ธวัช วิชัยดิษฐ
รองศาสตราจารย์ ธวัช วิชัยดิษฐ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ธวัช วิชัยดิษฐ | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | วิทย์ รายานนท์ |
ถัดไป | เดช บุญ-หลง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (58 ปี) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2514–2541) |
คู่สมรส | วราภรณ์ วิชัยดิษฐ |
ธวัช วิชัยดิษฐ เสียชีวิตในเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินไทยตก ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นเหตุการณ์เดียวกันกับที่นายเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ รอดชีวิต
ประวัติ
แก้ธวัช วิชัยดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนโตของนายสำรวม วิชัยดิษฐ กับนางพิณพาทย์ วิชัยดิษฐ[1] มีน้อง 6 คน ได้แก่[1]
- ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- โสภา รัตนางสุ
- เกื้อกูล วิชัยดิษฐ (เสียชีวิตแล้ว)
- พูนสุข นวลย่อง
- สมพล วิชัยดิษฐ
- พันตำรวจโท ไชยันต์ วิชัยดิษฐ (เสียชีวิตแล้ว)
นายธวัช วิชัยดิษฐ สมรสกับนางวราภรณ์ วิชัยดิษฐ (สมบัติศิริ) มีบุตร 2 คน คือ
- นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ
- นายชุติพงษ์ วิชัยดิษฐ
ซึ่งทั้งสองสามีภรรยา เสียชีวิตในเหตุการณ์เครื่องบินตกเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น 101 คน โดยมีผู้รอดชีวิตที่มีชื่อเสียง คือ นายเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์[2]
การศึกษา
แก้ธวัช วิชัยดิษฐ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสุราษฎร์ธานีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2507 ปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และจาก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน จากนั้นจึงได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน เมื่อปี พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นได้ผ่านการศึกษาอบรมปริญญาและเข็มรัฎฐาภิรักษ์ จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และได้ประกาศนียบัตร (กิตติมศักดิ์) วิทยาลัยทัพอากาศอีกด้วย
ประวัติการทำงาน
แก้ธวัช วิชัยดิษฐ เริ่มรับราชการที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ต่อจากนั้นจึงได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และเป็นคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2521 ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
ในวงการการเมือง ดร.ธวัช เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคพลังใหม่ ต่อมาได้เข้ามารับตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย) ในปี พ.ศ. 2535[3] ถึง พ.ศ. 2538[4] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พ่อ - ลูกชาย "ธวัช วิชัยดิษฐ์" อดีตเลขานายกฯ เช็คบิลย้อนหลัง“แอร์บัส” ตกที่สุราษฏร์ ฟ้องละเมิดเรียก 100 ล้าน ระบุขาดความรอบคอบในการผลิต[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๒/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ ประวัติเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕