ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma) เป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาอินทรี[2] โดยเป็นชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที่สุดและคนไทยยังเชื่ออีกว่าปลาทูคือสัญลักษณ์ของการมีคู่ครองตามความเชื่อของชนพื้นเมืองจังหวัดจันทบุรี

ปลาทู
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Scombriformes
อันดับย่อย: อันดับย่อยปลาทูน่า
วงศ์: วงศ์ปลาอินทรี
วงศ์ย่อย: วงศ์ปลาอินทรี
เผ่า: Scombrini
สกุล: ปลาทู (สกุล)
(Bleeker, 1851)
สปีชีส์: Rastrelliger brachysoma
ชื่อทวินาม
Rastrelliger brachysoma
(Bleeker, 1851)
ชื่อพ้อง
  • Rastrelliger neglectus van Kampen, 1907
  • Scomber brachysoma Bleeker, 1851
  • Scomber neglectus van Kampen, 1907

ลักษณะ แก้

ปลาทูมีลำตัวแป้นยาวเพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็นเยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็ก ๆ มีซี่เหงือกแผ่เต็มคล้ายพู่ขนนก มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบอกมีฐานครีบกว้าง แต่ปลายเรียว สีตัวพื้นท้องสีขาวเงิน บริเวณที่ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดำ 3–6 จุดเรียงอยู่ 1 แถว ผิวด้านบนหลังมีสีน้ำเงินแกมเขียว ช่วยในการพรางตัวให้พ้นจากศัตรู มีความยาวประมาณ 14–20 เซนติเมตร

พฤติกรรม แก้

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในน่านน้ำที่เป็นทะเลเปิด ได้แก่ อินโด-แปซิฟิก, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ และทะเลญี่ปุ่น โดยอาศัยใกล้ฝั่งที่มีสภาพน้ำลึกไม่เกิน 30 เมตร มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก[3]

การใช้ประโยชน์ แก้

ปลาทูนับเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในอาหารไทย มีการนำปลาทูมาปรุงเป็นอาหารมาช้านานแล้ว ทั้งนึ่ง, ทอด, ต้มยำ หรือทำน้ำพริกปลาทูซึ่งใช้เนื้อปลาทูโขลกผสมรวมกับกะปิ ในตลาดสดของไทยจะมีขายทั้งปลาทูนึ่งใส่เข่งและปลาทูสด[4] เนื้อปลาทูมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ทั้งกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และกรดโคโคซาเฮ็กชิโนอิก (ดีเอชเอ) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมอง[5]

ในประเทศไทย แหล่งที่ได้ชื่อว่ามีปลาทูชุกชุมและรสชาติอร่อยแห่งหนึ่งคือ พื้นที่อ่าวกรุงเทพหรืออ่าวไทยตอนใน เมื่อชาวประมงจับปลาทูได้มักนำขึ้นฝั่งมาจำหน่ายในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ปลาทูจากที่นี่มีชื่อเรียกว่า "ปลาทูแม่กลอง" ส่วนหน้ามีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นแบน สีเงินหรืออมเขียว ตาดำ เนื้อแน่นแต่นุ่ม เมื่อกดลงไปที่ตัวปลา เนื้อปลาจะกลับคืนสภาพเดิมไม่บุ๋มลงไปตามรอยแรงกด รวมทั้งมีเอกลักษณ์สำคัญที่เรียกว่า "หน้างอ คอหัก"[4]

อ้างอิง แก้

  1. Collette, B.; Di Natale, A.; Fox, W.; Juan Jorda, M.; Nelson, R. (2011). "Rastrelliger brachysoma". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T170318A6745895. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-2.RLTS.T170318A6745895.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851)". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 5 August 2011.
  3. [https://web.archive.org/web/20090226194419/http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/pjk/p_nature1.html เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากเว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก]
  4. 4.0 4.1 "หน้างอ คอหัก สุดยอดปลาทูแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-12-06.
  5. เทศกาลปลาทูแม่กลอง จากไทยรัฐ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้