ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023

ฤดูกาลของรายการโทรทัศน์

ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 เป็นการแข่งขันท็อปเชฟไทยแลนด์ ในฤดูกาลที่ 4 และเป็นฤดูกาลแรกที่เปลี่ยนผู้ผลิตเป็นบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด รวมถึงย้ายมาออกอากาศทางช่อง 7HD หลังจากที่ 3 ฤดูกาลก่อนหน้านี้ออกอากาศทางช่องวัน 31 ทั้งหมด[1] รวมถึงเป็นฤดูกาลแรกที่ไม่มีพิธีกรดำเนินรายการ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 18:00 - 19:50 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[2]

ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023
กรรมการ
  • วิลแมน ลีออง (หัวหน้ากรรมการ)
  • ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์
  • ธิติษฐ์ ทัศนาขจร
  • พิชญา อุทารธรรม
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน16
ผู้ชนะเลิศอรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล
รองชนะเลิศTeo Zheng Yi Enoch
วิสาขา ระวิจันทร์
สถานที่แข่งขัน
ประเทศไทย
จำนวนตอน15
การออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ5 กุมภาพันธ์ 2566 (2566-02-05) –
28 พฤษภาคม 2566 (2566-05-28)
ลำดับฤดูกาล
← ก่อนหน้า
ฤดูกาลที่ 3

กติกา แก้

  • รอบ Quickfire Challenge (พิสูจน์ความเร็ว ทักษะและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า) : เป็นการแข่งขัน Warm Up ฝีมือผู้เข้าแข่งขันก่อนการแข่งรอบ Elimination Challenge ซึ่งโจทย์จะแตกต่างกันไปในทุกสัปดาห์ ผู้ที่ชนะในการแข่งขันรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษหรือรางวัลต่าง ๆ
  • รอบ Elimination Challenge (ภารกิจคัดคนออก) : เป็นภารกิจจากโจทย์ที่ยากขึ้นเวลามากขึ้น มีทั้งภารกิจแบบเดี่ยว แบบคู่ และแบบทีม ขึ้นอยู่กับโจทย์ในแต่ละสัปดาห์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารตามโจทย์ที่กำหนด โดยมีวัตถุดิบหรือรูปแบบของอาหารให้ ในรอบนี้ ผู้ที่ทำได้ผิดพลาดมากที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน ในการแข่งขันภารกิจแบบคู่ จะตัดสินผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันตามองค์ประกอบที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนรับผิดชอบ ส่วนภารกิจแบบทีม จะตัดสินจากเมนูที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนรับผิดชอบ ทั้งนี้ ในช่วงตัดสินหรือ Judges' Table ของซีซันนี้จะต่างจากซีซันที่ผ่านมา ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้รับฟังคำติชมจากกรรมการในทันที หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว จะทำการเรียกผู้เข้าแข่งขันกลุ่มที่ทำอาหารได้ดีที่สุดและแย่ที่สุดฟังคำวิจารณ์และการตัดสิน
  • รอบการแข่งขันเปิดร้านอาหารจริง Restaurant Wars : เป็นภารกิจแบบทีมที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้แข่งขันเปิดร้านอาหารจริง โดยคอนเซฟต์ของร้านอาหารมาจากผู้ชนะในรอบการออกแบบร้านอาหารในฝัน การตัดสินในรอบนี้จะมี 2 ส่วน ได้แก่ การบริการหน้าร้านและรสชาติอาหารโดยรวม สำหรับทีมที่แพ้ จะมีผู้เข้าแข่งขัน 1 คนต้องออกจากการแข่งขัน

กรรมการตัดสินในรายการ แก้

  • เชฟวิลแมน ลีออง
สุดยอดเชฟผู้ตัดสินการแข่งขันระดับโลกมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเชฟทีมชาติไทย ในระดับแชมป์โลก
  • เชฟอาร์ต ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์
สุดยอดเชฟอาหารยุโรป ที่ปรึกษาธุรกิจอาหารให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ และเป็นผู้บุกเบิก Chef Table คนแรกของเมืองไทย
  • เชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร
สุดยอดเชฟ ผู้ช่ำชองและเชี่ยวชาญในอาหารไทย ทั้งแบบโมเดิร์นและฟิวชั่น จนได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้ว
สุดยอดเชฟผู้กวาดรางวัลมาแล้วทั้งระดับเอเชีย และระดับโลก

กรรมการพิเศษตัดสินในรายการ แก้

ผู้เข้าแข่งขัน แก้

ผู้เข้าแข่งขัน 16 คนสุดท้าย
ชื่อ ตำแหน่ง ลำดับการแข่งขัน[^] จำนวนครั้งที่ชนะ
อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล (เชฟบิ๊ก) Chef & Owner ชนะเลิศ
วันที่ 28 พฤษภาคม
2
Teo Zheng Yi Enoch (เชฟอิน็อค)4 Executive & Owner Chef รองชนะเลิศ
วันที่ 28 พฤษภาคม
3
วิสาขา ระวิจันทร์ (เชฟเกด) Chef & Owner รองชนะเลิศ
วันที่ 28 พฤษภาคม
กลับเข้าสู่การแข่งขัน
วันที่ 2 เมษายน
ถูกคัดออก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์
ณัฐณิชา บุญเลิศ (เชฟพลอย)3 Private Chef ถูกคัดออก
วันที่ 21 พฤษภาคม
จารึก ศรีอรุณ (เชฟจารึก)4 Culinary Instructor ถูกคัดออก
วันที่ 7 พฤษภาคม
2
เทียนชัย พีรพงศธร (เชฟเทียน) Executive & Owner Chef ถูกคัดออก
วันที่ 30 เมษายน
3
พิเชษฐ์ สนั่นก้อง (เชฟเชษฐ์) Head Chef ถูกคัดออก
วันที่ 23 เมษายน
1
พิพิธชัย รังษีศุภธรากิตติ์ (เชฟโน้ต) Chef & Owner
ณัฐพนธ์ โอทนาวาทกิจ (เชฟโอ๊ต) Chef & Owner ถูกคัดออก
วันที่ 9 เมษายน
3
ภัควลัญชญ์ เวชมนต์ (เชฟกอล์ฟ) Executive Sous Chef ถูกคัดออก
วันที่ 26 มีนาคม
2
สุรกิจ จันทร์โฮ้วมณี (เชฟณัฐ) Chef De Cuisine ถูกคัดออก
วันที่ 19 มีนาคม
ชัยวลัญช์ อินทร์วัน (เชฟแม็กซ์กี้)1 Executive Chef ถูกคัดออก
วันที่ 12 มีนาคม
1
ทิพาพร เพียรทอง (เชฟกุ๊ก) Head Chef ถูกคัดออก
วันที่ 5 มีนาคม
0
ฤทัย แซ่ตึ๊ง (เชฟมีน) Head Chef ถูกคัดออก
วันที่ 26 กุมภาพันธ์
1
อภิเดช เร่งบุญมา (เชฟเดช)2 Chef & Owner ถูกคัดออก
วันที่ 19 กุมภาพันธ์
0
ประเสริฐชัย ตรงวานิชนาม (เชฟแจ๊ค) Chef & Owner ถูกคัดออก
วันที่ 5 กุมภาพันธ์
  1. ^ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ท็อปเชฟไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 1)
  2. ^ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ท็อปเชฟไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 3)
  3. ^ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1
  4. ^ เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 2)

ข้อมูลการแข่งขัน แก้

ตารางการคัดออก แก้

อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
1 เชฟบิ๊ก ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน สูง สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ สูง สูง ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ต่ำ เสี่ยง ต่ำ ชนะ สูง ชนะเลิศ
2 เชฟอิน็อค ต่ำ เสี่ยง ผ่าน ต่ำ ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ต่ำ สูง ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง เสี่ยง รองชนะเลิศ
เชฟเกด ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ออก กลับ ชนะ ผ่าน สูง ต่ำ สูง ต่ำ เสี่ยง ชนะ
4 เชฟพลอย ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง สูง ผ่าน สูง สูง สูง สูง เสี่ยง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน เสี่ยง ออก
5 เชฟจารึก ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ต่ำ สูง เสี่ยง สูง สูง ผ่าน เสี่ยง ต่ำ สูง เสี่ยง ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ออก ร่วม ร่วม
6 เชฟเทียน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ สูง ชนะ ออก ร่วม ร่วม
7 เชฟโน้ต ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ต่ำ ผ่าน ต่ำ สูง ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน สูง สูง เสี่ยง ผ่าน ผ่าน เสี่ยง สูง ออก ร่วม
เชฟเชษฐ์ ชนะ ผ่าน สูง ต่ำ สูง ผ่าน ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน สูง ผ่าน ออก
9 เชฟโอ๊ต ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ต่ำ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ออก ร่วม ร่วม
10 เชฟกอล์ฟ ต่ำ ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน สูง สูง ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ สูง ออก ออก ร่วม ร่วม
11 เชฟณัฐ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง สูง ผ่าน ผ่าน ออก ออก ร่วม ร่วม
12 เชฟแม็กซ์กี้ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก ออก ร่วม ร่วม
13 เชฟกุ๊ก ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน สูง ต่ำ ผ่าน ผ่าน ต่ำ สูง ออก ออก
14 เชฟมีน ผ่าน ต่ำ เสี่ยง ผ่าน ชนะ ต่ำ เสี่ยง สูง ออก ออก
15 เชฟเดช ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก ออก
16 เชฟแจ๊ค ต่ำ ออก ออก ร่วม ร่วม
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะ Quickfire/Elimination Challenge
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่ที่ชนะ Quickfire/Elimination Challenge
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงจานที่ดีที่สุดในรอบ Quickfire/Elimination Challenge
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่/ทีม ที่เข้าชิงจานที่ดีที่สุดในรอบ Quickfire/Elimination Challenge
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืน 1 ในจานที่แย่ที่สุดในรอบ Quickfire/Elimination Challenge
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่ที่ยืนเป็น 1 ในทีมที่แย่ที่สุดในรอบ Quickfire/Elimination Challenge
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
  (ร่วม) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว แต่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว และได้โอกาสกลับมาแข่งขันอีกครั้ง แต่ไม่ผ่านรอบแรก
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว และได้โอกาสกลับมาแข่งขันอีกครั้ง โดยผ่านรอบแรก แต่ไม่ผ่านรอบที่สอง
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว และได้โอกาสกลับมาแข่งขันอีกครั้ง โดยผ่านสองรอบแรก แต่ไม่ผ่านรอบที่สาม
  (กลับ) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว แต่ชนะในรอบ Vote Back ทำให้ได้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้ง

ข้อมูลการออกอากาศ แก้

ตอนที่ 1: การแข่งขันทำอาหารจากวัตถุดิบจากท้องทะเลไทย แก้

ออกอากาศ 5 กุมภาพันธ์ 2566

ในรอบแรกผู้เข้าแข่งขันจะต้องไปทำการแข่งขันที่เกาะขาม อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องนั่งเรือจากฝั่งมายังเกาะขามด้วยเรือส่วนตัว และว่ายน้ำเข้ามายังหาดที่เป็นสถานที่แข่งขัน

  • Quickfire Challenge รอบที่ 1: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน จะต้องเตรียมวัตถุดิบ 2 ชนิด โดยจะต้องทำอย่างรวดเร็วและปราณีตที่สุด ซึ่งวัตถุดิบได้แก่ "กั้ง" จากบ้านแหลมสน อ่าวใหญ่ จังหวัดตราด จำนวน 10 ตัว ซึ่งมีเกณฑ์คือ เนื้อต้องไม่ฉีกขาด หัวต้องติดอยู่กับตัว และหางอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และ "ปลาหมึก" จำนวน 3 ตัว นำมาทำเป็นซาชิมิ โดยการลอกหนัง จัดการกับตาและปาก และแล่ให้เป็นเส้นตรงความกว้างไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ในรอบนี้ผู้ที่ทำได้เร็วที่สุด คือ เชฟเชษฐ์ ทำให้เขาเป็นผู้ชนะ โดยจะผ่านเข้ารอบทันทีและได้รับรางวัลพิเศษ คือ ห้องพักพูลวิลล่าของ "โซเนวา คีรี เกาะกูดรีสอร์ท" เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน มูลค่า 2 แสนบาท ส่วน 3 คนสุดท้ายของรอบนี้คือ เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค และเชฟแจ๊ค ทำให้ทั้งสามคนต้องเข้าแข่งขันในรอบ Elimination Challenge โดยอัตโนมัติ
  • ผู้ชนะ: เชฟเชษฐ์
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 คนสุดท้าย: เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค และเชฟแจ๊ค
  • Quickfire Challenge รอบที่ 2: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 12 คน จะต้องเตรียมวัตถุดิบ "หอยมะระ" วัตถุดิบท้องถิ่นของจังหวัดตราด โดยจะต้องนำเนื้อหอยมาแล่ให้มีความหนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร จำนวน 2 ตัว หรือ 30 ชิ้น ในรอบนี้ผู้ที่ทำได้เร็วที่สุด คือ เชฟพลอย และจะได้รับรางวัลพิเศษคือ ห้องพักพูลวิลล่าของ "โซเนวา คีรี เกาะกูดรีสอร์ท" เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน มูลค่า 2 แสนบาท เช่นเดียวกัน ส่วน 3 คนสุดท้ายในรอบนี้ ได้แก่ เชฟมีน เชฟกุ๊ก และเชฟเกด ทำให้ทั้งสามคนต้องเข้าแข่งขันในรอบ Elimination Challenge ร่วมกับ เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค และเชฟแจ๊ค ส่วนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที
  • ผู้ชนะ: เชฟพลอย
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 คนสุดท้าย: เชฟมีน เชฟกุ๊ก และเชฟเกด
  • Elimination Challenge: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนจะต้องทำอาหารจากวัตถุดิบจากท้องทะเลไทย ซึ่งในรอบนี้มีวัตถุดิบ 6 ชนิด ได้แก่ กั้ง ปลาหมึก หอยมะระ ปลาย่ำสวาท ปูม้า และแมงกะพรุน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องสุ่มหยิบมีดเพื่อเสี่ยงทายวัตถุดิบและรอบในการแข่งขัน ซึ่งจะมี 3 รอบ แต่ละรอบจะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คน โดยผู้ที่ได้หมายเลข 1 จะต้องเริ่มทำอาหารก่อน เมื่อเวลาผ่านไป 15 นาที ผู้ที่ได้หมายเลข 2 จะได้เริ่มทำอาหาร และผู้ที่ได้หมายเลข 3 จะได้เริ่มทำอาหารหลังจากคู่ที่ 2 เป็นเวลา 15 นาที ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีเต็มเท่ากัน เมื่อแต่ละคู่หมดเวลาจะต้องเสิร์ฟทันที ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน ได้เลือกวัตถุดิบและรอบการแข่งขันดังต่อไปนี้
คู่การแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบ
คู่ที่ 1 เชฟแจ๊ค กั้ง
เชฟกอล์ฟ ปลาหมึก
คู่ที่ 2 เชฟอิน็อค ปลาย่ำสวาท
เชฟเกด หอยมะระ
คู่ที่ 3 เชฟมีน แมงกะพรุน
เชฟกุ๊ก ปูม้า
ในรอบนี้มีกรรมการรับเชิญ 4 ท่าน ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารจำนวน 4 จาน และมีปริมาณเพียงพอในการชิมของกรรมการทั้ง 8 คน
หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะยังไม่ทราบข้อติชมของคณะกรรมการจนกว่าจะกลับไปยังสตูดิโอของท็อปเชฟ โดย 3 คนที่ทำอาหารผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ เชฟอิน็อค โดยมีปัญหาที่เนื้อปลาย่ำสวาทสุกเกินไป ทำให้เนื้อปลาแห้งมาก เชฟมีน โดยมีปัญหาที่แมงกะพรุนหนาเกินไป ไก่กงฟีมีรสจืด และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และเชฟแจ๊ค โดยมีปัญหาที่เนื้อกั้งสับละเอียดทำให้ไม่มีรสสัมผัส และมีเศษเปลือกกั้งติดมา รวมถึงอาหารในจานไม่ใช่บูยาแบ็ส ไม่ใช่ซุปเกาหลี และไม่ใช่รสชาติของแกงส้ม ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟแจ๊ค
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟอิน็อค เชฟมีน และเชฟแจ๊ค
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแจ๊ค

ตอนที่ 2: การแข่งขันจับคู่โปรตีนหลักกับซอส แก้

ออกอากาศ 12 กุมภาพันธ์ 2566
  • Quickfire Challenge: ในรอบ Quickfire Challenge ประจำสัปดาห์นี้ ได้มีแขกรับเชิญ คือ "บังฮาซัน" เจ้าพ่อของทะเลตากแห้ง ซึ่งการแข่งขันในรอบนี้จะใช้เพลงของบังฮาซันประกอบภารกิจ นั่นคือ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเดินวนรอบครัว โดยจะมีสเตชันทั้งหมด 15 สเตชัน เมื่อเพลงหยุดจะต้องทำอาหารที่สเตชันที่ตนเองหยุด โดยทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอด 30 นาที วัตถุดิบที่อยู่บนสเตชันทั้ง 15 เป็นวัตถุดิบจากภาคใต้ ได้แก่ ปลาอินทรีเค็ม ปลาวง ปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้งและกล้วยหอม ปลาทู กุ้งมังกรเจ็ดสี ปลาข้าวสารแห้งและลูกหยีตากแห้ง ปลากุเลา หอยแมลงภู่ตากแห้ง กะปิและไข่หอยเม่น น้ำบูดูและมังคุด หอยนางรม สะตอ ใบเหลียง ไก่เบตง ผลงานที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดในรอบนี้จะตัดสินจากเชฟคนสุดท้ายที่อยู่ประจำแต่ละสเตชัน ในรอบนี้ผู้ที่ทำผลงานผิดพลาดมากที่สุด 3 คน ได้แก่ เชฟเทียน เชฟโอ๊ตและเชฟณัฐ และ 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ เชฟเชษฐ์ เชฟโน้ตและเชฟจารึก ผู้ชนะในรอบนี้คือ เชฟจารึก จากวัตถุดิบปลาทู
วัตถุดิบหลัก รอบที่ 1 รอบที่ 2 รอบที่ 3 รอบที่ 4 ชื่อเมนู
กะปิและไข่หอยเม่น เชฟณัฐ เชฟเดช เชฟเดช เชฟเดช สองหอยหรอยจังฮู้
หอยนางรม เชฟเชษฐ์ เชฟโอ๊ต เชฟเกด เชฟเชษฐ์ นมทะเลผัดซอสไทยแอนโชวีเพสต์ และเคลือบด้วยซอสชีสมอซซาเรลลา
น้ำบูดูและมังคุด เชฟอิน็อค เชฟกอล์ฟ เชฟกอล์ฟ เชฟเทียน ยำผลไม้ในบ่อบูดู
ปลากุเลา เชฟมีน เชฟแม็กซ์กี้ เชฟมีน เชฟมีน เลาเค็มนะ
หอยแมลงภู่ตากแห้ง เชฟกุ๊ก เชฟจารึก เชฟเชษฐ์ เชฟบิ๊ก มีลเฟยหอยแมลงภู่กับเดอะแก็ง
ปลาอินทรีเค็ม เชฟแม็กซ์กี้ เชฟบิ๊ก เชฟแม็กซ์กี้ เชฟอิน็อค อินทรีพันชั้น
ใบเหลียง เชฟเกด เชฟโน้ต เชฟโน้ต เชฟโน้ต เป็ดล่องใต้
ปลาวง เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค เชฟอิน็อค เชฟณัฐ โรตีเต้าหู้อ่อนกับครัมเบิล ปลาวงสมุนไพร
สะตอ เชฟเทียน เชฟเกด เชฟพลอย เชฟพลอย สะตอสะตูและสะตูสะตอ
กุ้งแห้งและกล้วยหอม เชฟโอ๊ต เชฟมีน เชฟโอ๊ต เชฟโอ๊ต กล้วยหอมคาวหวาน
ปลาทู เชฟโน้ต เชฟเชษฐ์ เชฟจารึก เชฟจารึก ปลาน้อยคอยรัก
ปลาหมึกแห้ง เชฟเดช เชฟณัฐ เชฟณัฐ เชฟแม็กซ์กี้
กุ้งมังกรเจ็ดสี เชฟพลอย เชฟเทียน เชฟเทียน เชฟกอล์ฟ
ปลาข้าวสารแห้งและลูกหยีตากแห้ง เชฟบิ๊ก เชฟกุ๊ก เชฟกุ๊ก เชฟกุ๊ก
ไก่เบตง เชฟจารึก เชฟพลอย เชฟบิ๊ก เชฟเกด
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟเทียน เชฟโอ๊ต และเชฟณัฐ
  • ผู้ชนะ: เชฟจารึก
  • Elimination Challenge: เนื่องจากเชฟจารึกเป็นผู้ชนะในการแข่งขันรอบ Quickfire Challenge ทำให้ได้รับสิทธิ์ในการผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และได้รับสิทธิ์ในการเป็นกรรมการร่วมตัดสินอีกด้วย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องทำงานเป็นคู่ซึ่งจะต้องสุ่มหยิบมีดเพื่อเสี่ยงทายโปรตีนและซอส โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 14 คนได้แบ่งทีมเป็นดังนี้
สีของทีม ผู้เข้าแข่งขัน โปรตีน ผู้เข้าแข่งขัน ซอส
สีส้ม เชฟแม็กซ์กี้ ขาแกะ เชฟกุ๊ก ซอสแกงอ่อมเพี๊ย
สีเทา เชฟเดช หมึกยักษ์ทาโกะ เชฟณัฐ ซอสแกงเหลือง
สีฟ้า เชฟพลอย เนื้อกวาง เชฟเทียน ซอสแกงเขียวหวาน
สีแดง เชฟเชษฐ์ กระต่าย เชฟอิน็อค ซอสแกงฮังเล
สีเหลือง เชฟกอล์ฟ ม้าม เชฟมีน ซอสแกงไตปลา
สีเขียว เชฟโน้ต ปลาไหลญี่ปุ่น เชฟโอ๊ต ซอสฮอแลนเดซ
สีขาว เชฟบิ๊ก นกพิราบ เชฟเกด ซอส XO
ในการแข่งขันครั้งนี้จะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 1 คน โดยจะตัดสินจากสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละคน มีเวลา 90 นาทีในการแข่งขัน โดยจะต้องเสิร์ฟอาหารจำนวน 8 จาน และงบประมาณคู่ละ 4,000 บาท เพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบที่แม็คโคร สาขาศรีนครินทร์ โดยมีเวลาในการเลือกซื้อทั้งหมด 30 นาที และกรรมการที่จะร่วมตัดสิน ได้แก่ เชฟแพม เชฟอาร์ต เชฟวิลแมน เชฟจารึก และกรรมการพิเศษ ได้แก่ เชฟโอลิวิเยร์ คาสเทลล่า, คุณสันติ เศวตวิมล, หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์และหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกทีมแล้ว ในช่วงตัดสิน หม่อมหลวงภาสันต์จะอยู่ร่วมวิจารณ์อาหารร่วมกับเชฟแพม เชฟอาร์ต และเชฟวิลแมนด้วย โดยในรอบนี้ มี 2 ทีมที่ทำได้ดีที่สุด คือ ทีมสีเหลือง และ ทีมสีส้ม และผู้ชนะในรอบนี้ ได้แก่ เชฟมีน ส่วน 3 ทีมที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ ทีมสีเขียว มีปัญหาที่ซอสฮอแลนเดสที่ไม่สมบูรณ์ และปลาไหลญี่ปุ่นที่หนังเหนียว ทีมสีแดง มีปัญหาที่เนื้อกระต่ายดิบ และซอสแกงฮังเลไม่ถูกต้อง และทีมสีขาว มีปัญหาที่ซอส XO ไม่ถูกต้อง และมูสซอส XO ดิบ นอกจากนี้ เชฟเกดยังทำผิดกติกาของรายการ เนื่องจากลักลอบนำผงชูรสและสาร Transglutaminase (เอนไซม์ปรับปรุงเนื้อสัมผัสอาหาร) เข้ามาในรายการ ดังนั้นผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ เชฟเกด
  • ผู้ชนะ: เชฟมีน
  • ทีมที่ตกเป็นสามทีมที่แย่ที่สุด: ทีมสีเขียว ทีมสีแดง และทีมสีขาว
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเกด

ตอนที่ 3: การแข่งขันทำอาหารในงานกาลาการกุศล แก้

ออกอากาศ 19 กุมภาพันธ์ 2566
  • Quickfire Challenge: ในรอบ Quickfire Challenge ประจำสัปดาห์นี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องหยิบวัตถุดิบที่ออกมาจากสายพาน โดยสายพานจะหมุนจำนวน 3 รอบ ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบได้ 3 อย่างเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหารและจะเลือกวัตถุดิบในรอบใดก็ได้ ทั้งนี้มีเวลาในการแข่งขัน 30 นาที 3 จานที่แย่ที่สุดเป็นของ เชฟอิน็อค เชฟมีนและเชฟกุ๊ก และ 3 จานที่ดีที่สุด เป็นของ เชฟกอล์ฟ เชฟเชษฐ์และเชฟพลอย ผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟกอล์ฟ และยังมีเชฟที่ได้รับสิทธิพิเศษอีก 1 คน ได้แก่เชฟเชษฐ์
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟอิน็อค เชฟมีน และเชฟกุ๊ก
  • ผู้ชนะ: เชฟกอล์ฟ
  • เชฟที่ได้รับสิทธิพิเศษ: เชฟกอล์ฟและเชฟเชษฐ์
  • Elimination Challenge: จากการที่เชฟกอล์ฟและเชฟเชษฐ์เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบ Quickfire Challenge ทั้งสองคนจึงได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และได้รับสิทธิ์เป็นกรรมการ ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องแข่งขันกันต่อในรอบ Elimination Challenge โดยสัปดาห์นี้เป็นโจทย์กาลาดินเนอร์การกุศล เพื่อระดมทุนบริจาคให้กับสภากาชาดไทย จำนวน 1,000,000 บาท โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกระดับวัตถุดิบไทยสู่อาหารในรูปแบบ Fine Dining ทั้งหมด 10 โต๊ะ เสิร์ฟให้แขก 100 คน (รวมกรรมการ 6 คน) โดยแต่ละคนจะต้องเสิร์ฟคอร์สของตนเอง ทั้ง 12 คนจะต้องวางแผนการทำอาหารและบริหารงบประมาณ 120,000 บาทเอง มีเวลา 60 นาทีในการประชุมและสั่งวัตถุดิบผ่านช่องทางออนไลน์ จาก Makro PRO ก่อนที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไปทำอาหารในครัวของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คน ได้ประชุมกันและมีข้อสรุปดังนี้
ลำดับที่ ประเภทคอร์ส วัตถุดิบหลัก ผู้เข้าแข่งขัน
1 ออเดิร์ฟ (Hors d'oeuvre) มะเฟืองและมังคุด เชฟจารึก
2 อามูส บุช (Amuse-bouche) หอยขมและหอยแครง เชฟบิ๊ก
3 อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) ปูนา เชฟแม็กซ์กี้
4 ปลากรอบ เชฟเดช
5 ปลาหมึกตากแห้ง เชฟกุ๊ก
6 สลัด (Salad) ดอกโสน เชฟมีน
7 ซุป (Soup) ไข่ปลาสลิด เชฟณัฐ
8 อาหารจานปลา (Fish) ปลาช่อน เชฟโน้ต
9 อาหารจานหลัก (Main Course) กุ้งมังกรเจ็ดสี เชฟเทียน
10 หมูป่า เชฟอิน็อค
11 ของหวาน (Dessert) ข้าวโพด เชฟพลอย
12 ของหวานตบท้าย (Petit Four) ขนุน แตงไทยและใบเตย เชฟโอ๊ต
ในการทำอาหารผู้เข้าแข่งขันจะต้องช่วยกันทำงานเป็นทีม โดยจะมีเมนูหลักที่ตนเองรับผิดชอบ การเสิร์ฟอาหารจะเสิร์ฟครั้งละ 2 คอร์ส หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารทุกจานแล้ว ผู้ที่ทำได้ดีที่สุด 3 คน คือ เชฟพลอย เชฟณัฐและเชฟบิ๊ก โดยที่ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ คือ เชฟณัฐ และผู้ที่ทำได้แย่มีจำนวน 5 คน คือ เชฟจารึก เชฟโน้ต เชฟเดช เชฟมีนและเชฟโอ๊ต โดยเชฟจารึกและเชฟโน้ต มีสิ่งแปลกปลอมในอาหาร ได้แก่ หนังยางและเศษพลาสติก ตามลำดับ แต่ยังมีรสชาติที่ดีและชูวัตถุดิบหลักจึงยังไม่ใช่จานที่แย่ที่สุด ทำให้ 3 จานที่แย่ที่สุดเป็นของเชฟโอ๊ต เชฟมีน และเชฟเดช โดยเชฟโอ๊ตมีปัญหาที่รสชาติของใบเตยที่ขม ทำให้กรรมการและแขกทั้งหมดไม่สามารถรับประทานได้ เชฟมีน มีปัญหาการจัดจานที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และดอกโสนเสิร์ฟทั้งก้าน และเชฟเดช เสิร์ฟแซลมอนรมควันสำเร็จรูปและครีมชีสกลบกลิ่นปลากรอบทั้งหมด รวมถึงมีของตกแต่งที่ไม่สามารถรับประทานได้ ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟเดช
  • ผู้ชนะ: เชฟณัฐ
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟโอ๊ต เชฟมีน และเชฟเดช
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเดช

ตอนที่ 4: การทำเมนูอาหารข้างถนน แก้

ออกอากาศ 26 กุมภาพันธ์ 2566
  • Quickfire Challenge: ในรอบ Quickfire Challenge ประจำสัปดาห์นี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารข้างถนน โดยกรรมการจะเป็นผู้ประกาศโจทย์ ผู้เข้าเข่งขัน 2 คนที่กดกริ่งก่อนจะได้รับสิทธิ์ในการทำเมนูนั้น และเมนูในรอบต่อ ๆ ไปจะยากขึ้นเรื่อย ๆ มีเวลา 30 นาทีในการทำอาหารจำนวน 6 จาน ซึ่งในรอบนี้มีกรรมการรับเชิญ 2 ท่าน ได้แก่ เฟิร์น - พัสกร พลบูรณ์ และ กระติ๊บ - ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล ร่วมตัดสินในรอบนี้ด้วย ผู้เข้าแข่งขันได้ทำการเลือกโจทย์ของแต่ละคนดังต่อไปนี้
ลำดับที่ เมนูโจทย์ จานสีแดง จานสีน้ำเงิน จานสีขาว ผู้ชนะ
1 หอยทอดพร้อมน้ำจิ้ม เชฟเทียน เชฟกอล์ฟ เชฟกอล์ฟ
2 ทอดมันปลากรายพร้อมน้ำจิ้มอาจาด เชฟแม็กซ์กี้ เชฟณัฐ เชฟแม็กซ์กี้
3 ยำปลาดุกฟู เชฟอิน็อค เชฟบิ๊ก เชฟบิ๊ก
4 ข้าวปูผัดผงกะหรี่ไข่ข้น เชฟกุ๊ก เชฟโน้ต เชฟโน้ต
5 ข้าวผัดกะเพราหมูกรอบ เชฟมีน เชฟพลอย เชฟมีน
6 ข้าวเม่าทอด เชฟจารึก เชฟเชษฐ์ เชฟโอ๊ต เชฟจารึก
ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในแต่ละเมนู ได้แก่ เชฟกอล์ฟ เชฟแม็กซ์กี้ เชฟบิ๊ก เชฟโน้ต เชฟมีนและเชฟจารึก ส่วนผู้ชนะในรอบนี้ ได้แก่ เชฟแม็กซ์กี้ ซึ่งเขาจะได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบคัดออก
  • ผู้ชนะ: เชฟแม็กซ์กี้
  • Elimination Challenge: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คนจะต้องแข่งขันกันต่อในรอบคัดออก กับโจทย์การยกระดับเมนูอาหารข้างถนนให้เป็นเมนูระดับท็อปเชฟ โดยจะต้องทำงานเป็นคู่ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องทำการหยิบมีดเพื่อเสี่ยงทายเมนูและคู่ของตนเอง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันได้เลือกเมนูดังนี้
สีของทีม เมนูโจทย์ ผู้เข้าแข่งขัน
สีส้ม ข้าวปูผัดผงกะหรี่ไข่ข้น เชฟจารึกและเชฟมีน
สีเขียว ข้าวผัดกะเพราหมูกรอบ เชฟบิ๊กและเชฟอิน็อค
สีฟ้า ยำปลาดุกฟู เชฟโอ๊ตและเชฟณัฐ
สีแดง ทอดมันปลากราย พร้อมน้ำจิ้มอาจาด เชฟพลอยและเชฟกอล์ฟ
สีเทา ข้าวเม่าทอด เชฟโน้ตและเชฟกุ๊ก
สีเหลือง หอยทอด พร้อมน้ำจิ้ม เชฟเทียนและเชฟเชษฐ์
ในการแข่งขันครั้งนี้ จะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 1 คน โดยจะตัดสินจากสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละคน แต่ละคู่มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน โดยจะต้องเสิร์ฟอาหารจำนวน 4 จาน สำหรับกรรมการทุกคน หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ทีมที่ดีที่สุด 2 ทีม คือ ทีมสีแดงและทีมสีฟ้า ทีมที่ชนะในรอบนี้ คือ ทีมสีฟ้า ส่วนทีมที่ทำได้แย่ที่สุด 3 ทีมคือ ทีมสีส้ม ทีมสีเหลือง และทีมสีเทา ทีมสีเหลืองมีปัญหาที่รสชาติที่ไม่ใช่หอยทอด ซอสศรีราชาซาบายอนมีรสคาวและโคชูจังที่รสชาติแย่ และไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ ทีมสีส้ม รสชาติไม่มีความเป็นข้าวปูผัดผงกะหรี่ไข่ข้น และลงซอสไม่ทัน ส่วนข้าวมีรสขาติที่แย่ ทีมสีเทา ข้าวเม่าแข็งและไม่กรอบ ชิฟอนเค้กไม่ฟู และโฟมกะทิไม่ขึ้น ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟมีน เนื่องจากไม่สามารถจัดการเวลาได้ ทำให้ไม่มีซอสและเนื้อปูซึ่งเป็นสิ่งที่รับผิดชอบอยู่ในจาน
  • ผู้ชนะ: เชฟโอ๊ตและเชฟณัฐ
  • ทีมที่ตกเป็นสามทีมที่แย่ที่สุด: ทีมสีส้ม ทีมสีเหลือง และทีมสีเทา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟมีน

ตอนที่ 5: ศิลปะที่กินได้ แก้

ออกอากาศ 5 มีนาคม 2566
  • Quickfire Challenge: ในรอบ Quickfire Challenge ประจำสัปดาห์นี้ จะมีกล่องดำพร้อมประตู 3 บาน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องชิมและและทำอาหารให้เหมือนต้นฉบับโดยปราศจากการมองเห็น จำนวน 3 จาน โดยเมนูมาจากเชฟตาม ชุดารี เทพาคำ ผู้ชนะท็อปเชฟไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 โดยเมนูในห้องคือ "สลัดซีฟู้ด ซอสน้ำพริกไข่เค็ม" ประกอบไปด้วย กุ้งแม่น้ำย่าง ปูฟู หอยลายลวก ซอสน้ำพริกไข่เค็ม น้ำมันเปลือกกุ้ง หอยแดงดองและมะระหวานปรุงรส ใบชะพลูและใบยี่หร่าชุบแป้งทอด แตงกวาญี่ปุ่นปรุงรสและเจลแตงกวา ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ทีม ซึ่งจะต้องสุ่มหยิบมีด โดยผู้เข้าแข่งขันได้แบ่งทีมดังต่อไปนี้
สีของทีม ผู้เข้าแข่งขัน
สีแดง เชฟแม็กซ์กี้ เชฟโอ๊ต เชฟเทียนและเชฟกอล์ฟ
สีเหลือง เชฟพลอย เชฟโน้ต เชฟกุ๊กและเชฟจารึก
สีเขียว เชฟณัฐ เชฟเชษฐ์ เชฟบิ๊กและเชฟอิน็อค
แต่ละทีมจะต้องส่งตัวแทน 1 คนเข้าไปชิมและสัมผัสอาหารแล้วนำข้อมูลมาบอกเพื่อนทุกคนในทีม โดยที่ทีมสีแดงได้เลือกเชฟกอล์ฟ ทีมสีเหลืองเลือกเชฟพลอย และทีมสีเขียวเลือกเชฟณัฐ เข้าไปชิมอาหารในกล่อง เมื่อเหลือเวลา 25 นาที ทางรายการได้อนุญาตให้แต่ละทีมส่งตัวแทนอีก 1 คนที่ไม่ใช่คนเดิมเข้าไปชิม ซึ่งทีมสีแดงได้เลือกเชฟแม็กซ์กี้ ทีมสีเหลืองเลือกเชฟจารึก และทีมสีเขียวเลือกเชฟเชษฐ์ เข้าไปชิมและสัมผัสอาหารในรอบนี้ เมื่อเหลือเวลา 5 นาที ผู้เข้าแข่งขันสามารถเข้าไปดูเมนูต้นแบบในกล่องได้โดยห้ามสัมผัสอาหาร หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ทีมที่ดีที่สุดคือ ทีมสีเหลือง แต่ผู้ชนะมีเพียงคนเดียว โดยให้สมาชิกภายในทีมประชุมและเลือกผู้ชนะกันเอง ซึ่งทีมสีเหลืองได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เลือกเชฟโน้ตเป็นผู้ชนะ ทำให้เชฟโน้ตได้สิทธิ์คุ้มกันและผ่านเข้ารอบทันที ส่วนสมาชิกอื่นของทีมสีเหลืองจะได้รับบัตรเข้าชมท้องฟ้าจำลอง
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีเหลือง
  • ผู้ถูกเลือกให้ได้รับสิทธิ์คุ้มกัน: เชฟโน้ต
  • Elimination Challenge: ในรอบคัดออกประจำสัปดาห์นี้ สตูดิโอถูกคลุมด้วยผ้าสีขาวและสร้างบรรยากาศหลอนโดยที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกสเตชันของตัวเองได้ โดยแต่ละสเตชันจะมีผ้าคลุมภาพถ่ายที่สื่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารที่สื่อถึงภาพถ่ายที่ได้รับ โดยผู้เข้าแข่งขันได้เลือกภาพดังต่อไปนี้
ภาพถ่าย ผู้เข้าแข่งขัน
ทุ่งนา เชฟกุ๊ก
ช้าง เชฟเทียน
มวยไทย เชฟณัฐ
วัดวาอาราม เชฟอิน็อค
ตลาดน้ำ เชฟโอ๊ต
ท้องทะเลไทย เชฟเชษฐ์
น้ำตก เชฟจารึก
นางรำ เชฟกอล์ฟ
มหานคร เชฟบิ๊ก
สีสันยามค่ำคืน เชฟพลอย
สยามเมืองยิ้ม เชฟแม็กซ์กี้
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 90 นาทีในการแข่งขันรอบนี้ โดยมีกรรมการพิเศษ คือ เชฟอ๊อฟ - ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย มาร่วมตัดสินกับเชฟวิลแมน เชฟต้น และเชฟแพม หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำได้ดีที่สุด 3 คน คือ เชฟพลอย เชฟจารึกและเชฟโอ๊ต โดยผู้ชนะ คือ เชฟโอ๊ต และจานที่แย่ที่สุด 3 จาน คือ เชฟณัฐ เชฟอิน็อคและเชฟกุ๊ก โดยเชฟณัฐ เสิร์ฟอาหารดิบทั้งหมด ซอสทั้งสามไม่เข้ากัน และใช้แต่วัตถุดิบต่างชาติ เชฟกุ๊ก ทำอาหารไม่เสร็จ คิดมากเกินไป อาหารเหมือนของสำเร็จรูป เชฟอิน็อค ศิลปะบนจานไม่สวย อาหารมีทิศทางเดียวและผลงานไม่สื่อถึงวัดอรุณ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เชฟกุ๊ก
  • ผู้ชนะ: เชฟโอ๊ต
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟณัฐ เชฟอิน็อค และเชฟกุ๊ก
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟกุ๊ก

ตอนที่ 6: ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น แก้

ออกอากาศ 12 มีนาคม 2566
  • Quickfire Challenge: ในสัปดาห์นี้ทางรายการได้เชิญครอบครัวของผู้เข้าแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือพี่น้องของผู้เข้าแข่งขัน โดยในรอบนี้จะให้ครอบครัวของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนทำอาหารจากวัตถุดิบปริศนาภายในเวลา 30 นาที รวมเวลาเข้าไปเลือกวัตถุดิบในซูเปอร์มาร์เก็ต ผู้เข้าแข่งขันสามารถลงมาช่วยงานได้เมื่อเหลือเวลา 15 นาที วัตถุดิบปริศนาในรอบนี้คือ นมถั่วเหลือง หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว 4 จานที่ดีที่สุด เป็นของเชฟณัฐ เชฟกอล์ฟ เชฟพลอย และเชฟอิน็อค ผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟอิน็อค
  • ผู้ชนะ: เชฟอิน็อค
  • Elimination Challenge: จากการที่เชฟอิน็อคเป็นผู้ชนะในรอบที่แล้ว เขาจะได้ผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบคัดออก ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 10 คน จะต้องนำผลิตภัณฑ์หรือสูตรของครอบครัวมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยจะต้องสร้างสรรค์ซอสของตนเองเพื่อขายแก่นักช็อปอายุ 20 - 60 ปี จำนวน 100 คน โดยมีเวลา 2 ชั่วโมงในการเตรียมซอสและมีเวลาอีก 30 นาทีการเสิร์ฟ ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันมีงบประมาณ 3,000 บาทในการเลือกซื้อวัตถุดิบที่แม็คโคร การตัดสินในรอบนี้มีกรรมการพิเศษคือ เชฟเอียน - พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย มาตัดสินร่วมกับเชฟวิลแมน เชฟอาร์ตและเชฟแพม หลังจากที่กรรมการได้ชิมซอสของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด 3 คน ได้แก่ เชฟเทียน เชฟโน้ต เชฟเชษฐ์ และผู้ชนะ คือ เชฟเทียน ส่วนผู้ที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด คือ เชฟจารึก เชฟพลอย และเชฟแม็กซ์กี้ โดยเชฟพลอยมีปัญหาที่ซอสมีน้ำมาก และเก็บไว้ได้ไม่นาน เชฟแม็กซ์กี้ ทำน้ำจิ้มหมูกระทะ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ซอสง่ายเกินไป รสชาติเหมือนซอสสำเร็จรูป และเชฟจารึก ทำน้ำกระสาย (น้ำลอดช่อง) มีความง่ายเกินไป นอกจากนี้ มีคาราเมลที่ไหม้ทำให้มีรสขมติดมา และให้ความสำคัญแก่เครื่องเคียงมากเกินไป และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ เชฟแม็กซ์กี้
  • ผู้ชนะ: เชฟเทียน
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟจารึก เชฟพลอย และเชฟแม็กซ์กี้
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแม็กซ์กี้

ตอนที่ 7: การทำอาหารนานาชาติจากวัตถุดิบนานาชาติ แก้

ออกอากาศ 19 มีนาคม 2566
  • Quickfire Challenge: ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบหลักได้ 3 อย่าง โดยจะต้องมีโปรตีนอย่างน้อย 1 อย่าง มีเวลาเลือกวัตถุดิบ 1 นาทีในซูเปอร์มาร์เก็ต หลังจากที่เลือกวัตถุดิบแล้ว ทางรายการได้นำกล่องปริศนามาให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ซึ่งภายในกล่อง มีข้าวโอ๊ต 3 ชนิด และภายในกล่องมีซองโจทย์ นั่นคือผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำวัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดและข้าวโอ๊ตมาทำเป็นไอศกรีม มีเวลา 30 นาทีในการแข่งขัน หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว 3 จานที่แย่ที่สุด เป็นของ เชฟจารึก เชฟอิน็อค และเชฟบิ๊ก และ 3 จานที่ดีที่สุด เป็นของ เชฟโน้ต เชฟเทียน และเชฟกอล์ฟ ผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟกอล์ฟ
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟจารึก เชฟอิน็อค และเชฟบิ๊ก
  • ผู้ชนะ: เชฟกอล์ฟ
  • Elimination Challenge: ในรอบนี้มีวัตถุดิบไถลลงมาจากกระดานลื่น นั่นคือ แอปเปิลหลากหลายพันธุ์จากสหรัฐอเมริกา ในรอบนี้จะต้องทำงานเป็นทีมโดยการสุ่มหยิบมีด ซึ่งมีสีเขียวและสีส้ม โดยแต่ละทีมมีสมาชิกดังต่อไปนี้
สีของทีม ผู้เข้าแข่งขัน
สีเขียว เชฟเทียน เชฟเชษฐ์ เชฟโน้ต เชฟณัฐและเชฟโอ๊ต
สีส้ม เชฟจารึก เชฟอิน็อค เชฟกอล์ฟ เชฟพลอยและเชฟบิ๊ก
ทั้งสองทีมจะต้องสร้างสรรค์แอปเปิล 4 ชนิดเป็นอาหารสัญชาติต่าง ๆ ได้แก่ อิตาลี อินเดีย เกาหลีใต้ เม็กซิโกและเวียดนาม สมาชิกแต่ละคนในทีมจะต้องตกลงเองว่าจะทำอาหารสัญชาติไหน และจะต้องเสิร์ฟอาหารตามสัญชาติ ทีมที่ชนะในแต่ละคู่จะได้รับ 1 คะแนน ทีมที่ได้คะแนนมากกว่าจะอยู่รอดในสัปดาห์นี้ ส่วนทีมที่แพ้จะมี 1 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน มีเวลาในการแข่งขัน 90 นาที ผลการแข่งขันของแต่ละคู่เป็นดังนี้
สัญชาติอาหาร คู่การแข่งขัน ผู้ชนะ
  อิตาลี เชฟเทียน VS เชฟจารึก เชฟเทียน
  อินเดีย เชฟเชษฐ์ VS เชฟอิน็อค เชฟอิน็อค
  เวียดนาม เชฟณัฐ VS เชฟกอล์ฟ เชฟกอล์ฟ
  เกาหลีใต้ เชฟโน้ต VS เชฟพลอย เชฟพลอย
  เม็กซิโก เชฟโอ๊ต VS เชฟบิ๊ก เชฟบิ๊ก
ทีมสีส้มคือทีมที่ชนะในการแข่งขันนี้ ชนะไปด้วยคะแนน 4 ต่อ 1 และจากการที่ทีมสีส้มเป็นทีมที่ชนะ ทำให้ทีมสีส้มผ่านเข้ารอบต่อไปทั้งทีม ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในรอบนี้ คือ เชฟพลอย ส่วนทีมที่แพ้ เชฟเทียน คือผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด และเชฟเชษฐ์เป็นอันดับสอง จานที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด คือ เชฟโอ๊ต เชฟโน้ต และเชฟณัฐ โดยเชฟโน้ต มีปัญหาที่รสชาติกระเทียมที่แรง และซอสโคชูจังกลบรสชาติของแอปเปิล เชฟโอ๊ต ไม่แกะหางกุ้ง อาหารไม่เป็นเม็กซิโก และมีขนาดที่ใหญ่เกินไป และเชฟณัฐ ทำอาหารง่ายเกินไป กินยาก รสชาติแอปเปิลหายไปเนื่องจากองค์ประกอบอื่นมาข่ม และแค่ซอยผักเท่านั้น ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟณัฐ
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีส้ม
  • ผู้ชนะ: เชฟพลอย
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟโอ๊ต เชฟโน้ต และเชฟณัฐ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟณัฐ

ตอนที่ 8: การออกแบบร้านอาหารในฝัน แก้

ออกอากาศ 26 มีนาคม 2566
  • Quickfire Challenge: ในครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องทำการแข่งขัน แต่จะได้ไปชิมอาหารจากร้านอาหารของกรรมการทั้ง 4 คนเพื่อหาแรงบันดาลใจ ได้แก่ ร้านโพทงของเชฟแพม ร้าน Coal Bistro & Bar ของเชฟวิลแมน เชฟเทเบิลส่วนตัวของเชฟอาร์ต และร้าน Le Du ของเชฟต้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเดินทางไปร้านใดร้านหนึ่งด้วยตัวเอง ซึ่งเชฟกอล์ฟและเชฟอิน็อคไปร้านของเชฟแพม เชฟบิ๊กและเชฟโอ๊ตไปร้านของเชฟต้น เชฟพลอยและเชฟโน้ตไปร้านของเชฟวิลแมน และเชฟจารึก เชฟเทียนและเชฟเชษฐ์ ไปเชฟเทเบิลของเชฟอาร์ต
  • Elimination Challenge: ผู้เข้าแข่งขันต้องออกแบบร้านอาหารในฝัน โดยจะต้องนำเสนอแนวคิด, มู้ดแอนด์โทน และเมนูประจำร้าน (Signature Dish) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำได้ดีที่สุด 2 คนจะได้นำแนวคิดของร้านอาหารตัวเองไปใช้ในการแข่งขันเปิดร้านอาหารจริง หรือ Restaurant Wars ซึ่งเป็นการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของซีซันนี้ แต่ 1 คนที่ทำได้แย่ที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 90 นาทีในการทำอาหารเมนูประจำร้านอาหารของตนเอง โดยจะต้องไปซื้อวัตถุดิบที่แมคโคร และทำบอร์ดนำเสนอแนวคิดของร้านอาหารของตนเองก่อนการทำอาหาร 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ เชฟอิน็อค เชฟบิ๊ก และเชฟโอ๊ต ผู้ชนะและได้นำแนวคิดไปใช้ในการแข่งขัน Restaurant Wars คือ เชฟอิน็อคและเชฟโอ๊ต ส่วน 3 จานที่ผิดพลาดมากที่สุด คือ เชฟเชษฐ์ เชฟจารึก และเชฟกอล์ฟ โดยเชฟจารึก นำความคิดอดีตมานำเสนอ คิดน้อยเกินไป เมนูไม่มีตัวเชื่อม และลอกคนอื่นมา เชฟเชษฐ์ คอนเซปต์สับสน ไม่ใช้โอมากาเสะ อาหารธรรมดา และใช้ของสำเร็จรูป เชฟกอล์ฟ ทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด และเสิร์ฟอาหารดิบ ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟกอล์ฟ
ชื่อเชฟ ชื่อร้านในฝัน ชื่อเมนู
เชฟอิน็อค New NanYang สำรับหมื่นลี้
เชฟเทียน 大樹 (ต้าชูว์) มินิโต๊ะจีน
เชฟบิ๊ก The Reef's Table Cuisine Richelieu Rock
เชฟพลอย Proud จานนี้ที่ใฝ่ฝัน
เชฟเชษฐ์ Tempura soba Omagase Omagase และ Tempura Soba
เชฟจารึก ร้านอาหารบนดาดฟ้า ซาเตี๊ยะ
เชฟโน้ต บ้านปูซีฟู้ดมาร์เก็ต เบญจมัจฉา
เชฟกอล์ฟ ร้านพัก-พักผ่อนกับผองเพื่อน ชุดติ่มซำพักพวกเฮฮา
เชฟโอ๊ต HAY - Farm to table and local sources พืชผักบนยอดดอย
  • ผู้ชนะ: เชฟอิน็อค (New NanYang) และเชฟโอ๊ต (HAY - Farm to table and local sources)
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟเชษฐ์ เชฟจารึก และเชฟกอล์ฟ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟกอล์ฟ

ตอนที่ 9: การแข่งขันในรอบ Vote Back แก้

ออกอากาศ 2 เมษายน 2566
  • การแข่งขันรอบ Restaurant Wars: ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งขันเป็นทีม ในโจทย์ การแข่งขันเปิดร้านอาหารจริง หรือ Restaurant Wars ซึ่งเชฟโอ๊ตและเชฟอิน็อคคือผู้ชนะทั้งสองคนจากการแข่งขันออกแบบร้านอาหารในฝัน ทั้งสองคนจึงได้สิทธิ์ เป็นหัวหน้าทีม และได้รับสิทธิ์ในการเลือกลูกทีมทั้งหมด โดยลำดับการเลือกลูกทีมคนแรกมาจากการสุ่มหยิบมีด จากนั้นจะทำการเลือกลูกทีมสลับกันระหว่าง 2 ทีม ซึ่งเชฟบิ๊กได้มีดสีแดง เชฟอิน็อคได้มีดสีเหลือง และเชฟบิ๊กได้สิทธิ์เลือกลูกทีมก่อน และผลการแบ่งทีมออกมาดังนี้
สีของทีม กัปตันทีม ลูกทีม
สีแดง เชฟโอ๊ต เชฟพลอย เชฟบิ๊กและเชฟโน้ต
สีเหลือง เชฟอิน็อค เชฟจารึก เชฟเทียนและเชฟเชษฐ์
แต่เนื่องจากผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่แค่ 8 คนมีจำนวนที่น้อยเกินไป ทางรายการจึงได้มีผู้ช่วยให้ทั้ง 2 ทีม ได้แก่ ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วทั้ง 8 คน ได้แก่ เชฟแจ๊ค เชฟเกด เชฟเดช เชฟมีน เชฟกุ๊ก เชฟแม็กซ์กี้ เชฟณัฐ และเชฟกอล์ฟ แต่พวกเขาไม่ได้กลับมาเป็นแค่ผู้ช่วย แต่เป็นการแข่งขัน Vote Back หรือการได้รับโอกาสกลับเข้ามาเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริง ซึ่งจะมีแค่คนเดียวเท่านั้นที่จะได้กลับมา ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 8 คนที่ยังเหลืออยู่จะได้ไปพักผ่อน โดยการแข่งขันในรอบ Vote Back มีทั้งหมด 3 รอบ ได้แก่ รอบการจัดการวัตถุดิบ หรือ Mise En Place, รอบการทำอาหารด้วยความรวดเร็ว หรือ Quickfire Challenge และรอบคัดออก หรือ Elimination Challenge
  • Mise En Place: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตัดแต่งเนื้อสันนอกให้ออกมาเป็นสเต๊ก จำนวน 5 ชิ้น น้ำหนักชิ้นละ 200 – 250 กรัม เมื่อทำเสร็จแล้วผู้เข้าแข่งขันจะต้องกดกริ่งเพื่อให้กรรมการตรวจสอบ หากไม่ผ่านจะต้องทำใหม่ และผู้เข้าแข่งขันที่ทำได้ช้าที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เชฟณัฐ เชฟมีน เชฟแจ๊ค เชฟเกด เชฟเดช เชฟกอล์ฟ และเชฟแม็กซ์กี้
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟกุ๊ก
  • Quickfire Challenge: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเนื้อสเต๊กจากรอบที่แล้วมาทำอาหารระดับท็อปเชฟ ภายในเวลา 30 นาที โดยในรอบนี้จะมี 2 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เชฟแจ๊ค เชฟเกด เชฟกอล์ฟ เชฟณัฐ และเชฟมีน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเดชและเชฟแม็กซ์กี้
  • Elimination Challenge: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คนจะต้องทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบหลักคือปลากะพงแช่แข็ง ภายในเวลา 60 นาที ในรอบนี้จะมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่จะได้กลับเข้ามาเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริง โดยจานที่ดีที่สุด 2 จานในรอบนี้ คือ เชฟเกดและเชฟแจ๊ค และคนที่ได้กลับเข้าสู่รายการอีกครั้ง คือ เชฟเกด
  • ผู้ชนะ: เชฟเกด
ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ คือ เชฟเกด จะได้สิทธิ์ในการเลือกทีมในการแข่งขัน Restaturant Wars นั่นคือ ทีมสีแดง หรือ ทีมสีเหลือง โดยเชฟเกดได้เลือกเข้าทีมสีเหลือง ส่วนทีมสีแดงสามารถเลือกผู้ช่วยได้อีก 1 คน แต่ผู้นั้นจะไม่ได้กลับเข้าสู่รายการ โดยทีมสีแดงได้เลือกเชฟกอล์ฟ

ตอนที่ 10: การแข่งขันเปิดร้านอาหารจริง แก้

ออกอากาศ 9 เมษายน 2566
  • การแข่งขันรอบ Restaurant Wars: ผู้เข้าแข่งขันตัวจริงทั้ง 9 คน (โดยเชฟกอล์ฟได้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้อีก 1 คน) จะต้องเปิดร้านอาหาร โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ทีมตามที่ได้เลือกในสัปดาห์ที่แล้ว
สีของทีม กัปตันทีม ลูกทีม ชื่อร้าน
สีแดง เชฟโอ๊ต เชฟพลอย เชฟบิ๊ก เชฟโน้ตและเชฟกอล์ฟ HAY
สีเหลือง เชฟอิน็อค เชฟจารึก เชฟเทียน เชฟเชษฐ์และเชฟเกด New Nanyang
ทั้ง 2 ทีมจะได้เข้าไปแข่งขันในร้านอาหารภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยร้านของทีมสีแดงคือ ห้องอาหาร Vantage Point และร้านของทีมสีเหลืองคือ ห้องอาหารแพรวา ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารอย่างน้อย 5 เมนู โดยสมาชิกแต่ละคนในทีมจะต้องรับผิดชอบคนละ 1 เมนู และต้องมีสมาชิกในทีม 1 คนที่จะรับผิดชอบการบริการหน้าร้านทั้งหมดควบคู่กับการรับผิดชอบเมนูของตัวเองไปด้วย ซึ่งทีมสีแดงเลือกเชฟบิ๊กและทีมสีเหลืองเลือกเชฟอิน็อคเป็นผู้รับผิดชอบการบริการ ทีมสีแดง มีชื่อร้านว่า HAY มาในคอนเซปต์ร้านอาหารในฟาร์มผัก ส่วนทีมสีเหลืองมีชื่อร้านว่า New Nanyang มาในคอนเซปต์ร้านอาหารจีน โดยมีเวลาในการเตรียมอาหาร 4 ชั่วโมง และมีเวลาอีก 2 ชั่วโมงในการเสิร์ฟอาหารให้กับลูกค้าจำนวน 50 คน ระหว่างการเสิร์ฟอาหาร กรรมการได้นำกระเช้ารังนกมามอบให้ทั้งสองร้าน และมีจดหมายอวยพรพร้อมโจทย์เสริม นั่นคือ ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารเมนูที่ 6 และต้องเสิร์ฟอาหารทั้ง 6 คอร์สให้โต๊ะคณะกรรมการทันที โดยโต๊ะคณะกรรมการ มีกรรมการพิเศษ 2 ท่าน ได้แก่ ม.ร.ว.สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ หนึ่งในผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเชฟพายุ นนทอ หัวหน้าเชฟห้องอาหาร Vantage Point หลังจากทีมสีแดงเสิร์ฟอาหารได้ 3 เมนู กรรมการได้ลุกออกจากโต๊ะและย้ายไปชิมอาหารของทีมสีเหลือง เมื่อทีมสีเหลืองเสิร์ฟอาหารทั้งหมดแล้ว กรรมการได้กลับไปชิมอาหารของทีมสีแดงต่อจนจบคอร์ส การแข่งขันรอบนี้ทั้งสองทีมไม่สามารถจัดการบริการได้ โดยปัญหาของทีมสีเหลืองคือไม่มีการวางแผนล่วงหน้าทั้งภายในครัวและหน้าร้าน หัวหน้าทีมต้องเข้าออกครัวตลอดเวลาและไม่สามารถบริการหน้าร้านได้ พนักงานเสิร์ฟไม่เข้าใจในแนวคิดของร้านอาหาร สำหรับทีมสีแดง เสิร์ฟอาหารช้าสำหรับลูกค้าอื่นนอกเหนือจากโต๊ะของกรรมการ ส่วนรสชาติในภาพรวม ทีมที่ชนะ ได้แก่ ทีมสีเหลือง โดยจานที่ดีที่สุด 2 จานในรอบนี้ คือ เชฟเกดและเชฟเชษฐ์ และจานที่ดีที่สุด คือ เชฟเกด ส่วนทีมสีแดง เมนูของเชฟบิ๊กและเชฟพลอยเป็นจานที่ดี รวมถึงเชฟบิ๊กได้อธิบายควบคุมพนักงานเสิร์ฟให้เข้าใจแนวคิดของร้านได้เป็นอย่างดี ส่วนเชฟโอ๊ตและเชฟโน้ต เป็น 2 จานที่แย่ที่สุด แต่ไม่ใช่จานที่แย่แบบสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟโอ๊ต
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีเหลือง
  • ผู้ชนะ: เชฟเกด
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟโอ๊ตและเชฟโน้ต
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟโอ๊ต

ตอนที่ 11: การเขียนสูตรอาหาร แก้

ออกอากาศ 23 เมษายน 2566
  • Quickfire Challenge: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร โดยใช้เรื่องราวเกี่ยวกับความรักกับแฟนเก่าของตนเอง ถ่ายทอดออกมาในผลงานของตนเอง มีเวลา 30 นาทีในการทำอาหาร โดยมีชื่อเมนูอาหารและระดับเรื่องราวของความรักดังนี้
ผู้เข้าแข่งขัน ชื่อเมนูอาหาร
เชฟอิน็อค รักมากแต่สมองยังไม่สุก
เชฟพลอย จานที่ไม่ได้แต่ง
เชฟโน้ต แด่แฟนคนเก่า ที่ทำให้เราจน
เชฟเชษฐ์ แห้วแล้ว แห้วอีก
เชฟบิ๊ก เผ็ดมัน ดุดัน ร้อนแรง
เชฟเกด รักสามเศร้า เราสองเหม็น
เชฟจารึก เหนียว ๆ เดี๋ยวก็รัก
เชฟเทียน ความทรงจำของทหาร

  เรื่องราวที่ดี

  เรื่องราวที่เลวร้าย

โดยในรอบนี้ 3 จานที่ประทับใจกรรมการมากที่สุด คือ เชฟโน้ต เชฟบิ๊ก และเชฟเทียน และผู้ชนะ คือ เชฟเทียน โดยได้รับรางวัลเป็นชุดสังฆทาน
  • ผู้ชนะ: เชฟเทียน
  • Elimination Challenge: จากการที่เชฟมืออาชีพบางคนสามารถถ่ายทอดสูตรอาหารของตนเองผ่านเมนูอาหารได้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารและเขียนสูตรอาหาร (Recipe) สำหรับเมนูประจำตัว (Signature Dish) ของตนเองให้ชัดเจนภายในเวลา 60 นาที โดยสูตรอาหารนี้จะได้รับการทดสอบโดยผู้เข้าแข่งขันมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ที่ไม่ได้ผ่านการเรียนทำอาหารจากสถาบันสอนทำอาหารชื่อดัง (โฮมคุก) จำนวน 8 คน ได้แก่ จำลอง จากซีซันที่ 1 บอล จากซีซันที่ 3 คุณแดง แทส คุณยุพ เบลล์ โหน่ง และนุ จากซีซันที่ 5 ซึ่งเชฟผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องทำการสุ่มหยิบมีดเสี่ยงทายผู้ทดสอบสูตรของตนเอง ซึ่งผลออกมาดังต่อไปนี้
ผู้เข้าแข่งขัน ผู้ทดสอบสูตรอาหาร ชื่อเมนูอาหาร
เชฟอิน็อค คุณยุพ อกเป็ดหน้าตายุโรปหัวใจเอเชีย
เชฟพลอย จำลอง มะเขือม่วงยัดไส้แบบมังสวิรัติ
เชฟโน้ต แทส ปลากะพงหนังกรอบกับซอสยอดซุป
เชฟเชษฐ์ โหน่ง เป็ดบดไส้ถั่ว กับซอสมะขามเปียก
เชฟบิ๊ก คุณแดง แซมอนหนังกรอบในดงชาวญี่ปุ่น
เชฟเกด บอล ข่าไก่ถอนสายบัว
เชฟจารึก เบลล์ ใครจะทำทันวะ
เชฟเทียน นุ น้ำพริกอัปเกรด
ผู้ทดสอบสูตรอาหารจะมีเวลาทำอาหาร 90 นาที และแยกครัวออกเป็น 2 จุด โดยผู้ทดสอบสูตรอาหารไม่สามารถปรึกษากับเชฟผู้เข้าแข่งขันได้ ซึ่งคณะกรรมการใช้เกณฑ์การตัดสิน 2 ข้อ คือ 1. ความน่าสนใจของเมนู 2. ความใกล้เคียงกับเมนูต้นฉบับ โดยหลังจากคณะกรรมการชิมอาหารและอ่านสูตรของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด 3 คน ได้แก่ เชฟพลอย เชฟเทียน และเชฟเกด และผู้ชนะในรอบนี้ ได้แก่ เชฟพลอย ส่วน 2 จานที่แย่ที่สุด ได้แก่ เชฟเชษฐ์และเชฟโน้ต โดยเชฟเชษฐ์ มีปัญหาที่สูตรไม่ละเอียด ไม่บอกระยะเวลาในการนึ่งและการห่อ รสชาติและความคิดสร้างสรรค์ไม่ดี ส่วนเชฟโน้ต ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ มีรสชาติและรสสัมผัสเดียว และมีการสะกดคำผิดในส่วนที่สำคัญมาก (นำปลา เป็น น้ำปลา) ส่งผลให้สัปดาห์นี้ทั้งเชฟเชษฐ์และเชฟโน้ตต้องออกจากการแข่งขันทั้งคู่
  • ผู้ชนะ: เชฟพลอย
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเชษฐ์และเชฟโน้ต

ตอนที่ 12: การทำอาหารจากผู้สนับสนุนรายการ แก้

ออกอากาศ 30 เมษายน 2566
  • Quickfire Challenge: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบหลักและนำเสนอสินค้าที่เข้ามาสนับสนุนรายการ คือ กะทิอัมพวา โดยให้นำเสนอออกมาให้โดดเด่น และตรงกับคอนเซปต์ที่สินค้ากำหนดไว้ คือ "ขาว ข้น หอม มัน" ภายในเวลา 30 นาที โดยหลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำอาหารออกมาไม่ตอบโจทย์ที่สุด 2 คน คือเชฟเกดและเชฟบิ๊ก ส่วน 2 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ เชฟเทียนและเชฟจารึก และผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟเทียน โดยได้รับกะทิอัมพวาไปใช้เป็นเวลา 1 ปี
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟเกดและเชฟบิ๊ก
  • ผู้ชนะ: เชฟเทียน
  • Elimination Challenge: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำขนมอบ (Bakery) โดยใช้วัตถุดิบหลัก คือ เนย ยี่ห้อ Allowrie ซึ่งต้องทำขนมอบให้ชูทั้งกลิ่นและรสชาติของเนยออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุด โดยมีเวลาในการทำขนมอบ 90 นาที โดยหลังจากที่คณะกรรมการชิมเมนูของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด 3 คน ได้แก่ เชฟพลอย เชฟจารึก และเชฟเกด และผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟจารึก ส่วน 2 จานที่แย่ที่สุด ได้แก่ เชฟบิ๊กและเชฟเทียน โดยเชฟเทียน มีปัญหาที่หยิบเครื่องปรุงผิด กลายเป็นหยิบเกลือมาปรุงแทนน้ำตาล ทำให้มีรสชาติเค็มทุกองค์ประกอบ และใช้แป้งสำเร็จรูป ส่วนเชฟบิ๊ก จานอาหารมีมิติเดียว ขนมอบไม่ประณีต และใช้แป้งสำเร็จรูปเช่นกัน และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟเทียน
  • ผู้ชนะ: เชฟจารึก
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟบิ๊กและเชฟเทียน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเทียน

ตอนที่ 13: การสร้างสรรค์วัตถุดิบพื้นฐานให้เป็นเมนูระดับท็อปเชฟ แก้

ออกอากาศ 7 พฤษภาคม 2566
  • Quickfire Challenge: ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟวิลแมนได้ทำเครื่องดื่มนมปั่นให้เชฟผู้เข้าแข่งขันได้ดื่ม จากนั้นกรรมการได้ประกาศว่าในสัปดาห์นี้จะเป็นโจทย์การสร้างสรรค์วัตถุดิบพื้นฐานให้เป็นเมนูระดับท็อปเชฟ ซึ่งในรอบ Quickfire Challenge คือ ขนมหวานจากนมสดภายในเวลา 30 นาที โดยรอบนี้มีกรรมการคือเชฟแพมและเชฟวิลแมน หลังจากที่คณะกรรมการชิมเมนูของทุกคนแล้ว 2 จานที่แย่ที่สุดเป็นของ เชฟบิ๊กและเชฟเกด และผู้ชนะในรอบนี้ คือเชฟอิน็อค โดยได้รับสิทธิพิเศษซึ่งจะเปิดเผยในรอบ Elimination Challenge ต่อไป
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟบิ๊กและเชฟเกด
  • ผู้ชนะ: เชฟอิน็อค
  • Elimination Challenge: ในรอบนี้ทางรายการได้นำกล่องปริศนามาให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ซึ่งภายในกล่องมีวัตถุดิบที่เป็นพื้นฐานของการทำอาหาร คือ ข้าวและไข่ไก่ โดยในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกระดับอาหารที่รับประทานได้โดยทั่วไป คือ ข้าวผัดไข่ ให้มีความแตกต่างและกลายเป็นเมนูระดับท็อปเชฟ โดยเชฟอิน็อคซึ่งเป็นผู้ชนะจากรอบ Quickfire Challenge จะได้สิทธิ์ในการนำวัตถุดิบระดับพรีเมียมจากทะเล เช่น ล็อบสเตอร์ ขาปูทาราบะ อูนิ (ไข่เม่นทะเล) ทรัฟเฟิล หอยเป๋าฮื้อ ไข่ปลาแซลมอนและคาเวียร์ มาใช้เสริมให้สามารถยกระดับอาหารได้มากขึ้น โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด 2 คน คือ เชฟอิน็อคและเชฟบิ๊ก และผู้ชนะในรอบนี้คือ เชฟบิ๊ก ส่งผลให้เชฟจารึก เชฟพลอย และเชฟเกด เป็น 3 จานที่แย่ที่สุดไปโดยปริยาย โดยเชฟจารึก มีปัญหาที่การโฟกัสผิดจุดและไม่มีความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบอื่นเด่นกว่าข้าวผัดไข่ ส่วนเชฟเกด ทำองค์ประกอบเสริมในจานฆ่ากันเองและทำอาหารแบบแยกส่วนซึ่งไม่เพียงพอต่อโจทย์ และเชฟพลอย ทำองค์ประกอบอื่นที่ทำให้รสชาติของข้าวผัดไข่เสียไป และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟจารึก
  • ผู้ชนะ: เชฟบิ๊ก
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟจารึก เชฟพลอย และเชฟเกด
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟจารึก

ตอนที่ 14: รอบรองชนะเลิศ (Semi-Final) แก้

ออกอากาศ 21 พฤษภาคม 2566
ก่อนเริ่มการแข่งขัน กรรมการได้เลี้ยงอาหารแก่ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน พร้อมกับการพูดคุยประสบการณ์ที่ผ่านมาและอนาคตของผู้เข้าแข่งขัน ที่โรงแรมบันยันทรี ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร
  • รอบรองชนะเลิศ: ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับผู้ช่วยคนละ 2 คน จากผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วทั้ง 12 คน โดยการโทรศัพท์ มีเวลา 10 นาทีในการดีล
ผู้เข้าแข่งขัน ผู้ช่วย
เชฟอิน็อค เชฟณัฐและเชฟแม็กซ์กี้
เชฟพลอย เชฟโน้ตและเชฟกอล์ฟ
เชฟบิ๊ก เชฟโอ๊ตและเชฟเทียน
เชฟเกด เชฟจารึกและเชฟแจ๊ค
ในรอบนี้จะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 1 คน โจทย์ในรอบนี้คือการสร้างสรรค์เมนูระดับท็อปเชฟโดยใช้วัตถุดิบไทย ได้แก่ หอยนางรมสุราษฎร์ธานี โดยจะต้องแกะหอยเอง มีเวลา 60 นาทีในการเสิร์ฟอาหารให้คณะกรรมการและกรรมการพิเศษ 5 ท่าน ได้แก่ เชฟสมศักดิ์ รารองคำ, เชฟโอลิวิเย่ร์ คาสเทลล่า, เชฟบิ๊บ - ชัชชญา รักตะกนิษฐ, เชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร และเชฟอ๊อฟ - ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด 2 คน คือ เชฟเกดและเชฟบิ๊ก และผู้ชนะในรอบนี้คือ เชฟเกด ทำให้ทั้งสองคนได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทันที และส่งผลให้เชฟอิน็อคและเชฟพลอย เป็น 2 จานที่แย่ที่สุดไปโดยปริยาย โดยจานของเชฟอิน็อคมีองค์ประกอบน้อยเกินไป ส่วนจานของเชฟพลอยชูวัตถุดิบหลักไม่มากพอ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟพลอย
  • ผู้ชนะ: เชฟเกด
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เชฟพลอยและเชฟอิน็อค
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟพลอย

ตอนที่ 15: รอบชิงชนะเลิศ (Final) แก้

ออกอากาศ 28 พฤษภาคม 2566
  • รอบชิงชนะเลิศ 1: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน ได้แก่ เชฟบิ๊ก เชฟเกด และเชฟอิน็อค จะต้องทำอาหาร 3 คอร์ส ได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก และขนมหวาน เสิร์ฟจำนวน 16 ที่ โดยกรรมการได้แก่ กรรมการประจำรายการ 4 คน กรรมการพิเศษ 5 คน ได้แก่ เชฟสมศักดิ์ เชฟโอลิวิเย่ร์ เชฟอ๊อฟ เชฟพฤกษ์ และเชฟบิ๊บ และเหล่าเชฟดาวมิชลิน จำนวน 7 คน มีเวลา 4 ชั่วโมง โดยจะต้องเสิร์ฟอาหารจานแรกเมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง และเสิร์ฟอาหารจานต่อไปหลังจากอาหารจานก่อนหน้า 1 ชั่วโมง และมีผู้ช่วย 2 คนที่ได้เลือกจากรอบรองชนะเลิศ
ผู้เข้าแข่งขัน ผู้ช่วย
เชฟอิน็อค เชฟณัฐและเชฟแม็กซ์กี้
เชฟบิ๊ก เชฟโอ๊ตและเชฟเทียน
เชฟเกด เชฟจารึกและเชฟแจ๊ค
  • รอบชิงชนะเลิศ 2: ในการแข่งขันรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน จะต้องแข่งขันคนเดียว โดยไม่มีผู้ช่วย โจทย์ในรอบนี้คือการสร้างสรรค์วัตถุดิบไทย ให้เป็นเมนูระดับท็อปเชฟ โดยวัตถุดิบที่ต้องใช้ คือ กั้ง มีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที และหลังจากคณะกรรมการชิมอาหารทั้งหมดและรวบรวมคะแนนแล้ว คณะกรรมการได้ใช้วิธีประกาศผลการตัดสินโดยนำมีดสีทองมาเสียบหน้ากล่องเสียบมีดที่มีชื่อของผู้ชนะเลิศของรายการในฤดูกาลนี้อยู่ และให้เชฟทั้ง 3 คนหยิบมีดจากกล่องเสียบมีดของตนเองขึ้นพร้อมกัน และผู้ที่หยิบได้มีดสีทอง ซึ่งถือเป็นผู้ชนะเลิศของรายการในฤดูกาลนี้ คือ เชฟบิ๊ก โดยได้รับถ้วยรางวัล (เพิ่มเข้ามาใหม่ในท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023) พร้อมเงินรางวัล 1,000,000 บาท
  • ผู้ชนะ: เชฟบิ๊ก

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • Best TV Format Adaptation (Unscripted) หรือ Best Reality Show in Asia จาก Content Asia Award 2023

อ้างอิง แก้

  1. ""เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป" คว้าลิขสิทธิ์รายการ "TOP CHEF Thailand"". เฟซบุ๊ก เขวี้ยงรีโมท. 2022-08-24. สืบค้นเมื่อ 2022-08-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "กรรมการชุดเดิม! "TOP CHEF THAILAND 2023" เริ่มตอนแรก 5 ก.พ. นี้ 6 โมงเย็น ช่อง 7HD". เฟซบุ๊ก เขวี้ยงรีโมท. 2023-01-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้