(ภายหลัง: โชชูมนอิง - 承秋門院)
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1680 18 มีนาคม ค.ศ. 1720 อาริซูงาวะ-โนะ-มิยะ ยูกิฮิโตะ  • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงอากิโกะ

พระสนม

แก้
พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระบิดา พระโอรสธิดา
คูชิเงะ โยชิโกะ (ญี่ปุ่น: 櫛笥賀子โรมาจิKushige Yoshiko)
(ภายหลัง: ชิง-ชูเก็มมนอิง - 新崇賢門院)
ไม่ทราบ ไม่ทราบ คูชิเงะ ทากาโตโมะ  • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายอิจิ
 • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายนิ
 • พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายฮิซะ
 • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงโทมิ
 • พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายยาซูฮิโตะ
(ภายหลัง จักรพรรดินากามิกาโดะ)
 • พระราชโอรสองค์ที่ 6: เจ้าชายคันอิง-โนะ-มิยะ นาโอฮิโตะ
เรเซ สึเนโกะ ญี่ปุ่น: 冷泉経子โรมาจิReizei Tsuneko ค.ศ. 1678 ค.ศ. 1755 ไม่ทราบ  • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายนักบวชโคกัง
ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ทากัตสึจิ นางากาซุ
(อีกชื่อ: ซูงาวาระ - 菅原)
 • พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงโคเมียวโจอิง
 • พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงโชชูกุ

พระราชโอรสธิดา

แก้
สถานะ พระนาม พระราชสมภพ สวรรคต พระราชมารดา สมรส พระราชโอรสธิดา
01 พระราชโอรสองค์แรก เจ้าชายอิจิ (ญี่ปุ่น: 一宮) 1693 1694 คูชิเงะ โยชิโกะ
02 พระราชโอรสองค์ที่ 2 เจ้าชายนิ (ญี่ปุ่น: 二宮) 1696 1698 คูชิเงะ โยชิโกะ
03 พระราชโอรสองค์ที่ 3 เจ้าชายนักบวชโคกัง (ญี่ปุ่น: 公寛法親王) 1697 1738 เรเซ สึเนโกะ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
01 พระราชธิดาองค์แรก เจ้าหญิงอากิโกะ (ญี่ปุ่น: 秋子内親王) 1700 1756 เจ้าหญิงยูกิโกะ ฟูชิมิ-โนะ-มิยะ ซาดาตาเกะ
(เจ้าชาย)
ไม่ทราบ
04 พระราชโอรสองค์ที่ 4 เจ้าชายฮิซะ (ญี่ปุ่น: 寿宮) 1700 1701 คูชิเงะ โยชิโกะ
05 พระราชโอรสองค์ที่ 5 เจ้าชายยาซูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 慶仁親王)
(ภายหลังเป็นจักรพรรดินากามิกาโดะ)
1702 1737 คูชิเงะ โยชิโกะ โคโนเอะ ฮิซาโกะ  • เจ้าชายเทรูฮิโตะ
(ภายหลัง: จักรพรรดิซากูรามาจิ)
 • เจ้าหญิงโชซัง
 • เจ้าชายนักบวชจุนนิง
 • กับอีก 14 พระองค์...
02 พระราชธิดาองค์ที่ 2 เจ้าหญิงโทมิ (ญี่ปุ่น: 福宮) 1703 1705 คูชิเงะ โยชิโกะ
06 พระราชโอรสองค์ที่ 6 เจ้าชายนาโอฮิโตะแห่งคันอิง-โนะ-มิยะ (ญี่ปุ่น: 閑院宮直仁親王) 1704 1753 คูชิเงะ โยชิโกะ ซาเอมง-โนะ-ซูเกะ ซานูกิ ซูเกฮิโตะ, เจ้าชายคันอิง
(พระราชบิดาของจักรพรรดิโคกากุ)
03 พระราชธิดาองค์ที่ 3 เจ้าหญิงโคเมียวโจอิง (ญี่ปุ่น: 光明定院宮)
(ทารกตายคลอด)
1707 1707 ธิดาในทากัตสึจิ นางากาซุ
04 พระราชธิดาองค์ที่ 4 เจ้าหญิงโชชูกุ (ญี่ปุ่น: 聖祝女王) 1709 1721 ธิดาในทากัตสึจิ นางากาซุ

พระราชพงศาวลี

แก้

[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 東山天皇 (113)
  2. Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. pp. 117–118.
  3. Titsingh, Isaac (1834). Annales Des Empereurs Du Japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royale de France. pp. 415–416. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
  4. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.

อ่านเพิ่ม

แก้