ราชมังคลากีฬาสถาน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] โดยเป็นสนามกลางหรือสนามหลัก (Main Stadium) ของศูนย์กีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 สนามได้รับการออกแบบโดย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ
ภาพถ่ายภายในราชมังคลากีฬาสถาน ในกรกฎาคม พ.ศ. 2550 | |
ที่ตั้ง | ศูนย์กีฬาหัวหมาก แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
---|---|
ขนส่งมวลชน | สถานี กกท. (กำลังก่อสร้าง) |
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
ความจุ | 51,560 ที่นั่ง (หลังปรับปรุง) 65,000 ที่นั่ง (เป็นม้านั่งและติดตั้งเก้าอี้บางส่วน ในช่วงการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปี 2541) |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2531–2541 |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2541 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2565 |
สถาปนิก | รังสรรค์ ต่อสุวรรณ |
การใช้งาน | |
เอเชียนเกมส์ 1998 กีฬาแห่งชาติ 2543 ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 เอเชียนคัพ 2007 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2559 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2560 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 |
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงดนตรี (คอนเสิร์ต) กลางแจ้ง มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน และอัฒจันทร์ 51,522 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้พับทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย[2]
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2512 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบด้วยกับโครงการจัดสร้างสนามกีฬาที่หัวหมาก ขนาดความจุ 1 แสนคน ด้วยงบประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ตามที่องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท.) นำเสนอมา แต่ยังไม่มีการก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีงบประมาณ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการ กกท.คนแรก เสนอของบประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสนามกีฬากลาง ขนาดความจุ 80,000 ที่นั่ง ภายในศูนย์กีฬาหัวหมาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติร่วมกับสนามศุภชลาศัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบ[3] โดยมอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ออกแบบ และทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้าง พร้อมทั้งจัดจ้าง บริษัท สยามซีเท็ค จำกัด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2531 จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2,443 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 630 ล้านบาท
ต่อมาในระยะที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าให้ความร่วมมือตกแต่งรายละเอียด ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และระบบไฟส่องสว่าง ระบบเสียงเพิ่มเติม การติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา พร้อมราวกันตก โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์ เป็นผู้รับจ้าง รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 550 ล้านบาท แต่ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ตามนโยบายลดค่าใช้จ่ายของนายสุขวิช รังสิตพล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13
และระยะที่ 3 ในช่วงก่อนเปิดการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13[4] ประมาณ 1 เดือน คือ การจัดทำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก และตัวอักษรแสดงชื่อสนามเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อติดตั้งบนกำแพงส่วนนอกอัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง การตกแต่งบริเวณส่วนที่ประทับ และส่วนที่นั่งประธาน รวมทั้งการทาสีภายในบางส่วน ตลอดถึงงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยรวมงบทั้ง 3 ระยะ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,188 ล้านบาท
หลังจากแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เสร็จสิ้นแล้ว มีการปรับปรุงต่อเติม ที่ทำการสมาคมกีฬา, ห้องประชุม และสำนักงานฝ่ายต่างๆ ของ กกท.โดยรอบใต้ถุนอัฒจันทร์ ทำให้ยอดงบประมาณการก่อสร้างสนามแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 1,255,569,337 บาท[5] ซึ่งในปัจจุบัน ใช้รองรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของฟุตบอลทีมชาติไทย หรือสโมสรฟุตบอลของไทย กับฟุตบอลทีมต่างชาติ หรือสโมสรฟุตบอลจากต่างประเทศเช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, ลีดส์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, บาร์เซโลนา และเชลซี เป็นต้น[6]
เหตุการณ์สำคัญ
แก้กีฬา
แก้- 6 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
- 9 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32
- 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[7]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[8]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[9]
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ เรอัลมาดริด[10]
- 6 และ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004
- 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ เรอัลมาดริด[11]
- 8–21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – พิธีเปิดการแข่งขัน และการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย เอเชียนคัพ ครั้งที่ 14
- 8 และ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24
- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[12]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ไทยพรีเมียร์ลีก ออลสตาร์ พบ เชลซี[13]
- 14–16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – เรซ ออฟ แชมเปียนส์ 2012
- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สิงห์ ออลสตาร์ พบ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[14]
- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สิงห์ ออลสตาร์ พบ เชลซี[15]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[16]
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ บาร์เซโลนา[17]
- 10 และ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 – เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014
- 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ไทยแลนด์ ออลสตาร์ พบ เชลซี[18]
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ทรู ออลสตาร์ พบ ลิเวอร์พูล[19]
- 3 และ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ
- 14 และ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45
- 8 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
- 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563 – ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2020
- 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 – ฟุตบอลกระชับมิตร THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 ระหว่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบ ลิเวอร์พูล[20]
- 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – ฟุตบอลไดกิ้น ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พบ ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด[21]
การแข่งขันฟุตบอลระดับทีมชาติ
แก้วันที่ | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รายการ |
---|---|---|---|---|
9 พฤศจิกายน 2561 | ติมอร์-เลสเต | 0–7 | ไทย | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 |
17 พฤศจิกายน 2561 | ไทย | 4–2 | อินโดนีเซีย | |
25 พฤศจิกายน 2561 | ไทย | 3–0 | สิงคโปร์ | |
5 ธันวาคม 2561 | ไทย | 2–2 | มาเลเซีย | |
16 พฤศจิกายน 2566 | ไทย | 1–2 | จีน | ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 |
26 มีนาคม 2567 | ไทย | 0–3 | เกาหลีใต้ | |
11 มิถุนายน 2567 | ไทย | 3-1 | สิงคโปร์ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คอนเสิร์ต
แก้- 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – คอนเสิร์ต 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ โดย คาราบาว
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – บี-เดย์ โดย เบเกอรี่มิวสิก
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 – เทศกาลดนตรีกรุงเทพ (Bangkok Music Festival) โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 – ร่ำไรคอนเสิร์ต โดย อัสนี-วสันต์
- 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – เอสเอ็มทาวน์ไลฟว์’08 โดย เอสเอ็มทาวน์
- 6 เมษายน พ.ศ. 2553 – โชว์คิงเอ็ม
- 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม โดย บอดี้สแลม
- 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 – โคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก
- 7–8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 – เทศกาลฤดูร้อนกรุงเทพฯ (Bangkok Summer Festival)
- 7 เมษายน พ.ศ. 2555 – โคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก 2012
- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – เดอะบอร์นดิสเวย์บอลทัวร์ (Lady Gaga The Born This Way Ball Live in Bangkok) โดย เลดีกากา
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – วันเอเชียทัวร์ 2012 เอ็มเคานท์ดาวน์สไมล์ไทยแลนด์ (One Asia Tour 2012 M Countdown Smile Thailand)
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 – เสียงจริงตัวจริง เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ประกอบด้วยเจนนิเฟอร์ คิ้ม, โจอี้ บอย, สหรัถ สังคปรีชา, อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และลูกทีมอีก 59 คน
- 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 – เอ็มบีซีโคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก
- 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 – ซูเปอร์จอยนท์ คอนเสิร์ต อินไทยแลนด์
- 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – คอนเสิร์ต 40 ปี เสก โลโซ (40 แต่รู้สึกเหมือน 14)
- 14 มีนาคม พ.ศ. 2558 – วันไดเรกชัน ออนเดอะโรดอะเกนทัวร์
- 7 เมษายน พ.ศ. 2560 – อะเฮดฟูลออฟดรีมส์ทัวร์ โดย โคลด์เพลย์
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – Genie Fest 19 ปี กว่าจะร็อกเท่าวันนี้ โดย จีนี่ เรคคอร์ด
- 9–10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 – BODYSLAM FEST วิชาตัวเบา LIVE IN ราชมังคลากีฬาสถาน โดย บอดี้สแลม สังกัด จีนี่ เรคคอร์ด
- 6–7 เมษายน พ.ศ. 2562 – BTS World Tour LOVE YOURSELF (บีทีเอส เวิลด์ทัวร์ เลิฟยัวร์เซล์ฟ) โดย BTS
- 28 เมษายน พ.ศ. 2562 – Ed Sheeran Divide World Tour 2019 โดย เอ็ด ชีแรน
- 15–16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ออกโทป๊อบ 2022[22]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – มารูนไฟฟ์ เวิลด์ทัวร์ 2022[23]
- 7 มกราคม พ.ศ. 2566 – งานประกาศผลรางวัลโกลเดนดิสก์อะวอดส์ 2023[24]
- 11 มีนาคม พ.ศ. 2566 – แฮร์รี สไตลส์ เลิฟ ออน ทัวร์ 2023[25]
- 27–28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – แบล็กพิงก์ บอร์นพิงก์เวิลด์ทัวร์ 2023 ENCORE IN BANGKOK[26]
- 8–9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – Jay Chou Carnival World Tour 2023 IN BANGKOK
- 23-24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – SEVENTEEN TOUR ‘FOLLOW’ TO BANGKOK
- 2 มกราคม พ.ศ. 2567 – งานประกาศผลรางวัลSeoul Music Awards 2024[27]
- 3–4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – โคลด์เพลย์ มิวสิกออฟเดอะสเฟียส์เวิลด์ทัวร์ 2024[28][29]
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – เอ็ด ชีแรน '+ - = ÷ x' ทัวร์ 2024[30]
- 30–31 มีนาคม พ.ศ. 2567 – บรูโน มาส์ ไลฟ์ IN BANGKOK 2024[31][32]
- 4 พฤษภาคม 2567 – BamBam THE 1ST WORLD TOUR ENCORE [AREA 52] IN BANGKOK
- 22–23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – NCT DREAM WORLD TOUR THE DREAM SHOW 3 IN BANGKOK
คอนเสิร์ตที่ยกเลิกการแสดง
แก้- 15–16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – GOT7 2020 WORLD TOUR ‘KEEP SPINNING’ IN BANGKOK ในวันที่ 15–16 ก.พ. 2563 (เนื่องด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้จัดและต้นสังกัดได้ประกาศยกเลิกการแสดง)
- พ.ศ. 2566 – จัสทิส เวิลด์ ทัวร์ โดย จัสติน บีเบอร์ (เดิมกำหนดจัดในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[33] แต่ได้เลื่อนการแสดงออกไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพของบีเบอร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้จัดได้มีการแจ้งยกเลิกการแสดง)[34]
กิจกรรมทางการเมือง
แก้- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร (แดงทั้งแผ่นดินสัญจร)
- 19 – 20, 24 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – รัฐ (ถูก) ประหาร โดย ศาลรัฐธรรมนูญ และ หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้คนไทยเป็นตัวประกัน (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ)
การเดินทาง
แก้รถไฟฟ้า
แก้บริเวณถนนรามคำแหง มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม โดยมีกำหนดเปิดใน พ.ศ. 2570 ซึ่งมีสถานีใกล้เคียงกับราชมังคลากีฬาสถาน 2 สถานี ดังนี้
บริการ | สถานี | สาย |
---|---|---|
รถไฟฟ้ามหานคร | สถานีกกท. | สายสีส้ม |
สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง |
รถโดยสารประจำทาง
แก้สาย | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด |
---|---|---|
22 | เซ็นทรัลพระราม 3 | แฮปปี้แลนด์ |
36ก | สวนสยาม | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
60 | สวนสยาม | ปากคลองตลาด |
69 (2-13) | ตลาดท่าอิฐ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
69E (2-18E) | ตลาดท่าอิฐ | แยกลำสาลี |
71 รถธรรมดา | สวนสยาม (รถ ขสมก.)
ตลาดปัฐวิกรณ์ (รถมินิบัส) |
วัดธาตุทอง |
71 (1-39) รถปรับอากาศ | สวนสยาม | ตลาดคลองเตย |
92 รถธรรมดา | พัฒนาการ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
92 (1-41) รถปรับอากาศ | เคหะร่มเกล้า | แฮปปี้แลนด์ |
93 | หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง | ท่าน้ำสี่พระยา |
113 | ตลาดมีนบุรี | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) |
115 | สวนสยาม | สีลม |
122 | แฮปปี้แลนด์ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) |
137 | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | ถนนรัชดาภิเษก |
168 | อู่สวนสยาม | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
173 (4-27E) | เคหะธนบุรี | แฮปปี้แลนด์ |
182 | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | สวนจตุจักร |
3-21 (207) | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก |
501 | ตลาดมีนบุรี | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) |
545 | ท่าน้ำนนทบุรี | พัฒนาการ |
1-50 | เคหะร่มเกล้า | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
3-32 | สำโรง | สวนสยาม |
ระเบียงภาพ
แก้-
ป้ายชื่อและตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกที่บริเวณด้านหน้าสนาม
-
อัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา
-
ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราว (เมื่อเดือนตุลาคม 2554)
-
อัฒจันทร์ฝั่งป้ายไฟแสดงคะแนน
-
อัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง
ดูเพิ่ม
แก้- ศูนย์กีฬาหัวหมาก
- อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
- กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
อ้างอิง
แก้- ↑ Stadiums in Thailand เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, World Stadium.
- ↑ Asia 101 ทวีปของเรา: อ่างยักษ์แห่งวงการฟุตบอล, โกลดอตคอม, 10 พฤศจิกายน 2556.
- ↑ กว่าจะเป็น 3 สนามหลักของเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 นิตยสารผู้จัดการ (ธันวาคม 2541)
- ↑ http://www.ryt9.com/s/pry/163357
- ↑ ราชมังคลากีฬาสถาน โฉมใหม่สู่ "อินเตอร์" เก็บถาวร 2022-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวมติชนออนไลน์ จากเว็บบอร์ดไทยแลนด์สู้สู้
- ↑ ราชมังคลากีฬาสถาน เก็บถาวร 2009-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, การกีฬาแห่งประเทศไทย
- ↑ "Matchdetails from Thailand XI - Liverpool played on Thursday 19 July 2001 - LFChistory - Stats galore for Liverpool FC!". www.lfchistory.net.
- ↑ ไฮไลท์เต็ม ทีมชาติไทย VS แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (อุ่นเครื่อง ปี 2001), สืบค้นเมื่อ 2023-06-29
- ↑ "ลิเวอร์พูลไทยแลนด์2003 | ลิเวอร์พูล VS ไทยแลนด์ พ.ศ. 2546 (15 ปีที่แล้ว) Full Match ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ใครเป็นแฟนหงส์ แฟนทีมชาติไทย น่าจะถูกใจ ควรแชร์เก็บไว้ชมนะ... | By บรรเจิดเริ่ดสะแมนแตน | Facebook". www.facebook.com.
- ↑ "Thailand - Real Madrid C.F. 1-2 - Played 10. august 2003 - Real Madrid Fan Community". www.realmadrid.dk.
- ↑ "'ซีดาน-โด้'นำทัพชุดขาวกระทุ้งไทยปิดทัวร์เอเชีย". mgronline.com. 2005-07-29.
- ↑ ""หงส์" ยังไร้ชัย!! โดนแฟนผียิงพา "ไทย" ไล่เจ๊า 1-1". mgronline.com. 2009-07-22.
- ↑ "เชลซีขนชุดใหญ่เยือนไทย". www.thairath.co.th. 2011-07-19.
- ↑ "แมนยูมาไทย ปิยะพงษ์ รับ เซอร์ไพรส์ เอาชนะได้ 1-0". kapook.com. 2013-07-14.
- ↑ "เชลซีมาไทย มูรินโญ่-แลมพาร์ด-เทอร์รี่ นำทัพสิงโตน้ำเงินคราม". kapook.com. 2013-07-12.
- ↑ "เปิดกำหนดการ ลิเวอร์พูลมาไทย ดวลแข้งทีมชาติ 28 ก.ค.นี้". kapook.com. 2013-07-26.
- ↑ ""เมสซี" นำทัพบาร์ซาถล่มไทย 7-1". mgronline.com. 2013-08-07.
- ↑ THAITICKETMAJOR. "Official Ticket | The Singha Chelsea fc Celebration Match Thailand All Star vs. Chelsea FC". THAITICKETMAJOR (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.facebook.com/Posttoday (2015-06-03). "ทุ่ม 100ล้าน"หงส์แดง"มาไทย". posttoday.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ แดงเดือดในไทย จำหน่ายบัตร 2 เม.ย นี้ เคาะราคา 5,000-25,000 บาท
- ↑ "เคาะ ราชมังคลากีฬาสถาน เตะไทยแลนด์ แชมเปี้ยน คัพ 2023". พีพีทีวี. 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "จัดเต็มสีสันในคอนเสิร์ต OCTOPOP 2022 สาดความสนุกกันแบบ POP!". trueid.net.
- ↑ "Maroon 5 กลับมาหาชาวไทยครั้งที่ 6 ในคอนเสิร์ตที่ราชมังฯ 10 ธ.ค. นี้". www.sanook.com/music.
- ↑ "37th Golden Disc Awards Announces Ceremony Date And Details". Soompi (ภาษาอังกฤษ). 2022-11-14.
- ↑ "Harry Styles เตรียมจัดคอนเสิร์ตใหญ่ในไทยที่ราชมังฯ 11 มี.ค. 2023". www.sanook.com/music.
- ↑ "BLACKPINK คอนเสิร์ต ENCORE มาแน่ 27-28 พ.ค. นี้ ที่ราชมังฯ". www.sanook.com/music.
- ↑ "สรุปผลรางวัล Seoul Music Awards ครั้งที่ 33 NCT DREAM คว้า Grand Award ซี-นุนิว และ เจมีไนน์-โฟร์ท คว้า Thai Best Artist Award". THE STANDARD. 2024-01-03.
- ↑ "Coldplay announce concert dates in Singapore, the Philippines, and Thailand for 2024 'Music Of The Spheres' world tour". Bandwagon (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-12.
- ↑ ""COLDPLAY" ประกาศเพิ่มรอบโชว์ราชมังรอบใหม่ เจอกัน 4 ก.พ. 67 พร้อมประกาศตนเป็นคอนเสิร์ตลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์". mgronline.com. 2023-06-25.
- ↑ "Ed Sheeran Live in Bangkok 2024 ราชมังฯ 10 ก.พ. 64 บัตร 12,000-1,800 บาท". www.sanook.com/music. 2023-10-20.
- ↑ "คอนเสิร์ตใหญ่แห่งปี "บรูโน่ มาร์ส" กลับมาเจอแฟนชาวไทย 30 มี.ค. ราชมังคลากีฬาสถาน". https://www.tnnthailand.com. 2024-01-10.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ ""บรูโน่ มาร์ส"เพิ่มรอบ 2 แฟนๆ เจอกัน 31 มี.ค. นี้ จำหน่ายบัตรรอบใหม่ 31 ม.ค. นี้ ที่ thaiticketmajor.com". mgronline.com. 2024-01-26.
- ↑ THAITICKETMAJOR. "Official Ticket | JUSTIN BIEBER JUSTICE WORLD TOUR BANGKOK". THAITICKETMAJOR (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
- ↑ "เลื่อนโชว์ไทยไปปีหน้า!! 'จัสติน บีเบอร์' แจ้งพักทัวร์ที่เหลือของปีนี้ถึงต้นปีหน้าจากปัญหาสุขภาพ". tnnthailand.com. 2022-10-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ราชมังคลากีฬาสถาน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์