ทานตะวัน

สปีชีส์ของพืช
ทานตะวัน
ดอกทานตะวันสีเหลืองสว่าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Heliantheae
สกุล: Helianthus
สปีชีส์: H.  annuus
ชื่อทวินาม
Helianthus annuus
L.

ทานตะวัน มีชื่อตามภาษาถิ่นพายัพว่า บัวผัด เป็นพืชปีเดียว (annual plant) อยู่ในวงศ์ Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ "ทานตะวัน" ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในสกุล Helianthus ด้วยเช่นกัน

ทานตะวันเป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวัน[1]ในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล[2]

ตำนานดอกทานตะวัน

แก้

ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย

แก้

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก ปัจจุบัน มีการปลูกทานตะวันเป็นท้องทุ่งจำนวนมากในประเทศไทย แม้กระทั่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ ริมถนนประเสริฐมนูกิจ หลังโรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และนิยมถ่ายรูปที่ได้รับความนิยม [3]

การใช้ประโยชน์

แก้

ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร

ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์[4] และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg [5][6]

ต้นอ่อนทานตะวัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Heliantheae
สกุล: Helianthus
สปีชีส์: H.  annuus
ชื่อทวินาม
Helianthus annuus
L.

น้ำมันทานตะวัน

แก้

สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น การนำมาผัด หรือนำมาปรุงน้ำสลัด มีบางส่วนที่นำมาใช้บริโภคเป็นน้ำมันและเครื่องสำอาง น้ำมันจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง โดยมีน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ (ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง) และยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเคอีกด้วย เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานก็ไม่เกิดกลิ่นหืน อีกทั้งยังทำให้สีกลิ่นและรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ทำเนยเทียม น้ำมันสลัด ครีม นมที่มีไขมัน และอาหารอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี ฟอกสี ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทำฟิล์ม ใช้ในการฟอกหนัง เคลือบผิวผลไม้ในลักษณะขี้ผึ้ง เช่น การทำเทียนไข หรือเครื่องสำอาง บ้างใช้เป็นน้ำมันนวด หรือใช้เป็นส่วนผสมของครีมนวดผม หรือผสมในโลชั่นบำรุงผิว (เนื่องจากมีวิตามินอีสูง) กากจากเมล็ดทานตะวันหลังการสกัดเอาน้ำมัน จะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 30-40% สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ และยังใช้เป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปริมาณของกรดอะมิโนอยู่เพียงเล็กน้อย และขาดไลซีน จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง นำมาใช้ทำ Lecithin(เลซิทิน) เพื่อใช้ในทางการแพทย์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในคนไข้ที่มีคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด[7][8][9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของทานตะวัน

แก้

สารสำคัญที่พบได้แก่ Abscisic acid, Beta-carotene, Citric acid,Coumaric acid,Cumin alcohol, Cyamidin, Glycoside, Glandulone A, B gibberellin A, Vanillin, Vitamin B2 ทั้งต้นพบว่ามีสาร Cryptoxanthin, Earotenoids, Globulin, Glycocoll, Quercimeritin, Phospholipid Methionine, Seopoline Heliangine, Tocopherol ส่วนในเมล็ดพบโปรตีน 55%, ออกไซด์คาร์บอเนต 41.6%, น้ำมันประมาณ 55% และในน้ำมันพบสาร Linoleic acid 70%, Glycerol oil, Phosphatide, Phospholipid, B-Sitosterol และพบน้ำมันระเหยอีกหลายชนิด ส่วนเปลือกเมล็ดพบน้ำมัน 5.17%, โปรตีน 4%, ขี้ผึ้ง 2.96% และยังมี Cellulose, Pentosan, และ Lignin ทานตะวันมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการก่อมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไขมันในเลือดสูง

เมื่อปี ค.ศ.1971 บูดาเปส ได้ทำการศึกษาทดลองผลการลดไขมันในเลือดของน้ำมันจากเมล็ดทานตะวันในหนูทดลอง พบว่าสาร Cephalin B, Cephalin A lysocepphalin, lecithin, และ lysolecithin มีผลในการช่วยลดไขมันในเลือด

เมื่อปี ค.ศ.1999 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองศึกษาผลในการลดไขมันในเลือดของเมล็ดทานตะวันในหนูขาวทดลอง โดยทำการทดลองนานถึง 9 สัปดาห์ โดยกระตุ้นให้หนูขาวเป็นเบาหวาน โดยให้ Alloxan และให้น้ำมันดอกทานตะวัน หลังจากการทดลองพบว่าไขมันในเลือดมีระดับลดลง

เมื่อปี ค.ศ.2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของเมล็ดทานตะวัน โดยทำการทดลองในหนูเพศผู้ จำนวน 60 ตัว และกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้อาหารไขมัน 1% ส่วนกลุ่มที่สอง ให้เมล็ดองุ่น 10 gm. และกลุ่มที่สามให้นำมันดอกทานตะวัน 1 gm. และได้ทำการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่สามที่ให้น้ำมันดอกทานตะวัน สามารถลดไขมันได้มากกว่ากลุ่มที่สอง

เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาทดลองผลการลดไขมันในเลือดของทานตะวัน ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน จำนวน 14 คน โดยทำการทดลอง 28 วัน แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มที่สอง ให้น้ำมันมะกอกผสมกับน้ำมันเมล็ดทานตะวัน และกลุ่มสามคือกลุ่มที่ให้อาหารไขมันสูง ภายหลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่สองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05

เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือดของเมล็ดทานตะวัน โดยทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 31 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-64 ปี แบ่งเป็นชาย 12 คน และหญิง 19 คน และมีระดับไขมันในเลือด 294 mg./dl. ซึ่งได้ทำการทดลอง 4 สัปดาห์ โดยให้น้ำมันดอกทานตะวัน 8.3% และ 7.9% ผลการทดลองพบว่าคอเลสเตอรอลในเลือดมีระดับลดลง

เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศรัสเซีย ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของเมล็ดทานตะวัน โดยทำการทดลองในหนูขนาด 180-200 gm. ที่ถูกกระตุ้นให้ไขมันในเลือดสูง โดยให้น้ำมันดอกทานตะวัน 1 ซีซีต่อวัน และใช้ n-6 fatty acid fish oil 1 ซีซีต่อวัน และ Znso 0.43 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยทำการทดลองนาน 6 สัปดาห์ ภายหลังการทดลองพบว่าระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง[10] ในเมล็ดทานตะวันพบว่ามีสารฟอสโฟลิพิด (Phosphilipid) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูทดลองได้ แต่ผลการรักษายังไม่ชัดเจนนัก ดอกเมื่อนำมาสกัดจะได้น้ำจากใบ แล้วนำมาใช้ทดลองกับกระต่ายทดลอง ด้วยวิธีการฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ พบว่าจะทำให้ความดันโลหิตต่ำ และกระตุ้นการหายใจ นอกจากนี้เมื่อนำมาหยอดลงบริเวณใบหูของกระต่ายก็ว่าทำให้เส้นเลือดขยายตัวขึ้น และยังทำให้การบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่เมื่อนำมาทดลองกับแมวด้วยวิธีการฉีดเข้าในผิวหนัง พบว่าจะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงกว่าเดิม ฐานรองดอกเมื่อนำมาสกัดสารออกด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาใช้ทดลองกับแมวด้วยวิธีการฉีดเข้าไปในเส้นเลือดดำ พบว่ามีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ และทำให้แมวสลบ น้ำมันจากดอกทานตะวัน เมื่อนำมาใช้ผสมกับอาหารแล้วให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรคมีมากขึ้น สารสกัดจากดอกทานตะวัน เมื่อนำมาทดลองกับกระต่าย พบว่าสามารถทำให้เส้นเลือดมีการขยายตัว และไปกระตุ้นระบบประสาท ส่วนเรื่องการหาย พบว่าทำให้กระต่ายหายใจแรงขึ้น แต่มีความดันลดลง และเห็นได้ชัดเจนว่า ลำไส้เล็กของกระต่ายมีการบีบตัวมากขึ้น จึงได้มีการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้หย่อน หรือลำไส้ไม่มีกำลัง[11] สารสกัดจากใบทานตะวันด้วยแอลกอฮอล์ 0.2% สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ โดยสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus และพารามีเซียม (Paramecium) ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย และช่วยเสริมฤทธิ์ของยาควินินได้อีกด้วย จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าสารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินด้วย 50% เอทานอล มีค่า LD50 มากกว่า 1.0 กรัมต่อกิโลกรัม เมื่อทำการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร[12]

ต้นอ่อนทานตะวัน

แก้

คือต้นอ่อนของทานตะวันที่มีอายุ 7 - 11 วัน ในต้นอ่อนทานตะวันมีสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสีโพแทสเซียม ไขมัน ต้นอ่อนทานตะวันจัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะมีสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า GABA (gamma aminobotyric acid)กรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก ซึ่งเจ้าสารชนิดนี้มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรคมากมายหลายชน­­­ิด เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก บำรุงเซลล์สมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงผิวพรรณ สายตา ชะลอความแก่ชรา นอกจากนี้ก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 บี 6 วิตามินอี วิตามินซี และเซเลเนียม กรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9 มีโฟเลทสูง เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และขจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ในปอด โดยในศาสตร์ของแพทย์แผนอายุรเวทโบราณนั้น ต้นอ่อนทานตะวันสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใ­จได้อีกด้วย และจากข้อมูลการวิจัยของ Medical Center, University of Maryland สหรัฐ เมื่อปี 2553 ระบุว่า ต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprouts) มีกรด Linoleic ในปริมาณมาก ช่วยในการบำรุงสมองและกระดูกให้แข็งแรง ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินอี และโฟเลต ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีด้วย

นอกจากนี้ ข้อมูลการวิจัยของ International Sprout Growers Association เมื่อปี 2554 ระบุว่ามีธาตุเหล็กสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ อีกด้วย

ต้นอ่อนทานตะวันมีโปรตีนมากกว่าผักกาดเขียวถึง 2 เท่า วิตามิน A, B2, E, D, K และยังมีวิตามิน A สูงกว่าน้ำมันเมล็ดข้าวโพดและเมล็ดถั่วเหลืองกว่า 3 เท่าเลยทีเดียว แต่เมื่อนำเมล็ดทานตะวันมาเพาะเป็นต้นอ่อนทานตะวัน คุณค่าทางอาหารจะเพิ่มมากขึ้น เช่น มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินA สูง ช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ และชะลอความแก่[13]

การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน

แก้

การเตรียมดิน การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์

การปลูก หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่

การใส่ปุ๋ย ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น

การให้น้ำทานตะวัน น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้ ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดน้ำ ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขังการให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด [14]

ทานตะวันกับแสงอาทิตย์

แก้

คือ ดอกทานตะวันหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ เป็นการตอบสนองแบบ (Positive Phototropism)[15]คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเพียงด้านเดียว เกิดจากฮอร์โมน ออกซิน (Auxin)[16]เพราะแสงมีอิทธิพลทำให้การกระจายตัวของ(ออกซิน)เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เมื่อแสงส่องมายังพืช ด้านที่ได้รับแสงจะมีออกซินน้อยเพราะออกซินได้หนีไปอยู่ด้านที่มืดกว่า ด้านที่มืดจึงมีการยืดตัวและมีการเจริญเติบโตมากกว่าด้านที่รับแสง ยอดของพืชจึงโค้งเบนเข้าหาแสงจึงดูเหมือนว่าดอกทานตะวันหันหน้ามองพระอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากแบบ (Negative Phototropism)[17] ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวหาแสง เช่น หญ้าแพรก (ข้อสังเกต) ดอกทานตะวันที่มีอายุน้อยจะหันหน้าหาดวงอาทิตย์จริงแต่ดอกทานตะวันที่แก่แล้วหรืออายุมากแล้วจะไม่สนใจดวงอาทิตย์เลย ยิ่งเป็นดอกที่เหี่ยวแล้วจะไม่หันหน้าไปหาดวงอาทิตย์เลย นั่นคือวันสุดท้ายที่มันจะยังมีแรงหันหน้าไปหาดวงอาทิตย์ได้ ก็จะเป็นเวลาตอนเย็นกลางคืนทิ้งช่วงไป 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นรุ้งเช้าดอกทานตะวันก็จะไม่หันหน้าหาดวงอาทิตย์อีก ดอกทานตะวันที่เหี่ยวสวนใหญ่จะหันหน้าไปทาง(ทิศตะวันตก)[18] นอกเสียจากลมจะพัดแรงทำให้หันไปทิศทางอื่น

าพทานตะวัน

แก้

ความสำคัญของดอกทานตะวัน

แก้

ช่อดอกทานตะวัน

  1. ความหมายของดอกทานตะวันกับความรั https://www.loveyouflower.com
  2. University of Cincinnati (2008, April 29). Ancient Sunflower Fuels Debate About Agriculture In The Americas. ScienceDaily. Retrieved April 29, 2008, from /releases/2008/04/080429075321.htm
  3. "เที่ยวลาดพร้าว เข้าวัดไหว้พระ ชมทุ่งทานตะวัน". ผู้จัดการออนไลน์. 31 March 2009. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.[ลิงก์เสีย]
  4. สุพัตรา แก้วแสนสุข, นิตยาไชยเนตร, และ พอจิต นันทนาวัฒน์. (2551). ผลของตะกั่วไนเตรตต่ออัตราการงอกและการเจริญเติบโตของพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 9, 14 – 15 มีนาคม 2551, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
  5. Teerakun, M. (2004). Phytoremediation of Carbofuran Residue in Soil. Thesis, Khon Kaen University.
  6. ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อพืชที่สะสมสารบางชนิดได้ดี
  7. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ทานตะวัน” หน้า 107-108.
  8. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “ทานตะวัน” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/. [03 เม.ย. 2014].
  9. กรมส่งเสริมการเกษตร. “ทานตะวัน” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ssnet.doae.go.th/ssnet2/Library/plant/sun.htm. [03 เม.ย. 2014].
  10. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ทานตะวัน” หน้า 375-379.
  11. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ทานตะวัน” หน้า 262.
  12. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ทานตะวัน” หน้า 107-108.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2015-10-19.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 2015-10-07.
  15. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87
  16. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99
  17. https://en.wikipedia.org/wiki/Phototropism
  18. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81