การฟื้นฟูเมจิ

(เปลี่ยนทางจาก การปฏิรูปสมัยเมจิ)

การฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ[1] (ญี่ปุ่น: 明治維新โรมาจิMeiji Ishin; อังกฤษ: Meiji Restoration) หรือ การปฏิวัติเมจิ (Meiji Revolution) การปฏิรูปเมจิ (Meiji Reform) หรือ การปรับปรุงเมจิ (Meiji Renewal) เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ฟื้นฟูการปกครองของจักรพรรดิในปี ค.ศ. 1868 ในช่วงต้นรัชสมัยของจักรพรรดิเมจิ แม้ว่าจะมีจักรพรรดิปกครองก่อนการฟื้นฟูเมจิ แต่จักรพรรดิเหล่านั้นก็มิได้มีพระราชอำนาจอันใด เหตุการณ์ดังกล่าวได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจของจักรพรรดิญี่ปุ่น[1] เป้าหมายของจักรพรรดิองค์ใหม่ปรากฏในบัญญัติห้าข้อ

การฟื้นฟูเมจิ
ส่วนหนึ่งของ การสิ้นสุดยุคเอโดะ และสงครามโบชิน

จักรพรรดิเมจิ ในปี ค.ศ. 1873
วันที่3 มกราคม ค.ศ. 1868
สถานที่
ผล

การสิ้นสุดรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ

คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น รัฐบาลเอโดะ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิเมจิ
Ōkubo Toshimichi
Saigō Takamori
Kido Takayoshi
โทกูงาวะ โยชิโนบุ

การฟื้นฟูนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงสร้างทางการเมืองและสังคมของญี่ปุ่น และครอบคลุมทั้งช่วงปลายยุคเอโดะ (มักเรียกว่าบากูมัตสึ) และต้นยุคเมจิ ในช่วงเวลานั้นญี่ปุ่นได้พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้

พันธมิตร

แก้

ในปี ค.ศ. 1866 แคว้นศักดินาซัตสึมะ (薩摩藩 Satsuma han) อันเป็นแคว้นที่ทรงอำนาจบนเกาะคีวชูของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของไซโง ทากาโมริ (西郷 隆盛 Saigō Takamori) ได้ร่วมมือกับแคว้นศักดินาโชชู (長州藩 Chōshū han) อันเป็นแคว้นใหญ่ในภูมิภาคชูโงกุ ภายใต้การนำของคิโดะ ทากาโยชิ (木戸 孝允 Kido Takayoshi) ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรซัตโช (薩長同盟 Satchō dōmei) ขึ้นเพื่อริเริ่มการปฏิรูปสมัยเมจิ โดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิโคเม (孝明天皇 Kōmei-tennō) พระราชบิดาในจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) และการชักนำจากซากาโมโตะ เรียวมะ (坂本 龍馬 Sakamoto Ryōma) เพื่อที่จะท้าทายอำนาจของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ (徳川幕府 Tokugawa bakufu) และรวบอำนาจคืนแด่จักรพรรดิ

ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1867 จักรพรรดิโคเมเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเมจิขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของปีเดียวกัน เริ่มรัชศกยุคเมจิ อันเป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงจากสังคมระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่สังคมทุนนิยมโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกอย่างช้า ๆ

สิ้นสุดระบอบโชกุน

แก้
 
จักรพรรดิเมจิ ทรงย้ายที่ประทับจาก เคียวโตะ มายัง โตเกียว ในปี ค.ศ. 1868

วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 โทกูงาวะ โยชิโนบุ โชกุนคนที่ 15 แห่งเอโดะยอมสวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิเมจิ และลงจากตำแหน่งในอีก 10 วันต่อมา ถือเป็นวันที่สิ้นสุดการปกครองระบอบโชกุนอย่างเป็นทางการ และเป็นการฟื้นฟูอำนาจของสถาบันกษัตริย์ (Taisei Hōkan) อย่างไรก็ตาม โทกูงาวะ โยชิโนบุ ซึ่งถือเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่นยังคงมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญอยู่[2]

หลังจากนั้นไม่นาน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1868 ก็เกิดสงครามโบชิน ขึ้น การปะทะครั้งแรกคือยุทธการโทะบะ-ฟุชิมิ เป็นศึกระหว่างพันธมิตรแคว้นซัสโช กับกองทัพของอดีตโชกุน ซึ่งกองทัพของโชกุนก็พ่ายแพ้ ส่งผลให้จักรพรรดิมีพระราชอำนาจเต็มเหนืออดีตโชกุนโยชิโนบุอย่างสมบูรณ์ ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1869 จักรพรรดิเมจิมีพระบรมราชโองการประกาศฟื้นฟูพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ[3]

กองกำลังของโชกุนส่วนหนึ่งได้หลบหนีไปยังเกาะฮกไกโด และพยายามแบ่งแยกดินแดนตั้งเป็นรัฐอิสระชื่อสาธารณรัฐเอโซะ อย่างไรก็ตาม กองกำลังผู้จงรักภักดีต่อจักรพรรดิได้เข้ายุติการแบ่งแยกดินแดนนี้ในสงครามฮาโกดาเตะ ณ เกาะฮกไกโด ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1869 การพ่ายแพ้ของกองกำลังฝ่ายโชกุน อันนำโดยเอโนโมโตะ ทาเกอากิ (榎本 武揚) และฮิจิคาตะ โทชิโซ (土方 歳三) โดยในศึกครั้งนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบโชกุน และเป็นการฟื้นฟูพระราชอำนาจในจักรพรรดิอย่างสมบูรณ์

ผลกระทบ

แก้

การปฏิรูปสมัยเมจิทำให้ประเทศญี่ปุ่นก้าวสู่ระบบอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การเพิ่มอำนาจทางการทหารใน ค.ศ. 1905 ภายใต้คำขวัญว่า "ประเทศมั่งคั่ง กองทัพแข็งแกร่ง" (富国強兵 fukoku kyōhei)

กลุ่มคณาธิปไตยเมจิ (Meiji oligarchy) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจจากแคว้นพันธมิตรได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลภายใต้พระราชอำนาจในจักรพรรดิขึ้น เพื่อรวบรวมอำนาจของตนให้เข้มแข็งและสามารถต่อกรกับรัฐบาลสมัยเอะโดะ โชกุน ไดเมียว และชนชั้นซามูไร ที่ยังคงเหลืออิทธิพลอยู่ได้

ใน ค.ศ. 1868 ที่ดินของตระกูลโทะกุงะวะทั้งหมดได้ตกไปอยู่ในความครอบครองของจักรพรรดิ และถือเป็นการเพิ่มอภิสิทธิ์ให้รัฐบาลเมจิใหม่ด้วย ใน ค.ศ. 1869 ไดเมียวของแคว้นโทะซะ (土佐藩 Tosa han) แคว้นซะงะ (佐賀藩 Saga-han) แคว้นโชซู (長州藩 Chōshū han) และแคว้นซะสึมะ (薩摩藩 Satsuma han) ซึ่งเคยต่อต้านระบอบโชกุนอย่างหนัก ได้รับการชักชวนให้ถวายดินแดนของแคว้นคืนแด่จักรพรรดิ ตามด้วยไดเมียวของแคว้นอื่น ๆ เพื่อให้รัฐบาลกลางโดยจักรพรรดิมีอำนาจเหนือดินแดนทั่วราชอาณาจักร (天下 tenka) ได้ แต่ก็ได้มีการต่อต้านในช่วงแรก

กลุ่มคณาธิปไตยเมจิได้พยายามที่จะเลิกระบบชนชั้นทั้งสี่ (士農工商 shinōkōshō) อันได้แก่ ชนชั้นปกครอง (ซามูไร) เกษตรกร ช่างฝีมือ และพ่อค้าลงด้วย

ในขณะนั้น มีซามูไร 1.9 ล้านคนทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือมากกว่าชนชั้นปกครองของฝรั่งเศสสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 มากกว่า 10 เท่า นอกจากนั้น ซามูไรของญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ภายใต้มีผู้อำนาจปกครอง แต่จะจงรักภักดีต่อผู้ที่เป็นนายเท่านั้น รัฐบาลกลางต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ซามูไรแต่ละคน ซึ่งถือเป็นภาระทางการเงินอย่างมหาศาล และอาจเป็นแรงจูงใจหนึ่งให้กลุ่มคณาธิปไตยยกเลิกชนชั้นซามูไร

ในความตั้งใจที่จะยกเลิกชนชั้นซามูไร กลุ่มคณาธิปไตยได้ดำเนินการไปอย่างช้าๆ โดยในขั้นแรก ใน ค.ศ. 1873 รัฐบาลกลางได้ประกาศให้ซามูไรต้องเสียภาษีจากเบี้ยเลี้ยงในอัตราก้าวหน้า ต่อมาใน ค.ศ. 1874 รัฐบาลกลางได้เสนอซามูไรมีสิทธิเลือกที่จะเปลี่ยนการรับเบี้ยเลี้ยงเป็นพันธบัตรรัฐบาล และในที่สุด ใน ค.ศ. 1876 รัฐบาลกลางก็บังคับให้ซามูไรเปลี่ยนจากการรับเบี้ยเลี้ยงเป็นพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมด

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม ๒ อักษร C-D. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557. 700 หน้า. ISBN 974-9588-21-5, หน้า 421
  2. One can date the "restoration" of imperial rule from the edict of 3 January 1868. Jansen (2000), p.334.
  3. Quoted and translated in "A Diplomat In Japan", Sir Ernest Satow, p.353, ISBN 978-1-933330-16-7

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Essay on The Meiji Restoration Era, 1868-1889 on the About Japan, A Teacher's Resource website
  • Akamatsu, Paul (1972). Meiji 1868: Revolution and Counter-Revolution in Japan. New York: Harper & Row. p. 1247.
  • Beasley, William G., . (1972). The Meiji Restoration. Stanford: Stanford University Press.{{cite book}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  • Beasley, William G. (1995). The Rise of Modern Japan: Political, Economic and Social Change Since 1850. New York: St. Martin's Press.
  • Craig, Albert M. (1961). Chōshū in the Meiji Restoration. Cambridge: Harvard University Press.
  • Jansen, Marius B. (1986). Japan in Transition: From Tokugawa to Meiji. Princeton: Princeton University Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Jansen, Marius B. (2000). The Making of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press.
  • Murphey, Rhoads (1997). East Asia: A New History. New York: Addison Wesley Longman.
  • Satow, Ernest Mason. A Diplomat in Japan. ISBN 4-925080-28-8.
  • Wall, Rachel F. (1971). Japan's Century: An Interpretation of Japanese History since the Eighteen-fifties. London: The Historical Association.
  • Breen, John, 'The Imperial Oath of April 1868: ritual, power and politics in Restoration Japan', Monumenta Nipponica,51,4 (1996)
  • Francisco Barberan & Rafael Domingo Osle, Codigo civil japones. Estudio preliminar, traduccion y notas (2 ed. Thomsons Aranzadi, 2006).
  • Harry D. Harootunian, Toward Restoration (Berkeley: University of California Press, 1970), "Introduction", pp 1 – 46; on Yoshida: chapter IV "The Culture of Action – Yoshida Shōin", pp 184 – 219.
  • Najita Tetsuo, The Intellectual Foundations of Modern Japanese Politics (Chicago & London: University of Chicago Press), chapter 3: "Restorationism in Late Tokugawa", pp 43 – 68.
  • H. Van Straelen, Yoshida Shōin, Forerunner of the Meiji Restoration: A Biographical Study (Leiden: E. J. Brill, 1952).
  • David M. Earl, Emperor and Nation in Japan (Seattle: University of Washington Press, 1972), on Yoshida: "Attitude toward the Emperor/Nation", pp 161 – 192. Also pp. 82 – 105.
  • Marius B Jansen, Sakamoto Ryōma and the Meiji Restoration (New York: Columbia University Press, 1994) especially chapter VIII: "Restoration", pp 312 – 346.
  • W. G. Beasley, The Meiji Restoration (Stanford, California: Stanford University Press, 1972), especially chapter VI: "Dissenting Samurai", pp 140 – 171.
  • Conrad Totman, "From Reformism to Transformism, bakufu Policy 1853–1868", in: T. Najita & V. J. Koshmann, Conflict in Modern Japanese History (New Jersay: Princeton University Press, 1988), pp. 62 – 80.
  • Jansen, Marius B.: The Meiji Restoration, in: Jansen, Marius B. (ed.): The Cambridge history of Japan, Volume 5: The nineteenth century (New York: Cambridge UP, 1989), pp. 308–366.
  • In addition, the anime "Rurouni Kenshin" directly deals with the aftermath of the revolution, and presents a good example of the times.