สงครามโบชิน (ญี่ปุ่น: 戊辰戦争โรมาจิぼしんせんそうทับศัพท์: Boshin Sensō; โบชิน-เซ็นโซ, แปล: "สงครามปีมะโรงปฐพี")[2] บ้างเรียก การปฏิวัติญี่ปุ่น เป็นสงครามกลางเมืองในประเทศญี่ปุ่น รบพุ่งกันตั้งแต่ ค.ศ. 1868 ถึง 1869 ระหว่างกำลังของรัฐบาลเอโดะซึ่งปกครองและผู้ที่มุ่งถวายอำนาจการเมืองแก่ราชสำนักจักรพรรดิ

สงครามโบชิน
ส่วนหนึ่งของ การปฏิรูปเมจิ

แคว้นซัตสึมะ โชชู และโทซะ ซึ่งอยู่ทางตะวันตก (สีแดง) รวมกำลังเพื่อโค่นล้มกองทัพฝ่ายโชกุนที่โทะบะ-ฟุชิมิ หลังจากนั้นได้รุกคืบเพื่อควบคุมส่วนที่เหลือของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงการต่อสู้ครั้งสุดท้ายในภาคเหนือที่เกาะฮอกไกโด
วันที่3 มกราคม 1868 – 18 พฤษภาคม 1869
สถานที่
ผล จักรพรรดิชนะ;
การสิ้นสุดรัฐบาลโชกุน;
จักรพรรดิกลับปกครองอีก
คู่สงคราม

ค.ศ. 1868 ราชสำนักจักรพรรดิ

โทะซะมะ:

ไดเมียวโทะซะมะอื่น:

ค.ศ. 1868 รัฐบาลเอโดะ
แคว้นไอซุ
แคว้นทะกะมะสึ
พันธมิตรภาคเหนือ

แคว้นสึรุโอะกะ
แคว้นคุวะนะ
แคว้นมะสึยะมะ

แปรพักตร์:

ค.ศ. 1869

 ญี่ปุ่น
สนับสนุน
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ

ค.ศ. 1869

สาธารณรัฐเอะโซะ สาธารณรัฐเอโซะ
สนับสนุน
 ฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

จักรพรรดิเมจิ ผบ. สูงสุด:
เจ้าโคมะสึ
กองทัพ:

โทกูงาวะ โยชิโนบุ
ผู้บัญชาการ:
คัตสึ ไคชู
เอโนโมโตะ ทาเกอากิ
มะสึไดระ คะตะโมะริ
ชิโนะดะ กิซะบุโร
มะสึไดระ ซะดะอะกิ
ทะนะกะ โทะซะ
คนโด อิซะมิ


ค.ศ. 1869
ประธานาธิบดี:
สาธารณรัฐเอะโซะ เอโนโมโตะ ทาเกอากิ
ผู้บัญชาการทหารบก:
สาธารณรัฐเอะโซะ โอะโตะริ เคซุเกะ
ผู้บัญชาการทหารเรือ:
สาธารณรัฐเอะโซะ อะระอิ อิกุโนะซุเกะ
ที่ปรึกษา:
สาธารณรัฐเอะโซะ Jules Brunet

สาธารณรัฐเอะโซะ Eugene Collache
กำลัง
~30,000 นาย ~80,000 นาย
ความสูญเสีย
~1,500 เสียชีวิต[1] ~7,000 เสียชีวิต[1]

สงครามครั้งนี้มีรากเหง้ามาจากความไม่พอใจในบรรดาขุนนางและซามูไรหนุ่มจำนวนมากจากการจัดการกับคนต่างด้าวของรัฐบาลโชกุนหลังการเปิดประเทศญี่ปุ่นเมื่อทศวรรษก่อน อิทธิพลของชาติตะวันตกที่เพิ่มขึ้นในเศรษฐกิจนำไปสู่ความเสื่อมที่คล้ายกับประเทศทวีปเอเชียอื่นในเวลาไล่เลี่ยกัน พันธมิตรซามูไรตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคว้นโชชู แคว้นซัตสึมะ และแคว้นโทซะ และข้าราชบริพาร ยึดการควบคุมราชสำนักจักรพรรดิและมีอิทธิพลต่อจักรพรรดิเมจิวัยหนุ่ม โทกูงาวะ โยชิโนบุ โชกุนในเวลานั้น ตระหนักถึงสถานการณ์ที่หมดหวังของตน จึงสละอำนาจทางการเมืองคืนแก่จักรพรรดิ โยชิโนบุหวังว่าเมื่อทำดังนี้ จะสามารถรักษาตระกูลโทกูงาวะและเข้ามีส่วนร่วมในรัฐบาลอนาคต

ทว่า ความเคลื่อนไหวทางการทหารของกองทัพราชสำนัก ความรุนแรงของกลุ่มผู้สนับสนุนราชสำนักในเอะโดะ และพระราชกฤษฎีกาซึ่งแคว้นซัตสึมะและแคว้นโชชูสนับสนุนเลิกตระกูลโทกูงาวะ ทำให้โยชิโนบุเปิดฉากการทัพเพื่อยึดราชสำนักจักรพรรดิที่เกียวโต กระแสของสงครามพลิกกลับไปยังกลุ่มแยกจักรพรรดิที่มีขนาดเล็กกว่าแต่ค่อนข้างทันสมัยอย่างรวดเร็ว และหลังยุทธการต่าง ๆ ซึ่งลงเอยด้วยการยอมจำนนของเอะโดะ โยชิโนบุยอมจำนนด้วยตนเอง ส่วนผู้ภักดีต่อโทกูงาวะล่าทัพขึ้นตอนเหนือของเกาะฮนชูและเกาะฮกไกโดในภายหลัง ที่ซึ่งพวกเขาก่อตั้งสาธารณรัฐเอะโซะ ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่ฮาโกดาเตะทำลายที่มั่นแห่งสุดท้ายนี้ และเหลือให้การปกครองของราชสำนักเด็ดขาดทั่วญี่ปุ่น เป็นการสิ้นสุดระยะทางทหารในการคืนสู่ราชบัลลังก์ของจักรพรรดิเมจิ

มีการระดมพลประมาณ 120,000 คนระหว่างสงคราม และในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตราว 3,500 คน[1] ในบั้นปลาย ฝ่ายราชสำนักผู้ชนะทิ้งเป้าหมายการขับชาวต่างชาติจากญี่ปุ่น แล้วรับนโยบายทำให้ทันสมัยต่อแทน โดยมีเป้าหมายเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับชาติตะวันตกในที่สุด ไซโง ทะกะโมะริ ผู้นำคนสำคัญของกลุ่มแยกจักรพรรดิ ยืนกรานให้ ฝ่ายผู้ภักดีต่อตระกูลโทกูงาวะจึงได้รับการผ่อนผัน และในเวลาต่อมา อดีตผู้นำในรัฐบาลโชกุนหลายคนได้รับตำแหน่งรับผิดชอบงานภายใต้รัฐบาลใหม่

เมื่อสงครามโบชินเริ่ม ประเทศญี่ปุ่นกำลังทำให้ทันสมัยอยู่แล้ว ตามเส้นทางเดียวกับความก้าวหน้าของชาติตะวันตกที่กลายเป็นอุตสาหกรรม ทว่า ประเทศญี่ปุ่นปกป้องเศรษฐกิจที่อ่อนแอของตนโดยปฏิเสธการค้าเสรีที่ชาติตะวันตกบังคับ และเนื่องจากชาติตะวันตก (โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส เกี่ยวข้องกับการเมืองของประเทศอย่างลึกซึ้ง การสถาปนาอำนาจจักรพรรดิจึงเพิ่มความผันผวนแก่ความขัดแย้ง ต่อมา สงครามถูกทำให้เป็นจินตนิยม (romanticized) ว่าเป็น "การปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อ" (bloodless revolution)

ภูมิหลังทางการเมือง แก้

ความไม่พอใจรัฐบาลโชกุนช่วงต้น แก้

เป็นเวลาสองศตวรรษก่อนหน้า ค.ศ. 1854 ญี่ปุ่นจำกัดการติดต่อกับต่างประเทศอย่างรุนแรง โดยยกเว้นสำคัญ คือ เกาหลีผ่านทางเกาะสึชิมะ จักรวรรดิต้าชิงผ่านทางหมู่เกาะริวกิว และดัตช์ผ่านทางสถานีการค้าเกาะเดะจิมะ[3] ใน ค.ศ. 1854 พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี ได้ขู่ใช้กำลังบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศสู่การค้าโลก นำมาซึ่งยุคสมัยการพัฒนาอย่างรวดเร็วในการค้าต่างประเทศและการทำให้เป็นตะวันตก (Westernization) ส่วนใหญ่เนื่องจากเงื่อนไขอัปยศของสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ดังที่เรียกความตกลงเช่นที่เพอร์รีถ่ายทอด ไม่นานรัฐบาลโชกุนเผชิญกับบความเป็นปรปักษ์ภายในประเทศ ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมเป็นขบวนการมูลวิวัติ "ซนโนโจอิ" (ความหมายตามตัวแปลว่า "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับอนารยชน")[4]

 
เรือ คันรินมะรุ ของฝ่ายรัฐบาลโชกุน เรือรบไอน้ำขับเคลื่อนด้วยใบจักรลำแรกของประเทศญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1855 รัฐบาลโชกุนมุ่งทำให้ทันสมัยอย่างขันแข็ง แต่เผชิญกับความไม่พอใจในประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อภัยคุกคามอธิปไตยของชาติจากการติดต่อกับชาวตะวันตก

จักรพรรดิโคเมทรงเห็นด้วยกับอารมณ์ดังกล่าว และทรงเริ่มแสดงบทบาทในกิจการของรัฐ อันเป็นการทำลายธรรมเนียมของจักรพรรดิหลายศตวรรษ เมื่อสบโอกาส พระองค์ทรงวิพากษ์วิจารณ์สนธิสัญญาต่าง ๆ อย่างรุนแรง และทรงพยายามก้าวก่ายการสืบทอดตำแหน่งโชกุน ความพยายามของพระองค์สิ้นสุดด้วย "พระราชโองการขับอนารยชน" ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1863 แม้รัฐบาลโชกุนไม่มีความตั้งใจบังคับใช้ กระนั้นพระราชโองการก็จุดประกายการโจมตีรัฐบาลโชกุนเองและชาวต่างชาติในญี่ปุ่นขึ้นมา กรณีที่โด่งดังที่สุด คือ การเสียชีวิตของพ่อค้าอังกฤษชื่อ ชาร์ล เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน (Charles Lennox Richardson) การเสียชีวิตของเขาทำให้รัฐบาลเอโดะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง[5] การโจมตีอื่นมีการระดมยิงการเดินเรือของต่างชาติในชิโมะโนะเซะกิ[6]

ระหว่าง ค.ศ. 1864 ต่างชาติตอบแทนการกระทำเหล่านี้สำเร็จด้วยการทำตอบโต้ด้วยอาวุธ เช่น การยิงถล่มคาโงชิมะของอังกฤษ และการยิงถล่มชิโมะโนะเซะกิโดยกองเรือนานาชาติ เวลาเดียวกัน กำลังแคว้นโชชูพร้อมด้วยโรนิน ก่อกบฏฮะมะกุริเพื่อยึดพระนครเกียวโตอันเป็นที่ตั้งของราชสำนักแต่ถูกกำลังรัฐบาลโชกุน ภายใต้การนำของโทกูงาวะ โยชิโนบุ อนาคตโชกุน รัฐบาลโชกุนออกคำสั่งเพิ่มให้มีการรบนอกประเทศลงโทษแคว้นโชชู และได้รับการยอมอ่อนน้อมของโชชูโดยปราศจากการรบอย่างจริงจัง ณ จุดนี้ การต่อต้านทีแรกในบรรดาผู้นำในโชชูและราชสำนักจักรพรรดิเพลาลง แต่ในปีต่อมา โทกุงะวะพิสูจน์ว่าไม่สามารถกลับควบคุมประเทศอย่างสมบูรณ์ได้เพราะไดเมียวส่วนใหญ่เริ่มเมินเฉยต่อคำสั่งและคำถามจากเอะโดะ[7]

ความช่วยเหลือทางทหารจากต่างชาติ แก้

 
ภาพวาดกองทหารยุคบากูมัตสึบริเวณใกล้ภูเขาฟุจิใน ค.ศ. 1867 โดยจูลส์ บรูเนต์ นายทหารชาวฝรั่งเศส แสดงภาพการผสมผสานระหว่างญี่ปุ่นและชาติตะวันตกจากแหล่งต่างๆ

แม้เหตุยิงถล่มคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะก็ยังใกล้ชิดกับบริเตนมากขึ้น และมุ่งทำให้กองทัพบกและกองทัพเรือของตนให้ทันสัยด้วยการสนับสนุนจากชาติดังกล่าว[8] โทมัส เบลก โกลเวอร์ พ่อค้าชาวสกอต ขายปืนและเรือรบจำนวนมากให้หลายแคว้นทางใต้[9] ผู้เชี่ยวชาญทางทหารหลายคนชาวอเมริกันและอังกฤษหลายคน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นอดีตนายทหาร อาจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในความพยายามทางทหารนี้[10] แฮร์รี สมิธ ปากส์ (Harry Smith Parkes) เอกอัครราชทูตบริเตน สนับสนุนกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโชกุนในการผลักดันให้สถาปนาการปกครองของจักรพรรดิเอกภาพและชอบธรรมในประเทศญี่ปุ่น และเพื่อตอบโต้อิทธิพลของฝรั่งเศสกับรัฐบาลโชกุน ในระยะเวลาดังกล่าว ผู้นำญี่ปุ่นภาคใต้ เช่น ไซโง ทะกะโมะริแห่งซัตสึมะ หรืออิโต ฮิโระบุมิ และอิโนะอุเอะ คะโอะรุแห่งโชชู เริ่มสร้างสายสัมพันธ์เฉพาะบุคคลกับนักการทูตบริติชหลายคน ที่สำคัญได้แก่ เออร์เนสต์ เมสัน ซาโตว์ (Ernest Mason Satow).[11]

รัฐบาลโชกุนยังเตรียมรับความขัดแย้งอีกโดยการทำให้กองทัพของตนทันสมัย ตามแนวการออกแบบของปากส์ ชาวบริติช ซึ่งจนถึงเวลานั้นเป็นหุ้นส่วนหลักของรัฐบาลโชกุน พิสูจน์ว่าไม่เต็มใจยื่นความช่วยเหลือ โทกุงะวะจึงอาศัยความชำนาญของฝรั่งเศสเป็นหลัก โดยสบายใจกับเกียรติภูมิทางทหารของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในเวลานั้น ซึ่งได้มาจากความสำเร็จในสงครามไครเมียและสงครามอิตาลี

รัฐบาลโชกุนดำเนินก้าวสำคัญสู่การสร้างกองทัพสมัยใหม่ที่ทรงอำนาจ คือ กองทัพเรือโดยมีแกนกลางเป็นเรือรบไอน้ำแปดลำที่มีการสร้างโดยใช้เวลาหลายปีและเป็นกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุดในทวีปเอเชียแล้ว ใน ค.ศ. 1865 มีการก่อสร้างโรงงานสรรพาวุธกองทัพเรือสมัยใหม่แห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นในโยะโกะซุกะโดย Léonce Verny วิศวกรชาวฝรั่งเศส ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1867 คณะผู้แทนทหารฝรั่งเศสมาถึงเพื่อจัดระเบียบกองทัพรัฐบาลโชกุนใหม่และสร้างกำลังหัวกะทิเด็นชูตะอิ และมีคำสั่งซื้อเรือรบซีเอสเอส สโตนวอลล์ เรือรบหุ้มเกราะเหล็ก (ironclad) ที่ฝรั่งเศสสร้าง จากสหรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งตกทอดจากสงครามกลางเมืองอเมริกา เนื่องจากชาติตะวันตกประกาศเป็นกลาง อเมริกาจึงปฏิเสธไม่ขายเรือ แต่เมื่อยกเลิกความเป็นกลางแล้ว กลุ่มแยกจักรพรรดิได้เรือและใช้ในยุทธนาการในฮาโกดาเตะโดยใช้ชื่อว่า โคเตะสึ ("เรือหุ้มเกราะเหล็ก")

รัฐประหาร แก้

 
กองทัพของรัฐบาลโชกุนในปี ค.ศ. 1866 กองทัพสมัยใหม่ของรัฐบาลโชกุนในเวลานั้นปรากฏชัดว่ายังเป็นรองกองทัพของแคว้นโชชู

หลังรัฐประหารในโชชูซึ่งส่งผลให้กลุ่มแยกต่อต้านรัฐบาลโชกุนหัวรุนแรงกลับเถลิงอำนาจ รัฐบาลโชกุนจึงประกาศเจตนานำการรบนอกประเทศโคชูครั้งที่สองเพื่อลงโทษแคว้นทรยศนั้น เหตุนี้กระตุ้นให้โชชูตั้งพันธมิตรกับแคว้นซัตสึมะอย่างลับ ๆ ในฤดูร้อน ค.ศ. 1866 รัฐบาลโชกุนแพ้ต่อโคชู ทำให้เสื่อมอำนาจลงมาก ทว่า ปลาย ค.ศ. 1866 ทีแรกโชกุนอิเอะโมะชิเสียชีวิต แล้วจักรพรรดิโคเมเสด็จสวรรคต ซึ่งตำแหน่งตกแก่โยชิโนบุและจักรพรรดิเมจิตามลำดับ เหตุการณ์เหล่านี้ "ทำให้เลี่ยงการสงบศึกไม่ได้" ตามคำของนักประวัติศาสตร์ มารีอัส เจนเซน[12]

วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 มีการประกอบพระราชโองการลับโดยแคว้นซัตสึมะและแคว้นโชชูในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิเมจิ บัญชาให้ "ฆ่าโยชิโนบุโทษฐานทรยศ"[13] ทว่า ก่อนหน้านี้ และให้หลังข้อเสนอจากไดเมียวโทะซะ โยชิโนบุลาออกจากตำแหน่งและถวายอำนาจคืนแก่จักรพรรดิ โดยตกลง "เป็นเครื่องมือนำไปปฏิบัติ" ซึ่งพระบรมราชโองการของจักรพรรดิ[14] รัฐบาลเอโดะจึงสิ้นสุด[15]

แม้การลาออกของโยชิโนบุทำให้เกิดสุญญากาศในตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาล ระบบกลไกรัฐของเขานั้นยังดำรงอยู่ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลโชกุน โดยเฉพาะตระกูลโทกูงาวะ จะยังเป็นกำลังสำคัญในระเบียบการเมืองที่วิวัฒนาและจะมีอำนาจบริหารหลายอย่าง[16] เป็นภาพที่ผู้ไม่ประนีประนอม (hard-liner) จากซัตสึมะและโชชูทนไม่ได้[17] เหตุการณ์มาถึงจุดสูงสุดในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1868 เมื่อทั้งสองแคว้นยึดพระราชวังจักรพรรดิที่กรุงเกียวโต และในวันรุ่งขึ้น จักรพรรดิเมจิ พระชนมายุ 15 พรรษา ทรงประกาศฟื้นฟูพระราชอำนาจเต็มของพระองค์ แม้สภาองคมนตรีจักรพรรดิฝ่ายข้างมากสุขกับคำประกาศการปกครองโดยตรงอย่างเป็นทางการของราชสำนักและมีแนวโน้มสนับสนุนการร่วมมือกับโทกูงาวะต่อ (ภายใต้มโนทัศน์ "รัฐบาลอันเป็นธรรม" ญี่ปุ่น: 公議政体ทับศัพท์: kōgiseitai) แต่ไซโง ทะกะโมะริคุกคามสภาให้เลิกตำแหน่ง "โชกุน" และสั่งริบที่ดินของโยชิโนบุ[18]

แม้ทีแรกเขาเห็นพ้องกับข้อเรียกร้องเหล่านี้ แต่ในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1868 โยชิโนบุประกาศว่า เขาไม่ถูกผูกมัดกับคำประกาศฟื้นฟูพระราชอำนาจและเรียกร้องให้เลิกประกาศนั้น[19] วันที่ 24 มกราคม โยชิโนบุตัดสินใจเตรียมการโจมตีพระนครเกียวโตซึ่งถูกกำลังซัตสึมะและโชชูยึดครองอยู่ การตัดสินใจดังกล่าวนี้ถูกกระตุ้นจากที่เขาทราบว่าเกิดการลอบวางเพลิงหลายครั้งในเอะโดะ เริ่มจากการเผาฝ่ายหน้าของปราสาทเอะโดะ อันเป็นที่พำนักหลักของตระกูลโทกูงาวะ เหตุนี้ถูกกล่าวโทษแก่โรนินซัตสึมะ ซึ่งในวันนั้นโจมตีสำนักงานรัฐบาลแห่งหนึ่ง วันรุ่งขึ้น กำลังรัฐบาลโชกุนสนองโดยโจมตีที่พำนักของไดเมียวซัตสึมะในเอะโดะ ซึ่งคู่แข่งหลายคนของรัฐบาลโชกุน ภายใต้การชี้นำของทะกะโมะริ กำลังซ่อนตัวและก่อปัญหาอยู่ พระราชวังถูกเผหา และคู่แข่งหลายคนถูกฆ่าหรือถูกประหารชีวิตทีหลัง[20]

ความขัดแย้งเปิดฉาก แก้

 
ฉากการรบในยุทธการโทะบะ-ฟุชิมิ กองทัพฝ่ายโชกุนอยู่ทางด้านซ้าย ซึ่งรวมถึงกองพันจากแคว้นไอสึ ด้านขวาเป็นกองกำลังจากแคว้นโชชูและแคว้นโทซะ กองทัพเหล่านี้ล้วนเป็นกองพันทหารตามแบบสมัยใหม่ แต่บางส่วนก็อยู่ในชุดตามธรรมเนียมของซามูไร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝ่ายโชกุน)

วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1868 กำลังฝ่ายรัฐบาลโชกุนโจมตีกำลังของโชชูและซะซึมะ โดยปะทะใกล้โทะบะและฟุชิมิ ณ ทางเข้าทิศใต้ของกรุงเกียวโต บางส่วนของกำลังฝ่ายรัฐบาลโชกุนจำนวน 15,000 นายได้รับฝึกโดยที่ปรึกษาทางทหารชาวฝรั่งเศส แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นกำลังซามูไรสมัยกลาง ในกำลังซามูไรนั้นยังมีชินเซ็งงุมิด้วย ขณะเดียวกัน กำลังโชชูและซัตสึมะเป็นจำนวนน้อยกว่าถึง 3:1 แต่มีกองทัพทันสมัยโดยมีเฮาวิตเซอร์อาร์มสตรอง ปืนเล็กยาวมีนี (Minié rifle) และปืนแกตลิง (Gatling gun) หลังเริ่มต้นโดยไม่รู้ผลแพ้ชนะ ในวันที่สอง มีการส่งธงจักรพรรดิให้ทหารฝ่ายป้องกัน และพระญาติของจักรพรรดิ นินนะจิโนะมิยะ โยะชิอะกิ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหาร ทำให้กองทัพนั้นเป็นกองทัพจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 官軍โรมาจิkangun) อย่างเป็นทางการ ยิ่งไปกว่านั้น ไดเมียวท้องถิ่นหลายคนซึ่งจนถึงบัดนี้ยังซื่อสัตย์ต่อโชกุน เริ่มแปรพักตร์เข้ากับฝ่ายราชสำนักจักรพรรดิเพราะถูกมหาดเล็กชักจูง ไดเมียวดังกล่าวมีไดเมียวโยโดะเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และไดเมียวสึเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เปลี่ยนสมดุลทางทหารให้เข้าทางฝ่ายจักรพรรดิมากขึ้น

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ โทกูงาวะ โยชิโนบุ ซึ่งชัดเจนว่าอึดอัดกับพระบรมราชานุญาตที่จักรพรรดิพระราชทานแก่การกระทำของซัตสึมะและโชชู หนีจากโอซะกะบนเรือไคโยมะรุ ไปเอะโดะ กำลังรัฐบาลโชกุนที่เสียขวัญจากการหนีของโชกุนและการหักหลังของโยะโดะและสึถอย ทำให้การประจัญหน้าที่โทะบะ-ฟุชิมิเป็นชัยของฝ่ายจักรพรรดิ แม้มักถือกันว่าฝ่ายรัฐบาลโชกุนน่าจะชนะ ไม่ช้าปราสาทโอซะกะถูกล้อมในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ (หรือวันที่ 1 มกราคมตามปฏิทินตะวันตก) นำให้ยุทธการที่โทะบะ-ฟุชิมิสิ้นสุด

ขณะเดียวกัน ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1868 เกิดยุทธนาวีที่อะวะระหว่างรัฐบาลโชกุนและกองทัพเรือซัตสึมะบางส่วน นับเป็นยุทธนาการระหว่างกองทัพเรือสมัยใหม่สองทัพครั้งที่สองของประเทศญี่ปุ่น ยุทธนาวีขนาดเล็กดังกล่าวยุติลงโดยรัฐบาลโชกุนเป็นฝ่ายชนะ

 
ทหารโทะซะฆ่ากะลาสีเรือชาวฝรั่งเศสในกรณีซะกะอิ, 8 มีนาคม ค.ศ. 1868, ภาพจาก "Le Monde Illustré"

ส่วนในด้านการทูต รัฐมนตรีของต่างชาติประชุมในท่าเปิดฮโยโงะ (ปัจจุบันคือ โคเบะ) ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ออกคำประกาศว่ารัฐบาลโชกุนยังถือเป็นรัฐบาลโดยชอบแห่งเดียวของญี่ปุ่น ให้ความหวังแก่โทกูงาวะ โยชิโนบุว่าต่างชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส) อาจพิจารณาแทรกแซงโดยถือข้างเขา ทว่า ไม่กี่วันต่อมา ผู้แทนจักรพรรดิที่เยี่ยมรัฐมนตรีเหล่านั้นประกาศว่ายุบรัฐบาลโชกุนแล้ว จะเปิดท่าตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และจะคุ้มครองคนต่างด้าว รัฐมนตรีดังกล่าวจึงตัดสินใจรับรองรัฐบาลใหม่

กระนั้น ความรู้สึกต่อต้านต่างด้าวนำสู่การโจมตีคนต่างด้าวหลายครั้งในหลายเดือนต่อมา ซามูไรโทะซะฆ่ากะลาสีชาวฝรั่งเศสสิบเอ็ดคนจากเรือคอร์เว็ตดูเปลอิส (Dupleix) ในเหตุการณ์ซะไกในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1868 สิบห้าวันต่อมา เซอร์แฮร์รี ปากส์ เอกอัครราชทูตบริติช ถูกซามูไรกลุ่มหนึ่งทำร้ายในถนนกรุงเกียวโต

เอะโดะยอมจำนน แก้

 
คนโด อิซะมิ ผู้นำกลุ่มผู้สนับสนุนโชกุน "ชินเซ็งงุมิ" เผชิญหน้ากับทหารของแคว้นโทซะ (สังเกตจากเครื่องสวมศีรษะ "ชะกุมะ" (赤熊, Shaguma - "หมีแดง") ซึ่งใช้สำหรับนายทหารของแคว้นนั้น) ในยุทธการโคชู-คะสึนุมะ

ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ด้วยความช่วยเหลือของเลยง โรเช (Léon Roches) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส มีการร่างแผนเพื่อหยุดการรุกของราชสำนักจักรพรรดิที่โอะดะวะระ จุดเข้ายุทธศาสตร์สุดท้ายสู่เอะโดะ แต่โยชิโนบุตัดสินใจค้านแผนนี้ เลยง โรเชประหลาดใจและลาออกจากตำแหน่ง ในต้นเดือนมีนาคม ภายใต้อิทธิพลของรัฐมนตรีบริติช แฮร์รี ปากส์ ต่างชาติลงนามความตกลงความเป็นกลางเข้มงวด ซึ่งตามสนธิสัญญานั้น ต่างชาติไม่สามารถแทรกแซงหรือให้กำลังบำรุงทางทหารแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนความขัดแย้งยุติ

ไซโง ทะกะโมะรินำทัพจักรพรรดิคว้าชัยไปทางเหนือและตะวันออกทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยชนะที่ยุทธการที่โคชู-คะสึนุมะ สุดท้ายเขาล้อมเอะโดะในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1868 นำไปสู่ความปราชัยอย่างไม่มีเงื่อนไขหลังคัตสึ คะอิชู รัฐมนตรีสงครามของโชกุน เจรจาการยอมจำนน บางกลุ่มยังต่อต้านต่อไปหลังการยอมจำนนนี้แต่แพ้ในยุทธการที่อุเอะโนะในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1868

ขณะเดียวกัน ผู้นำกองทัพเรือของโชกุน เอะโนะโมะโตะ ทะเกอะกิ ปฏิเสธยอมจำนนเรือทั้งหมดของเขา เขาส่งเรือให้เพียงสี่ลำ ซึ่งในนั้นมีฟุจิซัง แต่เขาหลบหนีขึ้นเหนือไปพร้อมกับกองทัพเรือโชกุนที่เหลือ (เรือรบไอน้ำแปดลำ) และทหารเรือ 2,000 นาย ด้วยหวังจัดการโจมตีตอบโต้ร่วมกับไดเมียวทางเหนือ เขามีที่ปรึกษาทางทหารชาวฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งเข้าด้วย ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ ฌูล บรูเน (Jules Brunet) ซึ่งลาออกจากกองทัพบกฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการเพื่อเข้ากับกบฏ

การแข็งข้อของแนวร่วมฝ่ายเหนือ แก้

 
กองทหารจากเมืองเซ็นไดซึ่งเคลื่อนพลตั้งแต่เดือนเมษายน เข้าสมทบกับกองทัพพันธมิตรแว่นแคว้นฝ่ายเหนือเพื่อต่อต้านกองทัพฝ่ายจักรพรรดิ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1868

หลังโยชิโนบุยอมจำนน[21] ประเทศญี่ปุ่นส่วนมากก็ยอมรับการปกครองของจักรพรรดิ แต่แนวร่วมแว่นแคว้นในภาคเหนือซึ่งสนับสนุนแคว้นไอสึยังแข็งข้อต่อไป[22] ในเดือนพฤษภาคม ไดเมียวในภาคเหนือหลายคนตั้งพันธมิตรเพื่อต่อกรกองทัพจักรพรรดิ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกำลังจากแคว้นเซ็นได โยะเนะซะวะ ไอสึ โชนะอิและนะงะโอะกะ มีทั้งสิ้น 50,000 นาย เจ้าฝ่ายจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง คิตะชิระกะวะ โยะชิฮิซะ เสด็จหนีขึ้นเหนือพร้อมพลพรรครัฐบาลเอโดะ และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าในนามของแนวร่วมฝ่ายเหนือ โดยเจตนาตั้งพระองค์เป็น "จักรพรรดิโทะบุ"

กองเรือของเอะโนะโมะโตะถึงท่าเซ็นไดในวันที่ 26 สิงหาคม แม้ว่าแนวร่วมฝ่ายเหนือมีทหารมากมาย แต่ติดอาวุธเลวและอาศัยวิธีการต่อสู้แบบเก่า ยุทธภัณฑ์สมัยใหม่ขาดแคลน และมีความพยายามกระชั้นชิดในการสร้างปืนใหญ่ทำด้วยไม้และเสริมความแข็งแรงด้วยการรัดเชือกและยิงกระสุนหิน ปืนใหญ่ดังกล่าวที่ติดตั้งบนสิ่งปลูกสร้างตั้งรับ ยิงกระสุนได้สี่ถึงห้านัดเท่านั้นก่อนระเบิด อีกฝ่ายหนึ่ง ไดเมียวนะงะโอะกะจัดการหาปืนแกตลิงสองจากสามกระบอกในประเทศญี่ปุ่น และปืนเล็กยาวฝรั่งเศสสมัยใหม่ 2,000 กระบอกจากพ่อค้าอาวุธชาวเยอรมัน เฮนรี ชเนลล์ (Henry Schnell)

 
ปืนใหญ่ไม้ซึ่งทหารเซ็นไดใช้ในสงครามโบชิน ณ พิพิธภัณฑ์เมืองเซ็นได

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1868 ไดเมียวนะงะโอะกะสร้างความสูญเสียใหญ่หลวงต่อกำลังฝ่ายจักรพรรดิในยุทธการที่โฮะกุเอตสึ (Hokuetsu) แต่สุดท้ายปราสาทของเขาเสียในวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารฝ่ายจักรพรรดิยังเคลื่อนขึ้นเหนือ พิชิตชินเซ็งงุมิที่ยุทธการที่ช่องเขาโบะนะริ ซึ่งเปิดทางให้เข้าตีปราสาทไอสึวะกะมัตสึในยุทธการที่ไอสึในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1868 ทำให้ป้องกันที่ตั้งดังกล่าวไม่ได้

แนวร่วมพังทลาย และในวันที่ 12 ตุลาคม กองเรือออกจากเซ็นไดมุ่งหน้าสู่ฮกไกโด หลังได้เรืออีกสองลำ และทหารอีกประมาณ 1,000 นาย กำลังรัฐบาลโชกุนที่เหลือภายใต้โอโตะริ เคสึเกะ กำลังชินเซ็งงุมิภายใต้ฮิจิกะตะ โทะชิโซ เหล่ากองโจร (ยูเงะกิไต) ภายใต้ฮิโตะมิ คัตสึตะโร เช่นเดียวกับที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสอีกหลายคน

วันที่ 26 ตุลาคม เอะโดะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว และสมัยเมจิเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ไอสึถูกล้อมเริ่มตั้งแต่เดือนนั้น นำไปสู่การฆ่าตัวตายหมู่ของนักรบหนุ่มเบียะโกะไต (เหล่าพยัคฆ์ขาว) หลังยุทธการยืดเยื้อหนึ่งเดือน สุดท้ายไอสึยอมจำนนในวันที่ 6 พฤศจิกายน

การทัพฮกไกโด แก้

สถาปนาสาธารณรัฐเอะโซะ แก้

 โฮะโซะยะ ยะซุทะโรร้อยเอก ฌูล บรูเนต์ผู้บัญชาการทหาร มะสึไดระ ทะโรทะจิมะ คินทะโรร้อยเอกกาเซอเนิฟสิบเอกฌอง มาร์แลงฟุกุชิมะ โทะกิโนะซุเกะสิบเอกอาเธอร์ ฟอร์ตังต์ใช้ปุ่มเพื่อขยายภาพ หรือเคอร์เซอร์ชี้เพื่อระบุตัวบุคคล
ชาวญี่ปุ่นและที่ปรึกษาด้านการทหารชาวฝรั่งเศสที่ฮกไกโด

หลังปราชัยบนเกาะฮนชู เอะโนะโมะโตะ ทะเกะอะกิหนีไปฮกไกโดพร้อมด้วยกองทัพเรือที่เหลืออยู่และที่ปรึกษาการทหารชาวฝรั่งเศสอีกจำนวนหนึ่ง พวกเขาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลโดยมีวัตถุประสงค์สถาปนารัฐชาติอิสระขึ้นบนเกาะเพื่ออุทิศให้การพัฒนาเกาะฮกไกโด สาธารณรัฐเอะโซะตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมตามแบบจำลองสหรัฐอเมริกา นับเป็นสาธารณรัฐแห่งเดียวของประเทศญี่ปุ่นที่เคยมี และเอะโนะโมะโตะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีด้วยเสียงข้างมาก สาธารณรัฐพยายามติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่อยู่ในฮาโกดาเตะ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่ไม่สามารถได้การรับรองหรือการสนับสนุนระหว่างประเทศ เอะโนะโมะโตะเสนอให้โอนดินแดนให้โชกุนโทกูงาวะภายใต้การปกครองของจักรพรรดิ แต่สภาปกครองจักรวรรดิปฏิเสธข้อเสนอของเขา[23]

ในฤดูหนาว พวกเขาเสริมการป้องกันบริเวณคาบสมุทรทางใต้ของฮาโกดาเตะ โดยมีป้อมโกะเรียวคะคุอยู่ตรงกลาง มีการจัดระเบียบกำลังภายใต้การบัญชาการร่วมของญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส โดยมีโอะโตะริ เคซุกะเป็นผู้บัญชาการทหาร และร้อยเอก ฌูลส์ บรูเน ชาวฝรั่งเศส เป็นรองผู้บัญชาการ และแบ่งกำลังออกเป็น 4 กองพลน้อย แต่ละกองพลน้อยมีนายทหารประทวนชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บังคับบัญชา (อาเธอร์ ฟอร์ตังต์, ฌอง มาร์แลง, อังเดร กาเซอเนิฟ, ฟรองซัวส์ บูฟฟิเยร์) และแบ่งกำลังย่อยออกเป็น 8 กึ่งกองพลน้อย (half-brigade) ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของญี่ปุ่น[24]

ความพ่ายแพ้ครั้งสุดท้ายและการยอมจำนน แก้

 
เรือรบเหล็กของกองทัพเรือฝ่ายจักรพรรดิ โคเตะสึ ที่ฝรั่งเศสสร้าง (เดิมคือ ซีเอสเอส สโตนวอล)

กองทัพเรือจักรพรรดิถึงท่ามิยะโกะเมื่อวันที่ 20 มีนาคม แต่กบฏเอะโซะคาดหมายการมาของเรือฝ่ายจักรพรรดิและจัดระเบียบแผนบ้าบิ่นในการยึดโคเตะซึ มีการส่งเรือรบสามลำสำหรับโจมตีผิดคาด โดยมีผู้บังคับบัญชาชินเซ็งงุมิ ฮิจิกะตะ โทะชิโซเป็นผู้นำ เรียก ยุทธนาวีที่อ่าวมิยะโกะ ยุทธนาวียุติลงด้วยความล้มเหลวของฝ่ายโทกูงาวะ เนื่องจากสภาพอากาศเลว ปัญหาเครื่องยนต์และการใช้ปืนแกตลิงโดยกำลังฝ่ายจักรพรรดิต่อคณะขึ้นเรือซามูไรอย่างเด็ดขาด

ไม่นาน กำลังฝ่ายจักรพรรดิรวบรวมการควบคุมบนแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1869 ส่งกองเรือและกำลังทหารราบ 7,000 นายไปเอะโซะ เริ่มต้นยุทธการที่ฮาโกดาเตะ กำลังฝ่ายจักรพรรดิคืบหน้าอย่างรวดเร็วและชนะยุทธนาการทางเรือ ณ อ่าวฮาโกดาเตะ เป็นยุทธนาวีทางเรือขนาดใหญ่ครั้งแรกของประทเศญี่ปุ่นระหว่างกองทัพเรือสมัยใหม่ ขณะที่ป้อมโกะเรียวกะกุถูกทหารที่เหลือ 800 นายล้อม เมื่อเห็นสถานการณ์เข้าตาจน ที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสหลบหนีไปเรือฝรั่งเศสซึ่งประจำอยู่ในอ่าวฮาโกดาเตะ แคตโลกง (Coëtlogon) ภายใต้การบังคับบัญชาของดูว์เปตี-ตูอาร์ (Dupetit-Thouars) แล้วโดยสารกลับไปโยะโกะฮะมะและฝรั่งเศส ญี่ปุ่นขอให้ที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสรับการพิพากษาในประเทศฝรั่งเศส ทว่า เนื่องจากการสนับสนุนของประชาชนในประเทศฝรั่งเศสจากกรรมของพวกเขา อดีตที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสในประเทศญี่ปุ่นจึงไม่ถูกลงโทษ

เอะโนะโมะโตะแน่วแน่ที่จะต่อสู้จนจบ และส่งทรัพย์มีค่าของเขาให้ข้าศึกเพื่อเก็บรักษา ในนั้นมีรหัสกองทัพเรือที่เขานำกลับจากฮอลแลนด์ซึ่งเขามอบให้พลเอกของฝ่ายจักรพรรดิ คุโระดะ คิโยะตะกะ และโอะโตะริเกลี้ยกล่อมให้เขายอมจำนน โดยบอกเขาให้ตัดสินใจใช้ชีวิตผ่านความพ่ายแพ้เป็นวิถีที่หาญกล้าอย่างแท้จริง "หากท่านประสงค์ตาย ท่านสามารถทำได้ทุกเวลา" เอะโนะโมะโตะยอมจำนนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1869 โดยยอมรับการปกครองของจักรพรรดิเมจิ และสาธารณรัฐเอะโซะก็ไม่มีอีกต่อไป

ผลสืบเนื่อง แก้

 
จักรพรรดิเมจิ พระชนมายุ 16 พรรษา เสด็จจากกรุงเกียวโตไปโตเกียว ปลาย ค.ศ. 1868

ให้หลังชนะ รัฐบาลใหม่ดำเนินรวมประเทศภายใต้การปกครองทรงอำนาจโดยชอบเดียวโดยราชสำนักจักรพรรดิ ที่พำนักของจักรพรรดิย้ายจากเกียวโตไปโตเกียวในปลาย ค.ศ. 1868 อำนาจทางทหารและการเมืองของแว่นแคว้นต่าง ๆ ทยอยถูกริดรอนไป และไม่ช้าแคว้นต่าง ๆ ก็กลายสภาพเป็นจังหวัด ซึ่งจักรพรรดิทรงตั้งผู้ว่าราชการ การปฏิรูปสำคัญ คือ การเวนคืนและเลิกชนชั้นซามูไร ทำให้ซามูไรจำนวนมากเปลี่ยนเข้าตำแหน่งบริหารราชการแผ่นดินหรือผู้ประกอบการ แต่บีบให้อีกจำนวนมากยากจน แคว้นทางใต้ซัตสึมะ โชชูและโทะซะซึ่งมีบทบาทชี้ขาดในชัย ยึดตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลอีกหลายทศวรรษให้หลังความขัดแย้งนี้ บ้างเรียกสถานการณ์นี้ว่า "คณาธิปไตยเมจิ" และกลายเป็นทางการด้วยสถาบันเก็นโร ใน ค.ศ. 1869 มีการสร้างศาลเจ้ายะซุกุนิในกรุงโตเกียวเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เสียชีวิตในสงครามโบชิน

พลพรรคผู้นำบางส่วนของอดีตโชกุนถูกจำคุก แต่รอดการประหารชีวิตอย่างหวุดหวิด มาจากการยืนยันของไซโง ทะกะโมะริและอิวะกุระ โทะโมะมิ แม้อาศัยคำแนะนำจากพากส์ ผู้แทนทางทูตบริติชมากก็ตาม เขากระตุ้นไซโง ตามคำของเออร์เนส ซาโท (Ernest Satow) ว่า "ความรุนแรงต่อเคคิ [โยชิโนบุ] หรือผู้สนับสนุนเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิถีการลงโทษบุคคล จะทำร้ายชื่อเสียงของรัฐบาลใหม่ในสายตาชาติยุโรป" หลังจำคุกสองหรือสามปี พวกเขาส่วนมากก็ถูกเรียกตัวมารับราชการรัฐบาลใหม่ และหลายคนมีอาชีพรุ่งเรือง ตัวอย่างเช่น เอะโนะโมะโตะ ทะเกะอะกิต่อมาจะรับราชการเป็นผู้แทนทางทูตประจำประเทศรัสเซียและจีนและเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการ

 
จักรพรรดิเมจิวัยรุ่นกับผู้แทนต่างประเทศ ราว ค.ศ. 1868–1870

ฝ่ายจักรพรรดิมิได้แสวงความมุ่งหมายขับผลประโยชน์ต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่นอีก แต่หันไปรับนโยบายก้าวหน้ามากขึ้นโดยมุ่งปรับประเทศให้ทันสมัยต่อและการเจรจาสนธิสัญญาไม่เท่าเทียมใหม่กับต่างชาติ และต่อมาภายใต้คำขวัญ "ประเทศร่ำรวย กองทัพเข้มแข็ง" (ญี่ปุ่น: 富国強兵โรมาจิfukoku kyōhei) การเปลี่ยนท่าทีต่อต่างชาตินี้มาจากวันแรก ๆ ของสงครามกลางเมือง วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1868 มีการตั้งป้ายในกรุงเกียวโต (และต่อมาทั่วประเทศ) ซึ่งเจาะจงบอกเลิกความรุนแรงต่อคนต่างด้าว ระหว่างห้วงความขัดแย้ง จักรพรรดิเมจิทรงต้อนรับผู้แทนทางทูตยุโรปเป็นการส่วนพระองค์ ครั้งแรกในกรุงเกียวโต และต่อมาในโอซากะและโตเกียว และที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ การต้อนรับอัลเฟรด ดุ๊กเอดินบะระของจักรพรรดิเมจิในกรุงโตเกียวว่า "เป็นผู้มีโลหิตทัดเทียมพระองค์" (as his equal in point of blood)

แม้สมัยเมจิตอนต้น ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักจักรพรรดิและต่างประเทศดีขึ้น แต่ความสัมพันธ์กับประเทศฝรั่งเศสเสื่อมชั่วคราวเนื่องจากฝรั่งเศสสนับสนุนโชกุนในทีแรก ทว่าในไม่ช้า มีการเชิญคณะทูตทหารคณะที่สองมาประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1874 และคณะที่สามใน ค.ศ. 1884 อันตรกิริยาระดับสูงกลับคืนประมาณ ค.ศ. 1886 เมื่อประเทศฝรั่งเศสช่วยสร้างกองเรือสมัยใหม่ขนาดใหญ่ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ภายใต้การชี้นำของวิศวกรนาวี หลุยส์-เอมิล แบร์แต็ง (Louis-Émile Bertin) การปรับประเทศให้ทันสมัยเริ่มระหว่างปลายรัฐบาลโชกุนแล้ว และรัฐบาลเมจิสุดท้ายก็รับนโยบายเดียวกัน

 
จักรพรรดิเมจิทรงต้อนรับคณะทูตทหารฝรั่งเศสซึ่งมาเยือนญี่ปุ่นเป็นชุดที่ 2, ค.ศ. 1872

ครั้นราชาภิเษก จักรพรรดิเมจิทรงออกกฎบัตรคำปฏิญาณ (Charter Oath) โดยเรียกร้องให้มีการประชุมอภิปราย สัญญาเพิ่มโอกาสแก่สามัญชน เลิก "ขนบธรรมเนียมชั่วจากอดีต" และแสวงความรู้ทั่วโลก "เพื่อเสริมสร้างรากฐานของการปกครองจักรพรรดิ" การปฏิรูปสำคัญของรัฐบาลเมจิมีการเลิกระบบแคว้นใน ค.ศ. 1871 ซึ่งแคว้นแบบฟิวดัลและผู้ปกครองที่สืบสายโลหิตถูกเปลี่ยนเป็นจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้งของจักรพรรดิ อื่น ๆ มีการศึกษาภาคบังคับและการเลิกสถานภาพชนชั้นขงจื๊อ การปฏิรูปต่าง ๆ ลงเอยด้วยการออกรัฐธรรมนูญเมจิ ค.ศ. 1889 ทว่า แม้ซามูไรสนับสนุนราชสำนักจักรพรรดิ แต่การปฏิรูปสมัยเมจิช่วงต้นหลายอย่างถูกมองว่าเป็นโทษต่อประโยชน์ของพวกเขา คือ การสร้างกองทัพทหารเกณฑ์จากสามัญชน ตลอดจนการเสียเกียรติภูมิสืบเชื้อสายและเงินเดือนที่ทำให้อดีตซามูไรจำนวนมากเป็นปรปักษ์ ความตึงเครียดสูงเป็นพิเศษในภาคใต้ นำสู่กบฏซะกะ ค.ศ. 1874 และกบฏในโชชูใน ค.ศ. 1876 อดีตซามูไรในซัตสึมะ โดยมีไซโง ทะกะโมะริเป็นผู้นำ ซึ่งออกจากรัฐบาลเนื่องจากขัดแย้งเรื่องนโยบายต่างประเทศ เริ่มกบฏซัตสึมะใน ค.ศ. 1877 การต่อสู้เพื่อธำรงชนชั้นซามูไรและรัฐบาลที่มีคุณธรรมมากขึ้น มีคำวัญว่า "รัฐบาลใหม่ ศีลธรรมสูง" (ญี่ปุ่น: 新政厚徳โรมาจิshinsei kōtoku) กบฏยุติด้วยความปราชัยเยี่ยงวีรบุรุษแต่ย่อยยับ ณ ยุทธการที่ชิโระยะมะ

การนำเสนอในยุคหลัง แก้

 
A romanticized Japanese vision of the Battle of Hakodate (函館戦争の図), painted circa 1880. The cavalry charge, with a sinking sailship in the background, is led by the leaders of the rebellion in anachronistic samurai attire.[25] French soldiers are shown behind the cavalry charge in white trousers. With a modern steam warship visible in the background, imperial troops with modern uniforms are on the right.[26]

อาวุธในสงครามโบชิน แก้

ปืนประจำกาย แก้

 
ปืนในสงครามโบชิน (จากบนลงล่าง) ปืนสไนเดอร์-เอ็นฟิลด์ (Snider-Enfield), ปืนเล็กสั้นสตาร์ (Starr), ปืนเกเวร์ (Gewehr)

ปืนใหญ่ แก้

 
ปืนครก (ปืนใหญ่ยิงกระสุนวิถีโค้ง) พร้อมด้วยกระสุนปืนแบบกลวง, สงครามโบชิน (ค.ศ. 1868-1869), ญี่ปุ่น

เรือรบ แก้

เครื่องแบบ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ประมาณการใน Hagiwara, p. 50.
  2. โบชิน (ญี่ปุ่น: 戊辰โรมาจิBoshin) เป็นชื่อของปีที่ 5 ในรอบหกสิบปีตามธรรมเนียมปฏิทินที่ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อักษร 戊辰 นี้ในภาษาญี่ปุ่นยังสามารถอ่านอีกอย่างได้ว่า "สึจิโนะเอะ-ทะสึ" แปลตามตัวว่า "มังกรดินผู้ใหญ่" ตามที่มาของคำในภาษาจีน คำนี้มีความหมายว่า "มังกรดินธาตุหยาง" ซึ่งเกี่ยวข้องกับชื่อปีที่ปรากฏในระบบปฏิทินดังกล่าว ในเชิงศัพทมูลวิทยานั้น อักษร และ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า "มังกร" หรือ "ธาตุดินผู้ใหญ่" ฉะนั้นการอ่านว่า "สึจิโนะเอะ-ทะสึ" จึงถือว่าเป็นการอ่านอักษรแบบหนึ่งด้วยวิธีการอ่านเสียงคุน (คุนโยะมิ) เมื่อพิจารณาตามบริบทของยุคสมัยนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้นในรัชศกเคโอ ปีที่ 4 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรัชศกเมจิ ปีที่ 1 ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน และจะสิ้นสุดในรัชศกเมจิ ปีที่ 2 (อนึ่ง ปีมังกรของจีนและญี่ปุ่น จะตรงกับปีมะโรงเมื่อเทียบตามระบบปีนักษัตรที่ใช้ในประเทศไทย)
  3. Thanks to the interaction with the Dutch, the study of Western science continued during this period under the name of Rangaku, allowing Japan to study and follow most of the steps of the scientific and industrial revolution. See Jansen (pp. 210–15) discusses the vibrancy of Edo period rangaku, and later (p. 346) notes the competition in the early Meiji period for foreign experts and rangaku scholars. See also: "The technology of Edo" (見て楽しむ江戸のテクノロジー), 2006, ISBN 4-410-13886-3 (Japanese) and "The intellectual world of Edo" (江戸の思想空間) Timon Screech, 1998, ISBN 4-7917-5690-8 (Japanese).
  4. Hagiwara, p. 34.
  5. Jansen, pp. 314–5.
  6. Hagiwara, p. 35.
  7. Jansen, pp. 303–5.
  8. Hagiwara, pp. 34–5
  9. As early as 1865, Thomas Blake Glover sold 7500 Minié rifles to the Chōshū clan, allowing it to become totally modernized. Nakaoka Shintaro a few months later remarked that "in every way the forces of the han have been renewed; only companies of rifle and cannon exist, and the rifles are Minies, the cannon breech loaders using shells" (Brown)
  10. This is a claim made by Jules Brunet in a letter to Napoleon III: "I must signal to the Emperor the presence of numerous American and British officers, retired or on leave, in this party [of the southern daimyo] which is hostile to French interests. The presence of Western leaders among our enemies may jeopardize my success from a political standpoint, but nobody can stop me from reporting from this campaign information Your Majesty will without a doubt find interesting." Original quotation (French) : "Je dois signaler à l'Empereur la présence de nombreux officers américains et anglais, hors cadre et en congé, dans ce parti hostile aux intérêts français. La présence de ces chefs occidentaux chez nos adversaires peut m'empêcher peut-être de réussir au point de vue politique, mais nul ne pourra m'empêcher de rapporter de cette campagne des renseignements que Votre Majesté trouvera sans doute intéressants." Polak, p. 81. As an example, the English Lieutenant Horse is known to have been a gunnery instructor for the Saga domain during the Bakumatsu period ("Togo Heiachiro", 17)
  11. These encounters are described in Satow's 1869 A Diplomat in Japan, where he famously describes Saigō as a man with "an eye that sparkled like a big black diamond."
  12. Jansen, p. 307.
  13. There is debate as to the authenticity of the order, due to its violent language and the fact that, despite using the ญี่ปุ่น: imperial pronounโรมาจิทับศัพท์: chin, it did not bear Meiji's signature. Keene, pp. 115–6.
  14. Keene, p. 116. See also Jansen, pp. 310–1.
  15. Keene, p. 116. See also Jansen, pp. 310–311.
  16. Keene, pp. 120–1, and Satow, p. 283. Moreover, Satow (p. 285) speculates that Yoshinobu had agreed to an assembly of daimyos on the hope that such a body would restore him,
  17. Satow, p. 286.
  18. During a recess, Saigō, who had his troops outside, "remarked that it would take only one short sword to settle the discussion" (Keene, p. 122). Original quotation (ญี่ปุ่น): "短刀一本あればかたづくことだ." in Hagiwara, p. 42. The specific word used for "dagger" was "tantō".
  19. Keene, p. 124.
  20. Keene, p. 125.
  21. Tokugawa Yoshinobu was placed under house arrest, and stripped of all titles, land and power. He was later on released, when he demonstrated no further interest and ambition in national affairs. He retired to Shizuoka, the place to which his ancestor Tokugawa Ieyasu, had also retired.
  22. Bolitho, p. 246; Black, p. 214.
  23. In a letter of Enomoto to the Imperial Governing Council: "We pray that this portion of the Empire may be conferred upon our late lord, Tokugawa Kamenosuke; and in that case, we shall repay your beneficence by our faithful guardianship of the northern gate." Black, pp. 240–241
  24. Polak, pp. 85–9.
  25. The Shogunate leaders are labeled from left to right, Enomoto (Kinjiro) Takeaki, Otori Keisuke, Matsudaira Taro. The samurai in yellow garment is Hijikata Toshizo.
  26. The ญี่ปุ่น: "Red bear"โรมาจิ赤熊ทับศัพท์: Shaguma wigs indicate soldiers from Tosa, the ญี่ปุ่น: "White bear"โรมาจิ白熊ทับศัพท์: Haguma wigs for Chōshū, and the ญี่ปุ่น: "Black bear"โรมาจิ黒熊ทับศัพท์: Koguma wigs for Satsuma.

อ้างอิง แก้

  • Bolitho, Harold (1974). Treasures among Men: The Fudai Daimyo in Tokugawa Japan. New Haven: Yale University Press. 10-ISBN 0-300-01655-7/13-ISBN 978-0-300-01655-0; OCLC 185685588
  • Black, John R. (1881). Young Japan: Yokohama and Yedo, Vol. II. London: Trubner & Co.
  • Brown, Sidney DeVere (1994). "Nagasaki in the Meiji Restoration: Choshu loyalists and British arms merchants". สืบค้นเมื่อ 2007-04-28.
  • Collache, Eugène. "Une aventure au Japon" Le Tour du Monde, No. 77, 1874
  • Evans, David (1997). Kaigun: Strategy, Tactics, and Technology in the Imperial Japanese Navy, 1887–1941. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-192-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Gordon, Andrew (2003). A Modern History of Japan. New York: Oxford. ISBN 0-19-511060-9.
  • Hagiwara, Kōichi (2004). 図説 西郷隆盛と大久保利通 (Illustrated life of Saigō Takamori and Okubo Toshimichi) ISBN 4-309-76041-4, 2004 (in Japanese)
  • Jansen, Marius B. (2002). The Making of Modern Japan. Harvard.10-ISBN 0674003349/13-ISBN 9780674003347; OCLC 44090600
  • Keene, Donald (2005). Emperor of Japan: Meiji and His World, 1852–1912. Columbia.10-ISBN 0-231-12340-X; 13-ISBN 978-0-231-12340-2; OCLC 46731178
  • Le Monde Illustré, No. 583, June 13, 1868
  • Polak, Christian. (2001). Soie et lumières: L'âge d'or des échanges franco-japonais (des origines aux années 1950). Tokyo: Chambre de Commerce et d'Industrie Française du Japon, Hachette Fujin Gahōsha (アシェット婦人画報社).
  • ______________. (2002). 絹と光: 知られざる日仏交流100年の歴史 (江戶時代-1950年代) Kinu to hikariō: shirarezaru Nichi-Futsu kōryū 100-nen no rekishi (Edo jidai-1950-nendai). Tokyo: Ashetto Fujin Gahōsha, 2002. 10-ISBN 4-573-06210-6/13-ISBN 978-4-573-06210-8; OCLC 50875162
  • ______________, et al. (1988). 函館の幕末・維新 "End of the Bakufu and Restoration in Hakodate." ISBN 4-12-001699-4 (in Japanese).
  • Satow, Ernest (1968) [1921]. A Diplomat in Japan. Tokyo: Oxford.
  • Tōgō Shrine and Tōgō Association (東郷神社・東郷会), Togo Heihachiro in Images: Illustrated Meiji Navy (図説東郷平八郎、目で見る明治の海軍), (Japanese)

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • Jansen, Marius B. (1999). The Cambridge History of Japan Volume 5: The Nineteenth Century, Chapter 5, "The Meiji Restoration". Cambridge. ISBN 0-521-65728-8.
  • Ravina, Mark (2005). The Last Samurai: The Life and Battles of Saigō Takamori. Wiley. ISBN 0-471-70537-3.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้