แม่แบบ:น้ำมันพีช

น้ำมันพืช

น้ำมันพืช หรือ ไขมันพืช เป็นไขมันที่สกัดจากเมล็ดหรือจากส่วนอื่น ๆ (แม้จะน้อยกว่า) ของพืช เหมือนกับไขมันสัตว์ ไขมันพืชเป็นไตรกลีเซอไรด์แบบต่าง ๆ ที่ผสมกัน[1] น้ำมันถั่วเหลีอง น้ำมันผักกาดก้านขาว และน้ำมันโกโก้เป็นตัวอย่างไขมันจากเมล็ด น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม และน้ำมันรำข้าวเป็นตัวอย่างไขมันจากส่วนอื่น ๆ ของผลไม้ ในคำพูดทั่วไป คำว่า น้ำมันพืช อาจหมายถึงน้ำมันที่อยู่ในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิห้องเท่านั้น แต่ก็นิยามกว้าง ๆ ด้วยว่า เป็นไขมันพืชทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงสถานะ[2][3] ด้วยเหตุนี้ น้ำมันพืชที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง บางครั้งจึงเรียกว่า "ไขมันพืช" น้ำมันพืชประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ ตรงข้ามกับไขมันที่โครงสร้างไม่มีกลีเซอรอล แม้พืชจะมีน้ำมันในส่วนต่าง ๆ แต่ในเชิงพาณิชย์ จะสกัดน้ำมันจากเมล็ดเป็นหลัก บนบรรจุภัณฑ์ของอาหาร คำว่า "น้ำมันพืช" มักใช้ในรายการส่วนประกอบของอาหารแทนการระบุชนิดของพืชที่ใช้ทำ

การใช้

แก้

น้ำมันที่สกัดมาจากพืชได้ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในวัฒนธรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในครัวอายุ 4,000 ปีที่ขุดพบในรัฐอินดีแอนา (สหรัฐ) นักโบราณคดีได้พบหลักฐานว่า แผ่นหินขนาดใหญ่ได้ใช้เพื่อบดถั่ว hickory nut เพื่อสกัดน้ำมันด้วยน้ำเดือด[4] มีหลักฐานทางโบราณคดีว่า มะกอกได้สกัดเป็นน้ำมันเริ่มตั้งแต่ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[5] และปรากฏในอิสราเอลและปาเลสไตน์ตั้งแต่ 4,500 ปีก่อน ค.ศ.[6]

การใช้ทำอาหาร

แก้

น้ำมันพืชอาจทานได้โดยตรงหรือโดยเป็นส่วนประกอบในอาหารเหมือนกับไขมันสัตว์เช่นเนย เนยใส มันหมู มันไก่ เป็นต้น และอาจใช้เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ รวมทั้ง

  • ทำให้แป้งกรอบร่วน (shortening)
  • ทำให้ส่วนประกอบอาหารอื่น ๆ ติดกันน้อยลง
  • ทำให้รสชาติดีขึ้น น้ำมันบางอย่างเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันอัลมอนด์ อาจใช้โดยเฉพาะเพราะรสชาติ/กลิ่นของมัน
  • เก็บรสชาติ น้ำมันอาจเก็บรสชาติขององค์ประกอบอาหารอื่น ๆ ได้ เพราะรสมาจากสารเคมีที่ละลายได้ในน้ำมัน

อนึ่ง น้ำมันอาจทำให้ร้อนเพื่อใช้หุงต้ม/ทอดอาหารอื่น ๆ แต่น้ำมันที่ใช้เยี่ยงนี้ต้องมีจุดวาบไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอน้ำมันจะติดไฟ) ที่สูงกว่า และรวมน้ำมันประกอบอาหารหลัก ๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันผักกาดก้านขาว (rapeseed) น้ำมันแคโนลา (canola) น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดฝ้าย เป็นต้น น้ำมันพืชเขตร้อน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันรำข้าว มักใช้ในวัฒนธรรมชาวเอเชียสำหรับการทำอาหารความร้อนสูง เพราะมีจุดวาบไฟสูงมาก

น้ำมันเติมไฮโดรเจน (hydrogenated oil)

แก้

น้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัวสามารถเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) เป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งทำกับน้ำมันที่อุณหภูมิและความดันสูงผ่านกระบวนการ sparging กับไฮโดรเจนโดยมีสารเร่งปฏิกิริยาซึ่งปกติเป็นสารประกอบนิกเกิลที่เป็นแป้ง ในขณะที่พันธะคู่ระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนจะลดลงเป็นพันธะเดี่ยว ไฮโดรเจนคู่หนึ่งก็จะสร้างพันธะเดี่ยวกับคาร์บอนแต่ละอะตอมตามที่ว่านั้น การกำจัดพันธะคู่โดยเติมอะตอมไฮโดรเจนเป็นการทำให้ไขมันอิ่มตัว เมื่อระดับความอิ่มตัวเพิ่มขึ้น ไขมันก็จะมีไฮโดรเจนเต็มยิ่งขึ้น ๆ ซึ่งอาจทำเพื่อกันไม่ให้เหม็นหืน หรือเพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพบางอย่าง เพราะเมื่อความอิ่มตัวเพิ่มขึ้น ทั้งความหนืดและจุดหลอมเหลวก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

แต่การใช้น้ำมันเติมไฮโดรเจนเพื่อปรุงอาหารก็ไม่ได้ดีอย่างสมบูรณ์ เพราะไฮโดรเจนมักเติมเข้าตรงส่วนปลายของกรดไขมัน บางครั้งไม่เกิดที่ส่วนกลาง จึงทำให้ไขมันเปราะแตกง่าย[ต้องการอ้างอิง] เนยเทียมที่ทำมาจากไขมันอิ่มตัวโดยธรรมชาติจะนิ่มกว่า (ทาใส่ขนมปังได้ดีกว่า) เนยเทียมที่ทำมาจากไขมันถั่วเหลืองซึ่งเติมไฮโดรเจน[ต้องการอ้างอิง] แม้การเติมไฮโดรเจนจนเต็มจะเปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันอิ่มตัวโดยมาก แต่การเติมไฮโดรเจนแบบเพียงบางส่วนจะเปลี่ยนโครงสร้างของกรดไขมันไม่อิ่มตัวจากแบบซิส (cis) ไปเป็นแบบทรานส์ (trans) เป็นบางส่วนเพราะความร้อนที่ใช้ในกระบวนการ ไขมันที่เติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วนบวกไขมันทรานส์สัมพันธ์กับความเสี่ยงตายสูงขึ้นเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD)[7] ในบรรดาความเสี่ยงทางสุขภาพที่สูงขึ้นต่าง ๆ

ในสหรัฐ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นบรรจุภัณฑ์ว่า "เนยเทียมไขมันพืช" ข้อบังคับว่าด้วยรูปพรรณของอาหาร (standards of identity for food) ระบุว่า จะต้องเป็นไขมันจากแคโนลา คำฝอย ทานตะวัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือถั่วลิสงเท่านั้น[8] แต่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขึ้นป้ายดังว่าไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้

การใช้ในอุตสาหกรรม

แก้

ไขมันพืชใช้เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ผิวหนัง เทียน น้ำหอม ผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดทางกายและเครื่องสำอางต่าง ๆ

ไขมันบางชนิดทำน้ำมันชักแห้งได้ดีเป็นพิเศษ จึงใช้ทำสีและผลิตภัณฑ์รักษาไม้ เช่น น้ำมันยาง (น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ผสมกับเรซินยาง) ใช้เกือบทั้งหมดเพื่อรักษาตัวเรือที่ทำด้วยไม้ ไขมันพืชยังใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นฉนวนไฟฟ้าเพราะไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม คือถ้าตกใส่สิ่งแวดล้อมก็ย่อยสลายทางชีวภาพได้ มีจุดวาบไฟและจุดติดไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอน้ำมันจะคงติดไฟอย่างน้อย 5 วินาทีหลังจุดชนวน) สูง แต่ก็เสถียรน้อยกว่า จึงมักใช้ในระบบที่ไม่เปิดรับออกซิเจน และมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

น้ำมันพืชใช้ผลิตน้ำมันไฮดรอลิก[9] และน้ำมันหล่อลื่นที่สลายได้โดยชีวภาพ[10]

ข้อจำกัดของการใช้น้ำมันพืชทางอุตสาหกรรมก็คือมันเหม็นหืนได้ ดังนั้น ไขมันที่เสถียรกว่าเช่น น้ำมันมะรุม จึงมักใช้ทางอุตสาหกรรมมากกว่า น้ำมันละหุ่งสามารถใช้ทางอุตสาหกรรมได้หลายอย่างเพราะมีหมู่ไฮดรอกซิลในกรดไขมัน และเป็นสารตั้งต้นเพื่อผลิตไนลอน 11

สารเติมแต่งอาหารสัตว์เลี้ยง

แก้

น้ำมันพืชใช้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงบางอย่าง สมาคมเจ้าหน้าที่ควบคุมอาหารสัตว์อเมริกัน (AAFCO)[11] นิยามน้ำมันพืชในบริบทนี้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์พืชที่ได้จากการสกัดไขมันจากเมล็ดหรือผลแล้วแปลงเพื่อให้กินได้

เชื้อเพลิง

แก้

น้ำมันพืชใช้ทำเป็นไบโอดีเซล ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงเหมือนกับน้ำมันดีเซลธรรมดา น้ำมันเชื้อเพลิงผสมน้ำมันพืชอาจใช้ในรถธรรมดาได้ แต่น้ำมันพืชล้วนต้องใช้ในรถพิเศษที่สามารถอุ่นน้ำมันเพื่อลดความหนืดของมัน การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และก็มีขายมากขึ้นทั่วโลก บริษัท NNFCC ที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลอังกฤษประเมินว่า การลดแก๊สเรือนกระจกสุทธิเมื่อใช้น้ำมันพืชแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์อยู่ที่ระหว่าง 18-100%[12]

 
เครื่อง expeller ที่ใช้ในวิธี expeller pressing เพื่อสกัดน้ำมัน
ผลผลิตน้ำมันจากเมล็ดของต้น Madhuca longifolia
วิธี อัตราร้อยละที่ได้
Ghani[13] 20-30%
Expellers 34-37%
ตัวทำละลาย 40-43%

การผลิต

แก้

กระบวนการผลิตน้ำมันพืชรวมการสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยปกติจากเมล็ด ซึ่งสามารถทำด้วยเครื่องกลหรือทางเคมีด้วยตัวทำละลาย ไขมันที่ได้สามารถทำให้บริสุทธิ์ กลั่น หรือแปลงทางเคมี

เครื่องกล

แก้

น้ำมันสามารถสกัดด้วยแรงกล คือด้วยการบี้อัด/โม่ ซึ่งมักทำกับน้ำมันที่ใช้มานานแล้ว (เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น) เป็นวิธีการที่ผู้ทานอาหารสุขภาพในสหรัฐและยุโรปมักนิยม[ต้องการอ้างอิง] มีวิธีการหลายอย่าง[14] รวมทั้ง expeller pressing ซึ่งสามัญ, screw press, ram press และ ghani (ซึ่งใช้อุปกรณ์คล้ายครกและสากและได้แรงจากวัวหรือม้า) เครื่องทุบอัดเมล็ดน้ำมัน (oilseed press) เป็นอุปกรณ์สามัญในประเทศกำลังพัฒนา เพราะวิธีการอื่น ๆ อาจยังแพงเกินไป ghani เป็นอุปกรณ์ที่โดยหลักใช้ในอินเดีย[15] ปริมาณน้ำมันที่ได้โดยวิธีเหล่านี้จะต่างกันมาก ดังที่เห็นในตารางการสกัดเอาน้ำมันเมล็ดของต้น Madhuca longifolia (วงศ์พิกุล) ในอินเดีย[16]

ตัวทำละลาย

แก้

น้ำมันที่ใช้ในทางพาณิชย์มักสกัดทางเคมีด้วยตัวทำละลาย ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า เร็วกว่า และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ตัวทำละลายที่สามัญก็คือเฮกเซนที่ได้จากปิโตรเลียม เป็นเทคนิคที่ใช้กับน้ำมันที่ "ใหม่กว่า" เช่น น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าวโพด

คาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพของเหลว (supercritical) ที่ความดันเหนือกว่าความดันวิกฤติ (ปกติ 72.9 บรรยากาศ, 7.39 เมกะปาสกาล, 1,071 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และอุณหภูมิเหนืออุณหภูมิวิกฤติ (ปกติ 31.10 องศาเซลเซียส) สามารถใช้เป็นตัวทำละลายปลอดพิษ[17]

การเติมไฮโดรเจน (hydrogenation)

แก้

น้ำมันอาจเติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วน (partially hydrogenated) เพื่อให้ได้น้ำมันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลืองที่เติมไฮโดรเจนน้อยจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คล้ายกับน้ำมันถั่วเหลืองปกติ แต่จะทนเหม็นหืนได้ดีกว่า ส่วนเนยเทียมต้องค่อนข้างแข็งที่อุณหภูมิ 32 °C เพื่อไม่ให้ละลาย แต่ก็ต้องเป็นของเหลวอย่างสิ้นเชิงที่อุณหภูมิ 37 °C เพื่อไม่ให้มีลักษณะเหมือนน้ำมันหมู

น้ำมันทำให้แข็งขึ้นโดยรวมน้ำมันพืชกับสารเร่งปฏิกิริยาในสถานะเกือบสุญญากาศในอุหภูมิสูงมากแล้วเติมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นเหตุให้อะตอมคาร์บอนในน้ำมันแตกพันธะคู่กับคาร์บอนอะตอมอื่น ๆ แต่ละอะตอมจะสร้างพันธะเดี่ยวใหม่กับอะตอมไฮโดรเจน การเติมไฮโดรเจนเช่นนี้ทำให้ไขมันแข็งขึ้น เพิ่มอุณหภูมิจุดก่อควัน (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะเกินควันสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่องซึ่งในที่สุดก็จะมองเห็นได้) และทำให้ไขมันเสถียรยิ่งขึ้น

ไขมันพืชเติมไฮโดรเจนต่างกับไขมันอื่น ๆ ที่อิ่มตัวพอ ๆ กันสองอย่าง คือในกระบวนการ ไฮโดรเจนจะเข้าไปถึงกรดไขมันที่ปลายของไตรกลีเซอไรด์ได้ง่ายกว่าเข้าไปถึงกรดไขมันส่วนกลาง จึงทำให้ไขมันแปรรูปที่ได้เปราะแตกง่ายกว่าไขมันอิ่มตัวตามธรรมชาติ ดังนั้น เนยเทียมที่ทำจากถั่วเหลืองจึงนิ่มทาใส่ขนมปังได้ไม่ดีเท่า อนึ่ง จะเกิดกรดไขมันทรานส์ในกระบวนการ ซึ่งอาจมีมากถึง 40% ของน้ำหนักไขมันที่เติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วน และไขมันเติมไฮโดรเจนโดยเฉพาะที่เติมเป็นเพียงบางส่วนและมีกรดไขมันทรานส์มากกว่า เชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ไม่ถูกสุขภาพ

การดับกลิ่น

แก้

ในการผลิตไขมันที่ใช้ทาน จะให้ความร้อนแก่ไขมันที่อยู่ในสุญญากาศจนเกือบถึงจุดก่อควัน แล้วก็เติมน้ำใต้น้ำมัน น้ำจะเปลี่ยนเป็นไอน้ำทันที ซึ่งกลายเป็นฟองลอยขึ้นผ่านไขมันโดยนำเอาสารเคมีที่ละลายน้ำได้ต่าง ๆ ไปด้วย กระบวนการ steam sparging เช่นนี้กำจัดความไม่บริสุทธิ์ที่อาจก่อกลิ่นและรสชาติที่ไม่ต้องการ การกำจัดกลิ่นสำคัญในการผลิตน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันแคโนลาเกือบทั้งหมดที่พบในซูเปอร์มาร์เก็ตได้ผ่านกระบวนการเช่นนี้มาแล้วซึ่งกำจัดกลิ่นและรสชาติ โดยทำให้น้ำมันใสขึ้นด้วย

การได้รับทางอาชีพ

แก้

พนักงานอาจสูดไอน้ำมันพืชเข้าไปได้เพราะอาชีพ สำนักงานความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพสหรัฐ (OSHA) ได้ระบุจุดการได้รับในที่ทำงานมากสุดที่ 15 mg/m3 (โดยรวม) และ 5 mg/m3 เมื่อได้รับในช่วงการทำงานเป็นเวลา 8 ชม. ในแต่ละวัน ส่วนสถาบันเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพแห่งชาติสหรัฐ (NIOSH) ได้ตั้งจุดได้รับสูงสุด (REL) ที่ 10 mg/m3 (รวม) และ 5 mg/m3 เมื่อได้รับในช่วงการทำงานเป็นเวลา 8 ชม. ในแต่ละวัน[18]

ผลผลิต

แก้
ผลผลิตทั่วไป
พืช ผลผลิต (ตัน/เฮกตาร์)
น้ำมันปาล์ม[19] 4.0
น้ำมันมะพร้าว[20] 1.4
น้ำมันแคโนลา[21] 1.4
น้ำมันถั่วเหลือง[21] 0.6
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน[20] 0.6

น้ำมันโดยเฉพาะ ๆ

แก้

น้ำมันพืชที่เป็นไตรกลีเซอไรด์ต่อไปนี้เป็นน้ำมันพืชที่ผลิตมากที่สุดในโลกโดยปริมาณ ซึ่งใช้เป็นทั้งน้ำมันประกอบอาหาร และเชื้อเพลิงหรือเพื่อผลิตไบโอดีเซล ตามกระทรวงเกษตรสหรัฐ การบริโภคทั่วโลกในปี 2007-2008 คือ[22]

แหล่งน้ำมัน การบริโภคทั่วโลก
(ล้านตัน)
หมายเหตุ
ปาล์ม 41.31 น้ำมันพืชเขตร้อนที่ผลิตมากที่สุด ใช้ผลิตไบโอดีเซลด้วย
ถั่วเหลือง 41.28 น้ำมันประกอบอาหารที่บริโภคมากที่สุดอย่างหนึ่ง
ผักกาดก้านขาว 18.24 น้ำมันประกอบอาหารที่บริโภคมากที่สุดอย่างหนึ่ง โดยแคโนลาก็เป็นรูปแบบหนึ่งของพืชชนิดนี้
เมล็ดทานตะวัน 9.91 น้ำมันประกอบอาหารที่สามัญอย่างหนึ่ง ใช้ทำไบโอดีเซลด้วย
ถั่วลิสง 4.82 น้ำมันประกอบอาหารมีกลิ่นอ่อน ๆ
เมล็ดฝ้าย 4.99 เป็นน้ำมันอาหารหลักอย่างหนึ่ง บ่อยครั้งใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร
เนื้อเมล็ดปาล์ม 4.85 ได้จากต้นปาล์มสายแอฟริกา
มะพร้าว 3.48 ใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องสำอางและสบู่
มะกอก 2.84 ใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องสำอาง สบู่ และเป็นเชื้อเพลิงในตะเกียงน้ำมัน

ให้สังเกตว่า ตัวเลขเหล่านี้รวมน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมและเป็นอาหารสัตว์ น้ำมันผักกาดก้านขาวของยุโรปส่วนมากใช้ผลิตไบโอดีเซล หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงในรถดีเซลล์ ซึ่งอาจต้องปรับให้อุ่นน้ำมันเพื่อลดความหนืดของมัน การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงรถได้ไม่น่าแปลกใจ เพราะนายรูดอล์ฟ ดีเซล ผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ดีเซลล์ ดั้งเดิมออกแบบเครื่องยนต์เพื่อให้ใช้น้ำมันถั่วลิสง

น้ำมันไตรกลีเซอไรด์สำคัญอื่น ๆ รวมทั้ง

  • น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเป็นน้ำมันประกอบอาหารที่สามัญที่สุดอย่างหนึ่ง ในปี 2006 สหรัฐผลิตประมาณ 1.09 ล้านตัน[23] ซึ่งใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร น้ำสลัด เนยเทียม มายองเนส ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเช่น ซอสสปาเกตตี และส่วนผสมอาหารอบ และเพื่อทอดอาหารสำเร็จรูป เช่น มันฝรั่งแผ่นทอด และมันฝรั่งแท่งทอด
  • น้ำมันเมล็ดองุ่น ใช้ปรุงอาหารและในเครื่องสำอาง
  • น้ำมันถั่วเฮเซิลและน้ำมันถั่วอื่น ๆ
  • น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (linseed oil)
  • น้ำมันรำข้าว
  • น้ำมันเมล็ดคำฝอย เป็นน้ำมันประกอบอาหารที่ไร้รสชาติไม่มีสี
  • น้ำมันงา ใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร และเป็นน้ำมันนวดโดยเฉพาะในอินเดีย
  • น้ำมันผักคราดหัวแหวน (Jambú oil) สกัดจากดอก ใบ และก้าน มีกรดไขมัน spilanthol ที่ใช้ระงับความรู้สึกได้
  • น้ำมันกราวิโอลา (graviola oil) ทำจากทุเรียนเทศ
  • น้ำมันบราซิลนัต ใช้ทำอาหารและทำเครื่องสำอาง
  • น้ำมันคาราปา (Carapa oil) จากไม้ดอกสกุล Carapa ใช้ทำยาและเทียนกันยุง
  • น้ำมันบูริที (buriti oil) จากต้นปาลม์ Mauritia flexuosa ใช้ทำเครื่องสำอางและเครื่องบำรุงผม
  • น้ำมันเสาวรส ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง และใช้เป็นอาหารสำหรับทั้งมนุษย์และสัตว์
  • น้ำมันปราคาซี (Pracaxi oil) ได้มาจากต้น Pentaclethra macroloba ใช้ทำเครื่องสำอาง
  • น้ำมันโซลาเรียม (Solarium oil) ทำจากคลอโรพลาสต์ ใช้ทำอาหาร

องค์ประกอบไขมัน

แก้
น้ำมันพืช[24][25]
ประเภท การ
แปรรูป
กรดไขมัน
อิ่มตัว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
มีพันธะคู่เดี่ยว
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ จุดก่อควัน
มีพันธะเดียว
รวม[24]
กรดโอเลอิก
(ω-9)
มีหลายพันธะ
รวม[24]
กรดลิโนเลนิก
(ω-3)
กรดลิโนเลอิก
(ω-6)
อาโวคาโด[26] 11.6 70.6 13.5 1 12.5 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[27]
คาโนลา[28] 7.4 63.3 61.8 28.1 9.1 18.6 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[29]
มะพร้าว[30] 82.5 6.3 6 1.7 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[29]
ข้าวโพด[31] 12.9 27.6 27.3 54.7 1 58

232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[32]

เมล็ดฝ้าย[33] 25.9 17.8 19 51.9 1 54 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[32]
เมล็ดแฟลกซ์[34] 9.0 18.4 18 67.8 53 13

107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์)

เมล็ดองุ่น 10.5 14.3 14.3 74.7 - 74.7 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[35]
น้ำมันกัญชง[36] 7.0 9.0 9.0 82.0 22.0 54.0 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[37]
มะกอก[38] 13.8 73.0 71.3 10.5 0.7 9.8 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[29]
ปาล์ม[39] 49.3 37.0 40 9.3 0.2 9.1 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์)
ถั่วลิสง[40] 20.3 48.1 46.5 31.5 31.4 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[32]
คำฝอย[41] 7.5 75.2 75.2 12.8 0 12.8 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[29]
ถั่วเหลือง[42] 15.6 22.8 22.6 57.7 7 51 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[32]
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[43] 10.3 19.5 19.5 65.7 0 65.7
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[44] 10.1 45.4 45.3 40.1 0.2 39.8

227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[32]

เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[45] 9.9 83.7 82.6 3.8 0.2 3.6

227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[32]

เมล็ดฝ้าย[46] ไฮโดรจีเนต 93.6 1.5 0.6 0.3
ปาล์ม[47] ไฮโดรจีเนต 88.2 5.7 0
ถั่วเหลือง[48] ไฮโดรจีเนตบางส่วน 14.9 43.0 42.5 37.6 2.6 34.9
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม

ประวัติ

แก้

น้ำมันพืชเป็นส่วนของวัฒนธรรมมนุษย์เป็นพัน ๆ ปีแล้ว เมล็ดต้นฝิ่น เมล็ดผักกาดก้านขาว เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วอัลมอนด์ งา คำฝอย และเมล็ดฝ้ายได้ใช้อย่างช้าก็ตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ในตะวันออกกลางและเอเชียกลาง[1] ในปี 1780 นักเคมีชาวเยอรมันคาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอได้แสดงว่า ไขมันทำมาจากกลีเซอรอล (glycerol) ต่อมาอีก 30 ปี นักเคมีชาวฝรั่งเศส Michel Eugène Chevreul จึงได้อนุมานว่า ไขมันเช่นนี้เป็นเอสเทอร์ของกรดไขมันและกลีเซอรอล

ในยุคปัจจุบัน บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลได้วางขายไขมันพืชเพื่อทำให้แป้งกรอบร่วน (shortening) ในปี 1911 โรงปั่นฝ้ายในสมัยนั้นยินดีให้คนอื่นลากเอาเมล็ดฝ้ายไป ไขมันที่สกัดจะกลั่นแล้วเติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วนเพื่อให้มีสภาพแข็งที่อุณหภูมิห้อง และดังนั้น เลียนสภาพของมันหมูตามธรรมชาติ แล้วบรรจุกระป๋องในแก๊ซไนโตรเจน เมื่อเทียบกับมันหมูที่วางขาย ไขมันที่มีชื่อการค้า Crisco นี้ราคาถูกกว่า กวนใส่ในอาหารได้ง่ายกว่า และสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องถึงสองปีโดยไม่เหม็นหืน

ถั่วเหลืองได้กลายเป็นพืชน่าสนใจซึ่งได้ใหม่จากประเทศจีนในคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นถั่วที่มีโปรตีนสูง และน้ำมันหนืดกลาง ๆ ที่ได้ก็มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง แม้เฮนรี ฟอร์ดเองก็ยังได้ตั้งศูนย์วิจัยถั่วเหลือง ได้พัฒนาพลาสติกและผ้าขนสังเคราะห์จากถั่วเหลือง และได้สร้างรถยนต์คันหนึ่งที่ "เกือบทั้งหมด" ทำจากถั่วเหลือง[49] ไม่เกินกว่าคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 น้ำมันถั่วเหลืองก็ได้กลายเป็นน้ำมันพืชที่นิยมที่สุดในสหรัฐ

ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจัยชาวแคนาดาได้พัฒนาผักกาดก้านข้าวสายพันธุ์หนึ่งที่มีกรด erucic acid ต่ำ แต่เพราะส่วนในชื่อในภาษาอังกฤษคือ "rape" (ข่มขืน) ถือว่าไม่ดีเพื่อใช้วางตลาด จึงได้ตั้งชื่อใหม่เป็น "แคโนลา" (canola) ซึ่งย่อมาจาก "Canada Oil low acid" (น้ำมันแคนาดามีกรดน้อย) โดยองค์กรอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติให้ใช้ชื่อใหม่นี้ในปี 1985[50] และเกษตรกรสหรัฐก็เริ่มปลูกพืชเป็นจำนวนมากในปีเดียวกัน

น้ำมันแคโนลามีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า มีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวสูงกว่า และเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ดีกว่าน้ำมันที่นิยมอื่น ๆ น้ำมันแคโนลาหนืดน้อย (ไม่เหมือนน้ำมันข้าวโพด) และไม่มีรสชาติ (ไม่เหมือนน้ำมันมะกอก) มันจึงสามารถทดแทนน้ำมันถั่วเหลืองได้ เหมือนกับที่น้ำมันถั่วเหลืองได้ทดแทนน้ำมันเมล็ดฝ้ายได้

น้ำมันที่ใช้แล้ว

แก้

มีน้ำมันพืชเป็นจำนวนมากที่ใช้แล้วนำกลับไปใช้ใหม่ โดยมากจากเครื่องทอดในอุตสาหกรรมผลิตมันฝรั่ง ผลิตอาหารว่าง และร้านอาหารจานด่วน น้ำมันสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง ในการผลิตไบโอดีเซล ทำสบู่ อาหารสัตว์ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง มันขายในตลาดโภคภัณฑ์เป็น "yellow grease"

แต่เริ่มตั้งแต่ปี 2002 ประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ได้ห้ามใช้น้ำมันพืชที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อใส่อาหารสัตว์ แต่น้ำมันจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร และน้ำมันใหม่ ก็ยังคงใช้ผลิตอาหารสัตว์ได้[51]

อายุคุณภาพสินค้า

แก้

เพราะเหม็นหืนได้ง่ายอาศัยกระบวนการออกซิเดชันเมื่อถูกออกซิเจน ความร้อนและแสง แล้วกลายเป็นผลิตผลเพราะออกซิเดชัน เช่น เปอร์ออกไซด์และไฮโดรเปอร์ออกไซด์ น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่สูง จึงมีอายุคุณภาพสินค้าจำกัด[52][53]

บรรจุภัณฑ์ของสินค้า

แก้

ในประเทศแคนาดา น้ำมันพืช 5 อย่าง คือน้ำมันปาล์ม น้ำมันเนื้อเมล็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วลิสง และน้ำมันโกโก้ ต้องขึ้นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะว่าเป็นองค์ประกอบของอาหาร[54] อนึ่ง น้ำมันในผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้แปรรูปหรือเติมไฮโดรเจนต้องระบุว่า "modified" (แปรรูป) หรือ "hydrogenated" (เติมไฮโดรเจน) เมื่อขึ้นรายการว่าเป็นส่วนผสม[55] ส่วนน้ำมันรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วสามารถระบุรวม ๆ ได้ว่า ไขมันพืช ยกเว้นในผลิตภัณฑ์คือ น้ำมันประกอบอาหาร น้ำสลัด และน้ำมันใส่เพิ่มในอาหาร (table oil) ที่ต้องระบุว่าเป็นน้ำมันอะไรโดยเฉพาะ ๆ[54]

ตั้งแต่ปี 2014 ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในสหภาพยุโรปต้องระบุน้ำมันพืชที่ใช้ผลิตโดยเฉพาะตามข้อบังคับใหม่คือ Food Information to Consumers Regulation (ข้อบังคับข้อมูลอาหารให้ผู้บริโภค)[56]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Thomas, Alfred (2002). "Fats and Fatty Oils". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. Weinheim: Wiley-VCH. doi:10.1002/14356007.a10_173.
  2. Saroj, Parwez. The Pearson Guide to the B.Sc. (Nursing) Entrance Examination. Pearson Education India. p. 109. ISBN 81-317-1338-5.
  3. Dand, Robin (1999). The International Cocoa Trade. Woodhead Publishing. p. 169. ISBN 1-85573-434-6.
  4. "4,000-year-old 'kitchen' unearthed in Indiana". Archaeo News. 2006-01-26. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
  5. Schuster, Ruth (2014-12-17). "8,000-year old olive oil found in Galilee, earliest known in world". Haaretz.{{cite news}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Ehud Galili et al., "Evidence for Earliest Olive-Oil Production in Submerged Settlements off the Carmel Coast, Israel", Journal of Archaeological Science 24:1141-1150 (1997) ; Pagnol, p. 19, says the 6th millennium in Jericho, but cites no source.
  7. Trans Fat Task Force (June 2006). "TRANSforming the Food Supply (Appendix 9iii)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-25. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) (Consultation on the health implications of alternatives to trans fatty acids: Summary of Responses from Experts)
  8. "Margarine". Code of Federal Regulations Title 21, Chapter I, Subchapter B, Part 166. US Food and Drug Administration. 2011-04-01. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  9. McGraw, Linda (2000-04-19). "Biodegradable Hydraulic Fluid Nears Market". USDA. สืบค้นเมื่อ 2006-09-29.
  10. "Cass Scenic Railroad, West Virginia". GWWCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  11. "The Association of American Feed -Control Officials (AAFCO)".
  12. North Energy (2010-03-30). "GHG Benefits from Use of Vegetable Oils for Electricity, Heat, Transport and Industrial Purposes, NNFCC 10-016". National Non-Food Crops Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Aziz, KMA (2012). "Ghani". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh. A ghani is a traditional Indian oil press, driven by a horse or ox.
  14. Hossain, Amjad (2012). "Kalu". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  15. Bachmann, Janet. "Oilseed Processing for Small-Scale Producers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
  16. B.L. Axtell from research by R.M. Fairman (1992). "Illipe". Minor oil crops. FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-02. สืบค้นเมื่อ 2006-11-12.
  17. Eisenmenger, Michael; Dunford, Nurhan T.; Eller, Fred; Taylor, Scott; Martinez, Jose (2006). "Pilot-scale supercritical carbon dioxide extraction and fractionation of wheat germ oil". Journal of the American Oil Chemists' Society. 83 (10): 863–868. doi:10.1007/s11746-006-5038-6.
  18. "CDC - NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards - Vegetable oil mist". www.cdc.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
  19. "Malaysian Palm Oil Industry". palmoilworld.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-20.
  20. 20.0 20.1 "Oil Staple Crops Compared". gardeningplaces.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18.
  21. 21.0 21.1 Murphy, Denis J (August 2009). "Global oil yields: Have we got it seriously wrong?". American Oil Chemists' Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-31. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. January 2009 (PDF). Oilseeds: World Market and Trade. Vol. FOP 1-09. USDA. 2009-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-12-11., Table 03: Major Vegetable Oils: World Supply and Distribution at Oilseeds: World Markets and Trade Monthly Circular เก็บถาวร 2010-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. "Corn Oil" (PDF) (5th ed.). Corn Refiners Association. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-04.
  24. 24.0 24.1 24.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
  25. "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
  26. "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  27. What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
  28. "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
  30. "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  31. "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 32.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
  33. "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  34. "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  35. Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
  36. "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  37. https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
  38. "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  39. "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  40. "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
  41. "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  42. "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  43. "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
  44. "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  45. "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  46. "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  47. "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  48. "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  49. "Soybean Car". Popular Research Topics. Benson Ford Research Center. สืบค้นเมื่อ 2006-10-23.
  50. "Canola oil". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-17. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
  51. "Waste cooking oil from catering premises". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-10. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
  52. Prabhu, H Ramachandra (2000). "Lipid peroxidation in culinary oils subjected to thermal stress". Indian Journal of Clinical Biochemistry. 15 (1): 1–5. doi:10.1007/BF02873539. PMC 3453543. PMID 23105229.[ลิงก์เสีย]
  53. Tańska, M; Roszkowska, B; Skrajda, M; Dąbrowski, G (2016). "Commercial Cold Pressed Flaxseed Oils Quality and Oxidative Stability at the Beginning and the End of Their Shelf Life". Journal of Oleo Science. 65 (2): 111–21. doi:10.5650/jos.ess15243. PMID 26782307.
  54. 54.0 54.1 "Basic Labelling Requirements", Guide to Food Labelling and Advertising, Canadian Food Inspection Agency, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-06, สืบค้นเมื่อ 2015-04-08
  55. "Common Name - Fats and Oils", Labelling Requirements for Fats and Oils (PDF), Canadian Food Inspection Agency, สืบค้นเมื่อ 2015-04-08
  56. "Regulation (EU) No 1169/2011 of the European Parliament and of the Council", Official Journal of the European Union, 2011-11-21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-06

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Gupta, Monoj K. (2007). Practical guide for vegetable oil processing. AOCS Press, Urbana, Illinois. ISBN 978-1-893997-90-5.
  • Jee, Michael, บ.ก. (2002). Oils and Fats Authentication. Blackwell Publishing, Oxford, England. ISBN 1-84127-330-9.
  • Salunkhe, D.K., Chavan, J.K., Adsule, R.N. and Kadam, S.S. (1992). World Oilseeds - Chemistry, Technology, and Utilization. Van Nostrand Reinhold, New York. ISBN 0-442-00112-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)