น้ำมันเมล็ดฝ้าย
น้ำมันเมล็ดฝ้าย (อังกฤษ: Cottonseed oil) เป็นน้ำมันประกอบอาหารที่สกัดมาจากเมล็ดของฝ้ายพันธุ์ต่าง ๆ โดยหลักพันธุ์ Gossypium hirsutum และ Gossypium herbaceum ซึ่งปลูกเพื่อทำฝ้าย อาหารสัตว์ และน้ำมัน[1] เมล็ดฝ้ายมีโครงสร้างคล้ายกับเมล็ดทำน้ำมันอื่น ๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน คือมีเนื้อในเมล็ดที่มีน้ำมันซึ่งล้อมรอบด้วยเปลือกแข็งนอก เมื่อแปรรูป น้ำมันจะสกัดจากเนื้อในเมล็ด น้ำมันเมล็ดฝ้ายใช้ทำน้ำสลัด มายองเนส และผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันอื่น ๆ เพราะรสชาติค่อนข้างเสถียร[2]
องค์ประกอบ
แก้น้ำมันปกติจะประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 18% และมีพันธะคู่หลายคู่ 52%) และมีกรดไขมันอิ่มตัว 26%[3] เมื่อเติมไฮโดรเจนให้เต็ม (fully hydrogenated) มันจะประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว 94% และกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2% (1.5% มีพันธะคู่เดี่ยวและ 0.5% มีพันธะคู่หลายคู่)[4] ตามบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม น้ำมันนี้ไม่ต้องเติมไฮโดรเจนเท่ากับน้ำมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่อื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลเช่นเดียวกัน[2]
สารก๊อสสิพอล (Gossypol) เป็นสารประกอบโพลีฟีนอล (polyphenolic compound) มีสีเหลืองเป็นพิษ ที่ได้จากฝ้ายและพืชอื่น ๆ ในวงศ์ชบา (Malvaceae) เช่น กระเจี๊ยบ[5] สารประกอบมีสีนี้เกิดตามธรรมชาติในต่อมเล็ก ๆ ในเมล็ด ใบ ก้าน เปลือกรากแก้ว และรากของต้นฝ้าย หน้าที่ทางวิวัฒนาการของสารนี้ก็คือใช้ต้านแมลง เรื่องสำคัญเมื่อทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่นก็คือ ต้องกำจัดสารพิษก๊อสสิพอล เฟอริกคลอไรด์มักใช้กำจัดสีของน้ำมัน[6]
เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันพืชอื่น ๆ
แก้น้ำมันพืช[7][8] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[7] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[7] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[9] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[10] | ||
คาโนลา[11] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[12] | |
มะพร้าว[13] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[12] | |||
ข้าวโพด[14] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
เมล็ดฝ้าย[16] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
เมล็ดแฟลกซ์[17] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
น้ำมันกัญชง[19] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[20] | |
มะกอก[21] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[12] | |
ปาล์ม[22] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[23] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | ||
คำฝอย[24] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[12] | |
ถั่วเหลือง[25] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[26] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[27] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[28] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
เมล็ดฝ้าย[29] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[30] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[31] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
คุณสมบัติทางกายภาพ
แก้เมื่อแปรรูปแล้ว น้ำมันเมล็ดฝ้ายจะมีรสจืดและมีสีทองอ่อน ๆ โดยขึ้นอยู่กับการทำให้บริสุทธิ์[32] ความหนาแน่นจะอยู่ในระหว่าง 0.917–0.933 ก./ซม3 น้ำมันมีจุดก่อควันค่อนข้างสูงทำให้สามารถใช้ผัด/ทอดอาหารได้[33] เหมือนกันน้ำมันมีกรดไขมันโซ่ยาวอื่น ๆ น้ำมันเมล็ดฝ้ายมีจุดก่อควันที่ประมาณ 450 องศาเซลเซียส[5] มีโทโคฟีรอลมาก จึงทำให้เสถียรและมีอายุการเก็บรักษานาน ผู้ผลิตจึงมักใช้ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ
ประวัติทางเศรษฐกิจ
แก้เพราะเมล็ดฝ้ายเป็นผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปให้ได้ฝ้าย เมล็ดจึงเกือบไม่มีค่าอะไรก่อนคริสต์ทศวรรษที่ 19[34] เมื่อผลิตฝ้ายมากขึ้น ๆ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17, 18 และ 19 เมล็ดฝ้ายที่เก็บก็มีมากขึ้น ๆ[34] แม้จะมีบางส่วนที่ใช้ปลูกพืช ทำปุ๋ย และทำอาหารสัตว์ แต่ที่เหลือโดยมากก็ทิ้งไว้จนเน่าหรือลอบทิ้งลงแม่น้ำอย่างผิดกฎหมาย[35]
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1820 และ 1830 ยุโรปเกิดขาดแคลนไขมันและน้ำมันเนื่องจากการขยายตัวประชากรอย่างรวดเร็วเนื่องกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม และผลตามมาของการปิดล้อมทางน้ำของกองทัพเรืองอังกฤษในช่วงสงครามนโปเลียน[35] ความต้องการไขมันและน้ำมันที่เพิ่มขึ้นบวกกับปริมาณสินค้า (อุปทาน) ที่ลดลงทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[34] ผลก็คือ คนยุโรปจำนวนมากไม่มีเงินพอซื้อไขมันและน้ำมันเพื่อประกอบอาหารหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อแสงสว่างได้[34] นักลงทุนในสหรัฐจึงเริ่มแสวงหาประโยชน์จากความต้องการน้ำมัน (อุปสงค์) ที่สูงขึ้นและจากการมีเมล็ดฝ้ายเป็นจำนวนมากด้วยการบีบอัดเมล็ดฝ้ายสกัดน้ำมัน[35] แต่การแยกเปลือกออกจากเนื้อในเมล็ดเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ธุรกิจโดยมากจึงล้มเหลวภายในไม่กี่ปี[35] ต่อมาปี ค.ศ. 1857 จึงได้ประดิษฐ์เครื่อง huller ซึ่งแยกเปลือกจากเนื้อเมล็ดฝ้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ[34] น้ำมันเมล็ดฝ้ายจึงได้เริ่มใช้เป็นเชื้อเพลิงตะเกียงเพื่อเสริมน้ำมันวาฬและน้ำมันหมูที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ[34] แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 1859 นี่ก็ยุติลงเพราะอุตสาหกรรมปิโตเลียมได้เกิดขึ้น[34]
น้ำมันเมล็ดฝ้ายได้ใช้ปลอมปนไขมันสัตว์และไขมันหมูอย่างผิดกฎหมาย[34] คือ ผู้ฆ่าและขายเนื้อสัตว์ได้ลอบผสมน้ำมันเมล็ดฝ้ายกับไขมันสัตว์ แต่ก็ถูกเปิดโปงในปี ค.ศ. 1884[34] คือบริษัทอเมริกันบริษัทหนึ่งพยายามผูกขาดตลาดน้ำมันหมูแล้วพบว่า ตนได้ซื้อน้ำมันหมูมากกว่าที่หมูทั้งหมดที่มีจะผลิตได้[34] รัฐสภาสหรัฐจึงได้เข้าตรวจสอบ แล้วผ่านกฎหมายบังคับให้ผลิตภัณฑ์เสริมด้วยน้ำมันเมล็ดฝ้ายขึ้นป้ายว่า "ไขมันหมูประกอบ (lard compound)"[35] โดยนัยเดียวกัน น้ำมันมะกอกบ่อยครั้งก็ปลอมปนผสมน้ำมันเมล็ดฝ้ายเช่นกัน เมื่อถูกเปิดโปงแล้ว ประเทศต่าง ๆ จึงได้เพิ่มภาษีศุลกากรแก่น้ำมันมะกอกอเมริกัน โดยอิตาลีได้ห้ามไม่ให้นำเข้าผลิตภัณฑ์โดยสิ้นเชิงในปี ค.ศ. 1883[35] กฎบังคับทั้งสองนี้ได้ลดยอดขายและการส่งออกน้ำมันเมล็ดฝ้ายจากอเมริกา ทำให้มีน้ำมันมากเกินแล้วลดราคาของน้ำมันอีก[35] จึงทำให้บริษัทที่เพิ่งตั้งใหม่คือพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล สามารถถือเอาประโยชน์จากเหตุนี้[35]
เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1837 (Panic of 1837) ทำให้พี่น้องเขยรวมธุรกิจผลิตเทียนไขและสบู่เข้าด้วยกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและรับมือกับเศรษฐกิจช่วงขาลง[34] เมื่อสืบหาสิ่งที่จะมาแทนที่ไขมันสัตว์ราคาสูง พี่น้องคู่นี้ก็ได้ตกลงใช้น้ำมันเมล็ดฝ้าย[34] บริษัทจึงได้รวบยอดซื้อน้ำมันเมล็ดฝ้ายผูกขาดตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการผูกขาดน้ำมันสัตว์ของผู้ฆ่าและขายเนื้อสัตว์ แต่เมื่อเกิดไฟฟ้าขึ้น ความต้องการเทียนไขก็ได้ลดลง[35] บริษัทจึงได้ค้นหาการใช้น้ำมันเป็นอาหาร ด้วยเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตร พี่น้องทั้งสองจึงสามารถเติมไฮโดรเจนใส่น้ำมัน แล้วพัฒนาผลิตไขมันที่คล้ายกับมันหมู[34] ในปี ค.ศ. 1911 บริษัทจึงได้โหมวางตลาดขายเนยขาวจากพืชคือ Crisco ซึ่งสามารถใช้แทนมันหมู[36]
บริษัทได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า ผลิตภัณฑ์ "ย่อยได้ดีกว่า เป็นทางเลือกการปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพยิ่งกว่าไขมันสัตว์ และถูกกว่าเนย"[37] บริษัทยังแจกคู่มือประกอบอาหารซึ่งอาหารแต่ละอย่างล้วนให้ใช้ Crisco[37] ในคริสต์ทศวรรษ 1920 บริษัทได้พัฒนาคู่มือประกอบอาหารสำหรับคนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาษาของตน ๆ[37] นอกจากนั้น บริษัทยังมีรายการวิทยุเรื่องประกอบอาหาร[37] เช่นกัน ในปี ค.ศ. 1899 นักเคมีอาหารคนหนึ่งได้พัฒนาน้ำมันเมล็ดฝ้ายไร้กลิ่นซึ่งวางขายในยี่ห้อ Wesson[35] ซึ่งก็โหมวางตลาดแล้วกลายเป็นที่นิยมเช่นกัน[35]
30 ปีต่อมาในสหรัฐอเมริกา น้ำมันเมล็ดฝ้ายจึงได้กลายเป็นน้ำมันสำคัญ[34] น้ำมันยี่ห้อทั้งสองนี้ได้ทดแทนการใช้น้ำมันหมูและน้ำมันราคาสูงกว่าอื่น ๆ ในการอบ ผัด/ทอด[34] แต่ในสงครามโลกครั้งที่สอง การขาดน้ำมันทำให้ต้องใช้ของทดแทนอีกอย่างคือน้ำมันถั่วเหลือง[34] ในปี ค.ศ. 1944 การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองจึงเกินน้ำมันเมล็ดฝ้ายจนราคาของน้ำมันถั่วเหลืองได้ลดลงต่ำกว่าน้ำมันเมล็ดฝ้าย[34] ในปี ค.ศ. 1950 น้ำมันถั่วเหลืองก็ได้แทนการใช้น้ำมันเมล็ดฝ้ายในเนยขาว เช่น Crisco เพราะราคาถูกกว่า[34] น้ำมันเมล็ดฝ้ายยังมีราคาสูงขึ้นเพราะการปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองแทน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่มีเหตุโดยหลักจากความต้องการน้ำเชื่อมข้าวโพดและเอทานอลที่สูงขึ้น[34] น้ำมันเมล็ดฝ้ายจึงผลิตลดลงเรื่อย ๆ ในกลางและปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[34]
ในกลางจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 ผู้บริโภคเริ่มหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์มากขึ้น บวกกับกฎบังคับให้ขึ้นป้ายไขมันทรานส์ในบางประเทศ จึงทำให้บริโภคน้ำมันเมล็ดฝ้ายมากขึ้น[38] โดยมีผู้ชำนาญการทางสุขภาพ[39] และองค์กรสุขภาพของรัฐ[40] ที่แนะนำว่าเป็นน้ำมันซึ่งถูกสุขภาพ และ Crisco และบริษัทอื่น ๆ ก็ได้เปลี่ยนน้ำมันเมล็ดฝ้ายให้มีไขมันทรานส์น้อยมากหรือไม่มีเลย[41] อย่างไรก็ดี ผู้ชำนาญการทางสุขภาพบางท่านอ้างว่า น้ำมันมีอัตราส่วนไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ต่อไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวสูง และเพราะต้องแปรรูป จึงไม่ถูกสุขภาพ[42]
กฎบังคับ
แก้"น้ำมันเมล็ดฝ้าย" ในแคนาดาต้องสกัดมาจากเมล็ดของพืชสกุลฝ้าย (Gossypium) เมื่อผลิตมาจากน้ำมันเมล็ดฝ้าย 100% ผลิตภัณฑ์ต้องขึ้นป้ายบรรจุภัณฑ์เช่นนั้น[43]
น้ำมันเมล็ดฝ้ายที่วางขายว่าทานได้ควรจะแปรรูปและทำให้บริสุทธิ์จากองค์ประกอบที่อาจเป็นอันตราย โดยเฉพาะคือสารก๊อสสิพอล (Gossypol) ซึ่งเป็นสีธรรมชาติในเมล็ดฝ้ายและมีฤทธิ์เป็นเครื่องป้องกันแมลงและสัตว์อื่น ๆ ตามธรรมชาติ แต่ก็เป็นพิษต่อมนุษย์และอาจทำให้ชายเป็นหมันได้[44]
การสกัด
แก้เหมือนกับน้ำมันพืชอื่น ๆ น้ำมันเมล็ดฝ้ายสกัดมาจากเมล็ด ไม่ว่าจะโดยกระบวนการทางกล เช่น การบดอัดแล้วบีบ หรือกระบวนการทางเคมี เช่น ใช้ตัวทำละลาย[45] แต่ก็ใช้ตัวทำละลายเพื่อสกัดอย่างสามัญที่สุด[46]
การทำให้บริสุทธิ์
แก้เมื่อสกัดน้ำมันได้แล้ว จะต้องแปรรูปและทำให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะนำไปบริโภค เพื่อกำจัดสิ่งไม่บริสุทธิ์รวมทั้งกรดไขมันอิสระ (free fatty acid ตัวย่อ FFA) ฟอสโฟลิพิด สี และสารระเหยอื่น ๆ[45][47][48]
การกำจัดกัม (degumming)
แก้การกำจัดกัม (degumming) เป็นขั้นตอนแรกในการทำน้ำมันให้บริสุทธิ์จากฟอสโฟลิพิด กัม ไข และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ที่มีในน้ำมันดิบ[49][50] คือจะใช้น้ำหรือกรดเจือจางอื่น ๆ เช่น กรดฟอสฟอริก เพราะฟอสโฟลิพิดจะดูดกับน้ำเหตุเป็นสารแอมฟิฟิลิก (amphipathic) (คือชอบน้ำข้างหนึ่ง ชอบไขมันอีกข้างหนึ่ง) ซึ่งเปลี่ยนลิพิดให้เป็นกัมอิ่มน้ำ (hydrated gum) กัมเช่นนี้ละลายในน้ำมันไม่ได้ จึงสามารถแยกออกด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง กัมที่แยกออกก็จะทำให้แห้งแล้วทำเป็นตัวทำอิมัลชัน (emulsifying agent) เช่น เลซิทิน
การทำให้เป็นกลาง (neutralization)
แก้ขั้นที่สองในการทำน้ำมันให้บริสุทธิ์ก็คือการแยกกรดไขมันอิสระ (FFA) ออกจากน้ำมันผ่านการทำให้เป็นกลางด้วยด่าง (alkaline neutralization) ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่ต้องการ อาจมีขั้นตอน 2–3 ขั้นในกระบวนการนี้ การผ่านทั้ง 3 ขั้นจะทำให้ได้น้ำมันคุณภาพดีที่สุด และน้ำมันเมล็ดฝ้ายจะผ่านทั้ง 3 ขั้นตอน[51]
ขั้นแรกของการทำให้เป็นกลางก็คือเติมโซดาไฟ (sodium hydroxide, NaOH) ใส่น้ำมันหลังจากปัมพ์มันผ่านเครื่องกรองแล้วให้ความร้อนจนถึง 133 องศาเซลเซียส (°C) ปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นสบู่ (saponification) จะทำน้ำมันให้เป็นกลางเมื่อผสมกับโซดาไฟแล้ว ในกระบวนการนี้ ประจุบวกของกรดไขมันอิสระ (FFA) จะทำปฏิกิริยากับหมู่ไฮดรอกซิลของโซดาไฟแล้วกลายเป็นสบู่และกลีเซอรอล (glycerol) ส่วนนี้ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า soapstock จะแยกออกจากน้ำมัน
ขั้นที่สองเป็นการซ้ำขั้นแรกโดยใส่โซดาไฟลงในน้ำมันเพิ่มขึ้น ส่วนขั้นสุดท้ายเป็นการล้างด้วยน้ำครั้งที่สองเพื่อให้สบู่เหลือน้อยที่สุด[51]
การฟอกสี
แก้ขั้นที่สามในกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เป็นการกำจัดสบู่ กัม และสีที่เหลือด้วยการฟอกสี (bleaching) สารฟอกขาว (bleaching agent) ที่ใช้อย่างสามัญที่สุดก็คือดินฟอกสี (bleaching earth) ซึ่งเป็นดินเหนียวเบนทอไนต์ (bentonite) ประเภทหนึ่ง เมื่อใส่ดินแล้ว ก็จะกวนให้ดินสามารถจับกับสิ่งเจือปนในน้ำมัน ไม่ว่าจะโดยกล (เช่น แรงแวนเดอร์วาลส์ [Van der Waals force]) หรือโดยเคมี แล้วก็จะกรองสารผสมเพื่อกำจัดดินที่จับกับสิ่งเจือปน[52]
การกำจัดกลิ่น
แก้ขั้นตอนที่สี่เพื่อทำน้ำมันให้บริสุทธิ์ก็คือการกำจัดกลิ่น คือสารระเหยทั้งหลาย โดยการฉีดไอน้ำแรงดันสูงเข้าไปภายใต้สุญญากาศ[53]
Winterization
แก้การทำน้ำมันให้บริสุทธิ์ขั้นที่ 5 ก็คือกระบวนการ winterization เพื่อกำจัดไตรเอซีลกลีเซอรอล (triacylglycerol) เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์แข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำ โดยเก็บน้ำมันไว้ในที่เย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส
ในกระบวนการนี้ น้ำมันจะแยกเป็นส่วนของเหลวและของแข็ง ส่วนที่แข็งจับเป็นผลึกก็เพราะมีไตรเอซีลกลีเซอรอลมาก แล้วก็จะแยกออกจากกันด้วยการกรอง[48][54]
การใช้ในอาหาร
แก้น้ำมันเมล็ดฝ้ายเคยใช้ในอาหารเช่น มันฝรั่งทอดแผ่นบาง และใช้เป็นองค์ประกอบหลักในผลิตภัณฑ์เนยขาวของบริษัท Crisco แต่ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของบริษัทไม่มีน้ำมันเมล็ดฝ้าย[55] เพราะแพงน้อยกว่าน้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลามาก น้ำมันเมล็ดฝ้ายจึงนิยมใช้ในร้านอาหารและอุตสาหกรรมผลิตอาหารว่าง[56]
น้ำมันเมล็ดฝ้ายใช้ผลิตโภคภัณฑ์อาหารเช่น น้ำมันประกอบอาหาร น้ำสลัด เนยเทียม และเนยขาว[57][48]
สิ่งที่ไม่ใช่อาหาร
แก้ในการเกษตร น้ำมันเมล็ดฝ้ายทั่วไปมีฤทธิ์ฆ่าแมลงแรงที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหมด ซึ่งมักใช้เพราะมีประสิทธิภาพแก้ปัญหาศัตรูพืชผลไม้ที่แก้ยาก และยังสามารถผสมกับยาฆ่าแมลงอื่น ๆ เพื่อให้มีฤทธิ์ครอบคลุมกว่า และทำให้คุมแมลงได้ดีกว่า[58]
ยาฆ่าแมลง
แก้ในการเกษตร พิษของน้ำมันเมล็ดฝ้ายที่ไม่กำจัดอาจเป็นเรื่องมีประโยชน์ น้ำมันต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันพืชได้ใช้เป็นศตวรรษ ๆ เพื่อควบคุมแมลงและไรที่เป็นศัตรูพืช[59] ในปี ค.ศ. 2010 มีการใช้น้ำมันเมล็ดฝ้ายเพื่อป้องกันลำต้นของต้นแอปเปิลจากผีเสื้อพันธุ์ Synanthedon myopaeformis ซึ่งขุดรูเข้าไปในเปลือกไม้และอาจทำให้ต้นไม้ตายได้[60] น้ำมันทั่วไปจัดว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงแรงที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหลาย[59]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ "Texas is a cotton country". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "Twenty Facts About Cottonseed Oil from cotton plant". National Cottonseed Products Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Basic Report: 04502, Oil, cottonseed, salad or cooking". United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2019.
- ↑ "Nutrient data for 04702, Oil, industrial, cottonseed, fully hydrogenated". United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012.
- ↑ 5.0 5.1 Jones, Lynn A.; King, C. Clay (1996). "Cottonseed oil". ใน Hui, YH (บ.ก.). Bailey's Industrial Oil and Fat Products, Edible Oil and Fat Products: Oils and Oilseeds. New York: Wiley. ISBN 978-0-471-59426-0.
- ↑ Yatsu, L. Y.; Jacks, T. J.; Hensarling, T. (กุมภาพันธ์ 1970). "Use of ferric chloride to decolorize cottonseed oil". Journal of the American Oil Chemists' Society. 47 (2): 73–74. doi:10.1007/BF02541462. ISSN 0003-021X.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil" (PDF). National Cottonseed Products Association. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ "Cottonseed oil". Transport Information Service, Gesamtverband der Deutschen Versicherungswirtschaft e.V. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2012.
- ↑ 34.00 34.01 34.02 34.03 34.04 34.05 34.06 34.07 34.08 34.09 34.10 34.11 34.12 34.13 34.14 34.15 34.16 34.17 34.18 34.19 O’Brien, Richard D.; และคณะ (2005). "5". ใน Shahidi, Fereidoon (บ.ก.). Cottonseed oil. Bailey’s Industrial Oil and Fat Products. Vol. 2. John Wiley and Sons.
- ↑ 35.00 35.01 35.02 35.03 35.04 35.05 35.06 35.07 35.08 35.09 35.10 Nixon, HC (2005). "The Rise of the American Cottonseed Oil Industry". Journal of Political Economy. 38 (1): 73–85.
- ↑ Ramsey, Drew; Graham, Tyler (26 เมษายน 2012). "How Vegetable Oils Replaced Animals Fats in the American Diet". The Atlantic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2018.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 37.3 "Crisco Corporate Historical Timeline". Crisco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Cottonseed Oil Production, Consumption On The Rise - Crushers expect over 100 million pound increase". Cotton Grower. 12 กันยายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019.
- ↑ Willett, WC; Skerrett, PJ (2005). Eat, Drink, and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating (paperback ed.). Free Press. p. 220.
- ↑ "Health Bulletin: Healthy Heart - Eat Less Trans Fat" (PDF). New York City Department of Health and Mental Hygiene. มีนาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Crisco drops trans fats from shortening formula". Associated Press. 25 มกราคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2017.
- ↑ Walsh, Danielle (27 มกราคม 2012). "Best and Worst Oils For Your Health". Bon Appetit Magazine Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2013.
- ↑ Directorate of Canadian Food Inspection Agency, Food Safety and Consumer Protection, Government of Canada (18 กุมภาพันธ์ 2014). "Labelling Requirements for Fats and Oils". inspection.gc.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2018.
- ↑ "Cottonseed Oil and Food Safety". www.cfs.gov.hk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2018.
- ↑ 45.0 45.1 Čmolík, Jiří; Pokorný, Jan (1 สิงหาคม 2000). "Physical refining of edible oils". European Journal of Lipid Science and Technology. 102 (7): 472–486. doi:10.1002/1438-9312(200008)102:7<472::AID-EJLT472>3.0.CO;2-Z.
- ↑ Saxena, Devesh K.; Sharma, Surendra Kumar; Sambi, Surinder Singh (2011). "COMPARATIVE EXTRACTION OF COTTONSEED OIL BY n-Hexane and Ethanol". สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2018.
- ↑ "Cotton Seeds Oil Refinery Plants-- Oil Refinery Plants". www.seedoilpress.com. 22 กุมภาพันธ์ 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2018.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 Gunstone, Frank D., บ.ก. (1 เมษายน 2011). Vegetable Oils in Food Technology. doi:10.1002/9781444339925. ISBN 978-1-4443-3992-5.
- ↑ Carr, Roy A. (พฤศจิกายน 1978). "Refining and degumming systems for edible fats and oils". Journal of the American Oil Chemists' Society. 55 (11): 765–771. doi:10.1007/bf02682645. ISSN 0003-021X.
- ↑ "Degumming | food processing". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2018.
- ↑ 51.0 51.1 "Alkali Refining - AOCS Lipid Library". lipidlibrary.aocs.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2018.
- ↑ Zschau, Werner (1 สิงหาคม 2001). "Bleaching of edible fats and oils". European Journal of Lipid Science and Technology. 103 (8): 505–551. doi:10.1002/1438-9312(200108)103:8<505::aid-ejlt505>3.0.co;2-7. ISSN 1438-9312.
- ↑ Dudrow, F. A. (กุมภาพันธ์ 1983). "Deodorization of edible oil". Journal of the American Oil Chemists' Society. 60 (2Part1): 272–274. doi:10.1007/bf02543499. ISSN 0003-021X.
- ↑ Kreulen, H. P. (มิถุนายน 1976). "Fractionation and winterization of edible fats and oils". Journal of the American Oil Chemists' Society. 53 (6Part2): 393–396. doi:10.1007/bf02605729. ISSN 0003-021X.
- ↑ "Ingredient facts". crisco.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "Cottonseed oil use on the rise". cotton 247.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2011.
- ↑ "Cottonseed Oil". ScienceDirect, Elsevier. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-22. สืบค้นเมื่อ 2019-02-22.
- ↑ "Insect Control: Horticultural Oils - 5.569 - Extension". Extension. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2018.
- ↑ 59.0 59.1 Cranshaw, WS; Baxendale, B (2013-04-19). "Insect Control: Horticultural Oils". Colorado State University Extension. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03.
- ↑ Erler, Fedai (1 มกราคม 2010). "Efficacy of tree trunk coating materials in the control of the apple clearwing, Synanthedon myopaeformis". Journal of Insect Science. 10 (1): 1–8. doi:10.1673/031.010.6301. PMC 3014806. PMID 20672979.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Cottonseed oil production, supply, and distribution statistics by country – แหล่งข้อมูลจาก the United States Department of Agriculture
- กฤตภาคเกี่ยวกับ น้ำมันเมล็ดฝ้าย ใน 20th Century Press Archives โดย ZBW (ทั่วโลก และแบ่งตามประเทศ)