น้ำมันหอมระเหย (อังกฤษ: essential oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้มาจากพืชเช่น ส่วนดอก ใบ ผล ลำต้น มาใช้ในการบำบัดตามศาสตร์สุคนธบำบัด (Aromatherapy) ซึ่งหมายถึง การบำบัดรักษา โดยการใช้กลิ่นหอมของสารหอมในพืช

โดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหยจะถูกสกัดได้หลายรูปแบบ เช่น การกลั่น (Distillation) การสกัดโดยใช้ไขมัน (Enfleurage) การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent extraction) การบีบอัด (Expression) การใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวภายใต้ความดันสูง (Supercritical fluid extraction) ซึ่งการกลั่นหลายประเภทนี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม เครื่องสำอาง สบู่ ธูปและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อเพิ่มความหอม และบางครั้งทำให้คนผ่อนคลายได้ด้วย

ลักษณะของน้ำมันหอมระเหย แก้

น้ำมันหอมระเหย มีลักษณะเป็นน้ำมันของเหลวสีใส ซึ่งมีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง สามารถสกัดจากพืชหอมซึ่งพืชเหล่านี้จะมีต่อมหรือท่อที่เก็บสะสมน้ำมันหอมระเหยไว้

วิธีการผลิต แก้

การกลั่น แก้

ปัจจุบัน น้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่ เช่น ลาเวนเดอร์ เปปเปอร์มินต์ น้ำมันต้นชาและยูคาลิปตัส มาจากการกลั่น โดยใส่วัตถุดิบพืช ซึ่งประกอบด้วยดอก ใบ ไม้ เปลือกไม้ ราก เมล็ดหรือเปลือกใส่ถ้วยกลั่นเหนือน้ำ เมื่อน้ำร้อนแล้ว ไอน้ำจะผ่านวัตถุดิบพืช เกิดเป็นไอสารประกอบระเหยง่าย ไอไหลผ่านขด ที่ซึ่งจะควบแน่นกลับเป็นของเหลว แล้วมีการเก็บรวบรวมในภาชนะบรรจุ

รูปแบบการกลั่น แก้

มี 3 วิธีย่อย

1. การกลั่นโดยใช้ไอน้ำ (steam distillation) โดยการนำพืชที่ต้องการน้ำมันหอมระเหย วางไว้ในหม้อกลั่นที่ด้านล่างมีน้ำ จากนั้นต้มน้ำ ไอที่เกิดขึ้นจะวิ่งผ่านพืชที่วางไว้ด้านบน ทำให้น้ำมันหอมระเหยในพืช ระเหยออกมารวมกับไอน้ำ จากนั้นให้ไอน้ำวิ่งผ่านท่อ จนถึง เครื่องควบแน่น (condenser) เพื่อทำให้เย็นลง แล้วกลั่นตัวลงมา ตกลงในภาชนะกักเก็บ จะได้ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่แยกชั้นกับน้ำ

2. การกลั่นโดยใช้พืชแช่ในน้ำ (Water or Hydro-Distillation) โดย การนำพืชแช่ในน้ำ แล้วต้มน้ำจนเดือด เซล์พืชจะแตกออก และน้ำมันหอมระเหยจะแยกลอยตัวขึ้นมา พืชที่กลั่นวิธีนี้จะต้องเป็นพืชที่ทนความร้อนสูงได้ดี แต่ควรระวังในการกลั่น เพราะเนื่องจากส่วนของพืชโดนความร้อนโดยตรง อาจทำให้เกิดการไหม้ได้ กลิ่นไหม้ปนไปกับน้ำมันหอมระเหย และมีสารที่ไม่ต้องการปะปนไปด้วย

3. การกลั่นด้วยไอน้ำภายใต้แรงดันสูง (Vacuum Steam Distillation) วิธีนี้จะเหมือนกับ การกลั่นด้วยไอน้ำ แต่จะกลั่นภายใต้แรงดันสูง เพื่อลดจุดเดือดของน้ำและน้ำมันหอมระเหย ทำให้ได้น้ำมันที่ไม่โดนทำลายด้วยอุณหภูมิสูง และน้ำมันหอมระเหยนี้ยังมีประสิทธิภาพ คุณภาพดีกว่า การกลั่นแบบ 2 วิธีแรกอีกด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิงข้อมูล แก้