พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531

บทความนี้เกี่ยวกับพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในรัชกาลที่ 9 สำหรับพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในรัชกาลอื่นๆ ดูที่ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก

พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 (อังกฤษ: Rajamangala Celebrations reign.9 2th july 1988) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่เคยครองราชย์ยาวนานที่สุด นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เป็นเวลา 42 ปี 23 วัน

พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
Rama9-emblem-longest-riegn.png
ตราสัญลักษณ์
วันที่2–3 และ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีหมายกำหนดการจัดงานในระหว่างวันที่ 2, 3 และ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 รวมทั้งสิ้น 3 วัน

พระราชพิธีนี้ จัดในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ ประชาชนชาวไทย ร่วมกันจัดขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้

พระราชพิธีแก้ไข

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531แก้ไข

 
พระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติ รัชมังคลาภิเศก

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทรงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี ที่หอพระราชกรมานุสร และ พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่หอพระราชพงศานุสร ซึ่งในวันนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์เทียบเท่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 42 ปี 23 วัน

3 กรกฎาคม พ.ศ. 2531แก้ไข

 
พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติรัชมังคลาภิเษก ซึ่งในวันนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์นานกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ 42 ปี 24 วัน

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531แก้ไข

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่ง ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

การประชาสัมพันธ์แก้ไข

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์แก้ไข

 
รูปแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531 ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล


 
ธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531

ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประดิษฐานอยู่กึ่งกลาง และมีเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาทเชิงงอน ประกอบอยู่โดยรอบ พร้อมฉัตร 7 ชั้น ประดับอยู่ซ้ายและขวา มีแพรแถบจารึกอักษรข้อความว่า “พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑”

ของที่ระลึกแก้ไข

ราชมังคลากีฬาสถานแก้ไข

ดูบทความหลักที่: ราชมังคลากีฬาสถาน

เหรียญแก้ไข

โรงเรียนรัชมังคลาภิเษกแก้ไข

รัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษาเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลนี้ มีดังนี้

ดูเพิ่มแก้ไข