ประเทศไทยใน พ.ศ. 2541
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 217 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 53 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้ชวน หลีกภัย
หัวหน้ารัฐบาล
หัวหน้ารัฐบาล
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น)
- นายกรัฐมนตรี: ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 20
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ความหวังใหม่)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 7
- ประธานวุฒิสภา: มีชัย ฤชุพันธุ์ (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา:
- ศักดา โมกขมรรคกุล (จนถึง 30 กันยายน)
- ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 8 มกราคม - พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ "จอมพลเรือ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
กุมภาพันธ์
แก้- 16 กุมภาพันธ์ – ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยูทีวี เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) หรือยูทีวี และบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือไอบีซี ทำพิธีลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อผนวกกิจการของสองบริษัทเข้าด้วยกันเป็นบริษัทยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ยูบีซี) เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป
มีนาคม
แก้- 5 มีนาคม – ตำรวจจับกุมนายเสริม สาครราษฎร์ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปี 2 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ผู้ต้องหาฆ่าหั่นศพ นางสาวเจนจิรา พลอยองุ่นศรี นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากโกรธแค้นที่ นางสาวเจนจิราพยายามตีตัวออกห่างไปมีชายคนใหม่ ทั้งที่ได้เสียกันแล้ว
เมษายน
แก้- 21 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเปิด "ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี"
พฤษภาคม
แก้- 15 พฤษภาคม - องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เริ่มนำรถปรับอากาศยูโรทู (รุ่น 797 คัน) วิ่งให้บริการประชาชนเป็นวันแรก
กรกฎาคม
แก้- 14 กรกฎาคม – วันก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
สิงหาคม
แก้- 14 สิงหาคม – รัฐบาลออกมาตรการ 14 สิงหา แก้ปัญหาธนาคารและสถาบันการเงิน
ตุลาคม
แก้- 13 ตุลาคม – เกิดเหตุปล้นรถโดยสารประจำทาง โดยคนร้าย 2 คนใช้อาวุธปืนปากกาปล้นผู้โดยสารบนรถโดยสารประจำทางสาย 80 ยิงผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 1 คน จากนั้นใช้รถจักรยานยนต์หลบหนีไป ก่อนหน้านั้นมีการปล้นรถโดยสารประจำทางมาแล้ว 3 ครั้ง ภายในเดือนเดียวกัน
- 17 ตุลาคม – กรมตำรวจได้รับการยกฐานะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ธันวาคม
แก้- 14 ธันวาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ 2 ประตูต่อ 1 ในช่วงทดเวลา จากลูกฟรีคิกของธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล ในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 รอบ 8 ทีมสุดท้าย ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร การชนะของทีมชาติไทยครั้งนี้ สร้างความตื่นเต้น ดีใจให้กับผู้ชมชาวไทยอย่างมาก เนื่องจากสามารถเอาชนะทีมระดับโลกอย่างเกาหลีใต้ได้ แม้จะมีผู้เล่นรับโทษใบแดงถึง 2 ใบก็ตาม
- 6 - 20 ธันวาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 มีนักกีฬาจาก 43 ประเทศเข้าร่วม
ผู้เกิด
แก้มกราคม
แก้- 7 มกราคม
- รัตนากร ใหม่คามิ นักฟุตบอล
- แสตมป์ เกียรตินิวัฒน์ นักมวยสากล
- 17 มกราคม - ส้ม พฤกษา นักร้อง
- 21 มกราคม – ณัฐวัฒน์ ชัยณรงค์โสภณ นักแสดง
- 22 มกราคม – พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ นักแบดมินตัน
- 28 มกราคม – สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ นักร้อง
กุมภาพันธ์
แก้- 2 กุมภาพันธ์ – ชลธร คงยิ่งยง นักแสดง
- 3 กุมภาพันธ์ – ชนัญญา พงษ์นาค นักแสดง
- 18 กุมภาพันธ์ – เปรมอนันต์ ศรีพานิช นักแสดง
- 20 กุมภาพันธ์ – เสฎฐวุฒิ อนุสิทธิ์ นักแสดง
มีนาคม
แก้- 2 มีนาคม – คารีสา สปริงเก็ตต์ นักแสดง
- 5 มีนาคม – พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร นักแสดง
- 8 มีนาคม – กัลย์สุดา ชนาคีรี นางงาม
เมษายน
แก้- 10 เมษายน – ชนนิกานต์ สุพิทยาพร นักแสดง
- 17 เมษายน
- กันตพัฒน์ คูณมี นักวอลเลย์บอล
- ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา นักแสดง
พฤษภาคม
แก้- 5 พฤษภาคม – ไอรดา พลดร นักวอลเลย์บอล
- 7 พฤษภาคม – ศิวกร อดุลสุทธิกุล นักร้อง
- 17 พฤษภาคม – ชวินโรจน์ ลิขิตเจริญสกุล นักแสดง
- 21 พฤษภาคม – ณัฐณิชา ใจแสน นักวอลเลย์บอล
- 22 พฤษภาคม – สุภโชค สารชาติ นักฟุตบอล
- 23 พฤษภาคม – เกวลิน พูลภีไกร นักร้อง
- 27 พฤษภาคม – ซัลดี้ วงษ์เดอรี นักฟุตบอล
มิถุนายน
แก้- 8 มิถุนายน – ธมลวรรณ กอบลาภธนากูล นักร้อง
- 12 มิถุนายน – มาร์โค บัลลินี นักฟุตบอล
- 16 มิถุนายน – พิมพิชยา ก๊กรัมย์ นักวอลเลย์บอล
- 23 มิถุนายน – อนิสา ยอดพินิจ นักวอลเลย์บอล
- 25 มิถุนายน – วงศ์รวี นทีธร นักแสดง
กรกฎาคม
แก้- 13 กรกฎาคม – ภัทรพลฒ์ เดชพงษ์วรานนท์ นักแสดง
- 18 กรกฎาคม – พรชนก เลี่ยนกัตวา นักร้อง
- 20 กรกฎาคม – ปรเมศย์ อาจวิไล นักฟุตบอล
- 22 กรกฎาคม – สหภาพ วงศ์ราษฎร์ นักแสดง
- 23 กรกฎาคม – ภาสวิชญ์ บูรณนัติ นักแสดง
- 27 กรกฎาคม – พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม – เทวินทร์ หาญปราบ นักเทควันโด
- 8 สิงหาคม – สโรชา จันทร์กิมฮะ นักแสดง
- 10 สิงหาคม – พงษ์ชนะ กองกิริต นักฟุตบอล
- 28 สิงหาคม – สุชาดา เช็คลีย์ นักแสดง
กันยายน
แก้- 3 กันยายน – คณพันธ์ ปุ้ยตระกูล นักแสดง
- 9 กันยายน – รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตร นักแสดง
- 15 กันยายน
- ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- ภัทรวดี เหลาสา นักแสดง
- 18 กันยายน – กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตัน
- 22 กันยายน – พิชาภา ลิมศนุกาญจน์ นางงาม
- 25 กันยายน – ฮาย ชุติมา นักร้องลูกทุ่ง
- 29 กันยายน – เอเลี่ยน ส.วีระวรรณ นักมวยไทย
ตุลาคม
แก้- 2 ตุลาคม – ลำไย ไหทองคำ นักร้องลูกทุ่ง
- 22 ตุลาคม
- พัชรพล อินทนี นักฟุตบอล
- พาริส อินทรโกมาลย์สุต นักแสดง
- 24 ตุลาคม – ยังโอม นักร้อง
พฤศจิกายน
แก้- 14 พฤศจิกายน – อิศรินทร์ ทวีปถาวรวงศ์ นักเทควันโด
- 17 พฤศจิกายน – ธัญนิตย์ ภูธนัตถ์วฤนร์ นักเทควันโด
- 20 พฤศจิกายน – ญาณิศา ธีราธร นักแสดง
ธันวาคม
แก้- 1 ธันวาคม – ศุภชัย ใจเด็ด นักฟุตบอล
- 7 ธันวาคม – ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ นักแสดง
- 15 ธันวาคม – สมเกียรติ จันทรา นักแข่งรถจักรยานยนต์
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (ประสูติ พ.ศ. 2458)
กุมภาพันธ์
แก้- 2 กุมภาพันธ์ – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (ประสูติ พ.ศ. 2464)
มีนาคม
แก้- 2 มีนาคม – ประสิทธิ์ ณรงค์เดช นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2478)
- 6 มีนาคม – หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (ประสูติ พ.ศ. 2456)
- 10 มีนาคม – หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร (ประสูติ พ.ศ. 2447)
- 15 มีนาคม – เพรียบ หุตางกูร (เกิด พ.ศ. 2456)
เมษายน
แก้- 7 เมษายน – ขจรศักดิ์ ศรีสวาสดิ์ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2488)
พฤษภาคม
แก้- 6 พฤษภาคม – ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 (เกิด พ.ศ. 2463)
มิถุนายน
แก้- 6 มิถุนายน – พระราชพฤฒาจารย์ พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2451)
กรกฎาคม
แก้- 26 กรกฎาคม
- พระสาสนโสภณ (ใย ภทฺทิโย) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2443)
- ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ (เกิด พ.ศ. 2447)
สิงหาคม
แก้- 23 สิงหาคม – หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2456)
- 28 สิงหาคม – สมัย เมษะมาน นักกระบี่กระบอง (เกิด พ.ศ. 2457)
กันยายน
แก้- 16 กันยายน – อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2445)
ตุลาคม
แก้- 2 ตุลาคม – ยวง นิตโย บาทหลวง (เกิด พ.ศ. 2451)
- 8 ตุลาคม – พระครูสุจิณธรรมวิมล (ม่น ธมฺมจิณฺโณ) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2453)
- 25 ตุลาคม – เปลื้อง ณ นคร นักวิชาการ (เกิด พ.ศ. 2452)
- 26 ตุลาคม – หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ (ประสูติ พ.ศ. 2459)
พฤศจิกายน
แก้- 2 พฤศจิกายน – สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) สมเด็จพระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2451)
- 9 พฤศจิกายน – ศรัณย์ สาครสิน นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2518)
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม – สุรินทร์ เทพกาญจนา นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2465)
- 7 ธันวาคม – ผัน บุญชิต นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2462)
- 11 ธันวาคม – ธวัช วิชัยดิษฐ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2483)
- 22 ธันวาคม – ส่งสุข ภัคเกษม นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2476)
ไม่ทราบวัน
แก้- เทียน อัชกุล นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2455)
- ประเทือง กีรติบุตร นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2464)