เอไคนอยด์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Echinodermata
ไฟลัมย่อย: Echinozoa
ชั้น: Echinoidea
Leske, 1778
Subclasses

เม่นทะเล หรือ หอยเม่น (อังกฤษ: sea urchin) เป็นสัตว์ที่มีทรงกลม (globular animal) และมักมีหนาม เป็นสัตว์ในไฟลัมอิคีเนอเดอร์เมอเทอ อยู่ในชั้นเอไคนอยเดีย (Echinoidea) สัตว์ในชั้นเอไคนอยเดีย เรียกว่า เอไคนอยด์ มีราว 950 สปีชีส์อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ในทุกมหาสมุทรตั้งแต่ชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 5,000 เมตร (16,000 ฟุต; 2,700 ฟาร์ธอม) เปลือกนอกมีลักษณะแข็ง กลม และมีหนาม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัวตั้งแต่ 3 ซม. ถึง 10 ซม. เม่นทะเลเคลื่อนที่ได้อย่างช้า ๆ ด้วยขาท่อ (tube feet) และบางครั้งยังเคลื่อนที่ด้วยหนาม อาหารหลักของเม่นทะเลคือสาหร่ายต่าง ๆ แต่ก็กินสัตว์ที่เคลื่อนที่ช้าหรืออยู่กับที่ด้วย นักล่าที่กินเม่นทะเลเป็นอาหารได้แก่ นากทะเล, ดาวทะเล, ปลาไหลหมาป่า (wolf eels), ปลาวัว และมนุษย์

เช่นเดียวกับเอไคโนเดิร์มอื่น ๆ เม่นทะเลจะมีลักษณะลำตัวสมมาตรห้าชั้น (fivefold symmetry) เมื่อโตเต็มที่ แต่ตัวอ่อนมีลักษณะสมมาตร 2 ด้าน (bilateral symmetry) แสดงถึงการเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกายแบบไบลาทีเรีย กลุ่มของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมขนาดใหญ่อันประกอบไปด้วยไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง, สัตว์ขาปล้อง, สัตว์พวกหนอนปล้อง และมอลลัสกา ซึ่งมีแหล่งอาศัยอยู่ในทุกมหาสมุทรตั้งแต่แถบเส้นศูนย์สูตรถึงขั้วโลก อาศัยอยู่บนพื้นมหาสมุทรตั้งแต่ชายฝั่งถึงก้นมหาสมุทร ฟอสซิสของเอไคนอยถูกค้นพบย้อนกลับไปถึงยุคออร์โดวิเชียน (450 ล้านปีที่แล้ว) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับสัตว์ในกลุ่มเอไคโนเดิร์มด้วยกันคือ ปลิงทะเล โดยทั้งคู่จัดเป็นสัตว์ประเภท deuterostomes (ปากกับทวารอยู่คนละด้าน) จัดว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับสัตว์มีแกนสันหลัง

เม่นทะเลถูกศึกษามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยใช้เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบในสาขาวิชาชีววิทยาการเจริญ เนื่องจากตัวอ่อนของเม่นทะเลง่ายต่อการสังเกตการณ์ และมีการศึกษาจีโนมของลักษณะลำตัวสมมาตรห้าชั้น (fivefold symmetry) และความสัมพันธ์กับสัตว์มีแกนสันหลัง เม่นทะเลหนามดินสอเป็นที่นิยมในวงการปลาทะเลสวยงามเนื่องจากความสามารถในการควบคุมปริมาณสาหร่าย ฟอสซิสของเม่นทะเลยังใช้ทำเครื่องรางป้องกันภัยด้วย

อ้างอิง แก้

  • บพิธ จารุพันธุ์ และ นันทพร จารุพันธุ์. 2540. สัตววิทยา. กทม. สำนักหิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Wikipedia ภาษาอังกฤษ