เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป

(เปลี่ยนทางจาก แฮฟเอกู๊ดดรีม)

บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Heliconia H-Group Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มบริษัท เอช กรุ๊ป ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีกิติกร เพ็ญโรจน์ เป็นผู้ก่อตั้ง ผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 100% และดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้วยตนเอง มีชื่อเสียงจากการผลิตรายการทำอาหารที่ได้รับความนิยม เช่น เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย, มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์, ท็อปเชฟไทยแลนด์, เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ และ Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด เป็นต้น

บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
Heliconia H-Group Company Limited
ชื่อเดิมบริษัท เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (8 ธ.ค. 2551 - 2 เม.ย. 2558)
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมการบันเทิง
ก่อตั้ง8 ธันวาคม พ.ศ. 2551; 16 ปีก่อน (2551-12-08)
ผู้ก่อตั้งกิติกร เพ็ญโรจน์
สำนักงานใหญ่86/1,86/4 ซอยสุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา, ,
บุคลากรหลักกิติกร เพ็ญโรจน์ (CEO)
ผลิตภัณฑ์
เจ้าของกิติกร เพ็ญโรจน์
แผนก
  • แฮพ เอ กู๊ด ไบท์
  • เฮลิโคเนีย ช็อป
บริษัทในเครือ
  • แฮฟเอกู๊ดดรีม เอช กรุ๊ป
  • ไอรอนเชฟ เอช กรุ๊ป
  • เฮลิโคเนีย มิวสิค เอช กรุ๊ป
  • ฟู้ด คอมปานี เอช กรุ๊ป
เว็บไซต์www.heliconiahgroup.com

ประวัติ

แก้

ก่อตั้ง

แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2551 กิติกร เพ็ญโรจน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท ทรู แฟนเทเชีย จำกัด ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่บริหารศิลปินจากทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในเครือทรูวิชั่นส์ และก่อตั้ง บริษัท เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (อังกฤษ: Heliconia Entertainment Co., Ltd.) โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม[1] จากนั้นเฮลิโคเนียได้เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์ จำกัด ซึ่งเดิมก่อตั้งโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) เป็นบริษัทจัดอีเวนต์และงานแสดงสินค้า จำนวน 40% เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด (อังกฤษ: Have A Good Dream Co., Ltd.)[2] และเริ่มผลิตรายการประกวดร้องเพลงออกมาในนามแฮฟเอกู๊ดดรีมจำนวน 2 รายการ[3] คือ สุภาพบุรุษบอยแบนด์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งถือเป็นรายการแรกของแฮฟเอกู๊ดดรีม และ The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี หลังจากนั้นจึงต่อยอดการดำเนินธุรกิจออกมาสู่การบริหารจัดการศิลปินเป็นหลัก[4]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2555 เฮลิโคเนียได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการ ยุทธการกระทะเหล็ก จากประเทศญี่ปุ่น มาผลิตในประเทศไทย ในชื่อรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย เป็นรายการแข่งขันทำอาหารรายการแรกของกลุ่มบริษัทฯ, รายการซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศรายการแรกของกลุ่มบริษัทฯ[5], รายการแรกที่ผลิตในนาม เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และรายการแรกที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้ขายหุ้นสามัญของบริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด ที่เหลืออยู่ทั้ง 60% ให้แก่เฮลิโคเนียทั้งหมด ด้วยมูลค่าเงินลงทุน 2,000,000 บาท ส่งผลให้แฮฟเอกู๊ดดรีมพ้นจากการเป็นบริษัทในเครือบีอีซี-เทโร ไปโดยปริยาย[7] แต่ยังคงใช้ชื่อบริษัทนี้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวีและโมโน 29 เช่นเดิม

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[1] เฮลิโคเนียได้ก่อตั้ง บริษัท กู๊ดดรีมส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (อังกฤษ: Good Dreams Entertainment Co., Ltd.) ขึ้นเป็นบริษัทย่อย เพื่อประกอบธุรกิจภัตตาคาร และในปีเดียวกัน เฮลิโคเนียได้รับรางวัลแรกคือรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 4 สาขารางวัลรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม จากรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย[8]

เอช กรุ๊ป

แก้

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2558 เฮลิโคเนียได้ปรับโครงสร้างองค์กรและภาพลักษณ์ธุรกิจเพื่อความสะดวกในการบริหาร โดยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือ ด้วยการเติมชื่อ "เอช กรุ๊ป" (H-Group) ต่อท้ายในชื่อบริษัทในเครือทั้งหมด 3 บริษัท ดังนี้

  • บริษัท เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Heliconia H-Group Co., Ltd.)
  • บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Have A Good Dream H-Group Co., Ltd.)
  • บริษัท กู๊ดดรีมส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอรอนเชฟ เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Iron Chef H-Group Co., Ltd.)

ในปีเดียวกัน เฮลิโคเนียโดย ไอรอนเชฟ เอช กรุ๊ป ได้เปิดภัตตาคารแห่งแรกของกลุ่มบริษัท และเป็นภัตตาคารในเครือเชฟกระทะเหล็ก (Iron Chef Restaurant) แห่งแรกของโลก ในชื่อ "ไอรอนเชฟ เทเบิล" (Iron Chef Table) ตั้งอยู่ภายในโครงการ The Taste Thonglor บริเวณซอยทองหล่อ 11 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558[9] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2559) ได้เปิดภัตตาคารอาหารเอเชียแนวผสมผสาน ในชื่อ "ไอรอนเชฟ คาเฟ่" (Iron Chef Café) ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2560 เฮลิโคเนียได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการ มาสเตอร์เชฟ จากสหราชอาณาจักร มาผลิตในประเทศไทย ในชื่อรายการ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ โดยใช้เงินลงทุนประมาณกว่า 70,000,000 บาท[10] ซึ่งในจำนวนนี้เน้นลงทุนที่สตูดิโอเป็นหลักเป็นจำนวนประมาณ 20,000,000 ล้านบาท เพื่อให้รายการมีคุณภาพมากที่สุด[11] ส่งผลให้รายการนี้ในซีซันที่ 1 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทการทำอาหารที่มีเรตติ้งมากที่สุดในประเทศไทย ที่ 7.5[12] โดยภายหลังได้จัดตั้งแผนกจำหน่ายสินค้าที่ระลึกจากรายการนี้ในชื่อ แฮพ เอ กู๊ด ไบท์ (Have A Good Bite)

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2561 เฮลิโคเนีย โดย ไอรอนเชฟ เอช กรุ๊ป ได้ปรับโฉมภัตตาคารไอรอนเชฟ เทเบิล ให้เป็นภัตตาคารอาหารจีนร่วมสมัย ในชื่อ "ไอรอนเชฟ ดรากอน" (Iron Chef Dragon) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม[13]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2563 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลเอมมีระดับนานาชาติ (International Emmy Awards) ครั้งที่ 48 ประเภทรายการบันเทิงไร้สคริปต์ (Non-Scripted Entertainment) จากรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 ถือเป็นรายการที่ 5 ของประเทศไทย ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้ เป็นรายการที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในประเภทนี้ และเป็นรายการโทรทัศน์ไทยรายการแรกของผู้ผลิตอื่นนอกจากเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง[14]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2565 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้บรรลุข้อตกลงซื้อลิขสิทธิ์รายการแข่งขันทำอาหารอีก 2 รายการ มาผลิตในประเทศไทย คือ ท็อปเชฟไทยแลนด์ (ได้รับลิขสิทธิ์แทน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) จากเอ็นบีซียูนิเวอร์แซลของสหรัฐ[15] และ เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ จากไอทีวีสตูดิโอส์ของสหราชอาณาจักร[16]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2566 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้จัดเทศกาลอาหารขึ้นเป็นครั้งแรก ในชื่อ เฮลิโคเนีย ฟู้ด เฟสติวัล (Heliconia Food Festival) โดยนำเชฟจากรายการแข่งขันทำอาหารในเครือเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป มาเปิดบูธทำอาหารให้นักท่องเที่ยวมาร่วมรับประทาน[17] ต่อมาในปลายปีเดียวกัน เฮลิโคเนียได้จัดตั้งบริษัทย่อยอีก 2 บริษัท คือ บริษัท เฮลิโคเนีย มิวสิค เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Heliconia Music H-Group Co., Ltd.) ประกอบธุรกิจค่ายเพลง เฮลิโคเนีย มิวสิค (Heliconia Music) และ บริษัท ฟู้ด คอมปานี เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Food Company H-Group Co., Ltd.) ประกอบธุรกิจจัดเลี้ยง นอกจากนี้ยังได้เริ่มนำรายการ Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด ไปแสดงเป็น Showcase ในต่างประเทศ และมีหลายประเทศเตรียมเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในประเทศของตน ทำให้เป็นรายการแรกของเฮลิโคเนียที่จำหน่ายลิขสิทธิ์ออกสู่ต่างประเทศ[18]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2567 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้เปิดค่ายเพลง เฮลิโคเนีย มิวสิค อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการกลับมาทำค่ายเพลงอีกครั้งในรอบ 10 ปีของกิติกร ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Base on True Story" โดยมีศิลปินคนแรก คือ ณลีนา เพ็ญโรจน์ ลูกสาวของกิติกร และมีผลงานเพลงแรกของค่ายเป็นเพลงสากลที่ณลีนาแต่งเอง ชื่อว่า "One Way Losing Game"[19] รวมถึงเปิดบริการซื้อสินค้าจากบ้านในชื่อ เฮลิโคเนีย ช็อป (Heliconia Shop) เพื่อจำหน่ายสินค้าจากรายการในเครือ โดยสินค้าที่เฮลิโคเนีย ช็อป วางจำหน่ายในปัจจุบัน คือ น้ำพริกนรก, น้ำพริกตาแดง ภายใต้ตราสินค้าเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ และ ผ้ากันเปื้อน จากรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์

บริษัทในเครือ

แก้

กลุ่มบริษัท เอช กรุ๊ป มีบริษัททั้งหมด 5 บริษัท ดังนี้

  • บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ในฐานะผู้เช่าเวลา รวมถึงซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการจากต่างประเทศ และขายลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดยบริษัทในเครือให้กับต่างประเทศ
  • บริษัท แฮพ เอ กู๊ด ดรีม เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจรับจ้างผลิตคอนเทนต์สำหรับสื่อต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  • บริษัท ไอรอน เชฟ เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น ภัตตาคาร เมนูพร้อมทาน และอื่น ๆ
  • บริษัท เฮลิโคเนีย มิวสิค เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจค่ายเพลง "เฮลิโคเนีย มิวสิค"
  • บริษัท ฟู้ด คอมปานี เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจจัดเลี้ยง

นอกจากนี้ ยังมีแผนกจำหน่ายสินค้าอีก 2 แผนก คือ แฮพ เอ กู๊ด ไบท์ จำหน่ายสินค้าที่ระลึกจากรายการต่าง ๆ และ เฮลิโคเนีย ช็อป จำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของรายการต่าง ๆ

รายการโทรทัศน์

แก้

เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตีโชว์ เรียลลิตีโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยในปัจจุบันกำลังออกอากาศอยู่ 4 รายการ รายชื่อของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดของเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จะแบ่งออกเป็นรายการที่ผลิตในนามเฮลิโคเนีย และรายการที่ผลิตในนามแฮฟเอกู๊ดดรีม ทั้งนี้ รายการโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศในอนาคตเน้น "ตัวเอน" และรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ในปัจจุบันเน้น "ตัวหนา"

ผลิตในนามเฮลิโคเนีย

แก้

ผลิตในนามแฮฟเอกู๊ดดรีม

แก้

ไม่ระบุชื่อผู้ผลิต

แก้
  • Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน (29 กันยายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน) อมรินทร์ทีวี (ผลิตร่วมกับซี อาเซียน ในเครือไทยเบฟเวอเรจ)
    • Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน (ฤดูกาลที่ 1) (29 กันยายน – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
    • Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน (ฤดูกาลที่ 2) (19 มกราคม – 5 เมษายน พ.ศ. 2563)
    • Win Win WAR Thailand Special Online Edition (6 กุมภาพันธ์ – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564) (เฉพาะออนไลน์)
    • Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน (ฤดูกาลที่ 4) (13 สิงหาคม – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565)
    • Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน (ฤดูกาลที่ 5) (30 กรกฎาคม – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566)
    • Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน (ฤดูกาลที่ 6) (28 กรกฎาคม – 29 กันยายน พ.ศ. 2567)
    • Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์
      • Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ (ฤดูกาลที่ 1) (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 22 มกราคม พ.ศ. 2566)
      • Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ (ฤดูกาลที่ 2) (8 ตุลาคม – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
      • Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ (ฤดูกาลที่ 3) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน)

เฮลิโคเนีย ฟู้ด เฟสติวัล

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 282 ล้าน! รายได้ล่าสุด เฮลิโคเนีย เจ้าพ่อรายการเรียลลิตี้ MasterChef เมืองไทย (Report). สำนักข่าวอิศรา. 8 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2023.
  2. "นำส่งงบการเงินไตรมาส 1/2552 พร้อมคำอธิบายผลการดำเนินงาน". บีอีซีเวิลด์. 15 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""ขอฉีก ไม่ขอแข่งเอเอฟ" เปิดใจ "หนุ่ม" ในบ้านหลังใหม่". คมชัดลึก. 20 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ""แฮฟเอกู๊ดดรีม" ลุยศึกเรียลิตี ต่อยอดอาร์ทติสเมนเนจเมนต์". ผู้จัดการออนไลน์. 9 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "กิติกร เพ็ญโรจน์…จากหนุ่มวิศวะจุฬาผู้รักเสียงดนตรี สู่ เจ้าพ่อ Reality Show เมืองไทย". HiClassSociety. 9 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2024. ...สิ่งที่เราชอบนอกจากเพลง คือ อาหาร มาเริ่มต้นทำรายการอาหารเมื่อ 7 ปีที่แล้ว คือ เชฟกระทะเหล็ก เป็นฟอร์แมทอาหารรายการใหญ่รายการแรก{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "สุดยอดรายการอาหาร เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์". 27 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. รายงานประจำปี 2555 (Report). บีอีซีเวิลด์. 30 สิงหาคม 2018 [2013]. p. 56. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2024 – โดยทาง Issuu.
  8. "รายชื่อผลงานที่ได้รับรางวัล "นาฏราช" ครั้งที่ ๔ ประจำปี ๒๕๕๕". รางวัลนาฏราช. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2024.
  9. "IRON CHEF TABLE การเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ของร้านอาหารภายใต้แบรนด์ เชฟกระทะเหล็ก IRON CHEF แห่งแรก 12 สิงหาคม 2558". RYT9. ThaiPR.net. 11 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "คัมภีร์เรียลิตี้เมืองไทย "หนุ่ม-กิติกร เพ็ญโรจน์" จาก AF สู่มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์". ผู้จัดการออนไลน์. 15 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Joy K (26 กรกฎาคม 2020). "คุยกับเจ้าของสูตรลับ ผู้ปรุงแต่งให้ MasterChef เป็นรายการอาหารที่กลมกล่อมที่สุดในไทย". The Inspire. Marketeer. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. ""กิติกร เพ็ญโรจน์" มั่นใจคนดูไม่โง่!! อยากรอดวิกฤติทีวี ต้องผลิตของดีมีคุณภาพ". ไทยรัฐ. 24 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "เปิดตำนานความอร่อย 'หนุ่ม-กิติกร' ทุ่มทุนเปิด Iron chef dragon". แนวหน้า. 31 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. หนองพล, อรัณย์ (16 ตุลาคม 2020). "MasterChef Thailand เข้าชิงรางวัล International Emmy Awards 2020 สาขา Non-Scripted Entertainment". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ""เฮลิโคเนียเอช กรุ๊ป" จับมือ "เอ็นบีซียูนิเวอร์แซล" คว้าลิขสิทธิ์รายการ TOP CHEF Thailand". ข่าวสด. 24 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. ""เฮลิโคเนียเอช กรุ๊ป" ตอกย้ำตำแหน่งเจ้าพ่อ King of Food Content ตัวจริง ! คว้ำลิขสิทธิ์รายการระดับโลก Hell's Kitchen เสริมเขี้ยวเล็บ". ผู้จัดการออนไลน์. 9 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ตะลุยกินในอาณาจักรความอร่อย "Heliconia Food Festival" เทศกาลอาหารเหนือจินตนาการ". mango zero. 12 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. ""Heliconia H Group" ชิมลางส่งคอนเทนท์ออกขาย ส่ง "Bid Coin Chef" สู่ตลาดเตะตาผู้ผลิตต่างชาติ !". Extensive - เอกซ์เทนซีฟ. 20 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024 – โดยทาง เฟซบุ๊ก.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "หนุ่ม กิติกร หวนคืนวงการเพลง เปิดค่าย 'เฮลิโคเนีย มิวสิค' ลูกสาวเป็นศิลปินเบอร์แรก". ประชาชาติธุรกิจ. 24 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้