รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา

ปราสาทหินพนมวัน
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อำเภอเมืองนครราชสีมา แก้

เทศบาลนครนครราชสีมา แก้

นอกเขตเทศบาล แก้

อำเภอโชคชัย แก้

อำเภอพิมาย แก้

อำเภอโนนสูง แก้

อำเภอสีคิ้ว แก้

อำเภอปากช่อง แก้

อำเภอด่านขุนทด แก้

อำเภอปักธงชัย แก้

อำเภอวังน้ำเขียว แก้

อำเภอเสิงสาง แก้

อำเภอครบุรี แก้

อำเภอหนองบุญมาก แก้

อำเภอสูงเนิน แก้

อำเภอขามทะเลสอ แก้

อำเภอเทพารักษ์ แก้

การเดินทาง แก้

ทางอากาศ แก้

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา มีพิธีเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของสายการบินแฮปปี้แอร์ ให้บริการระหว่างนครราชสีมา-กรุงเทพ และ นครราชสีมา-เชียงใหม่ โดยมีนายประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการ จ.นครราชสีมา พร้อมด้วยนางสุบงกช วงศ์วิทยาภรณ์ ประธานหอการค้า จ.นครราชสีมา นายเสมอ จินดาพงษ์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.นครราชสีมา และผู้เกี่ยวข้องร่วมเดินทางในเที่ยวบินปฐมฤกษ์ หลังจากสนามบินแห่งนี้ไม่มีสายการบินพาณิชย์ให้บริการมาประมาณ 6 ปี

รถยนต์ แก้

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง คือ

รถโดยสารประจำทาง แก้

เดินทางจากกรุงเทพฯ

มีรถโดยสารธรรมดา และ รถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 21 (กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 กรุงเทพฯ มายังจังหวัดนครราชสีมา ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีบริษัทเอกชน ที่ได้รับสัมปทานเปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 21 จำนวน 3 รายคือ

  • บริษัท ราชสีมาทัวร์ จำกัด
  • บริษัท แอร์โคราชพัฒนา จำกัด
  • บริษัท สุรนารีแอร์ จำกัด

ซึ่งจะให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีขนส่งทั้งสองแห่ง คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 (ถนนบุรินทร์) และ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะเลือกเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ ปลายทางจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมาได้อีกด้วย

เดินทางภายในจังหวัด

การเดินทางภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง มีขนส่งสาธารณะให้บริการดังนี้คือ

  • รถโดยสารประจำทางหมวด 1 และหมวด 4 (รถสองแถว) วิ่งบริการภายในเขตเทศบาล และ บริเวณใกล้เคียง รถโดยสารหมวด 1 แบ่งออกเป็น 21 สาย วิ่งบริการภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงไปตามเส้นทางต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีรถเมล์โดยสารปรับอากาศจำนวน 1 สายที่วิ่งให้บริการคือ สาย 17
  • รถจักรยานยนต์รับจ้าง, รถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อ วิ่งให้บริการผู้โดยสารภายในเขตตัวเมือง
  • รถแท็กซี่มิเตอร์ (TAXI-METER) เปิดให้บริการในช่วงการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดจอดรถแท็กซี่อยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 และศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้บริการโดยโทรศัพท์เลขหมายด่วน ปัจจุบันมีรถให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 70 คัน

ถ้าต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ จะมีรถโดยสารประจำทางหมวด 4 ให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายสายด้วยกัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งประเภทรถสองแถว และ รถบัสโดยสารประจำทางให้บริการ สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 นั้น จะมีรถโดยสาร ไปเฉพาะ อำเภอพิมาย และ ด่านเกวียน, อำเภอโชคชัย

เดินทางระหว่างจังหวัด

มีทั้งรถโดยสารประจำทางธรรมดา และปรับอากาศ หมวด 2 และ 3 จำนวนหลายเส้นทางในจังหวัดต่าง ๆ วิ่งให้บริการผ่านจังหวัดนครราชสีมาที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) ทุกวัน

นอกจากนี้ มีรถโดยสารประจำทาง ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจาก ต้นทางจังหวัดนครราชสีมา ไปยังปลายทางจังหวัดอื่น ในภาคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ภาคตะวันตก ได้แก่
  • ภาคใต้ ได้แก่
    • นครราชสีมา - หาดใหญ่ (เปิดเดินรถเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553)
เดินทางระหว่างประเทศ
  • นครราชสีมา - เวียงจันทน์ ประเทศลาว
    • เวลา 07.30 น. สถานีต้นทาง นครราชสีมา ราคา 320 บาท
    • เวลา 07.30 น. สถานีต้นทาง นครหลวงเวียงจันทน์ ราคา 81,600 กีบ
    • เที่ยววิ่งนอกวันและเวลาราชการ เก็บค่าทำการล่วงเวลา ของด่านตรวจคนเข้าเมืองคนละ 5 บาท โดยจัดเก็บที่สถานีเดินรถ
    • เดินทางด้วยรถปรับอากาศมาตรฐาน 2 (ไม่เกิน 45 ที่นั่ง ไม่มีสุขภัณฑ์)
สถานีขนส่งผู้โดยสาร

จังหวัดนครราชสีมา มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังอำเภอ หรือ จังหวัดต่างๆ ดังนี้

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร
  • ห้องสุขา จำนวน 25 ห้อง (ห้องสุขาชาย 15 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 10 ห้อง)
  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 6 เครื่อง

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว/วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา เป็นสถานีขนส่งฯที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน
  • ห้องสุขา จำนวน 76 ห้อง (ห้องสุขาชาย 24 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 52 ห้อง)
  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 68 เครื่อง

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 12 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย มีเนื้อที่ 7 ไร่ บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 16 ช่องจอด พื้นที่ 3,280 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 40 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 50 คัน
  • ห้องสุขา จำนวน 10 ห้อง (ห้องสุขาชาย 5 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 5 ห้อง)
  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 1 เครื่อง

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 210 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน /วัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย ตั้งอยู่บริเวณตำบลในเมือง อำเภอพิมาย มีเนื้อที่ 6 ไร่ 54 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่งคือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2538 ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 18 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 15 คัน และ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 25 คัน
  • ห้องสุขา จำนวน 10 ห้อง (ห้องสุขาชาย 5 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 5 ห้อง)
  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 5 เครื่อง

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 230 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน / วัน

รถไฟ แก้

มีรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพ - อุบลราชธานีและกรุงเทพ - หนองคายทั้งขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็วและรถธรรมดาวิ่งให้บริการจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน นอกจากนี้ยังมีขบวนรถท้องถิ่นวิ่งให้บริการระหว่างสถานีรถไฟนครราชสีมาไปยังสถานีรถไฟจังหวัดอื่นๆ เช่น อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคายและอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อีกด้วย

อ้างอิง แก้

สถานที่ท่องเที่ยวโคราช