สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา หรือ สายทิพย์ ประภาษานนท์ ชื่อเล่น ฉอด เกิดเมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เป็นที่รู้จักในชื่อ ดีเจพี่ฉอด เป็นนักจัดรายการวิทยุและผู้บริหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชนจ์ 2561 จำกัด ในเครือเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ต.ม., จ.ช., ร.ท.ภ. | |
---|---|
![]() สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ในปี พ.ศ. 2550 | |
เกิด | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (64 ปี) จังหวัดพระนคร, ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | สายทิพย์ ประภาษานนท์ |
การศึกษาสูงสุด | นิเทศศาสตรบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) (รุ่นที่ 13) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | ดีเจ, พิธีกร, ผู้จัดละคร |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน |
มีชื่อเสียงจาก | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชนจ์ 2561 จำกัด |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | หย่า |
บุตร | มนัสสิทธิ์ ประภาษานนท์ |
ประวัติแก้ไข
สายทิพย์จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนสตรีวรนาถ เทเวศร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ และระดับอุดมศึกษาที่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สื่อสารมวลชน) (รุ่นที่ 13) เมื่อเรียนเข้าชั้นปีที่ 4 ได้ออกฝึกงานจัดรายการวิทยุที่จังหวัดขอนแก่น โดยจัดรายการเพลงลูกทุ่ง[1]
เริ่มงานด้านหนังสือตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ โดยการเป็นนักเขียนนวนิยายในนิตยสารแพรวในชื่อนามปากกา "สายทิพย์" หลังเรียนจบเริ่มต้นอาชีพเป็นนักเขียนคำโฆษณา (อังกฤษ: Creative Copywriter) ให้กับ บริษัท พรีเมียร์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ทำให้ได้ร่วมงานกับไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม , บุษบา ดาวเรือง , สันติสุข จงมั่นคง (ผู้ก่อตั้งแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์) เมื่อทั้งสามได้แยกไปเปิดบริษัท แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ อย่างเต็มตัว สายทิพย์จึงได้ย้ายตามไปทำงานที่แกรมมี่ ในตำแหน่งโปรดักส์ชั่นเฮ้าส์ ทำงานเบื้องหลังรายการทีวี จากนั้นได้ลาออกจากงานและผันตัวไปเป็นนักจัดรายการวิทยุ โดยรายการวิทยุที่ได้จัดเป็นรายการแรกในชื่อดีเจพี่ฉอดคือรายการ เดย์ ไทม์ (อังกฤษ: Day Time) เป็นรายการเพลงสากล[2] ทำให้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมากขึ้น โดยรายการที่ทำให้เป็นที่รู้จักคือรายการ ผิวปากตามเพลง และ ร่มไม้รายทาง หลังจากนั้นจึงตัดสินใจลาออกจากงาน
ปี พ.ศ. 2532 เรวัติ พุทธินันท์ และ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ผู้ก่อตั้ง บริษัท แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ที่เคยได้ร่วมงานกันมาแล้วก่อนหน้านี้ ได้มาชักชวนให้กลับไปทำงานที่แกรมมี่อีกครั้ง โดยแกรมมี่มีแผนจะขยายธุรกิจสู่ธุรกิจวิทยุจึงได้จัดตั้งบริษัทเพื่อผลิตรายการวิทยุ ภายใต้ชื่อ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด [3] เริ่มแรกได้ผลิตรายการวิทยุ 2 คลื่นความถี่คือ กรีนเวฟ และ ฮอตเวฟ หลังจากนั้นได้มีการขยายงานเพิ่มมากขึ้นได้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตามลำดับ โดยเป็นผู้บริหารควบคู่ไปกับการจัดรายการวิทยุ ด้านการบริการปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการการบริหาร (สายธุรกิจสื่อ) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (มหาชน) ด้านงานจัดรายการวิทยุจัดรายการ คลับ ฟรายเดย์ (อังกฤษ: Club Friday) และ คืนพิเศษคนพิเศษ ทางสถานีวิทยุกรีนเวฟ และ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมกรีน แชนแนล
ในปี พ.ศ. 2557 สายทิพย์ได้รับหน้าที่ให้เข้าบริหารสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 ซึ่งต่อมาบริษัทนี้ได้ควบรวมกับกลุ่มทีซีซีจึงทำให้บทบาทการเป็นผู้บริหารในเครือแกรมมี่ลดลงเหลือเพียงกรรมการบริษัท จนกระทั่งใน พ.ศ. 2561 สายทิพย์ได้จัดตั้ง บริษัท เชนจ์ 2561 จำกัด ขึ้นเพื่อเปลี่ยนสถานะผู้ผลิตของจีเอ็มเอ็ม 25 ให้กลายเป็นบริษัทคอนเทนต์ครีเอเตอร์แห่งหนึ่งของไทย และบริษัทนี้ได้ควบรวมเข้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ พร้อม ๆ กับ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบันสายทิพย์ลาออกจากตำแหน่งกรรมการจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 เพื่อดูแลบริษัท เชนจ์ 2561 แบบเต็มตัว
ครอบครัวแก้ไข
สายทิพย์เคยสมรส และเปลี่ยนนามสกุลเป็น ประภาษานนท์ มีลูกชายหนึ่งคนชื่อมนัสสิทธิ์ ประภาษานนท์ ชื่อเล่น น็อต[4] จากนั้นได้หย่ากับสามี และกลับมาใช้ราชสกุลเดิมคือมนตรีกุล ณ อยุธยา ปัจจุบันลูกชายได้ทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ
หน้าที่การงานแก้ไข
ผู้บริหารแก้ไข
สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นบุคคลที่ร่วมงานกับแกรมมี่มาตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ควบคุมดูแลในสายงานสื่อของแกรมมี่ทั้งหมด และเป็นกรรมการบริษัทในบริษัทย่อยในเครือแกรมมี่ [5]
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่แก้ไข
- พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2563 รองประธานบริหารบริษัทแกรมมี่
- พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2563 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจสื่อ)
- พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2563 กรรมการบริหารความเสี่ยง
- พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2563 กรรมการ
- พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม , ประธานกรรมการบริหารร่วม (ร่วมกับ บุษบา ดาวเรือง)
- พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2552 กรรมการบริหาร
จีเอ็มเอ็ม มีเดียแก้ไข
- พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2563 ประธานกรรมการ
- พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2563 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2563 กรรมการผู้จัดการ , กรรมการ
- พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 รองประธานกรรมการ
- พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552 ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
- พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 กรรมการบริหารความเสี่ยง
- พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2550 กรรมการบริหาร
บริษัทย่อยอื่น ๆแก้ไข
- พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ประธานบริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด
- พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด
- พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท เอ เจน อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด
- พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด
- พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท อิมเมจ ออน แอร์ จำกัด
- พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2560 กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอไทม์ ทราเวิลเลอร์ จำกัด
- พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2560 กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด
- พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560 ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัลทีวี จำกัด)
- พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2555 กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเพ่น เรดิโอ จำกัด
- พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2555 กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรดิโอ คอนเซ็ป จำกัด
- พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2550 กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท แกรมมี่ เทเลวิชั่น จำกัด)
การทำงานในอดีตแก้ไข
พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2530
- ฝ่ายผลิตรายการ บริษัท วีดีโอ โปรดักชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด
- Creative Copy Writer บริษัทโฆษณาพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
- ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ บริษัท โอเอ เธียเตอร์ จำกัด
จัดรายการวิทยุแก้ไข
ปัจจุบัน
- คลับ ฟรายเดย์ (อังกฤษ: Club Friday) (ร่วมกับดีเจพี่อ้อย - นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล) ทุกวันศุกร์ เวลา 22.00 น. - 00.00 น. สถานีวิทยุกรีนเวฟ และรายการทางจีเอ็มเอ็ม 25 ทุกวันเสาร์เวลา 19.00 น. - 20.00 น. ทาง จีเอ็มเอ็ม 25
อดีต
- ผิวปากตามเพลง
- ร่มไม้รายทาง
- * คืนพิเศษ คนพิเศษ
พิธีกรรายการโทรทัศน์แก้ไข
ปัจจุบัน
- พี่อ้อยพี่ฉอด ตัวต่อตัว ผลิตโดย CHANGE2561 (ร่วมกับดีเจพี่อ้อย - นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล) ทุกวันศุกร์ เวลา 22.30 น. - 23.00 น. ทางAmarin TVHD34 (เริ่มวันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2561 - ปัจจุบัน)
อดีต
ผลงานแก้ไข
ผู้อำนวยการสร้างแก้ไข
- ผู้อำนวยการสร้าง ละคร Club Friday The Series 1 (6 ตุลาคม 2555 - 29 ธันวาคม 2555)
- ผู้อำนวยการสร้าง ละคร Club Friday The Series 2 (เริ่มออกอากาศ 6 เมษายน 2556)
- ผู้อำนวยการสร้าง ละครซิตคอม Love On Air (เริ่มออกอากาศ 7 เมษายน 2556)
- ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร ภาพยนตร์สังกัดค่าย จีทีเอช (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
หนังสือแก้ไข
- อดีตนักเขียนนวนิยายนิตยสารแพรว ในชื่อนามปากกา "สายทิพย์"
- หนังสือ "ร่มไม้รายทาง" สำนักพิมพ์สามสี
- หนังสือ "สายน้ำที่ไม่ไหลกลับ"
- หนังสือ "สีนวล สีนวล"
- หนังสือ "มีคนเศร้ากว่าเราตั้งเยอะ" (ร่วมกับ ดีเจนภาพร) สำนักพิมพ์บุ๊คโชว์
- หนังสือ "เรื่องเล่าจากคลับฟรายเดย์" (ร่วมกับ ดีเจนภาพร) สำนักพิมพ์บุ๊คโชว์
- หนังสือ "รักที่ไม่ได้ออกอากาศ" (พ.ศ. 2553) (ร่วมกับ ดีเจนภาพร) สำนักพิมพ์บุ๊คโชว์
ผู้จัดละครแก้ไข
ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละคร บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด ร่วมกับ วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย
รางวัลที่ได้รับแก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2536 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2524 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. 2560 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ The IDOL สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา 1/3
- ↑ T2: สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
- ↑ บริษัทในเครือแกรมมี่ กรุ๊ป
- ↑ เยือนลาสเวกัสชมแกรนด์แคนยอนพร้อมๆกับหมอโอ๊คดีเจเฟี้ยต
- ↑ Board of Directors Saithip Montrikul Na Audhaya
- ↑ สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา - ไทยรัฐ
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (48 ข): 37. 28 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)