โคลด์เพลย์
โคลด์เพลย์ (อังกฤษ: Coldplay) เป็นวงดนตรีร็อกจากลอนดอน, สหราชอาณาจักร ก่อตั้งวงในปี พ.ศ. 2541 มีเพลงดังอย่าง "Yellow", "Clocks", "Speed Of Sound", "In My Place" และ "Viva La Vida" เป็นต้น
โคลด์เพลย์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ลอนดอน, สหราชอาณาจักร |
แนวเพลง | ออลเทอร์นาทิฟร็อก, โพสต์บริตป็อป, ป็อปร็อก, ป็อป |
ช่วงปี | 1998 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | พาร์โลโฟน แคปพิตอล อีเอ็มไอ |
สมาชิก | คริส มาร์ติน จอนนี่ บั๊คแลนด์ กาย เบอร์รี่แมน วิล แชมป์เปี่ยน ฟิล ฮาร์วีย์[a] |
เว็บไซต์ | Coldplay.com |
โคลด์เพลย์เป็นวงดนตรีที่กวาดรางวัลหลายรางวัลมามากมายตลอดเส้นทางอาชีพของพวกเขา โคลด์เพลย์สามารถคว้ารางวัลแกรมมีได้ถึง 7 รางวัลจากการถูกเสนอชื่อเข้าชิง 29 ครั้ง และยังคว้ารางวัลบริตอะวอดส์ได้อีก 9 รางวัล และโคลด์เพลย์มียอดขายมากกว่า 100 ล้านแผ่นทั่วโลก[3]
ประวัติ
แก้วงได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 โดยเด็กนักเรียน จาก UCL ซึ่งนั่นก็ได้แก่ คริส มาร์ติน, จอน บั๊คแลนด์, กาย เบอร์รี่แมน และ วิล แชมป์เปี่ยน พวกเขาลงทุนบันทึกเดโมเทปด้วยตัวเอง ทำ อีพีเซฟตี้ (EP safety)
ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่ โคลด์เพลย์บันทึกเสียงหนึ่งในเพลงของพวกเขา “Bigger Stronger” เป็นเพลงที่ถูกจับตามองจากสื่อต่าง ๆ ในอังกฤษเป็นอย่างมาก โคลด์เพลย์ได้ไปแสดงที่เดอะฟอลค่อน ย่านแคมแดน ในเดือนธันวาคม ที่ซึ่งพวกเขาถูกจับตามองเป็นอย่างมากจากบรรดาสื่อที่มีอิทธิพล ค่ายเพลงเฟียร์ซ แพนด้า และไซม่อน วิลเลี่ยม จากนิตยสาร NME (นิตยสารวงการเพลงออลเทอร์นาทิฟ) ผู้ซึ่งทำให้วงของพวกเขาดังเป็นพลุแตก
ซิงเกิลฮิต “Brother & Sister” ที่ทำกับค่ายเฟียร์ซ แพนด้าได้เข้าไปติดชาร์ตท็อปวันฮันเดรดในช่วงต้นปี 2542 ในเดือนพฤษภาคม โคลด์เพลย์ก็ได้ทำสัญญากับค่ายพาร์โลโฟนจากการที่พวกเขาได้ไปปรากฏตัวในงานเทศกาลดนตรี แกลสตันบิวรี่ ก็ได้ปล่อย อีพีชุดใหม่คือ “The Blue Room” ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่ทำกับ ค่ายพาร์โลโฟน ในปี พ.ศ. 2543 พวกเขาก็ออกทัวรคอนเสิร์ต ร่วมกับวงหน้าใหม่ Terris และเล่นเป็นวงเปิดให้กับวง Muse
เพลงที่ยอดฮิตของพวกเขาคือ Shiver, Yellow และ Trouble ในอัลบั้ม Parachutes ที่วางแผงในเดือน กรกฎาคม และวงของพวกเขายังได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Mercury Music Prize อีกด้วย
อัลบั้มที่ 2 A Rush of Blood to the Head โคลด์เพลย์ได้กลับสตูดิโอเพื่อทำอัลบั้มในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 อัลบั้มออกวางขายเดือน สิงหาคม 2002 อัลบั้มนี้มีเพลงฮิตอย่าง "In My Place", "The Scientist", และ "Clocks" นอกจากนั้นเพลง "Clocks" ยังได้รางวัลแกรมมี่สาขา Record of the Year ซึ่งถือเป็นรางวัลสาขาใหญ่ไปครองอีกด้วย
หลังทิ้งช่วงจากอัลบั้ม A Rush Of Blood To The Head เป็นเวลา 2 ปีกว่า 6 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ก็ได้ออกอัลบั้ม X&Y (เอ็กซ์ แอนด์ วาย) ที่พวกเขาได้ตระเวน ทำการบันทึกเสียงถึง 8 สตูดิโอไม่ว่าจะเป็นที่ชิคาโก, นิวยอร์ก, ลอสแอนเจลิส, ลิเวอร์พูล, และลอนดอน กับซิงเกิลแรก “Speed of Sound” ที่เปิดตัวอันดับ 8 ชาร์ตบิลบอร์ดในอาทิตย์แรก สร้างสถิติเป็นวงจากอังกฤษวงที่สองต่อ จาก เดอะ บีทเทิลส์ ที่สามารถนำซิงเกิลที่ปล่อยไปเพียงอาทิตย์แรกเข้าสู่ Top 10 ของชาร์ตฝั่งอเมริกา[4]
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2549 โคลด์เพลย์ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Front Row ทาง BBC Radio 4 ว่า Brian Eno จะมาเป็นโปรดิวเซอร์ให้อัลบั้มที่ 4 ของพวกเขา[5] นอกจากนั้นเดือน มีนาคม พ.ศ. 2549 Timbaland ได้บอกกับนิตยสาร GQ Magazine ว่าเขาจะมาร่วมทำอัลบั้มให้กับโคลด์เพลย์ในอัลบั้มหน้าด้วย[6]
ผลงานสตูดิโออัลบั้ม
แก้- Parachutes (2000)
- A Rush of Blood to the Head (2002)
- X&Y (2005)
- Viva la Vida or Death and All His Friends (2008)
- Mylo Xyloto (2011)
- Ghost Stories (2014)
- A Head Full Of Dreams (2015)
- Everyday Life (2019)
- Music of the Spheres (2021)
- Moon Music (2024)
ผลงานอัลบั้มตัวอย่าง (EP)
แก้- Safety - (พ.ศ. 2541)
- The Blue Room - (พ.ศ. 2542)
- Acoustic - (พ.ศ. 2543)
- Trouble – Norwegian Live EP - (พ.ศ. 2544)
- Mince Spies - (พ.ศ. 2544)
- Remixes - (พ.ศ. 2546)
- Prospekt's March - (พ.ศ. 2551)
- Every Teardrop Is a Waterfall - (พ.ศ. 2554)
- iTunes Festival: London 2011 - (พ.ศ. 2554)
- Live in Madrid - (พ.ศ. 2554)
- A Sky Full of Stars - (พ.ศ. 2557)
- Live from Spotify London - (พ.ศ. 2559)
- Kaleidoscope - (พ.ศ. 2560)
- Global Citizen – EP 1 - (พ.ศ. 2561)
- Coldplay: Reimagined - (พ.ศ. 2563)
- Live from Climate Pledge Arena - (พ.ศ. 2564)
- Infinity Station Sessions - (พ.ศ. 2564)
- Spotify Singles - (พ.ศ. 2565)
เชิงอรรถ
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ฟิล ฮาร์วีย์เป็นผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของโคลด์เพลย์ วงยอมรับฮาร์วีย์เป็นสมาชิกคนที่ห้าอย่างเป็นทางการ[1] ฮาร์วีย์ได้รับเครดิตในฐานะสมาชิกวงตั้งแต่อัลบั้ม A Rush of Blood to the Head[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Non-Performing Band Members: From Coldplay to The Grateful Dead". Tedium. 28 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2023. สืบค้นเมื่อ 15 September 2023.
- ↑ Coldplay (2002). A Rush of Blood to the Head (liner notes). Europe: Parlophone. 7243 5 40504 2 8.
- ↑ Luckhurst, Phoebe (4 December 2015). "Coldplay: the anatomy of new album A Head Full of Dreams, featuring President Obama, Beyonce, and Gwyneth Paltrow". London Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 30 January 2018.
- ↑ biography:Coldplay เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ emimusic.co.th
- ↑ Billboard.com: Coldplay drafts Eno to produce fourth album
- ↑ "Timbaland Set To Produce Coldplay's New Album". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2007-04-21.