มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2

รายการเกมโชว์แข่งขันทำอาหาร

มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 2 เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด[ลิงก์เสีย] (ในเครือเอช กรุ๊ป เก็บถาวร 2020-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทยเป็นฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ทางช่อง 7 HD โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป (จากเดิม 18 ปี) จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทย ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีกรรมการ คือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)[1][2]

มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2
มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์
เสนอโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
จำนวนตอน17
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญ​โรจน์, บริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด
ความยาวตอน85-120 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 HD
ออกอากาศ4 กุมภาพันธ์ 2561 –
27 พฤษภาคม 2561

กติกา

แก้

รอบคัดเลือกรอบแรก (Auditions Part 1)

แก้

ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารที่เตรียมไว้พร้อมนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเป็นเวลา 5 นาที เมื่อหมดเวลาคณะกรรมการจะชิมและตัดสิน โดยใช้เสียงจากกรรมการ 2 ใน 3 เสียง หรือเอกฉันท์เป็นที่สิ้นสุด หาก 2 ใน 3 เสียงให้ไม่ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะตกรอบทันที แต่ในทางกลับกัน หาก 2 ใน 3 เสียงให้ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้รับผ้ากันเปื้อนของรายการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นเข้าสู่รอบต่อไปทันที

รอบคัดเลือกรอบสอง (Auditions Part 2)

แก้

ในรอบนี้จะเป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยในฤดูกาลที่ 1 นั้นจะเป็นการทดสอบการหั่นขิง โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน

รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)

แก้

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนา และวัตถุดิบพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)

แก้

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบทีมชาเลนจ์ ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน

รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)

แก้

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมา โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ อีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)

แก้

ทีมที่แพ้ในรอบทีมชาเลนจ์ จะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อคัดหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบทีมชาเลนจ์ สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ

ผู้เข้าแข่งขัน

แก้

ผู้เข้าแข่งขัน 20 คนสุดท้าย

แก้
 
ผู้เข้าแข่งขัน 20 คนสุดท้าย
มาสเตอร์เชฟประเทศไทย ซีซัน 2.

แถวหลัง: กอล์ฟ, กะปอม, น้าจ้อน, จ๋า, เดียว, หมอตั้ม, เบลล์, แบงค์, โบ และผึ้ง
แถวหน้า: พิมพ์, แพร, เฟิส, มิน, เมี่ยง, ยูริ, ลัท, เอม, แอนนี่ และต๋อง
ชื่อ อายุ[^] ภูมิลำเนา อาชีพก่อนเข้ามาแข่งขัน ลำดับการแข่งขัน จำนวนชนะ
ธนภัทร สุยาว (เฟิส) 21 น่าน ค้าขาย ชนะเลิศ
วันที่ 27 พฤษภาคม
3
นลัท จิรวีรกูล (รภัสสรณ์ จิรจุรีย์ชัย) (ลัท) 30 ลำปาง ขายของออนไลน์ รองชนะเลิศ
วันที่ 27 พฤษภาคม
5
คมสันต์ วงค์ษา (เดียว) 25 แม่ฮ่องสอน นักจัดดอกไม้ ถูกคัดออก
วันที่ 20 พฤษภาคม
4
น้ำทิพย์ ภูศรี (จ๋า) 25 กรุงเทพมหานคร ช่างซ่อมรถยนต์ ถูกคัดออก
วันที่ 13 พฤษภาคม
8
แบงค์ เจตะสานนท์ (แบงค์) 38 กรุงเทพมหานคร พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 3
ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข (หมอตั้ม) 25 กรุงเทพมหานคร แพทย์ ถูกคัดออก
วันที่ 6 พฤษภาคม
4
พงศพล ยังมีสุข (ยูริ) 23 กรุงเทพมหานคร นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 29 เมษายน
5
อิศรา ดรลีเคน (กะปอม) 26 มหาสารคาม เกษตรกร ถูกคัดออก
วันที่ 22 เมษายน
2
สัญญา ธาดาธนวงศ์ (กอล์ฟ) 37 กรุงเทพมหานคร ช่างภาพอิสระ ถูกคัดออก
วันที่ 15 เมษายน
3
นลินรัตน์ สมุทรรัตนกุล (เมี่ยง) 31 สมุทรปราการ นักวางแผนภาษีอากร ถูกคัดออก
วันที่ 8 เมษายน
2
มินตรา ยลอนันต์ (มิน) 27 กรุงเทพมหานคร ครูสอนภาษาเกาหลี ถูกคัดออก
วันที่ 8 เมษายน
2
มณีพร พรโชติทวีรัตน์ (เบลล์) 33 กรุงเทพมหานคร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ถูกคัดออก
วันที่ 1 เมษายน
2
แอนนี่ ปอทเจส (แอนนี่) 28 กรุงเทพมหานคร แม่บ้าน ถูกคัดออก
วันที่ 25 มีนาคม
3
ปุญญเนตร ธนัพประภัศร์ (ผึ้ง) 37 กรุงเทพมหานคร นักออกแบบกราฟิก ถูกคัดออก
วันที่ 18 มีนาคม
2
นฤพนธ์ กรประเสริฐ (น้าจ้อน) 44 กรุงเทพมหานคร นักดนตรี ถูกคัดออก
วันที่ 11 มีนาคม
2
ณิชชา รุ่งโรจน์ธนกุล (แพร) 21 กรุงเทพมหานคร นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 4 มีนาคม
1
พันทิวา นิรันดโรภาส (เอม) 26 หนองคาย พนักงานออฟฟิศ ถูกคัดออก
วันที่ 25 กุมภาพันธ์
0
ภวัต กฤษฤๅนนท์ (ต๋อง) 45 กรุงเทพมหานคร พนักงานบริษัท ถูกคัดออก
วันที่ 18 กุมภาพันธ์
0
ชุติกาญจน์ อุปรานุเคราะห์ (พิมพ์) 24 กรุงเทพมหานคร นักออกแบบกราฟิก ถูกคัดออก
วันที่ 11 กุมภาพันธ์
0
พิชญ์ธาร เลิศอุดมธนา (โบ) 30 กรุงเทพมหานคร นักพัฒนาซอฟต์แวร์ 0

ข้อมูลการแข่งขัน

แก้

ตารางการคัดออก

แก้
อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
1 เฟิส ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ สูง สูง เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ชนะเลิศ
2 ลัท ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ชนะ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง กดดัน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน รองชนะเลิศ
3 เดียว ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน กดดัน ชนะ ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ผ่าน ออก
4 จ๋า ผ่าน ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ชนะ ชนะ สูง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง กดดัน ผ่าน ชนะ ชนะ ชนะ ออก ร่วม
แบงค์ ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน กดดัน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ เสี่ยง ผ่าน ออก ร่วม
6 หมอตั้ม ต่ำ ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ชนะ สูง สูง ออก ร่วม
7 ยูริ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน กดดัน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก ร่วม
8 กะปอม ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ออก ร่วม
9 กอล์ฟ ผ่าน ผ่าน ชนะ ต่ำ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก ร่วม
10 เมี่ยง ชนะ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ออก
มิน เสี่ยง เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
12 เบลล์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ออก
13 แอนนี่ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
14 ผึ้ง ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ออก
15 น้าจ้อน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ออก
16 แพร ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ออก
17 เอม ผ่าน ผ่าน กดดัน ต่ำ ออก
18 ต๋อง ผ่าน ผ่าน ออก
19 พิมพ์ ผ่าน ออก
20 โบ ออก
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์)
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
  (ร่วม) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว แต่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน

ข้อมูลการออกอากาศ

แก้

ตอนที่ 1 : รอบคัดเลือก

แก้
ออกอากาศ 4 กุมภาพันธ์ 2561
  • ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 30 คนต้องแสดงทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน ด้วยการใช้มีดในการสับหมู โดยผู้เข้าแข่งขันต้องใช้หมูสับเป็นวัตถุดิบหลัก มาใช้ในการทำอาหาร โดยในรอบนี้มีผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้ไม่ดีในรอบแรก 5 คน ทำให้ถูกคัดออกในรอบแรกโดยทันที และผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกโดยทำอาหารออกมาไม่ได้ดี คือ กุญแจฟา, โฬม, ตั้ม, ทราย และปลื้ม ต้องออกจากการแข่งขัน และทำให้เหลือผู้เข้าแข่งขันจำนวน 25 คน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: กุญแจฟา, โฬม, ตั้ม, ทราย และปลื้ม
  • ทักษะการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 25 คน ต้องมาแข่งขันกันในรอบที่ 2 โดยใช้กุ้งแม่น้ำ และต้องใช้กุ้งแม่น้ำเพียงคนละ 2 ตัวเท่านั้น มีเวลา 60 นาที มีวัตถุดิบเสริมให้ทุก ๆ คนในจำนวนเท่ากัน ในการทำอาหารมีผู้เข้าแข่งขันทำอาหารออกมาสร้างสรรค์และทำได้ดีที่สุด 13 คน คือ แบงค์, แอนนี่, แพร, ต๋อง, เฟิส, โบ, กะปอม, ผึ้ง, กอล์ฟ, ยูริ, น้าจ้อน, พิมพ์ และมิน ทำให้ให้ผ่านเข้ารอบต่อไปและรับผ้ากันเปื้อนไปทันที คณะกรรมการตัดสินใจชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีกครั้ง และในการชิมอาหารครั้งที่ 2 คณะกรรมการได้ตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบอีก 7 คน คือ เมี่ยง, หมอตั้ม, เดียว, ลัท ,เอม, เบลล์ และจ๋า และทำให้ได้ผู้เข้าแข่งขัน 20 คนสุดท้ายอย่างเป็นทางการ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: มอส, โย, เบาหวิว, น้ำตาล และจูน

ตอนที่ 2 : การทำของหวาน (ทาร์ต)

แก้
ออกอากาศ 11 กุมภาพันธ์ 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 1: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีปลาร้าเป็นวัตถุดิบหลักและวัตถุดิบอื่น ๆ อย่างหมูสามชั้น, กุ้งแห้ง, มะขามเปียก, ราสพ์เบอร์รี่, แตงกวาญี่ปุ่น, พริกระฆัง, โหระพา, หอมแดง, แป้งเอนกประสงค์ และข้าวญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากเปิดกล่องออก ทำให้ผู้เข้าแข่งขันหลาย ๆ คน ถึงกับคิดเมนูไม่ออก โดยเฉพาะต๋อง และเมี่ยง ที่ไม่ชอบปลาร้า โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที ในการใช้ปลาร้าเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารออกมา หมอตั้ม, มิน และโบ เป็นสามจานที่ทำออกมาได้ไม่ดี หมอตั้ม ไม่เคยเรียนรู้เรื่องปลาร้ามาก่อนเป็นสิ่งที่ไม่รู้จัก มินและโบไม่รู้จักการเรียนรู้วัตถุดิบไทยอย่างปลาร้าและมีรสชาติเหม็น และโบเป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกที่ต้องถอดผ้ากันเปื้อนออกจากรายการ และเมี่ยงก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาคนแรก
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เมี่ยง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: หมอตั้ม, มิน และโบ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: โบ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 1: จากการที่ เมี่ยง ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงมีสิทธิ์ในการเลือกของหวานที่จะมาใช้ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยมีคัพเค้ก, ทาร์ต และโดนัท เมี่ยงได้เลือกใช้ทาร์ตในการทำของหวาน และจากการที่เมี่ยงชนะในรอบกล่องปริศนา ทำให้เธอผ่านเข้ารอบต่อไป โดยไม่ต้องทำการแข่งขัน และมีสิทธิ์เลือกเพื่อนอีก 4 คน ผ่านเข้ารอบไปด้วย ซึ่งเมี่ยงได้เลือก ต๋อง, ยูริ, น้าจ้อน และเบลล์ และในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 90 นาที โดยต้องทำทาร์ตจำนวน 12 ชิ้น รสชาติละ 4 ชิ้น หลังจากกรรมการได้ชิมทาร์ตของผู้เข้าแข่งขัน เดียว, ลัท และแอนนี่ได้รับคำชมจากกรรมการว่าทำทาร์ตออกมาได้ดี และเดียวคือผู้ชนะในรอบแข่งขันนี้ โดยเดียวและลัทจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันประเภททีมในครั้งต่อไป ผึ้ง, มิน และพิมพ์ สามอันดับที่ทำทาร์ตออกมาได้ไม่ดี ผึ้ง ทำทารต์ออกมา แป้งหนามาก และอบไม่สุก มินทำทารต์ส่วนผสมผิด ส่วนพิมพ์นอกจากจำนวนกล่องของพิมพ์ก็ไม่ครบ แป้งทารต์พายก็ไม่สุก และคนที่ต้องถอดผ้ากันเปื้อนและออกจากการแข่งขัน คือ พิมพ์
  • ผู้ชนะ: เดียว
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ผึ้ง, มิน และพิมพ์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พิมพ์

ตอนที่ 3 : การทำอาหารจีน

แก้
ออกอากาศ 18 กุมภาพันธ์ 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ เดียว และลัทที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม
หัวหน้าทีม สมาชิก
เดียว เมี่ยง, เบลล์, เฟิส, เอม, ต๋อง, แบงค์, กะปอม และหมอตั้ม
ลัท กอล์ฟ, จ๋า, แอนนี่, ยูริ, แพร, น้าจ้อน, มิน และผึ้ง

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งแรก ได้ไปทำการแข่งขันกันที่วัดธรรมกตัญญู (“ศาลเจ้าเสียนหลอไต้เทียนกง”) จ.สมุทรปราการ โดยทั้งสองทีมต้องทำอาหารให้กับอากงและอาม่าจากตระกูลต่าง ๆ ตัวแทนคนไทยเชื้อสายจีน จากทั้งหมด 38 แซ่ ในประเทศไทย อายุระหว่าง 50–90 ปี จำนวน 201 คน โดยโจทย์ก็คือ อาหารจีน โดยต้องทำของคาวและของหวานอย่างละจาน และมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 1 ชม.ครึ่ง และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 1 ชม. ในระหว่างทำอาหารทีมสีแดงเกิดปัญหาเนื่องจากเดียวหัวหน้าทีมไม่สามารถควบคุมลูกทีมได้ ทางด้านสีน้ำเงินลัทสามารถควบคุมทีมได้ดีกว่า โดยทีมสีแดงทำอาหารทันเวลาและยังมีอาหารเหลือแจกจ่ายให้กับผู้ชิมได้อีกรอบ ทีมสีน้ำเงินทำอาหารไม่พอ ทำให้ต้องต้องทำอาหารเพิ่มอีก แต่ท้ายที่สุดก็ทำอาหารได้ครบทันเวลาพอดี เมนูของทีมสีแดงคือหมี่ผัดเต้าหู้จักรพรรดิ ส่วนของหวานคือรากบัวต้มน้ำลำไย และเมนูของทีมสีน้ำเงินคือมี่สั้วอายุยืนยาว เสิร์ฟคู่กับซุป 5 เซียน ส่วนของหวานคือโอนีแปะก๊วยนมสด โดยผลจากการตัดสินทีมที่ชนะคือ ทีมสีน้ำเงิน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบภารกิจแบบทีมทำให้ทั้งทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยเดียวซึ่งเป็นหัวหน้าทีมมีสิทธิ์พิเศษสามารถเลือก 3 คนในทีมให้ผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ ซึ่งเดียวได้เลือก เฟิส, เมี่ยง และเบลล์ให้ผ่านเข้ารอบ แต่เมี่ยงขอเข้าแข่งขันและให้เดียวผ่านเข้ารอบแทน โดยในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้ได้คือ "ข้าวหน้าปลาไหลญี่ปุ่น" หมอตั้ม, ต๋อง และเมี่ยง เป็นสามอันดับอาหารที่แย่ที่สุด หมอตั้ม ทำข้าวหน้าปลาไหลมีรสชาติเค็มและน้ำซุปตับปลาไหลมีกลิ่นคาวเกินไป ต๋อง แล่ปลาไหลไม่สม่ำเสมอ มีรสชาติเค็มเกินไป และเมี่ยงทำแล่ปลาไหลสมบูรณ์แต่ยังมีก้าง ซอสก็หวานเกินไป และคนที่ถูกตัดออกจากการแข่งขัน คือ ต๋อง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: หมอตั้ม, ต๋อง และเมี่ยง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ต๋อง

ตอนที่ 4 : การทำอาหารจากมะเขือ

แก้
ออกอากาศ 25 กุมภาพันธ์ 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 2: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีเนื้อแองกัสส่วนทีโบน จากประเทศออสเตรเลียเป็นวัตถุดิบหลักและวัตถุดิบอื่น ๆ ประกอบด้วยหอยเชลล์, มันฝรั่ง, แผ่นเกี๊ยว, ผักแขนง, สตรอว์เบอร์รี, พริกขี้หนูสวน, มอสซาเรลลา, ไข่ไก่, ดอกไม้กินได้ และปูเค็ม โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที ในการทำอาหารผู้เข้าแข่งขัน 2 คนคือ กอล์ฟและเอม เป็นสองจานที่ทำออกมาได้ไม่ดี ทำให้ถูกตำหนิจากคณะกรรมการ โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดคืออาหารของเดียว, แบงค์ และจ๋า โดยจ๋าก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และมีสิทธิ์ควบคุมการแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: จ๋า
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 2: จากการที่ จ๋า ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้และมีสิทธิ์ในการเลือกจะให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนทำอาหารคาวหรือของหวาน โดยคนที่ได้รับตุ๊กตาลิตเติล เดวิล (Little Devil) จากจ๋าจะต้องทำของหวาน ส่วนคนที่ไม่ได้รับตุ๊กตาเดวิลต้องทำของคาว โดยคนที่ได้รับตุ๊กตาเดวิลมี กะปอม, น้าจ้อน, เดียว, เบลล์, แบงค์, ผึ้ง, เฟิส และลัท โดยวัตถุดิบที่จะใช้ในการแข่งขันคือ มะเขือ และในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที โดยลัท, เฟิส , เดียว, แพร และแบงค์ ทำอาหารได้ดีจนได้รับคำชมจากกรรมการ และลัทคือผู้ชนะในรอบแข่งขันนี้ โดยลัทและเฟิสจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันประเภททีมในครั้งต่อไป น้าจ้อน, เอม และเบลล์ เป็นสามจานที่ทำออกมาได้ไม่ดี น้าจ้อน ตั้งใจจะทำขนมไทย อย่างขนมเล็บมือนาง ตัวแป้งแข็งกระด้าง และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เอม ทำแป้งทาโก้ไม่สุก มีกลิ่นน้ำพริกกะปิเหม็นสุดๆและมีรสชาติเผ็ดเกินไป ส่วนเบลล์ทำแป้งไม่สุก โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เอม
  • ผู้ชนะ: ลัท
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: น้าจ้อน, เอม และเบลล์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เอม

ตอนที่ 5 : การทำอาหารริมทาง

แก้
ออกอากาศ 4 มีนาคม 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ ลัทและเฟิสที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม
หัวหน้าทีม สมาชิก
ลัท จ๋า, กอล์ฟ, แบงค์, กะปอม, แพร, หมอตั้ม และมิน
เฟิส ยูริ, เดียว, น้าจ้อน, แอนนี่, เบลล์, ผึ้ง และเมี่ยง

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งที่ 2 ได้ไปทำการแข่งขันกันที่ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี โดยทั้ง 2 ทีมต้องทำอาหารให้วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากทั่วกรุงเทพมหานคร จำนวน 251 คน โดยต้องทำของคาวและของหวาน มีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จอีก 60 นาที แถมช่วงการแข่งขันนั้นก็ถูกเหล่านักชิมปริศนากระตุ้นอารมณ์ตลอดด้วยการบีบแตร เบิ้ลเครื่อง ส่งเสียงดังกระหึ่มไปทั่ว แถมยังต้องเจอกับสภาพอากาศร้อนสุด ๆ อีกเลยทำให้ทั้งสองทีมต่างเร่งรีบจนเกิดอาการเครียดไปตาม ๆ กัน เมนูของทีมสีแดงคือเฟตตูชีนีหมูย่างจิ้มแจ่ว ส่วนของหวานคือแกงบวดกล้วยฟักทอง และเมนูของทีมสีน้ำเงินคือเฟตตูชินีผัดไทยไก่ทอดใหญใหญ่ ส่วนของหวานคือแกงบวชฟักทองเมลอน อะโลฮา จากการตัดสินโดยให้วินมอเตอร์ไซค์ขับรถไปหาทีมที่ต้องการลงคะแนน โดยสีน้ำเงินได้ 179 คะแนน สีแดงได้ 72 คะแนน ทำให้ทีมสีน้ำเงินเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอย

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้ทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยเฟิสซึ่งเป็นหัวหน้าทีมสีน้ำเงินที่เป็นฝ่ายชนะมีสิทธิ์พิเศษสามารถเลือก 4 คนในทีมสีแดงให้ผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งทดสอบความกดดัน ซึ่งเฟิสได้เลือก กะปอม, หมอตั้ม, แบงค์ และมินให้ผ่านเข้ารอบ โดยในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้ได้คือ "ไข่ไก่" โดยต้องทำการทดสอบจำนวน 3 รอบ โดยแต่ละรอบจะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวและผ่านเข้ารอบต่อไป รอบแรกการทดสอบทำ "ไข่ดาวน้ำ" คนที่ชนะและผ่านเข้ารอบต่อไปคือ ลัท ในรอบที่สองต้องทำ "ไข่ดาวกรอบ" คนที่ชนะในรอบที่สองและผ่านเข้ารอบต่อไปคือ จ๋า ในรอบที่สามต้องทำ "ข้าวโอมุ" คนที่ชนะในรอบที่สามและผ่านเข้ารอบต่อไปคือ กอล์ฟ และคนที่ต้องถอดผ้ากันเปื้อนและออกจากการแข่งขันคือ แพร
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แพร

ตอนที่ 6 : การทำอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่นไทย

แก้
ออกอากาศ 11 มีนาคม 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 3: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีปลาหมึกทาโกะซึ่งเป็นปลาหมึกที่แพงที่สุดในโลกเป็นวัตถุดิบหลักและวัตถุดิบอื่น ๆ ประกอบไปด้วยมิริน, กะหล่ำม่วง, โชยุ, ต้นหอมญี่ปุ่น, ถั่วแดง, แป้งอเนกประสงค์, ลูกพลับ, น้ำส้มยูซุ และสาหร่าย โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้จากการคัดเลือกของคณะกรรมการคืออาหารของเฟิส, แบงค์ และกะปอม โดยกะปอมก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และมีสิทธิ์ควบคุมการแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: กะปอม
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3: จากการที่ กะปอม ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยโจทย์ของวัตถุดิบในรอบนี้คือวัตถุดิบท้องถิ่นของไทย โดยมีปลาดุก, หมูป่า และไก่บ้าน โดยกะปอมได้เลือกไก่บ้านให้กอล์ฟ, จ๋า, หมอตั้ม และน้าจ้อน เลือกปลาดุกให้ลัท, เมี่ยง, ผึ้ง, เบลล์ และแอนนี่ และเลือกหมูป่าให้แบงค์, เดียว, ยูริ, เฟิส และมิน ในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที โดยลัท, เบลล์, เฟิส และจ๋า ทำอาหารได้ดีจนได้รับคำชมจากกรรมการ และจ๋าคือผู้ชนะในรอบแข่งขันนี้ โดยจ๋าและเฟิสจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันประเภททีมในครั้งต่อไป ส่วนอาหารสองจานที่แย่ที่สุดคือ กอล์ฟและน้าจ้อนที่ทำอาหารจากไก่บ้าน โดยทั้งสองคนทำอาหารออกมาไม่สุก ทำให้กรรมการไม่สามารถชิมอาหารของทั้งสองคนได้ และคนที่ถูกคัดออกจากรายการคือ จ้อน
  • ผู้ชนะ: จ๋า
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: กอล์ฟ†และน้าจ้อน†
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: น้าจ้อน†

หมายเหตุ † หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเชฟเอียน (พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย) ทิ้งอาหารโดยไม่มีการชิมในการแข่งขันนั้น

ตอนที่ 7 : การทำอาหารที่ให้พลังงานและอิ่มท้อง

แก้
ออกอากาศ 18 มีนาคม 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ จ๋า และเฟิสที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม โดยจ๋าซึ่งเป็นผู้ชนะในครั้งก่อน ได้สิทธิ์เลือกลูกทีมเป็นคนแรก
หัวหน้าทีม สมาชิก
จ๋า ยูริ, กอล์ฟ, ลัท, เบลล์, แอนนี่ และหมอตั้ม
เฟิส กะปอม, ผึ้ง, แบงค์, เมี่ยง, มิน และเดียว

ในการแข่งขันทดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่ 3 ได้ไปทำการแข่งขันกันที่ที่หาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยทั้งสองทีมต้องทำอาหารให้กับลูกเสือและเนตรนารีอายุระหว่าง 13–15 ปี จำนวน 501 คน โดยต้องทำอาหารในโจทย์ "อาหารที่ให้พลังงานและอิ่มท้อง" ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนร้อยละ 50 แป้งร้อยละ 25 และผักร้อยละ 25 มีเวลาทำอาหาร 90 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จอีก 60 นาที ทีมสีน้ำเงินทำอาหารในเมนู "เบอร์เกอร์ไก่ซอสฮอตบาร์บีคิวกับโคลสลอว์" ด้านสีแดงทำเมนู "เบอร์เกอร์ไก่ศรีราชามายองเนส เสิร์ฟกับไข่คนกะทิและหัวหอมเบคอนคาราเมล" ในระหว่างการทำอาหารทีมสีน้ำเงินมีปัญหาคือ ไก่ไม่สุกทำให้ต้องนำไก่มาผัดให้สุกในกระทะ และในการเสิร์ฟมีอาหารบางจานไก่ไม่สุก ทำให้เชฟต้องมาเตือน ด้านฝ่ายทีมสีแดงนำขนมปังมาไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกเสือและเนตรนารี ทำให้ต้องหั่นขนมปังครึ่งหนึ่งเพื่อให้พอต่อจำนวนอาหารที่จะต้องเสิร์ฟ และในการเสิร์ฟอาหารทีมสีแดงเสิร์ฟไม่ทันเวลา ทำให้มีเนตรนารีไม่ได้รับอาหารจากทีมสีแดงถึง 24 คน จากการตัดสินโดยให้ลูกเสือและเนตรนารีวิ่งไปหาทีมที่ต้องการลงคะแนน โดยฝ่ายสีน้ำเงินได้ชนะไปอย่างขาดลอย ได้คะแนนไปถึง 367 คะแนน ส่วนทีมสีแดงได้คะแนนไปเพียง 154 คะแนน ทำให้ทีสีแดงต้องไปแข่งขันในรอบทดสอบความกดดัน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้ทั้งทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้คือ "ขนมเบื้องญวนสูตรชาววัง" และต้องทำตามสูตรดั้งเดิมคือ แป้งต้องบางและกรอบ ไม่แฉะ ไม่หนา ไม่นิ่ม ไส้ส่วนประกอบทุกอย่างต้องไม่แฉะ โดยเฉพาะไส้กุ้งต้องมีสีชมพูอมส้มสวยด้วยมันกุ้งธรรมชาติ ไส้ต้องมีรสชาติเค็มอมหวาน อาจาดที่กินแกล้มต้องมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน และจะขาดเค็มไม่ได้ มีเวลาในการทำอาหารให้ 45 นาที โดยจากการตัดสินของคณะกรรมการ มิน, แบงค์, เมี่ยง, เดียว ทำอาหารได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดและได้รับคำชมจากคณะกรรมการ ผู้เข้าแข่งขันสามคนที่ทำอาหารออกมาได้ไม่ดีคือ กะปอม, เฟิส และผึ้ง ในส่วนของกะปอมและเฟิส ทำแป้งออกมานิ่มเกินไป และทำไส้ออกมาได้ไม่ดี ส่วนผึ้งทำไส้ออกมาได้ดี แต่จานอาหารไม่สะอาด และมีหัวกุ้งอยู่ในไส้ และคนที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นี้คือ ผึ้ง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: กะปอม, เฟิส และผึ้ง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ผึ้ง

ตอนที่ 8 : การทำอาหารจากสุดยอดวัตถุดิบระดับโลก

แก้
ออกอากาศ 25 มีนาคม 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 4: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น โจทย์ในครั้งนี้คือ ของหวาน โดยมีนมข้นหวานเป็นวัตถุดิบหลักและวัตถุดิบอื่น ๆ ประกอบด้วยแอปเปิล, กล้วยหอม, ถั่วเหลือง, เฮเซลนัต, เนย, ใบเตย, ฝักวานิลลา, ดาร์กช็อกโกแลต, เบอร์รี และครีมชีส โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 90 นาที โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบกล่องปริศนาครั้งนี้คืออาหารของจ๋า, แบงค์ และลัท โดยแบงค์ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และมีสิทธิ์ควบคุมการแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: แบงค์
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4: จากการที่ แบงค์ ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยโจทย์ของวัตถุดิบในรอบนี้คือสุดยอดวัตถุดิบระดับโลก โดยมีเนื้อโกเบระดับเอไฟฟ์จากประเทศญี่ปุ่น, คะเนเดียนลอปสเตอร์จากอเมริกาเหนือ และปลิงทะเล สุดยอดวัตถุดิบระดับจักรพรรดิจากประเทศจีน โดยแบงค์ได้เลือกปลิงทะเลให้เฟิส, เบลล์, กะปอม และแอนนี่ เลือกเนื้อโกเบให้หมอตั้ม, มิน, ลัท และเดียว และเลือกคะเนเดียนลอปสเตอร์ให้เมี่ยง, จ๋า, กอล์ฟ และยูริ ในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที โดยมิน, หมอตั้ม, ยูริ, เบลล์ และเฟิส ทำอาหารได้ดีจนได้รับคำชมจากกรรมการ และมินคือผู้ชนะในรอบแข่งขันนี้ ส่วนอาหารสามจานที่ทำออกมาไม่สร้างสรรค์คือ เดียว, เมี่ยง และแอนนี่ เดียว ทำเนื้อโกเบ สุกเกินไป เมี่ยง ทำล็อบเตอร์ออกมาที่เละมากและไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และแอนนี่ ทำปลิงทะเลมีรสชาติมีกลิ่นคาวมาก โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ แอนนี่
  • ผู้ชนะ: มิน
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เดียว, เมี่ยง และแอนนี่
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แอนนี่

ตอนที่ 9 : การทำชุดติ่มซำ

แก้
ออกอากาศ 1 เมษายน 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบคู่: โดยสัปดาห์นี้ในการแข่งขันเป็นการแข่งขันประเภทคู่ ซึ่งเป็นการแข่งขันประเภทคู่ครั้งแรกของการแข่งขัน โดยโจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการทำอาหารจีน คือ การทำชุดติ่มซำ โดยต้องทำชุดติ่มซำจำนวน 5 อย่าง จำนวน 16 ชิ้น ประกอบไปด้วยขนมจีบหมู, ขนมจีบกุ้ง, ฮะเก๋าฟัวกราคาเวียร์, ติ่มซำเป๋าฮื้อ และกุ้งหน้างา โดยมีเชฟป้อม ธนรักษ์ ชูโต ผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารจีน มาเป็นคนสาธิตการทำติ่มซำให้ผู้เข้าแข่งขัน ในการทำอาหารมีเวลาสำหรับผู้เข้าแข่งขันจำนวน 90 นาที โดยผลัดกันทำอาหารคนละ 15 นาที เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือน ผู้เข้าแข่งขันต้องแตะมือกันเพื่อสับเปลี่ยนกันทำอาหาร โดยชุดติ่มซำที่ทำออกมาต้องเหมือนกับต้นตำรับที่เชฟป้อมได้ทำไว้ ซึ่งจากการที่มินเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ก่อนหน้า ทำให้มีสิทธิ์พิเศษในการจับคู่ให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ และตัวเอง ซึ่งมินได้เลือกจับคู่ให้ผู้เข้าแข่งขันดังนี้ ยูริกับเบลล์, จ๋ากับกะปอม, กอล์ฟกับแบงค์, เฟิสกับหมอตั้ม, เดียวกับเมี่ยง และมินกับลัท หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารทั้งหมดของผู้เข้าแข่งขัน คู่ของยูริกับเบลล์ทำอาหารไม่เสร็จ เสิร์ฟอาหารไม่ครบ และทำอาหารร่วมกันเป็นทีมได้ไม่ดี ทำให้ทั้งคู่ต้องไปแข่งในรอบทดสอบความกดดัน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้คู่ของยูริกับเบลล์ ซึ่งเป็นคู่ที่ทำอาหารได้มีข้อผิดพลาดมากที่สุด และการทำงานเป็นทีมได้ไม่ดีนักในรอบภารกิจแบบคู่ ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบตัวต่อตัว ผู้เข้าแข่งขันที่พลาดในการทำอาหาร จะต้องออกจากการแข่งขันทันที โดยโจทย์ในรอบนี้คือ สเต๊กเนื้อจัมโบ้แบบมีเดียมแรร์ (Medium Rare) และเสิร์ฟพร้อมมันฝรั่งบดและหัวหอมทอดรูปดอกไม้ (Blooming Onion) โดยเนื้อสเต๊กตรงกลางต้องเป็นสีชมพูเข้มเกือบแดง รอบ ๆ เป็นสีชมพูอ่อน รอบนอกสุดจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม มันฝรั่งบดเนื้อต้องเนียน ไม่ร่วน ไม่หนืด ส่วนหัวหอมทอดรูปดอกไม้ แป้งที่เคลือบต้องกรอบ ไม่อมน้ำมัน หัวหอมข้างในต้องสุกและหวาน โดยในการแข่งขันตัวต่อตัว มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 40 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของทั้งสองคน ทั้งคู่ทำหัวหอมทอดรูปดอกไม้และมันฝรั่งบดออกมาได้ไม่ดีทั้งคู่ แต่ยูริทำสเต๊กแบบมีเดียมแรร์ออกมาได้ตรงตามโจทย์ แต่เบลล์ทำออกมาในแบบแรร์ ซึ่งผิดไปจากโจทย์ ทำให้เบลล์ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เบลล์

ตอนที่ 10 : การทำอาหารไทยโบราณ

แก้
ออกอากาศ 8 เมษายน 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้เป็นการแข่งขันภารกิจแบบทีม โดยกรรมการได้เลือกยูริ, กอล์ฟ และหมอตั้ม ซึ่งไม่เคยชนะมาก่อน ให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆเลือกเป็นหัวหน้าทีม โดยจ๋า และแบงค์ เลือกกอล์ฟ ส่วนลัท, มิน, เมี่ยง, เดียว, เฟิส และกะปอม เลือกยูริ ส่วนหมอตั้มไม่มีคนเลือก ทำให้ต้องไปอยู่ทีมกอล์ฟ ส่วนทีมยูริต้องเลือกผู้เข้าแข่งขันหนึ่งคนไปทีมกอล์ฟ ซึ่งยูริได้เลือกกะปอมไปอยู่ทีมกอล์ฟ
หัวหน้าทีม สมาชิก
ยูริ เฟิส, เดียว, ลัท, เมี่ยง และมิน
กอล์ฟ แบงค์, จ๋า, หมอตั้ม และกะปอม

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งที่ 4 ได้ไปทำการแข่งขันกันที่บ้านเลขที่ 1 ตรอกกัปตันบุช โดยทั้งสองทีมต้องทำอาหารสำรับไทยโบราณ ที่มีรสชาติดั้งเดิม ให้เหล่าสมาชิกราชสกุล ที่มีทั้งหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ร่วมไปถึงผู้ที่สืบสายราชสกุลที่เป็น ณ อยุธยา และเหล่าสมาชิกราชนิกุล ซึ่งเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกับต้นตำรับอาหารไทยโบราณ จำนวน 61 คน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 2 ชั่วโมง และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จอีก 1 ชั่วโมง โดยอาหารที่ทำต้องดีที่สุด ประณีตที่สุด ด้านเมนูอาหารของทีมแดงคือ ต้มกะทิสายบัวใส่ปลาทู พล่ากะปิ ยำวุ้นเส้นโบราณ และมีไพลินอัญชันกรอบเป็นของหวาน ส่วนเมนูอาหารของทีมน้ำเงินคือ แกงเขียวหวานเนื้อโบราณ หมูหวาน น้ำพริกปลาทู และมีสาคูต้มน้ำตาลมะพร้าว กับโฟมกะทิและเกสรดอกไม้เป็นของหวาน ด้านทีมสีน้ำเงิน มีปัญหาในการเสิร์ฟของหวานไม่ทันเวลา และทีมที่ชนะในรอบนี้คือ ทีมสีน้ำเงิน ชนะไปด้วยคะแนน 40 ต่อ 21 คะแนน เนื่องจากรสชาติอาหารของทีมสีแดงไปในทางเดียวกันจนเกินไป ซึ่งผิดไปจากโจทย์อาหารสำรับไทยโบราณ

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้ทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีคนถูกคัดออกถึงสองคน โดยโจทย์ในการแข่งขันบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำในรอบนี้ได้เป็นอาหารไทยโบราณเหมือนกันก็คือคือ "ฉู่ฉี่ไข่ลูกรอกสูตรโบราณ" โดยที่ลูกรอกต้องได้รูปสวยงาม ต้องไม่มีกลิ่นคาวของไส้โดยเด็ดขาด เครื่องแกงฉู่ฉี่ต้องมีรสชาติตรงตามสูตรไทย และไม่อนุญาตให้ใช้น้ำมันในการผัดเครื่องแกง ต้องเคี่ยวกะทิจนแตกมันเท่านั้น โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 1 ชั่วโมง 15 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหาร สามจานที่แย่ที่สุดคือ เมี่ยง, มิน และเดียว ซึ่งเมี่ยงทำลูกรอกไส้แตก เครื่องแกงหยาบเกินไป ส่วนมินกลับลูกรอกผิดด้าน เครื่องแกงหยาบเกินไป ส่วนเดียวทำลูกรอกกลับด้าน และคนที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นี้คือ มินและเมี่ยง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: เมี่ยง, มิน และเดียว
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เมี่ยง และมิน

ตอนที่ 11 : การทำอาหารจากผลไม้ไทย

แก้
ออกอากาศ 15 เมษายน 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 5: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้นเป็นกล่องปริศนาที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยมีการแข่งขันมาสเตอร์เชฟไทยเเลนด์มา ซึ่งวัตถุดิบในกล่องปริศนาคือ หางจระเข้ หลายคนรู้จักในนาม บ้องตัน ซึ่งเป็นเนื้อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื้อชนิดนี้มีรสสัมผัสคล้ายเนื้อไก่ นิยมรับประทานกันทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีนและภัตตาคารหรูใหญ่ ๆ และมีวัตถุดิบอื่น ๆ ประกอบไปด้วยแอนโชวี, ข้าวรีซอตโต, ดาหลา, มะเขือเทศเชอร์รี, ร็อกเกตบาร์, สับปะรด, ทรัฟเฟิลสด, แป้งโฮลวีต, หน่อไม้ฝรั่ง, มอสซาเรลลา และแฮมปาร์มา โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้จากการคัดเลือกของคณะกรรมการคืออาหารของแบงค์, ลัท และยูริ โดยยูริก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และมีสิทธิ์ควบคุมการแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: ยูริ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5: จากการที่ ยูริ ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยโจทย์ของวัตถุดิบในรอบนี้คือผลไม้ไทย ซึ่งมีผลไม้ด้วยกัน 8 ชนิด ประกอบไปด้วยกล้วยหอม, มะยงชิด, มะเฟือง, ทับทิม, ตะลิงปลิง, ทุเรียน, สาเก และมะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกได้เองว่าจะทำเป็นของคาวหรือของหวาน ซึ่งยูริได้เลือกกล้วยหอมให้เฟิส เลือกมะยงชิดให้เดียว เลือกมะเฟืองให้หมอตั้ม เลือกทับทิมให้ลัท เลือกตะลิงปลิงให้จ๋า เลือกทุเรียนให้แบงค์ เลือกสาเกให้กะปอม และเลือกมะม่วงหาวมะนาวโห่ให้กอล์ฟ ซึ่งกะปอม จ๋า และกอล์ฟ เป็นคนที่ยูริอยากกำจัดมากที่สุด จึงได้เลือกผลไม้ที่ยากที่สุดให้ทั้งสามคน ในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 90 นาที โดยจ๋า, ลัท, แบงค์, เฟิส และหมอตั้ม ทำอาหารได้ดี สามารถชูรสชาติของวัตถุดิบหลักได้ดี จนได้รับคำชมจากกรรมการ และหมอตั้มคือผู้ชนะในรอบแข่งขันนี้ โดยหมอตั้มและจ๋าจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันประเภททีมในครั้งต่อไป ส่วนอาหารสองจานที่แย่ที่สุดคือ กอล์ฟและกะปอม ซึ่งกอล์ฟทำอาหารจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ซึ่งทั้งจานเปรี้ยวไปหมด และเนื้อหมูไม่สุก ส่วนกะปอมทำอาหารจากสาเก ซึ่งอาหารไม่มีรสชาติ จืดเกินไป และคนที่ถูกคัดออกจากรายการคือ กอล์ฟ
  • ผู้ชนะ: หมอตั้ม
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: กอล์ฟและกะปอม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: กอล์ฟ

ตอนที่ 12 : การทำอาหารเพื่อสุขภาพ

แก้
ออกอากาศ 22 เมษายน 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ หมอตั้ม และจ๋าที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยในรอบนี้ผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนให้ทีมคู่แข่ง โดยหมอตั้มซึ่งเป็นผู้ชนะในครั้งก่อน ได้สิทธิ์เลือกลูกทีมเป็นคนแรก
หัวหน้าทีม สมาชิก
หมอตั้ม ยูริ, แบงค์ และลัท
จ๋า กะปอม, เดียว และเฟิส

ในการแข่งขันทดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่ 5 ได้ทำการแข่งขันภารกิจแบบทีมกันที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน โดยภารกิจในครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมต้องทำอาหารให้เหล่านางแบบมืออาชีพ ระดับแนวหน้าของประเทศไทย จำนวน 31 คน โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ อาหารเพื่อสุขภาพ โดยอาหารที่ทำต้องดีต่อสุขภาพ ไขมันต่ำ แคลอรีต่ำ ภายใต้โจทย์ต้องใช้วัตถุดิบคือ อกไก่เป็นองค์ประกอบในการทำอาหารคาว และไข่ขาวเป็นองค์ประกอบในการทำของหวาน และยังมีวัตถุดิบเสริมเช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช ให้ผู้เข้าแข่งขัน โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 90 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอีก 60 นาที โดยต้องเสิร์ฟของคาวก่อน อีก 30 นาที จึงจะเสิร์ฟของหวาน เมนูของคาวของทีมสีแดงคือ "แม่ไก่ฟรอนต์โรว์" ไก่บดกับแซลมอน มูสต้มยำเสิร์ฟพร้อมกับซอสเผือกและเห็ด และเมนูของคาวของทีมสีน้ำเงินคือ "พ่อไก่พรมแดง" ไก่ม้วนสอดไส้เห็ด เสิร์ฟคู่กับฟักทองบดกลิ่นเปลือกส้ม สลัดกีนัวผักเขียว ส่วนในด้านของหวานทีมสีน้ำเงินเสิร์ฟเมนู "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" ไอศกรีมเสาวรส มูสไข่ขาวช็อกโกแลต ซอสอาโวคาโดแอปเปิล และของหวานของทีมสีแดงคือ "หวานนี้จะกี่แคล" พุดดิงนมอัลมอนด์โยเกิร์ต เบอร์รีซอสและมูสอาโวคาโด และผลจากการลงคะแนนของคณะกรรมการ ทีมสีน้ำเงินเป็นฝ่ายชนะ ไปด้วยคะแนน 17 ต่อ 14 คะแนน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้ทั้งทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้คือ "ลาวาเค้กไส้สังขยาใบเตย" ซึ่งเป็นเมนูที่วัดความสามารถอย่างแท้จริง เพราะถ้าทิ้งไว้ในเตาอบนานเกินไปเพียงนิดเดียวเค้กจะแข็ง แต่ถ้าเอาออกจากเตาอบเร็วเกินไปจะเละเป็นน้ำ และเมื่อผ่าออกมา ไส้เค้กต้องไหลเหมือนลาวาภูเขาไฟ ลาวาเค้กที่ดี เนื้อด้านนอกต้องนุ่มละมุน ไม่หยาบ ไม่แข็งกระด้าง และเมื่อผ่าออกมาไส้ต้องไหลเป็นลาวา และต้องคงรสชาติของสังขยาใบเตย และมีความหอมอ่อน ๆ ของกะทิ มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 45 นาที โดยเดียวและจ๋า ทำลาวาเค้กออกมาได้ดี ส่วนเฟิส เค้กเมื่อผ่าออกมาไม่เป็นลาวา ด้านกะปอม เค้กเมื่อผ่าออกมาไม่เป็นลาวาและมีรสชาติหวานเกินไป เนื่องจากใส่ส่วนผสมผิดไปจากสูตร และคนที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นี้คือ กะปอม
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: เฟิสและกะปอม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: กะปอม

ตอนที่ 13 : การทำอาหารจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของวัว

แก้
ออกอากาศ 29 เมษายน 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 6: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น โจทย์ในครั้งนี้คือ เนื้อหมูสดอนามัย ซึ่งเป็นโปรตีนหลักและวัตถุดิบอื่น ๆ ประกอบด้วยฟัวกรา, ข้าวโพด, แป้งพัฟ, เห็ดช็องปีญง, พริกอาบาเนโร, พาร์สลีย์, ลูกพีช, องุ่นเขียว, มัสตาร์ด, ครีมเปรี้ยว, เนยแข็งเคาดา และหอยดอง โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบกล่องปริศนาครั้งนี้คืออาหารของเฟิส, เดียว และหมอตั้ม โดยเดียวก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และมีสิทธิ์ควบคุมการแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เดียว
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6: จากการที่ เดียว ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยโจทย์ของวัตถุดิบในรอบนี้คืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของวัว ประกอบไปด้วยลิ้นวัว หางวัว และอัณฑะวัว โดยเดียวได้เลือกอัณฑะวัวให้เฟิสและแบงค์ เลือกลิ้นวัวให้ยูริและลัท และเลือกหางวัวให้จ๋าและหมอตั้ม ในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที โดยจ๋า, หมอตั้ม, และเฟิส ทำอาหารได้ดีจนได้รับคำชมจากกรรมการ และจ๋าคือผู้ชนะในรอบแข่งขันนี้ โดยจ๋าและหมอตั้มจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันประเภททีมในครั้งต่อไป ส่วนอาหารสามจานที่ทำออกมาไม่สร้างสรรค์คือ แบงค์, ลัท และยูริ แบงค์ ทำเครื่องแกงให้เราผิดหวังจริงๆ ลัท ไม่รู้จักวัตถุดิบจากชิ้นส่วนต่างๆของวัวทำให้รสชาติเหนียวมาก แต่ยังถนัดเรื่องของหวาน และยูริทำลิ้นวัวออกมาแข็งกระด้าง โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ยูริ
  • ผู้ชนะ: จ๋า
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: แบงค์, ลัท และยูริ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ยูริ

ตอนที่ 14 : การทำอาหารจานเอกลักษณ์ของห้องอาหาร

แก้
ออกอากาศ 6 พฤษภาคม 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ จ๋า และหมอตั้มที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคน โดยจ๋าซึ่งเป็นผู้ชนะในครั้งก่อน ได้สิทธิ์เลือกลูกทีมเป็นคนแรก
หัวหน้าทีม สมาชิก
จ๋า เดียวและเฟิส
หมอตั้ม ลัทและแบงค์

ในการแข่งขันทดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่ 6 ได้ทำการแข่งขันภารกิจแบบทีมกันที่โรงแรม เลอบัว แอท สเตท ทาวเวอร์ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะได้ลงมือทำอาหารกับครัวจริงของโรงแรมที่มีเครื่องมือแบบครัวโรงแรมระดับสุดหรู โดยภารกิจในครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมต้องทำอาหารให้แขกวีไอพีของโรงแรม ซึ่งคุ้นเคยกับรสชาติอาหารของโรงแรม จำนวน 60 คน โดยโจทย์ในครั้งนี้คือต้องทำ อาหารจานเอกลักษณ์ของห้องอาหาร ให้เหมือนกับต้นฉบับอย่างสมบูรณ์แบบ และเสิร์ฟให้กับลูกค้าจริงของห้องอาหารแห่งนี้ โดยมีเชฟแซมเป็นคนสาธิตวิธีในการทำอาหารให้กับผู้เข้าแข่งขัน อาหารที่ต้องทำมีด้วยกัน 4 จาน โดยมีอาหารเรียกน้ำย่อย 2 จาน คือ ไก่ทอดสมุนไพรจีนและกุ้งลายเสื้อครีมวาซาบิ อาหารจานหลักอีก 2 จานคือ กุ้งมังกรคะน้าฮ่องกงและเนื้อวากิวผัดซอสพริกไทยดำ ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมมีเวลาในการเตรียมอาหาร 60 นาที และเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จอีก 120 นาที โดยจะมีเชฟเอียนและเชฟป้อมเป็นคนขานออร์เดอร์และเร่งอัตราเร็วในการทำงาน และผลจากการลงคะแนนของคณะกรรมการ ทีมที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือ ทีมสีแดง

  • ทีมที่ชนะ: สีแดง
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดัน ทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีมต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้คือ อาหารจากหนังสือสอนทำอาหารของแก้ว ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์คนแรก โดยเมนูที่แก้วได้เลือกคือ "ตอร์เตลลีนีหมูคูโรบูตะ ซุปก๋วยเตี๋ยวเรือ" ซึ่งเป็นเมนูที่ได้รับแรงบันดาลใจจากก๋วยเตี๋ยวเรือ โดยนำหมูตุ๋น ผักบุ้ง และถั่วงอกมาทำเป็นไส้ตอร์เตลลีนี (พาสตาคล้ายเกี๊ยว) หมูที่เป็นไส้ตอร์เตลลีนีต้องนุ่ม ตัวหมูที่เป็นสเต๊กซู-วีด (ปรุงในสุญญากาศ) ต้องนุ่ม ชุ่มฉ่ำ และไม่แข็งกระด้าง ตัวตอร์เตลลีนีแป้งจะต้องสุก และน้ำซุปกงซอเมต้องใส ไม่ขุ่น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารให้เหมือนต้นฉบับทั้งหน้าตาและรสชาติ มีเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งจำนวน 90 นาที โดยลัทเป็นคนที่ทำอาหารได้ใกล้เคียงต้นฉบับที่สุด ส่วนแบงค์และหมอตั้มมีข้อผิดพลาดทั้งคู่ ด้านแบงค์ทำไส้ตอร์เตลลีนีออกมาเหม็นเขียว หมูคูโรบูตะแห้งเกินไป ด้านหมอตั้มทำไส้ตอร์เตลลีนีออกมาแฉะเกินไป น้ำซุปมีรสชาติเค็มเกินไป และแป้งมีสีค่อนข้างซีด และคนที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นี้คือ หมอตั้ม
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: แบงค์และหมอตั้ม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: หมอตั้ม

ตอนที่ 15 : การทำอาหารนานาชาติ

แก้
ออกอากาศ 13 พฤษภาคม 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 7: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น โจทย์ในครั้งนี้คือ ปูจักรพรรดิอะแลสกา ซึ่งเป็นหนึ่งในปูชื่อดังที่สุดในโลก มีชื่อเสียงในเรื่องของความใหญ่และแพงเป็นวัตถุดิบหลัก และนอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ เป็นวัตถุดิบเสริมให้กับผู้เข้าแข่งขัน โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบกล่องปริศนาครั้งนี้คืออาหารของเดียว, จ๋า และลัท โดยจ๋าก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และมีสิทธิ์ควบคุมการแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: จ๋า
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7: จากการที่ จ๋า ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ในการคุมเกมการแข่งขันในรอบนี้และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยโจทย์ของอาหารในรอบนี้คือ อาหารนานาชาติ ประกอบไปด้วยอาหารอิตาเลียน อาหารญี่ปุ่น และอาหารอินเดีย โดยในรอบนี้จ๋าต้องทำการแข่งขันด้วย โดยจ๋าได้เลือกอาหารอิตาเลียนให้ตัวเอง และได้เลือกอาหารสัญชาติอินเดียให้แบงค์ ลัท เดียว และเฟิส ในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที ซึ่งผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ล้วนไม่ถนัดในการทำอาหารอินเดีย โดยเดียวเป็นผู้เข้าแข่งขันเพียงคนเดียวที่ได้รับคำชมจากกรรมการ เฟิสปรุงอาหารรสชาติอ่อนเกินไปและเนื้อแห้งไป แบงค์มีปัญหาเนื่องจากข้าวไม่สุก จ๋าทำอาหารได้ไม่ดีเนื่องจากมีการเปลี่ยนเมนูระหว่างแข่งขันทำให้จัดการเวลาไม่ดีพอ ส่วนลัทใส่เครื่องเทศในอาหารมากเกินไป ทำให้รสชาติเข้มเกินไป โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ จ๋าและแบงค์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: จ๋าและแบงค์

ตอนที่ 16 : การทำอาหารจานหรูในรูปแบบอาหารรสเลิศ

แก้
ออกอากาศ 20 พฤษภาคม 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน จะต้องมาแข่งขันในรอบบททดสอบภารกิจแบบทีม ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วมาเป็นผู้ร่วมงานประกอบไปด้วย จ๋า, แบงค์, หมอตั้ม, ยูริ, กะปอม และกอล์ฟ ซึ่งทั้ง 3 คนจะต้องจับฉลาก เพื่อเลือกลูกทีมมาเป็นผู้ร่วมงานในการแข่งขันครั้งนี้
ผู้เข้าแข่งขัน ลูกทีม
เดียว กอล์ฟและจ๋า
ลัท กะปอมและหมอตั้ม
เฟิส แบงค์และยูริ

โดยสัปดาห์นี้เป็นการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะต้องทำอาหารจานพิเศษที่สุดให้กับเชฟมืออาชีพ จากร้านอาหาร 30 ร้าน ซึ่งมีหลักประกันเป็นร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์และมิชลินเพลต ที่จะมาตัดสินการแข่งขันแบบทีมครั้งนี้จำนวน 30 คน โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ อาหารจานหรูในรูปแบบอาหารรสเลิศ โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วมาเป็นผู้ช่วย ซึ่งทั้งสามคนต้องทำการจับสลากเลือกลูกทีม ลูกทีมของเดียวคือ กอล์ฟและแบงค์ ลูกทีมของลัทคือ กะปอมและหมอตั้ม และลูกทีมของเฟิสคือ แบงค์และยูริ โดยทุกจานต้องเสร็จภายในเวลา 90 นาที หลังจากหมดเวลาแล้วต้องเสิร์ฟอาหารโดยทันที โดยผู้ชนะในรอบนี้จะได้ผ่านเข้าไปในรอบชิงชนะเลิศทันที ส่วน 2 คนที่เหลือต้องมาแข่งขันกันอีกรอบในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ เมนูของเดียวคือ "ต้มยำซอร์เบของเออร์ซูลา" เมนูของลัทคือ "แซลมอน เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ" และเมนูของของเฟิสคือ "สเต๊กเนื้อ แซลมอนสุกมะนาว" และผลจากการลงคะแนนของคณะกรรมการ ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบภารกิจแบบทีมในครั้งนี้คือคือ ลัท

  • ผู้ชนะ: ลัท
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้เดียวและเฟิสที่เป็นผู้แพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในการแข่งขันบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำในครั้งนี้ ต้องทำการแข่งขันถึง 2 เมนู โจทย์แรกคือ "สเต๊กปลาแซลมอน ซอสฮอลลันเดส" โดยสเต๊กปลาแซลมอนด้านนอกต้องกรอบ ด้านในสุกพอดี ไม่แข็งกระด้าง ตัวซอสฮอลลันเดสเนื้อต้องเนียน มีเวลาทำอาหาร 25 นาที และโจทย์ของหวานคือ "ชูร์โรกับมุสช็อกโกแลต โดมแพชชันฟรูต" โดยชูร์โรแป้งต้องสุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง ด้านนอกไม่ไหม้ และไม่อมน้ำมัน ตัวโดมของแพชชันฟรูตโดมต้องมีเนื้อที่เรียบเนียน ไม่หนาจนเกินไป มีเวลาทำอาหาร 40 นาที หลังจากกรรมการได้ทำการตัดสิน เฟิสทำได้ดีกว่าเดียวในเมนูสเต๊กปลาแซลมอนและซอสฮอลลันเดส เดียวทำมุสช็อกโกแลตและโดมแพชชันฟรูตได้ดีกว่าเฟิส จึงทำให้ต้องมาตัดสินกันที่ตัวชูร์โรซึ่งเฟิสทำได้ดีกว่า ทำให้เฟิสผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และเดียวก็ต้องเป็นคนที่ต้องออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เดียว

ตอนที่ 17 : การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

แก้
ออกอากาศ 27 พฤษภาคม 2561
  • การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ลัทและเฟิสซึ่งเป็นผู้เข้าแข่งขันสองคนสุดท้ายต้องมาแข่งขันการทำอาหารในรอบชิงชนะเลิศ โดยต้องทำอาหารถึง 3 อย่าง ประกอบไปด้วยอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก และของหวาน โดยต้องทำอย่างละ 3 จาน สำหรับคณะกรรมการทั้งสามคน และในรอบชิงชนะเลิศจะมีผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วทั้งหมดเข้ามาเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าแข่งขัน ในรอบแรกนั้นเป็นการทำอาหารเรียกน้ำย่อย มีเวลา 60 นาที สำหรับการทำอาหารเรียกน้ำย่อย เมนูอาหารเรียกน้ำย่อยของเฟิสคือ "แกงกระด้างหูหมูดอกอัญชัน กับสลัดวอเตอร์เครสซอสลุยสวน" เมนูอาหารเรียกน้ำย่อยของลัทคือ "ซัลซาล้านนา" การแข่งขันในรอบที่สอง เป็นการทำอาหารจานหลัก โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที เมนูอาหารจานหลักของลัทคือ "สเต๊กคืนถิ่น" เมนูอาหารจานหลักของเฟิสคือ "ไก่ทอดมะแข่น มุสน้ำพริกมะเขือ กับหมูกรอบซอสฮังเล" หลังจากนั้นผู้เข้าแข่งขันทั้งสองคน ต้องมาแข่งขันกันในเมนูของหวาน ซึ่งจะเป็นเมนูสุดท้ายที่จะตัดสินว่าใครเป็นผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 2 โดยมีเวลาในการของหวานจำนวน 60 นาที เมนูของหวานของลัทคือ "ข้าวก่ำบ้านเฮา" เมนูของหวานของเฟิสคือ "ไอศกรีมกล้วยบวชชีกับปันนาค็อตตาโหระพา" หลังจากนั้นคณะกรรมการทั้งสามได้ลงคะแนนกัน และผู้ที่ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 2 คือ เฟิส
  • ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 2 : เฟิส

อ้างอิง

แก้
  1. news.ch7.com. "MasterChef Thailand Season 2 เปิดรับสมัครแล้ว คนรักการทำอาหารห้ามพลาด!". สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  2. siamdara.com. ""หนุ่ม กิติกร" ทุ่ม 70 ล้านทำ "มาสเตอร์เชฟฯ" ซีซัน 2 ปรับเพิ่มสีสันครบรส การันตีเสิร์ฟความสนุกทวีคูณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้