น้ำมันรำข้าว
น้ำมันรำข้าว (อังกฤษ: rice bran oil) เป็นน้ำมันพืชที่สกัดมาจากเปลือกแข็งสีน้ำตาลนอกของข้าว คือ แกลบ/รำข้าว มีจุดก่อควัน (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะเกินควันสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่องซึ่งในที่สุดก็จะมองเห็นได้) สูง คือ 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์) มีรสอ่อน ๆ เหมาะทำอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เช่นผัดหรือทอด และยังเหมาะทำน้ำสลัดและขนมอบอีกด้วย[1] เป็นน้ำมันประกอบอาหารที่นิยมในประเทศเอเชียบางประเทศรวมทั้งบังกลาเทศ ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน[2]
องค์ประกอบไขมัน | |
---|---|
ไขมันอิ่มตัว | |
ไขมันอิ่มตัวทั้งหมด | 25% Myristic: 0.6% กรดปาล์มิติก: 21.5% Stearic acid: 2.9% |
ไขมันไม่อิ่มตัว | |
ไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมด | 75% |
Monounsaturated | 38% |
กรดโอเลอิก | 38% |
Polyunsaturated | 37% |
กรดไขมันโอเมกา-3 | กรดลิโนเลนิกอัลฟา: 2.2% |
กรดไขมันโอเมกา-6 | กรดลิโนเลอิก: 34.4% |
คุณสมบัติ | |
พลังงานต่อ 100 ก. | 3,700 kJ (880 kcal) |
จุดก่อควัน (Smoke point) | 232 °C (450 °F) |
Iodine value | 99-108 |
Acid value | 1.2 |
Saponification value | 180-190 |
Unsaponifiable | 3-5 |
น้ำมันรำข้าวอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยปรับปรุงรูปแบบลิพิด/คอเลสเตอรอลในเลือด (จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดคอเลสเตอรอลแบบ LDL) บรรเทาอาการเนื่องด้วยวัยหมดระดู และอาจลดการดูดซึมแคลเซียมซึ่งอาจลดการเกิดนิ่วไตบางประเภท มีสารต้านอนุมูลอิสระหลัก ๆ สองอย่างคือวิตามินอีและโอรีซานอล (oryzanol) ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า[1] มีกรดไขมันอิ่มตัว 23% กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 45% และกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ 32%[2]
การใช้
แก้น้ำมันรำข้าวใช้ทานและใช้ทำเนยใส (ghee) ได้ ขี้ผึ้งรำข้าวที่ทำจากน้ำมันสามารถใช้แทนขี้ผึ้งคานอบา/ขี้ผึ้งบราซิล/ขี้ผึ้งปาล์มเพื่อทำเครื่องสำอาง ทำขนมหวาน/ลูกกวาด และทำสารประกอบขัดเงา
องค์ประกอบ
แก้น้ำมันรำข้าวมีองค์ประกอบคล้ายกับน้ำมันถั่วลิสง คือมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 38% กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ 37% และกรดไขมันอิ่มตัว 25% องค์ประกอบกรดไขมันรวมทั้ง[2]
กรดไขมัน | อัตราร้อยละ |
---|---|
C14:0 Myristic acid | 0.6% |
C16:0 กรดปาล์มิติก | 21.5% |
C18:0 Stearic acid | 2.9% |
C18:1 กรดโอเลอิก (เป็นกรดไขมันโอเมกา-9 อย่างหนึ่ง) | 38.4% |
C18:2 กรดลิโนเลอิก (เป็นกรดไขมันโอเมกา-6 อย่างหนึ่ง) | 34.4% |
C18:3 กรดลิโนเลนิกอัลฟา (เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 อย่างหนึ่ง) | 2.2% |
คุณสมบัติ | ดิบ | กลั่น |
ความชื้น | 0.5-1.0% | 0.1-0.15% |
ความหนาแน่น (15-15 °C) | 0.913-0.920 | 0.913-0.920 |
ดรรชนีหักเห | 1.4672 | 1.4672 |
Iodine value[A] | 85-100 | 95-104 |
Saponification value[B] | 187 | 187 |
ส่วนที่ไม่กลายเป็นสบู่ (Unsaponifiable matter) |
4.5-5.5 | 1.8-2.5 |
กรดไขมันอิสระ | 5-15% | 0.15-0.2% |
โอรีซานอล | 2.0 | 1.5-1.8 |
โทโคฟีรอล | 0.15 | 0.05 |
สี (Tintometer) | 20Y+2.8R | 10Y+1.0R |
เปรียบเทียบกับอาหารและไขมันอื่น ๆ
แก้น้ำมันพืช[5][6] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[5] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[5] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[7] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[8] | ||
คาโนลา[9] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[10] | |
มะพร้าว[11] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[10] | |||
ข้าวโพด[12] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
เมล็ดฝ้าย[14] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
เมล็ดแฟลกซ์[15] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[16] | |
น้ำมันกัญชง[17] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
มะกอก[19] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[10] | |
ปาล์ม[20] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[21] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | ||
คำฝอย[22] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[10] | |
ถั่วเหลือง[23] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[24] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[25] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[26] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | |
เมล็ดฝ้าย[27] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[28] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[29] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
ประเภทไขมัน | ไขมันทั้งหมด (ก.) | ไขมันอิ่มตัว (ก.) | ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว (ก.) | ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (g) | จุดก่อควัน |
---|---|---|---|---|---|
น้ำมันดอกทานตะวัน | 100 | 11 | 20 | 69 | 225 องศาเซลเซียส (437 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
น้ำมันดอกทานตะวัน (กรดโอเลอิกสูง) | 100 | 12 | 84[42] | 4[42] | |
น้ำมันถั่วเหลือง | 100 | 16 | 23 | 58 | 257 องศาเซลเซียส (495 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
น้ำมันคาโนลา | 100 | 7 | 63 | 28 | 205 องศาเซลเซียส (401 องศาฟาเรนไฮต์)[42][43] |
น้ำมันมะกอก | 100 | 14 | 73 | 11 | 190 องศาเซลเซียส (374 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
น้ำมันข้าวโพด | 100 | 15 | 30 | 55 | 230 องศาเซลเซียส (446 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
น้ำมันถั่วลิสง | 100 | 17 | 46 | 32 | 225 องศาเซลเซียส (437 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
น้ำมันรำข้าว | 100 | 25 | 38 | 37 | 250 องศาเซลเซียส (482 องศาฟาเรนไฮต์)[44] |
เนยขาว (น้ำมันพืชเติมไฮโดรเจน) | 71 | 23 | 8 | 37 | 165 องศาเซลเซียส (329 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
มันหมู | 100 | 39 | 45 | 11 | 190 องศาเซลเซียส (374 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
Suet (มันแข็งริมไตสัตว์) | 94 | 52 | 32 | 3 | 200 องศาเซลเซียส (392 องศาฟาเรนไฮต์) |
เนย | 81 | 51 | 21 | 3 | 150 องศาเซลเซียส (302 องศาฟาเรนไฮต์)[41] |
น้ำมันมะพร้าว | 100 | 86 | 6 | 2 | 177 องศาเซลเซียส (351 องศาฟาเรนไฮต์) |
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แก้น้ำมันมีองค์ประกอบเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคือโอรีซานอลแบบแกมมา (γ-oryzanol) อยู่ประมาณ 2% แม้จะเชื่อว่าเป็นสารประกอบเพียงอย่างเดียวเมื่อแยกได้ในเบื้องต้น แต่ปัจจุบันรู้ว่าเป็นสารผสมคือ เอสเทอร์ sterol บวกกับเอสเทอร์ triterpene ของกรดเฟรูลิก (ferulic acid)[2] มีอัตราส่วนค่อนข้างสูงของโทโคฟีรอลและ tocotrienol รวมกันเป็นวิตามินอี และยังมี phytosterol อื่น ๆ มากด้วย
โอรีซานอลแบบแกมมา (จีน: 谷维素) แบบสกัดยังมีขายในประเทศจีนโดยเป็นยาที่ซื้อได้เอง[45] และในประเทศอื่นโดยเป็นอาหารเสริม
ประโยชน์
แก้ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ประโยชน์มีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวและจมูกข้าวที่อุดมด้วยสารสำคัญทางธรรมชาติ จึงมีคุณค่าสูงหลายชนิดต่อร่างกาย เช่น
- กลุ่มสารฟอสโฟลิพิด เช่น เลซิติน (lecithin) เซฟฟาลิน (cephalin) ไลโซเลซิติน (lysolecithin) ซึ่งสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ประสาทสมอง และช่วยป้องกันเซลล์ประสาทจากสารที่เป็นพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ ช่วยลดความเครียด และช่วยเสริมสร้างความจำ
- กลุ่มเซราไมด์ (ceramide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังยืดหยุ่น เซราไมด์ที่ได้เพียงพอ จากการรับประทานหรือการทาผิวหนังด้วยครีมหรือโลชัน จะช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ปราศจากริ้วรอยย่นก่อนเวลาอันควร เซราไมด์ยังมีคุณสมบัติเป็นไวท์เทนเนอร์ (whitener) ซึ่งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวพรรณได้ดี และยังเป็นสารให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว (moisturizer) อีกด้วย
- กลุ่มโทคอล (tocols) เป็นวิตามินอีธรรมชาติ ในรูปของโทโคฟีรอล (tocopherol) และโทโคไทรอีนอล (tocotrienol) มีประโยชน์ช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต้านโรคต่าง ๆ ช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นเหตุสำคัญของมะเร็ง
- กลุ่มกรดไขมันลิโนเลอิก (linoleic Acid) ซึ่งเป็นส่วนของกลุ่มกรดไขมันโอเมกา-6 และ กรดลิโนเลนิกอัลฟา (linolenic acid) ซึ่งเป็นส่วนของกลุ่มกรดไขมันโอเมกา-3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น
- กลุ่มวิตามินบีคอมเพล็กซ์ ซึ่งช่วยระบบประสาททำงานดีขึ้น
- กลุ่มโอรีซานอลแบบแกมมา มีฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด มีฤทธิ์ลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารอนุมูลอิสระ ป้องกันแสงยูวีได้เมื่อใช้กินหรือใช้ทา ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นและต้านการอักเสบ
ปรับคอเลสเตอรอล
แก้งานทบทวนวรรณกรรมแสดงว่า น้ำมันรำข้าวและองค์ประกอบที่มีฤทธิ์ต่าง ๆ ปรับปรุงคอเลสเตอรอลในเลือด โดยลดคอเลสเตอรอลรวมกับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลแบบ HDL[46] งานศึกษาในสัตว์[47] แสดงว่า คอเลสเตอรอลรวมจะลด 42% และคอเลสเตอรอลแบบ LDL จะลด 62% เมื่อให้ทานอาหารเสริมเป็นวิตามินอีที่ได้จากน้ำมันรำข้าว
บรรเทาอาการวัยหมดระดู
แก้งานศึกษาขนาดเล็กในเรื่องโอรีซานอลแบบแกมมา (γ-oryzanol) ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำมันรำข้าวพบว่า หญิง 90% จะบรรเทาอาการร้อนวูบ (hot flashes) ในช่วงวัยหมดระดูเมื่อทานสารสกัดบริสุทธิ์เข้มข้นเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์[48]
ความเสถียรของสารต้านอนุมูลอิสระ
แก้โอรีซานอลในน้ำมันรำข้าวที่ใส่ในกระทะจะคงยืนเท่ากันโดยประมาณแม้เมื่อให้ความร้อนถึง 180 ˚C เป็นเวลา 8 ชม. แต่การอุ่นด้วยเตาอบไมโครเวฟที่อุณหภูมิเดียวกันปรากฏกว่าลดปริมาณโอรีซานอล[49]
ดูดซึมแคลเซียม
แก้น้ำมันรำข้าวอาจลดคอเลสเตอรอลเพราะมีสารลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลและเพิ่มการกำจัดคอเลสเตอรอล อนึ่ง สารอย่างหนึ่งในน้ำมันอาจลดการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งอาจช่วยลดการเกิดนิ่วไตบางประเภท[50]
ลดการดื้ออินซูลิน (insulin resistance)
แก้ในหนู การได้รับข้าวกล้องที่เริ่มงอกแล้วและสารสกัดโอรีซานอลเมื่อยู่ในครรภ์พบว่า ลดการดื้ออินซูลิน (insulin resistance) เนื่องกับอาหารไขมันสูง[51]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ในสาขาเคมี iodine value หรือ iodine adsorption value หรือ iodine number หรือ iodine index เป็นมวลของไอโอดีนมีหน่วยเป็นกรัมที่หมดไปเนื่องกับการทำปฏิกิริยากับสารเคมี 100 กรัม เป็นค่าที่มักใช้ระบุความไม่อิ่มตัวของกรดไขมัน ค่ายิ่งสูงเท่าไร กรดไขมันก็ไม่อิ่มตัวยิ่งขึ้นเท่านั้น
- ↑ Saponification value หรือ saponification number หรือ Koettstorfer number หรือ sap เป็นจำนวนโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมที่จำเป็นเพื่อทำไขมัน 1 กรัมให้เป็นสบู่ภายใต้ภาวะโดยเฉพาะ ๆ มันเป็นตัววัดมวลโมเลกุลเฉลี่ย (หรือความยาวโซ่เฉลี่ย) ของกรดไขมันทั้งหมดที่มี
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "เราจะเลือกน้ำมันอะไรดีในการปรุงอาหาร". ASTV/ผู้จัดการออนไลน์. 2009-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-05. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Orthoefer, F. T. (2005). "Chapter 10: Rice Bran Oil". ใน Shahidi, F. (บ.ก.). Bailey's Industrial Oil and Fat Products. Vol. 2 (6th ed.). John Wiley & Sons, Inc. p. 465. ISBN 978-0-471-38552-3. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
- ↑ SEA HandBook-2009, By The Solvent Extractors'Association of India
- ↑ "What is Rice Bran Oil?". AP Refinery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 Anderson. "Fatty acid composition of fats and oils" (PDF). UCCS. สืบค้นเมื่อ April 8, 2017.
- ↑ "NDL/FNIC Food Composition Database Home Page". Nal.usda.gov. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
- ↑ USDA → Basic Report: 04042, Oil, peanut, salad or cooking Retrieved on January 16, 2015
- ↑ nutritiondata.com → Oil, vegetable safflower, oleic Retrieved on April 10, 2017
- ↑ nutritiondata.com → Oil, vegetable safflower, linoleic Retrieved on April 10, 2017
- ↑ nutritiondata.com → Oil, vegetable, sunflower Retrieved on September 27, 2010
- ↑ USDA Basic Report Cream, fluid, heavy whipping
- ↑ "Nutrition And Health". The Goose Fat Information Service.
- ↑ nutritiondata.com → Egg, yolk, raw, fresh Retrieved on August 24, 2009
- ↑ "09038, Avocados, raw, California". National Nutrient Database for Standard Reference, Release 26. United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.
- ↑ "Feinberg School > Nutrition > Nutrition Fact Sheet: Lipids". Northwestern University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 41.3 41.4 41.5 41.6 41.7 The Culinary Institute of America (2011). The Professional Chef (9th ed.). Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-42135-2. OCLC 707248142.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 "Nutrient database, Release 25". United States Department of Agriculture.
- ↑ Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Rice Bran Oil FAQ's". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ "National Drug Standard for 谷维素片 / Oryzanol Tablets (DRAFT)" (PDF). 国家食品药品监督管理总局. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-29. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
- ↑ A.F. Cicero; A. Gaddi (2001). "Rice bran oil and gamma-oryzanol in the treatment of hyperlipoproteinaemias and other conditions". Phytother Res. 15 (4): 277–286. doi:10.1002/ptr.907. PMID 11406848. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-26. สืบค้นเมื่อ 2006-10-09.
- ↑ Minhajuddin, M; Beg, ZH; Iqbal, J (2005). "Hypolipidemic and antioxidant properties of tocotrienol rich fraction isolated from rice bran oil in experimentally induced hyperlipidemic rats". Food and Chemical Toxicology. 43 (5): 747–53. doi:10.1016/j.fct.2005.01.015.
- ↑ Ishihara, M; Ito, Y; Nakakita, T; Maehama, T; Hieda, S; Yamamoto, K; Ueno, N (1982). "gamma-oryzanol on climacteric disturbance". Nihon Sanka Fujinka Gakkai zasshi. 34 (2): 243–51. PMID 7061906.
- ↑ Paul, A.; Masih, D., Masih, J., Malik, P. (2012). "COMPARATIVE ANALYSIS OF HEAT DEGRADATION OF ORYZANOL IN RICE BRAN OIL, MUSTARD OIL AND SUNFLOWER OIL BY MICROWAVE AND PAN HEATING" (PDF). International Journal of Food and Nutritional Sciences. 1 (1): 110–117. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-03. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Find a Vitamin or Supplement: Rice Bran". WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-17.
- ↑ Hadiza, Altine .; Mustapha Umar Imam, Der-Jiun Ooi, Norhaizan Mohd Esa, Rozita Rosli (2017). "In utero exposure to germinated brown rice and its oryzanol-rich extract attenuated high fat diet-induced insulin resistance in F1 generation of rats" (PDF). BMC Complementary and Alternative Medicine. 17: 67. doi:10.1186/s12906-017-1571-0. PMC 5251246. PMID 28109299.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)