จิรายุ ตันตระกูล
จิรายุ ตันตระกูล (เกิด 16 มีนาคม พ.ศ. 2532) ชื่อเล่น ก๊อต เป็นนักแสดงและนักเขียนชาวไทยเชื้อสายปากีสถาน[1] เข้าสู่วงการบันเทิงจากการประกวดดิ ไอดอล โปรเจกต์ และมีผลงานละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ[2] มีผลงานการแสดงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เคยแสดงภาพยนตร์ฮอลิวูดเรื่อง Gold (2559) ร่วมกับแมทธิว แม็คคอนาเฮย์[3]
จิรายุ ตันตระกูล | |
---|---|
ชื่อเกิด | จิรายุ ตันตระกูล |
เกิด | 16 มีนาคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ส่วนสูง | 1.78 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว) |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | นันท์ – พิมมาลา (2554) กนธี – แผนร้ายพ่ายรัก (2556) หลวงสรศักดิ์ – บุพเพสันนิวาส (2561) แสน – คมแฝก (2561) ก็อด – จอมขมังเวทย์ 2020 (2562) อำพล – กระเช้าสีดา (2564) จั่น – ลายกินรี (2565) |
สังกัด | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2553–2562) |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2562 – จอมขมังเวทย์ 2020 |
นาฏราช | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2564 – กระเช้าสีดา |
เขาได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง จอมขมังเวทย์ 2020 (2562) และรางวัลโทรทัศน์เอเชีย (Asian television awards) สาขานักแสดงสมทบชายแห่งเอเชียยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง คมแฝก (2561)
ประวัติแก้ไข
จิรายุเป็นบุตรคนเดียวของของครอบครัว แต่เติบโตในครอบครัวขยายซึ่งอาศัยร่วมกันกับญาติฝั่งมารดาในแฟลตย่านห้วยขวาง[4] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชบพิธ และระดับอุดมศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก (ทุนความสามารถพิเศษด้านศิลปิน) ก่อนหน้านี้เคยศึกษาอยู่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในช่วงที่ยังศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้น ได้ลงเรียนวิชาชีพช่วงภาคค่ำ ด้านการซ่อมคอมพิวเตอร์ เขียนแบบภายใน เย็บผ้า และตัดต่อริงโทน เพราะมองว่าไม่มีสอนในโรงเรียน ค่าเรียนไม่แพง และสามารถนำความรู้มาใช้ในการเลี้ยงชีพได้[4] เขามีศักดิ์เป็นอาของณปภา ตันตระกูล ซึ่งเป็นนักแสดง[5] และคบหากับเบญจวรรณ อาร์ดเนอร์ ซึ่งเป็นนักแสดงเช่นกัน[2]
จิรายุมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักแสดงตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังชมภาพยนตร์เรื่อง หน้ากากโซโร (2541)[2] และอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก (2546)[1] เขามีกิจวัตรประจำวันคือนั่งสมาธิ จดอนุทิน และอ่านหนังสือ[6] เขากล่าวว่าพ่อแม่ให้อิสระทางความคิดแก่เขาค่อนข้างสูง รวมทั้งไม่เคยบังคับเรื่องการเรียน[3] เขามีพอล นิวแมน นักแสดงฮอลลิวูดเป็นบุคคลต้นแบบ[1]
การทำงานแก้ไข
เบื้องต้นจิรายุเคยเป็นนักแสดงประกอบในภาพยนตร์เรื่อง มอ๘ (2549) มาก่อน[1] ต่อมาเมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำงานเป็นเด็กฝึกงานยกฉากในบริษัทของปิยะ เศวตพิกุล และเริ่มสนใจงานในวงการบันเทิง[4] ในเวลาต่อมาเขารับงานเป็นนักแสดงประกอบของโฆษณาน้ำอัดลมตัวหนึ่ง และเข้าประกวดดิ ไอดอล โปรเจกต์ ตามคำชักชวนของเพื่อน จนได้รับรางวัลชนะเลิศ[4] หลังจากนั้นกอบสุข จารุจินดา ซึ่งเป็นผู้จัดละคร ได้ชักชวนให้จิรายุแสดงละครเรื่อง คุณนายสามสลึง (2553)[4] เขากล่าวว่าช่วงเวลานั้น "...ผมมาเริ่มเข้าวงการตอนอายุ 22 แต่ไม่เข้าใจเรื่องการแสดงเลยจนอายุ 25 คือตอนนั้นผมเล่นเรื่อง ชาติพยัคฆ์ พอเล่นเรื่องนี้จบ ผมตัดสินใจจะเลิกแล้วเพราะผมไม่สามารถมีวิธีคิดที่จะสร้างตัวละครใหม่ ๆ ได้..."[2] หลังจากนั้นเขาจึงอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาตนเอง[1] และเรียนกำกับ เขียนบท และเรียนการแสดงเพิ่มเติม[2] หลังจากนั้นจึงได้แสดงศักยภาพด้านการฟันดาบ ในละครโทรทัศน์เรื่อง บางระจัน (2558) ซึ่งมีอรุโณชา ภาณุพันธุ์เป็นผู้จัดละครได้เพิ่มตัวละครหมู่เคลิ้มให้แก่เขา[4] หลังจากกลับไปปรับปรุงข้อดีและข้อเสียในการแสดงของตัวเอง จิรายุกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งในละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส (2561) รับบทเป็นหลวงสรศักดิ์, คมแฝก (2561) รับบทเป็น แสน ราชสีห์ และ หนึ่งด้าวฟ้าเดียว (2561) รับบทเป็นหลวงพิชัยอาสา[2] เขากล่าวว่าเขา "ทำการบ้านหนักมาก" โดยใช้วิธีการแสดงท่วงท่า สีหน้า และอารมณ์เมื่อออกกล้อง โดยถือว่าตนสวมบทบาทตัวละครนั้นตลอดเวลาการเข้าฉาก[4]
นอกจากงานแสดงภาพยนตร์และละครแล้ว เขายังเป็นนักเขียนหนังสือประเภทแนะแนวให้ผู้อ่านปฏิบัติตามได้ (How to)[1] และเป็นศิลปิน ที่มีผลงานภาพและการจัดแสดงผลงานศิลปะของตนเอง[7]
ผลงานแก้ไข
ละครโทรทัศน์แก้ไข
ปี | เรื่อง | รับบท |
---|---|---|
2553 | คุณนายสามสลึง | เชตวัน |
ดวงใจอัคนี | วิรัช (ใหญ่) | |
คุณชายติดหรู คุณหนูติดดิน | บูชิต | |
2554 | พิมมาลา | นันท์ |
2555 | แม่แตงร่มใบ | กำจร |
เสน่ห์รักภูตสาว | ผู้กองแทนไท | |
ครัวซองทำนองรัก (ซิทคอม) | การันต์ | |
2556 | แผนร้ายพ่ายรัก | กนธี |
คุณชายพุฒิภัทร | นายแพทย์ยศวิน พลประภู | |
2557 | จุดนัดภพ ปี 3 | จักรวุธ |
รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย | รัชตะ วงศ์วานิช (แว่น) | |
ทรายสีเพลิง | อลัน จาง | |
2558 | บางระจัน | หมู่เคลิ้ม |
รักจัดเต็ม | หมู่เคลิ้ม | |
2559 | ชาติพยัคฆ์ | รื่น |
ลูกผู้ชายเลือดเดือด | รุ่ง | |
เจ้าจอม | ดล | |
2561 | บุพเพสันนิวาส | ออกหลวงสรศักดิ์ |
คมแฝก | แสน ราชสีห์ | |
หนึ่งด้าวฟ้าเดียว | พระยาพิชัยดาบหัก | |
2562 | รักจังเอย | ก๊อต (รับเชิญ) |
เฮฮาเมียนาวี | น.ต.เทวินทร์ ศีลทรงธรรม | |
2564 | กระเช้าสีดา | อำพน ไพศาลยศ (พน) |
2565 | จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี | อู บากอง (อดีต) / ปกรณ์ (ปัจจุบัน) |
Bad Guys ล่าล้างเมือง | เรสเซอร์ | |
ลายกินรี | จั่น | |
2566 | Second Chance (โอกาสครั้งที่สอง) |
ซีรีส์แก้ไข
ปี | เรื่อง | รับบท |
---|---|---|
2561 | สัมผัสพิศวง The Sense ตอน เสือสมิง | นายพราน (รับเชิญ) |
2565 | Club Friday the Series Love Seasons Celebration ตอน The Last Happy New Year | เอกภพ |
ภาพยนตร์แก้ไข
ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2559 | Gold | แดนนี่ | [8] |
2562 | จอมขมังเวทย์ 2020 | ก๊อต | [9] |
2563 | คืนยุติ-ธรรม | มานพ / ศิวะ | [10] |
มิวสิควีดีโอแก้ไข
- เพลง กอดฉัน หญิง ธิติกานต์
- เพลง ต่อเวลาให้ฉันสักนิด หญิง ธิติกานต์
- เพลง คิดถึง Palmy
- เพลง ชั่วชีวิต Cocktail
- เพลง น่ารักน่าฉุด โปงลางสะออน[11]
- เพลง ดื้อ(Cause of you) เจมส์ จิรายุ
รางวัลแก้ไข
- รางวัลจากดาราอินไซด์ อวอร์ด รางวัลนาคราช ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561 สาขา รางวัลราชานักบู๊ชาย จากผลงานละคร คมแฝก [12]
- รางวัล ศิลปินต้นแบบ ผู้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทย จากผลงานละคร บุพเพสันนิวาส [13]
- รางวัล Asian television awards ครั้งที่ 23 สาขานักแสดงสมทบชายแห่งเอเชียยอดเยี่ยม จากผลงานละคร คมแฝก [14]
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29 ประจำปี พ.ศ. 2562 - 2563 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29 ประจำปี พ.ศ. 2562 - 2563 จากภาพยนตร์ จอมขมังเวทย์2020[15]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 เก้า มีนานนท์ (30 พฤษภาคม 2561). "'ดอกไม้ในชีวิตของคนเราบานไม่พร้อมกัน' ก๊อต-จิรายุ ตันตระกูล ต้นแบบนักแสดงที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง". The Standard. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "ก๊อต จิรายุ เปิดใจหลังถูกยกเป็นสามีแห่งชาติ เคลียร์ข่าวนักแสดงติสต์แตก". ไทยรัฐออนไลน์. 19 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 กาญจนา สิทธิเม่ง (31 มีนาคม 2561). "ทำความรู้จัก "ก็อต-จิรายุ" กับแนวความคิดพิชิตความสำเร็จ". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Onjira (7 พฤษภาคม 2564). "ตัวตนลึกๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้ของ "ก๊อต จิรายุ ตันตระกูล" #สามีแห่งชาติ คนล่าสุด". แพรว. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""ไม่ใช่เมียแน่ๆ".. "ก็อต-แพท" เผยความสัมพันธ์ที่หลายๆ คนสงสัย". โพสต์ทูเดย์. 02-04-2018. สืบค้นเมื่อ 10-03-2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ก็อต จิรายุ ตันตระกูล หัวใจ "นักคิด" กับชีวิตการเป็น "นักแสดง"". ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นิภัทรา นาคสิงห์ (1 เมษายน 2564). "ก๊อต จิรายุ นักแสดงผู้รักการสร้างงานศิลปะ และกำลังมีนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของตัวเอง". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ก็อต จิรายุ" โกอินเตอร์รายล่าสุด โผล่เล่นหนังฮอลลิวูด
- ↑ "เปิดฉากสงครามศาสตราและอาคมในตัวอย่างล่าสุด จอมขมังเวทย์ 2020". thestandard. 24 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คืนยุติ-ธรรม ก๊อต จิรายุ ประชันบทกับ ซูโม่กิ๊ก ในภาพยนตร์ที่ชวนตั้งคำถามว่าความยุติธรรมคืออะไร". thestandard. 2 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โปงลางสะออน", วิกิพีเดีย, 2021-03-24, สืบค้นเมื่อ 2021-05-18
- ↑ "บุพเพสันนิวาส"คว้า 4 รางวัล เวทีดาราอินไซด์ อวอร์ด รางวัลนาคราช ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561". ch3thailand. 13 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ทีมนักแสดง'บุพเพสันนิวาส'รับรางวัล'ศิลปินต้นแบบ ผู้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทย". dailynews. 4 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ช่อง 3 คว้า 2 รางวัล ในงาน Asian Television Awards 2018 ที่มาเลเซีย". ยูทูบ. 13 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Khanittha J. "สรุปผลรางวัล สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29 "Where We Belong" คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยม". สนุกดอตคอม. 28 ก.พ. 64. สืบค้นเมื่อ 4 เมย 64.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)