อากาศยานลำตัวกว้าง

(เปลี่ยนทางจาก อากาศยานแบบลำตัวกว้าง)

อากาศยานลำตัวกว้าง (อังกฤษ: Wide-body aircraft) คือ อากาศยานที่มีขนาดลำตัว (fuselage) กว้างเพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารได้ถึงสองช่องทางเดิน (aisles) โดยถูกเรียกว่าเป็น อากาศยานที่มีสองช่องทางเดิน ซึ่งประกอบไปด้วยที่นั่งอย่างน้อยเจ็ดที่นั่งต่อหนึ่งแถว[1] ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปของลำตัวเครื่องบินนั้นมีขนาดประมาณ 5 ถึง 6 เมตร (16 ถึง 20 ฟุต)[2] ซึ่งทำให้จุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 200 จนถึง 850 คนในหนึ่งเที่ยวบิน[3] อากาศยานที่มีขนาดลำตัวกว้างที่สุดนั้นมีขนาดความกว้างกว่า 6 เมตร (20 ฟุต) และสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 11 ที่นั่งต่อหนึ่งแถวในการจัดผังที่นั่งที่แบบใช้พื้นที่สูงสุด

เครื่องบินแอร์บัส เอ380 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
เปรียบเทียบขนาดระหว่างเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ของบริติชแอร์เวย์ (ลำตัวแคบ) กับโบอิง 777-300อีอาร์ของแอร์แคนาดา (ลำตัวกว้าง)

เมื่อเปรียบเทียบกันกับอากาศยานลำตัวแคบ (Narrow-body aircraft) ซึ่งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 3 ถึง 4 เมตร (10 ถึง 13 ฟุต) และมีช่องทางเดินเดียว[1][4] และจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 2 จนถึง 6 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว[5]

แต่แรกนั้น อากาศยานลำตัวกว้างนั้นถูกออกแบบเพื่อจุดประสงค์ในด้านประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายของผู้โดยสาร รวมทั้งการเพิ่มขนาดของห้องสัมภาระ อย่างไรก็ตาม สายการบินต่างๆ หันมาให้ความสนใจในด้านความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเพื่อแลกกับความสามารถในการทำรายได้และกำไรสูงสุด[6]

อากาศยานลำตัวกว้างที่มีขนาดกว้างที่สุดมักจะถูกเรียกว่า จัมโบ้เจ็ต ซึ่งได้แก่ โบอิง 747 ("จัมโบ้เจ็ต") แอร์บัส เอ380 ("ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต") และรุ่นที่กำลังจะตามมา คือ โบอิง 777X ("มินิจัมโบ้เจ็ต")[7][8] คำว่า "จัมโบ้เจ็ต" นั้นมาจากชื่อ "จัมโบ้" ของช้างที่โด่งดังจากละครสัตว์ในช่วงศตวรรษที่ 19[9][10]

ประวัติ แก้

 
โบอิง 747 ซึ่งเป็นอากาศยานลำตัวกว้างลำแรกที่ใช้ข่นส่งผู้โดยสาร โดยสารการบินแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์

จากความสำเร็จในการออกแบบและผลิตโบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 ในช่วงปลายยุค 1950 สายการบินต่างๆ ก็เริ่มต้นมองหาอากาศยานที่มีขนาดกว้างขึ้นเพื่อรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการเดินทางทางอากาศ วิศวกรผู้พัฒนาต่างก็พบกับความท้าทายหลายประการ เพราะสายการบินต่างๆ ต้องการบรรจุผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น โดยมีพิสัยการบินที่ไกลขึ้น และต้นทุนที่ต่ำลง

เครื่องบินไอพ่นในสมัยแรก เช่น โบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 มีการจัดที่นั่งโดยสารแบบช่องทางเดินเดียวซึ่งมีที่นั่งไม่มากกว่าหกต่อแถว อากาศยานที่มีขนาดใหญ่กว่าจะต้องมีความยาวมากกว่า สูงกว่า (เช่น มีสองชั้น) หรือกว้างพอที่จะจุจำนวนผู้โดยสารได้มากกว่า จากนั้นวิศวกรก็ได้พบว่าการสร้างห้องโดยสารเป็นสองชั้นจะเป็นปัญหาต่อกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการอพยพอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น และในช่วงยุค 1960 ก็ได้เชื่อกันว่าอากาศยานความเร็วเหนือเสียงนั้นจะมาแทนที่อากาศยานแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่ แต่ทำความเร็วได้ช้ากว่า ดังนั้น จึงมีความเชื่อที่ว่าอากาศยานที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียงนั้นจะค่อยๆ หายไปจากธุรกิจการบิน และจะกลายเป็นอากาศยานสำหรับขนส่งสินค้าแทน จึงทำให้ผู้ผลิตอากาศยานหลายรายได้ปรับแผนโดยใช้ลำตัวเครื่องบินที่กว้างขึ้นแทนที่จะสูงขึ้น (อาทิเช่น โบอิง 747 แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และล็อกฮีด แอล-1011) โดยการเพิ่มช่องทางเดิน จะทำให้สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ถึง 10 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว ซึ่งยังสามารถเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าที่บรรจุสินค้าได้ถึงสองตอน[11]

ต่อมาวิศวกรได้พยายามออกแบบผลิตรุ่นที่สามารถยืดยาวออกไปได้อีกสำหรับแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-8 (รุ่นย่อย 61 62 และ 63) รวมทั้งรุ่นที่ยาวขึ้นสำหรับโบอิง 707 (รุ่นย่อย 320B และ 320C) และ โบอิง 727 (รุ่นย่อย 200) และ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 (รุ่นย่อย 30 40 และ 50) ซึ่งทั้งหมดนั้นสามารถบรรจุจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้นกว่าเดิม ในสมัยทางเทคโนโลยียังไม่สามารถทำอากาศยานที่มีสองชั้นตลอดลำตัวจนกระทั่งต่อมาในศตวรรษที่ 21 (แอร์บัส เอ380)

ยุคสมัยแรกของอากาศยานลำตัวกว้างนั้นเริ่มขึ้นราวปีค.ศ. 1970 ด้วยอากาศยานลำตัวกว้างรุ่นบุกเบิก ได้แก่ โบอิง 747[12] ที่มี 4 เครื่องยนต์ และห้องโดยสารสองชั้นบริเวณช่วงต้นของอากาศยาน ต่อมาไม่นาน อากาศยานลำตัวกว้างที่มีสามเครื่องยนต์ (trijet) ก็ถือกำเนิดตามมา ได้แก่ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และล็อกฮีด L-1011 ไทรสตาร์ ต่อมาอากาศยานลำตัวกว้างชนิดสองเครื่องยนต์ (twinjet) ถือกำเนิดขึ้นกับ แอร์บัส เอ300 ซึ่งเข้าประจำการในปีค.ศ. 1974 ในยุคสมัยนี้ถือเป็นช่วงที่เรียกกันว่า "สงครามอากาศยานลำตัวกว้าง"[13]

ภายหลังกว่าสองทศวรรษต่อมาหลังจากความสำเร็จของอากาศยานประเภทนี้ ได้มีอากาศยานที่พัฒนาออกมาแทนอีกหลายรุ่น รวมถึง โบอิง 767 โบอิง 777 และแอร์บัส เอ330 แอร์บัส เอ340 และแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 ในประเภทของ "จัมโบ้เจ็ต" นั้น ความจุของ โบอิง 747 นั้นยังคงทำสถิติต่อเนื่องมาจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ.​ 2007 เมื่อแอร์บัส เอ380 ได้เข้าประจำการพร้อมชื่อเรียกอย่างลำลองว่า "ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต"

 
พื้นที่หน้าตัดระหว่างแอร์บัส เอ380 (สองชั้นเต็มความยาวของเครื่องบิน) กับโบอิง 747-400 (สองชั้นเฉพาะบริเวณตอนหน้าของเครื่องบิน)

ปัจจัยในการออกแบบ แก้

ลำตัวเครื่องบิน (Fuselage) แก้

 
หน้าตัดของแอร์บัส เอ300 แสดงให้เห็นถึงช่องเก็บสินค้า บริเวณผู้โดยสาร และพื้นที่เหนือศีรษะ

อากาศยานที่มีขนาดลำตัวเครื่องบินกว้าง ถึงแม้จะมีพื้นที่ที่มากกว่า (และทำให้มีแรงต้านสูงขึ้นด้วย) อากาศยานลำตัวแคบที่มีปริมาณที่นั่งใกล้เคียงกัน โดยอากาศยานลำตัวกว้างนั้นมีข้อดีดังนี้:

  • มีปริมาณพื้นที่สำหรับผู้โดยสารมากกว่า ทำให้รู้สึกสะดวกสบายในพื้นที่กว้างขวาง
  • มีอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรที่น้อยกว่า ดังนั้นจึงมีแรงต้านต่อผู้โดยสาร/สินค้าที่น้อยกว่า โดยมีข้อยกเว้นในกรณีของโบอิง 757 ซึ่งเป็นอากาศยานลำตัวแคบที่มีความยาวมาก
  • มีช่องทางเดินคู่ (twin aisles) ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการบรรจุสินค้าเข้า ขนถ่ายสินค้าออก และการอพยพผู้โดยสาร เมื่อเปรียบเทียบกับอากาศยานที่มีทางเดินเดียว (อากาศยานลำตัวกว้างนั้นโดยปกติจะมีที่นั่งตั้งแต่ 3.5 ถึง 5 ต่อหนึ่งช่องทางเดิน กับอากาศยานลำตัวแคบที่มีปริมาณถึง 5-6 ที่นั่งต่อหนึ่งช่องทางเดิน)[14]
  • ลดปริมาณความยาวของเครื่องบินต่อผู้โดยสาร (หรือปริมาณสินค้า) ทำให้สามารถขับเคลื่อนบนพื้นดินได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทำให้หางเครื่องบินกระแทกกับพื้น (tailstrike)
  • มีช่องเก็บสัมภาระใต้เครื่องบินมากกว่า
  • โครงสร้างโดยรวมมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกแบบในอากาศยานลำตัวแคบ

เครื่องยนต์ แก้

กำลังของเครื่องยนต์อากาศยานได้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้อากาศยานลำตัวกว้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มีเพียงเครื่องยนต์จำนวนสองเครื่องเท่านั้น เครื่องยนต์คู่นั้นประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่าอากาศยานขนาดเท่าๆ กันที่มีสามหรือสี่เครื่องยนต์ ความปลอดภัยของเครื่องยนต์อากาศยานในยุคปัจจุบันยังทำให้อากาศยานเป็นไปตามมาตรฐานการรับรองของ ETOP (Extended-range Twin-engine Operational Performance Standards) ซึ่งคำนวณ และกำหนดความปลอดภัยสำหรับเที่ยวบินข้ามทวีป อากาศยานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นมีเพียงสองเครื่องยนต์ เช่น (แอร์บัส เอ330 แอร์บัส เอ350 โบอิง 767 และ โบอิง 777) ยกเว้นแต่อากาศยานที่มีน้ำหนักมากซึ่งจำเป็นต้องใช้สี่เครื่องยนต์ (ได้แก่ แอร์บัส เอ340, แอร์บัส เอ380 และ โบอิง 747)[15][16]

การตกแต่งภายใน แก้

การตกแต่งภายในของอากาศยาน หรือเรียกว่า ห้องโดยสาร (cabin) ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อากาศยานขนส่งผู้โดยสารในยุคแรก และในปัจจุบันนี้ อากาศยานลำตัวกว้างสามารถบรรจุชั้นโดยสารได้ตั้งแต่หนึ่งชั้นโดยสารถึงสี่ชั้นโดยสาร

บาร์ และเลาจน์ซึ่งเคยมีอยู่ในอากาศยานประเภทนี้เริ่มถูกตัดออกไปเกือบทั้งหมด แต่ก็ได้นำกลับเข้ามาในชั้นหนึ่ง (first class) และชั้นธุรกิจ (business class) บนเครื่องบินแอร์บัส เอ340-600[17] โบอิง 777-300ER[18] และ แอร์บัส เอ380[19] เอมิเรตส์แอร์ไลน์ได้เพิ่มห้องอาบน้ำสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ380[20] โดยอนุญาตให้ผู้โดยสารใช้งานได้ท่านละยี่สิบห้านาที และฝักบัวสามารถเปิดน้ำติดต่อกันได้ครั้งละห้านาทีเท่านั้น[21][22]

การออกแบบภายในห้องโดยสาร รวมทั้งขนาด ความกว้างของที่นั่ง และระยะห่างระหว่างที่นั่ง นั้นแตกต่างกันตามแต่ละสายการบิน[23] ตัวอย่างเช่น อากาศยานที่ใช้สำหรับเที่ยวบินระยะใกล้นั้นจะถูกตกแต่งให้มีความหนาแน่นของจำนวนที่นั่งมากกว่าอากาศยานสำหรับบินระยะไกล แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจสายการบิน ความหนาแน่นของที่นั่งสำหรับผู้โดยสารชั้นประหยัดนั้นยังคงมีอยู่ต่อไป[24]

ในอากาศยานลำตัวกว้างแบบชั้นเดียว อาทิ เช่น โบอิง 777 พื้นที่บริเวณด้านบนของห้องโดยสารถูกออกแบบสำหรับเป็นบริเวณพักผ่อนของลูกเรือ และบริเวณเก็บอาหาร

ข้อมูลจำเพาะ แก้

รุ่น ช่วงผลิต (ค.ศ.) จำนวนเครื่องยนต์ น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น (MTOW)
(ตัน)
ความกว้างภายใน ความกว้างภายนอก จำนวนที่นั่งต่อแถวในชั้นประหยัด
แอร์บัส เอ300[25] 1974–2007 2 171.7 528 เซนติเมตร (208 นิ้ว) 564 เซนติเมตร (222 นิ้ว) 8 ที่นั่ง (กว้าง 17.0") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน TG[26] หรือ LH[27]
แอร์บัส เอ310[28] 1983–1998 2 164 528 เซนติเมตร (208 นิ้ว) 564 เซนติเมตร (222 นิ้ว) 8 ที่นั่ง (กว้าง 17.4") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน AI[29]
แอร์บัส เอ330[30] 1994- 2 242 528 เซนติเมตร (208 นิ้ว) 564 เซนติเมตร (222 นิ้ว) 8 ที่นั่ง (กว้าง 17.5") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน EK[31]
9 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน D7[32]
แอร์บัส เอ340[33] 1993–2011 4 380 528 เซนติเมตร (208 นิ้ว) 564 เซนติเมตร (222 นิ้ว) 8 ที่นั่ง (กว้าง 17.5") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน EY[34]
9 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 D7[35]
แอร์บัส เอ350[36] 2010- 2 268 561 เซนติเมตร (221 นิ้ว) 596 เซนติเมตร (235 นิ้ว) 9 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน QR[37]
8 ที่นั่ง (กว้าง 19-19.5")[38]
10 ที่นั่ง ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 ถูกนำเสนอ[38]
แอร์บัส เอ380[39] 2007-2021 4 560 654 เซนติเมตร (257 นิ้ว)
ที่นั่งชั้นบน : 580 เซนติเมตร (230 นิ้ว)
714 เซนติเมตร (281 นิ้ว) 10 ที่นั่ง ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 กว้าง 17.0" บน LH และความกว้าง 18.6" บน SQ[40]
11 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 3-5-3 ถูกนำเสนอ[41]
โบอิง 747[42] 1970- 4 447.7 610 เซนติเมตร (240 นิ้ว) 650 เซนติเมตร (260 นิ้ว) 10 ที่นั่ง (กว้าง 18.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 บน LH[43]
โบอิง 767[44] 1982- 2 186.9 472 เซนติเมตร (186 นิ้ว) 503 เซนติเมตร (198 นิ้ว) 7 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 2-3-2 บน UA[45]
8 ที่นั่ง (กว้าง 17.0") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน BY[46]
โบอิง 777[47] 1995- 2 351.5 586 เซนติเมตร (231 นิ้ว) 619 เซนติเมตร (244 นิ้ว) 9 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน UA[48] ถึง (กว้าง 18.5") ผังที่นั่งแบบ 2-5-2 บน AA[49]
10 ที่นั่ง (กว้าง 17.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 บน EK[50]
โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์[51] 2011- 2 252.7 549 เซนติเมตร (216 นิ้ว) 591 เซนติเมตร (233 นิ้ว) 8 ที่นั่ง (กว้าง 18.5") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน ANA[52]
9 ที่นั่ง (กว้าง 17.3") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน UA[53]
อิลยูชิน อิล-86 1980–1994 4 206[54] 570 เซนติเมตร (220 นิ้ว) 608 เซนติเมตร (239 นิ้ว) 9 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน SU[55]
อิลยูชิน อิล-96[56] 1992- 4 216 570 เซนติเมตร (220 นิ้ว) 608 เซนติเมตร (239 นิ้ว) 9 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน SU[57]
ล็อคฮีด แอล-1011 ไตรสตาร์[58] 1972–1985 3 231.3 577 เซนติเมตร (227 นิ้ว) 602 เซนติเมตร (237 นิ้ว) 9 ที่นั่ง (กว้าง 17.0") ผังที่นั่งแบบ 3-4-2 บน BA[59] หรือ 2-5-2 บน SV [60]
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10[61] 1971–1989 3 259.5 569 เซนติเมตร (224 นิ้ว) 602 เซนติเมตร (237 นิ้ว) 8 ที่นั่ง (กว้าง 20") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2[61]
9 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 2-4-3[61]
10 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3[61]
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11[62] 1990–2001 3 286 569 เซนติเมตร (224 นิ้ว) 602 เซนติเมตร (237 นิ้ว) 9 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 2-5-2[62]
10 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3[62]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Ginger Gorham, Ginger Todd, Susan Rice (2003). A Guide to Becoming a Travel Professional. Cengage Learning. p. 40. ISBN 9781401851774.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Paul J. C. Friedlander (1972-03-19). "the traveler's world; Test of a New Wide-Bodied Airbus". New York Times.
  3. 27 September 2012 (2012-09-27). "Dimensions & key data | Airbus, a leading aircraft manufacturer". Airbus.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  4. "narrowbody aircraft". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-03-18.
  5. Royal Aero Club (Great Britain), Royal Aero Club of the United Kingdom (1967). Flight International. IPC Transport Press Ltd. p. 552.
  6. Eric Pace (1981-05-24). "How Airline Cabins are Being Reshaped". New York Times.
  7. "Boeing lands US$100B worth of orders for its new 777 mini-jumbo jet, its biggest combined haul ever | Financial Post". Business.financialpost.com. 2013-11-18. สืบค้นเมื่อ 2014-04-27.
  8. Tina Fletcher-Hill (2011-11-23). "BBC Two - How to Build..., Series 2, A Super Jumbo Wing". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2014-04-27.
  9. Henry Nicholls, "Jumbo the Elephant goes large", The Guardian (November 7, 2013).
  10. Eric Partridge, Tom Dalzell, Terry Victor, The New Partridge Dictionary of Slang and Unconventional English: J-Z (2006), p. 1128.
  11. Irving, Clive (1994). Wide Body: The Making of the Boeing 747. Coronet. ISBN 0-340-59983-9.
  12. Rumerman, Judy. "The Boeing 747" เก็บถาวร 2012-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, U.S. Centennial of Flight Commission. Retrieved: 30 April 2006.
  13. "The Airbus A300". CBC News. 2001-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-24.
  14. Bor, Robert (2003). Passenger Behaviour. Ashgate Publishing, Ltd. p. 170. ISBN 9780754609360.
  15. Note: As of 2008-11-30 published Airbus data, only a handful of Airbus A340-500 aircraft orders are still pending. See Airbus A340#Deliveries and [1] เก็บถาวร 2009-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. Note: This fact can be viewed in the Specifications section; click arrows under MTOW to sort by weight.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-11-20. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.
  18. "International Business Class". Vaustralia.com.au. 2010-08-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-05-21.
  19. "A380 First Class Social Area & onboard Lounge | Emirates A380 First Class | The Emirates A380 | Our Fleet | Flying with". Emirates. 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2009-12-20.
  20. "A380 First Class Social Area & onboard Lounge | Emirates A380 First Class | The Emirates A380 | Our Fleet | Flying with". Emirates. 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2009-12-20.
  21. "A380 Shower Spa | Emirates A380 First Class | The Emirates A380 | Our Fleet | Flying with". Emirates. 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2009-12-20.
  22. "Double luxury — how the airlines are configuring their A380s". Flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 2009-12-20.
  23. "Airline Seat Pitch". UK-Air.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-18. สืบค้นเมื่อ 2009-02-17.
  24. "Flying through a storm". Economist.com. 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
  25. "A300-600 / Dimensions & key data". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-21. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  26. "SeatGuru Seat Map Thai Airbus A300-600 Vers. 1 (AB6)". Seatguru.com. สืบค้นเมื่อ 2009-12-20.
  27. "Lufthansa: Best Seats". SeatGuru. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  28. "A310 / Dimensions & key data". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  29. "Air India Airbus A310-300 (310)". Seatguru.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  30. "A330-300 / Dimensions & key data". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  31. "SeatGuru Seat Map Emirates Airbus A330-200 3-Class (332)". Seatguru.com. สืบค้นเมื่อ 2009-12-20.
  32. "AirAsia X Airbus A330-300". Seatguru.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  33. "A340-600 / Dimensions & key data". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-01. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  34. "Seat Map Etihad Airbus A340-600". seatguru.
  35. "AirAsia X Airbus A340-300". Seatguru.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  36. "A350-900 / Dimensions & key data". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-29. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  37. "Flight report: on board Qatar Airways' first Airbus A350-900". Australian Business Traveller. 23 ธันวาคม 2557.
  38. 38.0 38.1 Kingsley-Jones, Max (19 May 2008). "PICTURE: 10-abreast A350 XWB 'would offer unprecedented operating cost advantage'". Flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  39. "More about A380". Airbus.
  40. "Comparing A380 Cabins". Plane Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  41. DOMINIC PERRY (21 มีนาคม 2557). "PICTURE: Airbus to offer 11-abreast economy seats on A380". flightglobal.
  42. "747-8 Technical Characteristics". Boeing.
  43. "Seat Map Lufthansa Boeing 747-8". Seatguru.
  44. "767 Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF). Boeing.
  45. "United Airlines Boeing 767-300". Seatguru.
  46. "Thomson Airways B767-300ER (328 seats) v4". SeatPlans. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  47. "Technical Characteristics - 777-200LR and 777-300ER". Boeing.
  48. "Seat map (8/40/218 configuration)". สืบค้นเมื่อ 2013-06-16.
  49. "American Airlines 9 across 777 Economy Seat Map". TripAdvisor.
  50. "Emirates 777-300 seat map (10 across economy)". TripAdvisor.
  51. "Everything about the Boeing 787 Dreamliner". flightglobal. 7 กรกฎาคม 2550.
  52. "Sktyrax ANA Seatmaps 787-8". Airlinequality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  53. "United Boeing 787-800 Seat Map". TripAdvisor LLC.
  54. "Aircraft Characteristics Database". FAA.
  55. Gunter Endres. The Illustrated Directory of Modern Commercial Aircraft. Zenith Imprint, 2001. p. 358. ISBN 0-7603-1125-0, ISBN 978-0-7603-1125-7[ลิงก์เสีย]
  56. All the world's aircraft. Jane's. 2005. p. 394.
  57. "Seat Map Aeroflot Russian Airlines Ilyushin IL 96-300 Vers. 2 (IL9)". Seatguru.
  58. All the world's aircraft. Jane's. 1982. pp. 405–406.
  59. "Photographs from 1970 to 1979". britishairways.
  60. "Picture of the Lockheed L-1011-385-1 TriStar 1" Airliners, 22 October 2005. Retrieved 15 April 2012.
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 "DC-10 Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF). MCDONNELL DOUGLAS CORPORATION.
  62. 62.0 62.1 62.2 "MD-11 Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF). McDonnell Douglas. May 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้