สาธารณรัฐเอโซะ (ญี่ปุ่น: 蝦夷共和國โรมาจิEzo Kyōwakoku) เป็นรัฐที่สถาปนาโดยผู้จงรักภักดีต่อโชกุนตระกูลโทกูงาวะ ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ตั้งอยู่บนเกาะเอโซะ ปัจจุบันคือเกาะฮกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น แต่มีประชากรเบาบาง ตั้งอยู่ทางด้านเหนือสุดของญี่ปุ่น เอโซะนั้นมีชื่อเสียงจากการเป็นรัฐบาลแห่งแรกที่ได้พยายามจะจัดตั้งการปกครอบแบบระบอบประชาธิปไตยในญี่ปุ่น

สาธารณรัฐเอโซะ

蝦夷共和國
Ezo Kyōwakoku
1869
"ตราผู้ว่าราชการแห่งโฮกูอิโต (ฮกไกโด)" (北夷島總督印) ที่ใข้งานโดยเอโนโมโตะ ทาเกอากิของเอโซะ
"ตราผู้ว่าราชการแห่งโฮกูอิโต (ฮกไกโด)" (北夷島總督印) ที่ใข้งานโดยเอโนโมโตะ ทาเกอากิ
ที่ตั้งของเอโซะ
ที่ตั้งของเอโซะ
สถานะรัฐแยก
เมืองหลวงฮาโกดาเตะ
ภาษาทั่วไปญี่ปุ่น, ไอนุ
การปกครองสาธารณรัฐในระบบประธานาธิบดี
โซไซ 
• 1869
เอโนโมโตะ ทาเกอากิ
ยุคประวัติศาสตร์บากูมัตสึ
• ก่อตั้ง
27 มกราคม ค.ศ. 1869 1869
• สิ้นสุด
27 มิถุนายน ค.ศ. 1869 1869
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลเอโดะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น

ประวัติ แก้

หลังจากที่กองทัพของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะพ่ายแพ้กองทัพของสมเด็จพระจักรพรรดิในสงครามโบชินระหว่างการปฏิรูปสมัยเมจิ ทหารเรือที่จงรักภักดีต่อโชกุนตระกูลโทกูงาวะส่วนหนึ่งนำโดยพลเรือเอกเอโนโมโตะ ทาเกอากิ (榎本 武揚 Enomoto Takeaki) ได้อพยพไปยังเกาะเอโซะ (ปัจจุบันคือเกาะฮกไกโด) ทางด้านเหนือสุดของญี่ปุ่น พร้อมด้วยนายทหารหลายหมื่นนายและกลุ่มที่ปรึกษาทางทหารชาวฝรั่งเศส ซึ่งนำโดยฌูลส์ บรูเนต์ (Jules Brunet) พลเรือเอกเอโนโมโตะได้ใช้ความพยายามครั้งสุดท้าย โดยการถวายฎีกาไปยังราชสำนักสมเด็จพระจักรพรรดิ เพื่อขอให่เขาได้มีโอกาสพัฒนาเกาะฮกไกโดและรักษาขนบธรรมเนียมของซามูไรไว้ต่อไปโดยไม่ถูกรบกวน แต่คำขอของเขาก็ได้รับการปฏิเสธ

ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1868 ได้มีการประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง สถาปนาสาธารณรัฐเอโซะ ซึ่งมีโครงสร้างการปกครองที่ยึดตามแบบของสหรัฐอเมริกา พลเรือเอกเอโนโมโตะได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี (総裁 Sōsai) คนแรก การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของญี่ปุ่น

ผู้บริหารของรัฐบาลเอโซะ
 

ส่วนหนึ่งของคณะผู้นำของสาธารณรัฐเอโซะ พร้อมด้วยประธานาธิบดีเอโนโมโตะ ทาเกอากิ (นั่งแถวหน้า ด้านขวา) เมื่อ ค.ศ. 1869

ประธานาธิบดี เอโนโมโตะ ทาเกอากิ
รองประธานาธิบดี มัตสึไดระ ทาโร
รัฐมนตรีทหารเรือ อาราอิ อิกูโนซูเกะ
รัฐมนตรีทหารบก โอโตริ เคซูเกะ
รองรัฐมนตรีทหารบก ฮิจิกาตะ โทชิโซ
ผู้ตรวจการเมืองฮาโกดาเตะ นางาอิ นาโอยูกิ
รองผู้ตรวจการเมืองฮาโกดาเตะ นากาจิมะ ซาบูโรซูเกะ
ผู้ตรวจการเมืองเอซาชิ มัตสึโอกะ ชิโรจิโระ
รองผู้ตรวจการเมืองเอซาชิ โคซูงิ มาซาโนชิง
ผู้ตรวจการเมืองมัตสึมาเอะ ฮิโตมิ คัตสึตาโร
รัฐมนตรีการบุกเบิกที่ดิน ซาวะ ทาโรซาเอมง
รัฐมนตรีการคลัง เอโนโมโตะ มิจิอากิ
รัฐมนตรีการคลัง คาวามูระ โรคูชิโร
ผู้บัญชาการกองเรือรบ โคงะ เก็งโง
ผู้บัญชาการกองทหารราบ ฟูรูยะ ซากูซาเอมง
นายทหารพระธรรมนูญ ทาเกนากะ ชิเงกาตะ
นายทหารพระธรรมนูญ อิมาอิ โนบูโอะ

อ้างอิง แก้

ข้อมูล แก้

  • Ballard C. B., Vice-Admiral G.A. The Influence of the Sea on the Political History of Japan. London: John Murray, 1921.
  • Black, John R. Young Japan: Yokohama and Yedo, Vol. II. London: Trubner & Co., 1881.
  • Hillsborough, Romulus (2005). Shinsengumi: The Shogun's Last Samurai Corps. Tuttle Publishing. ISBN 0-8048-3627-2.
  • Onodera, Eikō (December 2004). 戊辰南北戦争と東北政権 [The Boshin Civil War and Tōhoko Political Power] (ภาษาญี่ปุ่น). Kitanosha. ISBN 978-4907726256.
  • Sims, Richard. French Policy towards the Bakufu and Meiji Japan 1854–1895, Richmond: Japan Library, 1998.
  • Suzuki, Tessa Morris. Re-Inventing Japan: Time Space Nation. New York: M. E. Sharpe, 1998.
  • Yamaguchi, Ken. Kinsé shiriaku A history of Japan, from the first visit of Commodore Perry in 1853 to the capture of Hakodate by the Mikado's forces in 1869. Trans. Sir Ernest Satow. Wilmington, Del., Scholarly Resources, 1973.
  • Héon, François-Xavier (2010). "Le véritable dernier Samouraï : l'épopée japonaise du capitaine Brunet". Stratégique (ภาษาฝรั่งเศส): 193. doi:10.3917/strat.099.0193.
  • Nakatsu, Masaya (2018). Les missions militaires françaises au Japon entre 1867 et 1889 (วิทยานิพนธ์) (ภาษาฝรั่งเศส). Université Sorbonne Paris Cité.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Republic of Ezo

41°47′49″N 140°45′25″E / 41.79694°N 140.75694°E / 41.79694; 140.75694