จักรพรรดิโคเม

จักรพรรดิญี่ปุ่น

จักรพรรดิโคเม (ญี่ปุ่น: 孝明天皇โรมาจิKōmei-tennō) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 121[1][2] รัชสมัยของจักรพรรดิโคเมมีระยะเวลาหลายปีตั้งแต่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1846 ถึง 30 มกราคม ค.ศ. 1867 ซึ่งตรงกับปีสุดท้ายของยุคเอโดะ[3]

จักรพรรดิโคเม
孝明天皇
พระสาทิสลักษณ์โดยโคยามะ โชตาโร ในปี ค.ศ. 1902
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์10 มีนาคม ค.ศ. 1846 – 30 มกราคม ค.ศ. 1867
(20 ปี 326 วัน)
พิธีขึ้น31 ตุลาคม ค.ศ. 1847
ก่อนหน้าจักรพรรดินินโก
ถัดไปจักรพรรดิเมจิ
โชกุน
พระราชสมภพ22 กรกฎาคม ค.ศ. 1831
เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
โอซาฮิโตะ (統仁)
สวรรคต30 มกราคม ค.ศ. 1867 (35 พรรษา)
พระราชวังหลวงเคียวโตะ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพสึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ (後月輪東山陵) เกียวโต
คู่อภิเษกจักรพรรดินีเอโช
พระราชบุตรจักรพรรดิเมจิ
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดินินโก
พระราชมารดาโองิมาจิ มาซาโกะ
ศาสนาชินโต
ลายพระอภิไธย
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญเปิดประเทศ

ในรัชสมัยของพระองค์มีความวุ่นวายภายในอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการติดต่อครั้งใหญ่ครั้งแรกของญี่ปุ่นกับสหรัฐ ซึ่งเกิดขึ้นโดยพลเรือจัตวาเพร์รีในปี พ.ศ. 2396 และ พ.ศ. 2397 ซึ่งต่อมาได้บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศให้กับชาติตะวันตก เป็นการสิ้นสุดระยะเวลา 220 ปี แห่งความสันโดษของชาติ (นโยบายซาโกกุ) จักรพรรดิโคเมไม่ทรงสนใจต่างชาติมากนัก และไม่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศญี่ปุ่นโดยมหาอำนาจตะวันตก รัชสมัยของพระองค์ยังคงถูกครอบงำโดยการจลาจลและความขัดแย้งของกลุ่มในรัฐบาลโชกุน ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะไม่นานหลังจากพระองค์สวรรคต และเริ่มต้นยุคการฟื้นฟูเมจิในรัชสมัยการครองราชย์ของจักรพรรดิเมจิพระโอรส[4]

พระราชประวัติ

แก้

ก่อนขึ้นครองบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ทรงพระนามว่า เจ้าชายโอะซะฮิโตะ (統仁) และมีราชทินนามว่า เจ้าชายฮิโระ (煕宮)[5] เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดินินโกที่ประสูติกับพระสนมโองิมาจิ มาซาโกะ หลังจากขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระบรมวงศ์ก็พำนักอยู่ที่พระราชวังหลวงเฮอัง จักรพรรดิโคเมมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 4 พระองค์ อย่างไรก็ตาม พระราชโอรสธิดาทั้งหมดยกเว้นเจ้าชายมุสึฮิโตะ ล้วนสิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์

จักรพรรดิโคเมมีพระอัครมเหสีนามว่า อะสึโกะ คุโจ (九条夙子) ซึ่งหลังจักรพรรดิโคเมสวรรคตในปี ค.ศ. 1867 พระนางได้รับโปรดเกล้าฯจากจักรพรรดิเมจิให้เป็นพระพันปีหลวง

เหตุการณ์ในรัชสมัย

แก้

พระองค์ขึ้นครองราชในยุคเอะโดะตอนปลาย แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัย แต่อำนาจในการปกครองและบริหารประเทศทั้งหมดอยู่กับรัฐบาลโชกุน[6] พระองค์เปรียบเสมือนเป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลโชกุน ทรงมีความคิดแบบคร่ำครึโบราณและกลัวการเปิดประเทศ ราชสำนักญี่ปุ่นในสมัยของพระองค์มีความยากแค้นลำเค็ญอย่างมาก ขุนนางในรัฐบาลโชกุนยังดูจะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าจักรพรรดิเสียอีก ราชสำนักได้ตัดทอนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทั้งหมดและใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด หลายครั้งที่องค์จักรพรรดิอยากจะวาดภาพแต่ก็ทำไม่ได้ เนื่องจากกระดาษวาดภาพมีราคาแพงเกินกว่าราชสำนักจะจัดหาถวาย ข้าราชสำนักเองก็ยากจนข้นแค้น ต้องวาดรูปใส่พัดกระดาษหรือทำกระดาษพับไปขาย

รัชศก

แก้

โดยนับตั้งแต่รัชกาลจักรพรรดิเมจิเป็นต้นมา จึงมีการเรียกยุคในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเพียงชื่อเดียว[7]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 孝明天皇 (121)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan. pp. 123–135.
  3. Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
  4. "Japan:Memoirs of a Secret Empire". PBS. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
  5. Ponsonby-Fane, Imperial House, p. 10.
  6. Cullen (2003).
  7. Ponsonby-Fane, Imperial House, p. 17.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


ก่อนหน้า จักรพรรดิโคเม ถัดไป
จักรพรรดินินโก    
จักรพรรดิญี่ปุ่น
(10 มีนาคม ค.ศ. 1846 - 30 มกราคม ค.ศ. 1867)
  จักรพรรดิเมจิ