น้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันพืชที่ได้จากเมล็ดของถั่วเหลือง (Glycine max) เป็นน้ำมันประกอบอาหารที่นิยมที่สุด แต่เพราะเป็นน้ำมันชักแห้งด้วย จึงสามารถใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของหมึกพิมพ์ (หมึกถั่วเหลือง) และสีน้ำมัน
ประวัติ
แก้บันทึกจีนซึ่งหาอายุได้ 2,000 ปีก่อน ค.ศ. กล่าวถึงการเพาะปลูกถั่วเหลืองเพื่อทำน้ำมัน[1] แต่วรรณกรรมจีนโบราณก็แสดงว่า มีการเพาะปลูกถั่วเหลืองอย่างกว้างขวางเพราะมีคุณค่าสูงเพื่อผลิตน้ำมันตั้งแต่ยุคก่อนเขียนบันทึกแล้ว[2]
การผลิต
แก้การสกัดน้ำมันเริ่มจากการทำเมล็ดให้แตก แล้วอุ่นให้ถึงอุณหภูมิ 60-88 °C ขึ้นอยู่กับความชื้น นำผ่านลูกกลิ้ง/ลูกรีดให้เป็นเกล็ดเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวให้สกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วสกัดด้วยตัวทำละลายคือเฮกเซน[3] น้ำมันที่ได้จะทำให้บริสุทธิ์ (refined) ผสมเพื่อใช้ในการต่าง ๆ และบางครั้งเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) น้ำมันทั้งแบบเหลวและแบบเติมไฮโดรเจนวางขายเป็นน้ำมัน/ไขมันพืช ซึ่งเป็นส่วนผสมของอาหารแปรรูปต่าง ๆ มากมาย ส่วนที่เหลือของเมล็ดจะใช้เป็นอาหารสัตว์
ในฤดูเพาะปลูกปี 2002-2003 โลกผลิตน้ำมันถั่วเหลืองทั้งหมด 30.6 ล้านตัน โดยเป็นครึ่งหนึ่งของน้ำมันพืชที่ใช้ทาน เป็น 30% ของไขมันและน้ำมันที่ผลิตจากสัตว์และพืชเขตร้อนทั้งหมด[4]
องค์ประกอบ
แก้น้ำมันถั่วเหลือง 100 ก. มีไขมันอิ่มตัว 16 ก. ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 23 ก. และไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ 58 ก.[5][6] ไตรกลีเซอไรด์ของถั่วเหลืองมีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่หลักเป็นกรดลิโนเลนิกอัลฟา (C-18:3) ในอัตราส่วน 7-10% และกรดลิโนเลอิก (C-18:2) ในอัตราส่วน 51% และมีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวหลักเป็นกรดโอเลอิก (C-18:1) ที่ 23%[7] มันยังมีกรดไขมันอิ่มตัว คือ stearic acid (C-18:0) 4% และกรดปาลมิติก (C-16:0) 10%
อัตราส่วนที่สูงของไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งออกซิไดซ์ได้ง่ายเป็นคุณสมบัติที่ไม่ดีในการบางอย่าง เช่น เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ในปี 2004 บริษัท 3 บริษัทคือ มอนซานโต้, DuPont/Bunge และ Asoyia จึงได้เริ่มวางขายถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม Roundup Ready soybean ซึ่งมี กรดลิโนเลนิกต่ำ แต่กระบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) ก็สามารถใช้ลดความไม่อิ่มตัวของกรด แต่ถ้าเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วน (partially hydrogenated) น้ำมันที่ได้ส่วนหนึ่งก็จะเป็นไขมันทรานส์
เทียบกับน้ำมันพืชอื่น
แก้น้ำมันพืช[8][9] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[8] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[8] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[10] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[11] | ||
คาโนลา[12] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
มะพร้าว[14] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |||
ข้าวโพด[15] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
เมล็ดฝ้าย[17] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
เมล็ดแฟลกซ์[18] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[19] | |
น้ำมันกัญชง[20] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[21] | |
มะกอก[22] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
ปาล์ม[23] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[24] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | ||
คำฝอย[25] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
ถั่วเหลือง[26] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[27] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[28] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[29] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
เมล็ดฝ้าย[30] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[31] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[32] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
การใช้
แก้เป็นอาหาร
แก้น้ำมันถั่วเหลืองโดยมากใช้ทอด/ผัด และอบขนม/อาหาร แต่ก็ใช้เป็นเครื่องปรุงรสสลัดด้วย
ประเภทไขมัน | ไขมันทั้งหมด (ก.) | ไขมันอิ่มตัว (ก.) | ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว (ก.) | ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (g) | จุดก่อควัน |
---|---|---|---|---|---|
น้ำมันดอกทานตะวัน | 100 | 11 | 20 | 69 | 225 องศาเซลเซียส (437 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
น้ำมันดอกทานตะวัน (กรดโอเลอิกสูง) | 100 | 12 | 84[34] | 4[34] | |
น้ำมันถั่วเหลือง | 100 | 16 | 23 | 58 | 257 องศาเซลเซียส (495 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
น้ำมันคาโนลา | 100 | 7 | 63 | 28 | 205 องศาเซลเซียส (401 องศาฟาเรนไฮต์)[34][35] |
น้ำมันมะกอก | 100 | 14 | 73 | 11 | 190 องศาเซลเซียส (374 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
น้ำมันข้าวโพด | 100 | 15 | 30 | 55 | 230 องศาเซลเซียส (446 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
น้ำมันถั่วลิสง | 100 | 17 | 46 | 32 | 225 องศาเซลเซียส (437 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
น้ำมันรำข้าว | 100 | 25 | 38 | 37 | 250 องศาเซลเซียส (482 องศาฟาเรนไฮต์)[36] |
เนยขาว (น้ำมันพืชเติมไฮโดรเจน) | 71 | 23 | 8 | 37 | 165 องศาเซลเซียส (329 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
มันหมู | 100 | 39 | 45 | 11 | 190 องศาเซลเซียส (374 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
Suet (มันแข็งริมไตสัตว์) | 94 | 52 | 32 | 3 | 200 องศาเซลเซียส (392 องศาฟาเรนไฮต์) |
เนย | 81 | 51 | 21 | 3 | 150 องศาเซลเซียส (302 องศาฟาเรนไฮต์)[33] |
น้ำมันมะพร้าว | 100 | 86 | 6 | 2 | 177 องศาเซลเซียส (351 องศาฟาเรนไฮต์) |
เป็นน้ำมันชักแห้ง
แก้น้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันชักแห้งชนิดหนึ่ง ซึ่งหมายความจะค่อย ๆ แข็งเมื่อถูกกับอากาศโดยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันอาศัยอนุมูลอิสระ แล้วกลายเป็นของแข็งที่ยืดหยุ่นได้ ใส และกันน้ำได้ เพราะเหตุนี้ จึงใช้ทำหมึกพิมพ์และสีน้ำมัน แต่น้ำมันประเภทอื่น เช่น น้ำมันเมล็ดฝ้าย อาจดีกว่าเมื่อใช้เป็นน้ำมันชักแห้งในบางกรณี
เป็นสารทำให้คงสภาพในสารขับไล่แมลง
แก้แม้น้ำมันเองจะไม่มีฤทธิ์ไล่แมลงโดยตรง แต่ก็ใช้เป็นสารทำให้คงสภาพ (fixative) เพื่อยืดระยะฤทธิ์น้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันตะไคร้ ในสารขับไล่แมลงพาณิชย์หลายยี่ห้อ[37][38]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ Kleinman, George (2013). Trading Commodities and Financial Futures: A Step-by-Step Guide to Mastering the Markets (4th ed.). Financial Times Press (ตีพิมพ์ 2013-03-11). p. 100. ISBN 978-0134087184.
- ↑ Min, David B. (1986). Smouse, Thomas H. (บ.ก.). Flavor Chemistry of Fats and Oils. American Oil Chemists Society (ตีพิมพ์ 1986-01-01). p. 85. ISBN 978-0935315127.
- ↑ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. "Soybean oil / น้ำมันถั่วเหลือง". Food Network Solution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-20. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Agricultural Statistics 2004". กระทรวงเกษตรสหรัฐ. Table 3-51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-02.
- ↑ Poth, U. (2001). "Drying Oils and Related Products". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. doi:10.1002/14356007.a09_055. ISBN 3527306730.
- ↑ "Oil, soybean, salad or cooking Nutrition Facts & Calories". www.nutritiondata.com.
- ↑ Ivanov, Dušica S.; Lević, Jovanka D.; Sredanović, Slavica A. (2010). "Fatty acid composition of various soybean products". Journal of the Institute for Food Technology in Novi Sad. 37 (2): 65–70. สืบค้นเมื่อ 2013-06-21.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 33.6 33.7 The Culinary Institute of America (2011). The Professional Chef (9th ed.). Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-42135-2. OCLC 707248142.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 "Nutrient database, Release 25". United States Department of Agriculture.
- ↑ Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Rice Bran Oil FAQ's". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ Barnard, Donald R; Xue, Rui-De (Jul 2004). "Laboratory evaluation of mosquito repellents against Aedes albopictus, Culex nigripalpus, and Ochierotatus triseriatus (Diptera: Culicidae)". Journal of Medical Entomology. 41 (4): 726–730. doi:10.1603/0022-2585-41.4.726. PMID 15311467. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Fradin, MS; Day, JF (2002-07-04). "Comparative efficacy of insect repellents against mosquito bites". The New England Journal of Medicine. 347 (1): 8–13. doi:10.1056/NEJMoa011699. PMID 12097535.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)