อำเภอเกาะกูด
เกาะกูด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด มีพื้นที่ครอบคลุมเกาะกูด เกาะหมาก และเกาะเล็ก ๆ ข้างเคียง และเป็นอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย
อำเภอเกาะกูด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ko Kut |
![]() | |
คำขวัญ: ฟ้าใส ทะเลสวย รวยธรรมชาติ หาดทรายสะอาด ดาษดื่นปะการัง | |
![]() แผนที่จังหวัดตราด เน้นอำเภอเกาะกูด | |
พิกัด: 11°39′30″N 102°32′32″E / 11.65833°N 102.54222°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ตราด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 131.450 ตร.กม. (50.753 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 2,737 คน |
• ความหนาแน่น | 20.82 คน/ตร.กม. (53.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 23000 (ไปรษณีย์ตราด - เฉพาะเกาะกูด), 23120 (ไปรษณีย์แหลมงอบ - เฉพาะตำบลเกาะหมาก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2306 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเกาะกูด หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด 23000 |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเกาะกูดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับน่านน้ำของอำเภอเกาะช้าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับน่านน้ำของอำเภอคลองใหญ่
- ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย
ประวัติ
แก้เกาะกูดเริ่มปรากฏหลักฐานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อองเชียงสือ เจ้าเมืองญวนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ หนีออกจากกรุงเทพมหานครมาลงเรือที่เกาะสีชัง จากนั้นแล่นเรือชักใบในอ่าวไทยมา 7 วันจึงถึงเกาะกูดที่ไม่มีคนอยู่เลย
ชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของเกาะกูดส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่อพยพมาจากเมืองปัจจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 มีหมู่บ้านคลองมาดเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด
เดิมเกาะกูดเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลเกาะหมาก อำเภอแหลมงอบ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเกาะกูด ในปี พ.ศ. 2523[1] ตัวเกาะกูดมีระยะทางห่างจากอำเภอคลองใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร ประชาชนชาวเกาะกูดมีความยากลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการ ประกอบกับเกาะกูดอยู่ใกล้ดินแดนประเทศกัมพูชาด้านเกาะกงมากกว่าฝั่งไทย ทางราชการจึงมีนโยบายเพื่อความมั่นคงและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยได้ยกฐานะเกาะกูดและเกาะข้างเคียงขึ้นเป็น กิ่งอำเภอเกาะกูด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[2] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเกาะกูด โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[3]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองของอำเภอเกาะกูดมี 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ตุลาคม 2567)[4] |
---|---|---|---|---|
1. | เกาะหมาก | Ko Mak | 2
|
764
|
2. | เกาะกูด | Ko Kut | 6
|
2,184
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเกาะกูดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะหมากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะกูดทั้งตำบล
รายชื่อเกาะในเขตอำเภอเกาะกูด
แก้อำเภอเกาะกูด มีเกาะหลักคือ เกาะกูด ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับหกของประเทศไทย รองลงมาจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา เกาะพะงัน มีเนื้อที่ประมาณ 111 ตารางกิโลเมตร และเกาะเล็ก ๆ อีก 20 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ส่วนเกาะกูดอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 131.450 ตารางกิโลเมตร[5]
ลำดับที่ | ชื่อเกาะ | ตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) | หน่วยงาน | |||||||
1 | กูด | เกาะกูด | 111.894 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด | |||||||
2 | แรด | เกาะกูด | 0.121 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
3 | ไม้ซี้ | เกาะกูด | 1.602 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
4 | รัง | เกาะหมาก | 0.004 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
5 | กระ | เกาะหมาก | 0.005 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
6 | เทียน | เกาะหมาก | 0.005 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
7 | ลอม | เกาะหมาก | 0.005 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
8 | นกนอก | เกาะหมาก | 0.009 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
9 | นกใน | เกาะหมาก | 0.011 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
10 | ทองหลาง | เกาะหมาก | 0.013 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
11 | มะปริง | เกาะหมาก | 0.016 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
12 | เทียน | เกาะหมาก | 0.026 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
13 | กลาง | เกาะหมาก | 0.026 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
14 | มะปริง | เกาะหมาก | 0.046 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
15 | ขาม | เกาะหมาก | 0.112 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
16 | ระยั้งใน | เกาะหมาก | 0.133 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
17 | ระยั้งนอก | เกาะหมาก | 0.142 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
18 | ตุ้น | เกาะหมาก | 0.346 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
19 | กระดาด | เกาะหมาก | 1.937 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
20 | รัง | เกาะหมาก | 2.599 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง | |||||||
21 | หมาก | เกาะหมาก | 12.398 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
การคมนาคม
แก้ทางอากาศ สามารถเดินทางโดยใช้สนามบินเกาะไม้ซี้ อยู่ห่างจากเกาะกูดเล็กน้อย สนามบินดังกล่าวมีความยาวทางวิ่ง 800 เมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (150 ง): 3391–3392. September 30, 1980. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเกาะกูด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (25 ง): 1351. February 13, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-05-31.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-31.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดตราด". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผู้ว่าฯตราดตรวจการก่อสร้างสนามบินเล็กที่เกาะไม้ซี้ เกาะกูด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-18.