ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น รุ้ง เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย โฆษกของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) หนึ่งในแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้อ่านข้อเรียกร้องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย 10 ข้อ ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 และสื่อถือว่าเธอเป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วง[1]

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
ปนัสยาขณะกำลังอ่านแถลงการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2541 (25 ปี)
อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
ชื่ออื่นรุ้ง
อาชีพ
  • นักศึกษา
  • นักเคลื่อนไหว
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2563–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากแกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564
ขบวนการแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
รางวัล100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของโลก (พ.ศ. 2563)

ประวัติ

แก้

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2541 ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวชนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพค้าขาย[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ตอนเด็กเธอเป็นคนขี้อายและเก็บตัวเงียบ จนกระทั่งเธอได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สหรัฐ ทำให้เธอกล้าแสดงออกมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น[3]

ปนัสยสสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังเด็กโดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเธอ เธอเริ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเธอเริ่มสนใจการเมืองมากกว่าเดิมเมื่อตอนติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย[4] เธอมักจะสนทนากับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองสมัยที่เธอกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

แก้

ปนัสยาเริ่มสนใจการเมืองแบบเต็ม ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3[5]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนพระราชกำหนดในมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จากกรณีการบังคับให้สูญหายซึ่งวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์[4]

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เธอได้ขึ้นปราศรัยจากการชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" และได้ปราศรัยเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย[6][7] เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอถูกทางการจับกุมในภายหลัง[8] ด้วยการปราศรัยที่กล้าหาญและตรงไปตรงมาของเธอทำให้เธอถูกนำไปเปรียบว่าเหมือนอักเนส โจว นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง[9] ทั้งนี้เธอได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในแกนนำของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[10][11]

ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ปนัสยาได้รับหมายเรียกจากตำรวจ เนื่องจาก นิติพงษ์ ห่อนาค นักดนตรี แจ้งความฟ้องร้องไว้ก่อนหน้านี้ในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 ปนัสยาถูกจับกุมตามหมายจับของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในข้อหาการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์)[12]

ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ปนัสยาได้ทำการกรีดข้อมือตนเองเป็นเลข "112" เพื่อเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง "ยกเลิก ม.112" บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์[13]

ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ปนัสยาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว หลังศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว โดยมีค่าประกันตัว 2 แสนบาท ในคดีชุมนุมการเมืองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปักหมุดคณะราษฎรที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยมีเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ และมาตามนัดศาลอย่างเคร่งครัด[14]

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จนถึง 12 มกราคม พ.ศ. 2565 มีเงื่อนไขให้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ตลอด 24 ชั่วโมง ห้ามออกจากบ้าน สามารถเดินทางไปมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และศาลเท่านั้น [15]

ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565 ศาลอาญาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีประกันในวงเงิน 600,000 บาท เนื่องจากเธอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนดทุกประการ อย่างไรก็ตาม ศาลให้เธอต้องมารายงานตัวทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยชั่วคราว[16]

รางวัลและเกียรติยศ

แก้
  • 100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของโลก ประจำปี 2020 โดยสำนักข่าวบีบีซี (พ.ศ. 2563) [17]

อ้างอิง

แก้
  1. "Mit Harry Potter gegen Militär und König". jungle.world (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-07. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  2. AFP (29 August 2020). "Student leader defies Thailand's royal taboo | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  3. "The student daring to challenge Thailand's monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  4. 4.0 4.1 "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  5. "Thai protest icon is 'prepared' to cross kingdom's forbidden line". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  6. ศาล รธน. รับวินิจฉัย ชุมนุมปราศรัย 10 ส.ค. ล้มล้างการปกครองหรือไม่ เก็บถาวร 2020-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "In Thailand, A 21-Year-Old Student Dares To Tackle A Taboo Subject". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  8. “รุ้ง ปนัสยา” แกนนำม็อบ มธ.โพสต์แล้ว “ปลอดภัยดี” บอกมาเรียนตามปกติ แต่เขาคงไม่ปล่อยเราไว้นานแน่ เก็บถาวร 2020-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "The students risking it all to challenge the monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  10. "รุ้ง" ไม่ขึ้นเวทีปลดแอก แกนนำย้ำ 3 ข้อเสนอเดิม เก็บถาวร 2020-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. ชุมนุม 19 กันยา : “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาผู้ยืนกรานปฏิรูปสถาบันฯ เก็บถาวร 2020-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. ตำรวจ ปอท. แสดงหมายจับเข้าจับกุม "รุ้ง ปนัสยา". (2564). BBC. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565
  13. "รุ้ง" กรีดแขนสลักเลข 112 ราชประสงค์-ม็อบคึก นัดวันนี้ยื่นชื่อแก้กฎหมาย สืบค้นเมื่อ 29-11-2021
  14. ราษฎร: ปล่อยตัวชั่วคราว รุ้ง-ปนัสยา ราชทัณฑ์ย้ายเพนกวินเข้า รพ.เรือนจำ ยืนยันอานนท์ติดโควิด. (2564). BBC. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565
  15. ปล่อยรุ้ง ปนัสยา แล้ว ครอบครัวพานั่งเบนซ์กลับบ้าน ยิ้มแย้ม ทักทายนักข่าว. (2564). ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565
  16. ศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว "รุ้ง ปนัสยา" ชี้ ประกันล่าสุด ปฏิบัติตัวตามเงื่อนไข. (2565). คนชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 256
  17. "BBC 100 Women 2020: Who is on the list this year?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-11-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้