แคว้นศักดินาซัตสึมะ

แคว้นศักดินาซัตสึมะ (ญี่ปุ่น: 薩摩藩โรมาจิSatsuma Han) เคยเป็นหนึ่งในแคว้นไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในสมัยรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ หรือสมัยเอโดะของญี่ปุ่นในอดีต มีบทบาทสำคัญในสมัยการปฏิรูปเมจิ ทั้งยังครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเมจิหลังการปฏิรูปด้วยเช่นกัน ตลอดอายุของแคว้นซัตสึมะ แคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยไดเมียวระดับโทซามะ (ญี่ปุ่น: 外様大名โรมาจิTozama daimyo) จากตระกูลชิมาซุหลายต่อหลายรุ่น อาณาเขตของแคว้นกินพื้นที่ด้านใต้ของเกาะคีวชู ในบริเวณอดีตแคว้นซัตสึมะ (ญี่ปุ่น: 薩摩国โรมาจิSatsuma-no Kuni) อดีตจังหวัดโอซุมิ (ญี่ปุ่น: 大隅国โรมาจิŌsumi no Kuni) และด้านตะวันตกของอดีตจังหวัดฮีวงะ (ญี่ปุ่น: 日向国โรมาจิHyūga no kuni) มีอาณาจักรรีวกีวเป็นประเทศราช ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นจังหวัดคาโงชิมะ ในขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิยาซากิ

ธงสีของแคว้นซัตสึมะในสงครามโบชิง

แคว้นซัตสึมะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แคว้นคาโงชิมะ (ญี่ปุ่น: 鹿児島藩โรมาจิKagoshima Han) มีศุนย์กลางการปกครองที่ปราสาทคาโงชิมะในเมืองคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะมีผลผลิตมวลรวมของแคว้นคิดเป็นหน่วยโคกูดากะ (ญี่ปุ่น: 石高โรมาจิKokudaka) (หน่วยวัดผลผลิตข้าวทั้งหมดแต่ละแคว้นในระบบศักดินาสมัยเอโดะ สะท้อนถึงอำนาจและความมั่งคั่งของแคว้น เทียบได้กับ GDP ในปัจจุบัน) อยู่ที่ 770,000 โคกุ (ญี่ปุ่น: โรมาจิKoku) สูงเป็นอันดับสองรองจากแคว้นคางะ (ญี่ปุ่น: 加賀藩โรมาจิKaga han)

ตระกูลชิมาซุ ปกครองแคว้นซัตสึมะเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ นับแต่ก่อตั้งแคว้นในต้นยุคเอโดะ จนถึงศตวรรษที่ 16 กินอาณาเขตเกือบทั้งเกาะคีวชู แม้ว่าจะถูกโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (ญี่ปุ่น: 豊臣 秀吉โรมาจิToyotomi Hideyoshi) ปราบปรามในยุทธการคีวชู ค.ศ. 1587 เพื่อปราบปรามและควบคุมไดเมียวตามหัวเมืองต่าง ๆ ตระกูลชิมาซุก็ยังคงเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลสูงสุดเหนือเกาะต่าง ๆ รอบข้างเหมือนเดิม ในระหว่างยุทธการที่เซกิงาฮาระซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ ปิดฉากยุคเซ็งโงกุอันเป็นยุคแห่งไฟสงครามใน ค.ศ. 1600 ตระกูลชิมาซุก็ยังคงตั้งมั่นที่แคว้นซัตสึมะเพื่อรวบรวมและป้องกันกำลังของตัวเอง ในขณะที่ตระกูลอื่น ๆ ถูกกำจัดไปในสงครามครั้งนี้ ตระกูลชิมาซุเป็นหนึ่งในไม่กี่ตระกูลที่สามารถรักษากองกำลังของตนเองเพื่อต่อต้านกองทัพของโชกุน ที่พยายามครอบครองดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมดได้ ต่างกับอีกหลายตระกูลที่ยอมแพ้สละแว่นแคว้นที่ตนเองปกครองให้กับโชกุนในยุคเอโดะ ตระกูลชิมาซุก็ยังคงดำรงสถานะความเป็นแคว้นของซัตสึมะ และอำนาจในการปกครองไว้ได้ตราบจนสิ้นยุคโชกุน

ไดเมียวแคว้นซัตสึมะ

แก้
นามไดเมียว อยู่ในตำแหน่ง (ค.ศ.)
1 ชิมาซุ อิเอฮิซะ (ญี่ปุ่น: 島津家久) 1602-1638
2 ชิมาซุ มิตสึฮิซะ (ญี่ปุ่น: 島津光久) 1638-1687
3 ชิมาซุ สึนาตากะ (ญี่ปุ่น: 島津綱貴) 1687-1704
4 ชิมาซุ โยชิตากะ (ญี่ปุ่น: 島津吉貴) 1704-1721
5 ชิมาซุ สึงูโตโยะ (ญี่ปุ่น: 島津継豊) 1721-1746
6 ชิมาซุ มูเนโนบุ (ญี่ปุ่น: 島津宗信) 1746-1749
7 ชิมาซุ ชิเงโตชิ (ญี่ปุ่น: 島津重年) 1749-1755
8 ชิมาซุ ชิเงฮิเดะ (ญี่ปุ่น: 島津重豪) 1755-1787
9 ชิมาซุ นาริโนบุ (ญี่ปุ่น: 島津斉宣) 1787-1809
10 ชิมาซุ นาริโอกิ (ญี่ปุ่น: 島津斉興) 1809-1851
11 ชิมาซุ นาริอากิระ (ญี่ปุ่น: 島津斉彬) 1851-1858
12 ชิมาซุ ทาดาโยชิ (ญี่ปุ่น: 島津忠義) 1858-1871