พารามีเซียม (อังกฤษ: Paramecium)

พารามีเซียม
"Paramecium aurelia"
Paramecium aurelia
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
เคลด: SAR
SAR
Infraregnum: Alveolata
Alveolata
ไฟลัม: Ciliophora
Ciliophora
ชั้น: Oligohymenophorea
Oligohymenophorea
อันดับ: Peniculida
Peniculida
วงศ์: Parameciidae
Parameciidae
สกุล: พารามีเซียม
Paramecium
Müller, 1773
Species

ดูในเนื้อหา

ชื่อพ้อง[1]
  • Paramoecium Hermann, 1783
  • Paramœcium Hermann, 1783
  • Chloroparamecium Fokin, Przybos, Chivilev, Beier, Horn, Skotarczak, Wodecka & Fujishima, 2004
  • Viridoparamecium Kreutz, Stoeck & Foissner, 2012

ลักษณะภายนอก[2] ลำตัวแบนรูปไข่ ด้านหน้า (anterior end) ค่อนข้างกลม ส่วนด้านท้าย (posterior end) จะเรียวแหลมกว่า รูปร่างของลำตัวจะคล้ายรองเท้าแตะ (slipper-shaped) หรือคล้ายเท้า (foot-shaped) ทำให้มีชื่อเรียกว่า Slipper Animalcule ผนังเซลล์เป็นแบบ pellicle มีร่องเป็นรูปหกเหลี่ยมเรียงไปทั่วตัว มีความยืดหยุ่นดี และทำให้มีรูปร่างคงที่ ผิวนอกลำตัวจะมีขน (cilia) ปกคลุมอยู่โดยรอบ ทำให้เคลื่อนที่หรือว่ายน้ำได้ดี ด้านข้างลำตัวมีร่องเว้าเป็นปากเด่นชัด เรียก peristome หรือ oral groove มี cilia เรียงอยู่ภายในขอบปากโดยรอบ และมีช่องเล็ก ๆ ทางด้านท้ายลำตัว (cytoproct หรือ anal pore) สำหรับขับถ่าย

ลักษณะภายใน[3] ภายในเซลล์ (endoplasm) ประกอบด้วยนิวเคลียสขนาดใหญ่ (macronucleus) รูปไข่อยู่เกือบกลางเซลล์ ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญและการทำงานของเซลล์ มีนิวเคลียสเม็ดเล็ก (micronucleus) อยู่ใกล้ ๆ ทำหน้าที่ควบคุมการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ มี contractile vacuole ทั้งทางด้านหน้าและท้ายลำตัว ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสียคล้ายไต และมี food vacuole ที่เกิดจากการกินอาหารอยู่จำนวนมาก

การเคลื่อนที่[2] พารามีเซียมจัดเป็นโปรโตซัวที่เคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็วและชอบเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยการโบกพัดของ cilia  

การดำรงชีวิต[2] พารามีเซียมกินอาหารแบบกลืนกิน (holozoic) โดยการโบกพักของ cilia ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำนำเอาจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่าง ๆ เข้าไปในปาก แล้วถูกล้อมรอบ กลายเป็น food vacuole เข้าไปในเซลล์

การแพร่พันธุ์ของพารามีเซียม[3]

แก้

พารามีเซียมมีการแพร่พันธุ์ได้ 2 แบบ คือ

  1. การแพร่พันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแบ่งตัวตามขวาง (Transverse binary fission) ด้วยการแบ่งนิวเคลียสก่อน โดย macronucleus จะแบ่งแบบ Amitosis ส่วน micronucleus จะแบ่งแบบ Mitosis  จากนั้นจึงเกิดการแบ่ง cytoplasm การขยายพันธุ์วิธีนี้จะเกิดในภาวะปกติที่มีอาหารสมบูรณ์ หรือในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งปกติพารามีเซียมแต่ละตัวจะมีการแบ่งตัวประมาณวันละ 4 ครั้ง โดยใช้เวลาครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นการแพร่พันธุ์ที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
  2. การแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยวิธี Conjugation การสืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้มักเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการแพร่พันธุ์โดยการแบ่งตัวมาก ๆ เข้า จนทำให้ร่างกายเกิดอ่อนแอลง จึงต้องมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซล การ   Conjugation ของพารามีเซียมมีขั้นตอนดังนี้
    1. Paramecium 2 ตัวมาจับคู่กัน แต่ละตัวจะเรียก conjugant โดยหัน oral groove เข้าหากันแล้ว pellicle บริเวณนั้นค่อย ๆ สลายไป ทำให้เนื้อของทั้ง 2 ตัวผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างนี้ทั้ง 2 ตัวจะมีการเคลื่อนที่คู่กันไปเรื่อย ๆ
    2. micronucleus (2n) ของแต่ละตัวจะเกิดการแบ่งตัวแบบ Meiosis  ได้ micronucleus (n) จำนวน 4 อัน แล้ว 3 ใน 4 อันสลายไปเหลือเพียงอันเดียว
    3. micronucleus ที่เหลือเพียงอันเดียวเกิดการแบ่งตัวแบบ Mitosis ได้ micronucleus (n) จำนวน 2 อัน
    4. micronucleus (n) 1 อัน ของแต่ละตัวจะเคลื่อนที่สลับกันไป แล้วไปรวมกับ micronucleus (n) ของอีกตัวหนึ่ง กลายเป็น Zygote  nucleus
    5. จากนั้น pellicle จะเริ่มปรากฏแล้ว Paramecium ทั้ง 2 ตัวจะแยกออกจากกัน เรียกแต่ละตัวว่า Exconjugant
    6. exconjugant จะมีการเปลี่ยนแปลงภายในอีก คือ macronucleus ของแต่ละตัวจะเริ่มสลายไป แล้ว Zygote nucleus จะแบ่งตัวแบบ Mitosis 3 ครั้งได้ 8 อัน ต่อมา 4 ใน 8 อันจะกลายเป็น macronucleus ทำให้ exconjugant แต่ละตัวมี micronucleus 4 อัน และ macronucleus 4 อัน
    7. จากนั้น exconjugant แต่ละตัวจะแบ่ง cytoplasm ออกไปอีก 2 ครั้ง แต่ละตัวได้เป็น 4 ตัวที่มี micronucleus 1 อัน  และ macronucleus 1 อัน

สรุป จากการ conjugation แต่ละครั้ง Paramecium 1 ตัว จะให้ Paramecium ใหม่ 4 ตัว หรือการ conjugation แต่ละครั้งจะให้ Paramecium ใหม่ 8 ตัว  ซึ่งมีความแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะแพร่พันธุ์แบบไม่อาศัยเพศต่อไป

อ้างอิง

แก้
  1. GBIF
  2. 2.0 2.1 2.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  3. 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.