ฉบับร่าง:คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University
ชื่อย่อAGRO CMU
สถาปนา18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (31 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล
ที่อยู่
155 ม.2 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
สีทอง
เว็บไซต์https://www.agro.cmu.ac.th/

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University) เป็นคณะสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535 เป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ[1]

แก้

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 เป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และต่อมาปีพ.ศ. 2542 ได้ย้ายที่ทำการคณะฯมาที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2536 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้สาขาอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสาขาขาดแคลน เนื่องจากรัฐบาลได้เห็นว่าอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มีปณิธานในการดำเนินงาน คือ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการวิจัยในเชิงเอกลักษณ์ของภาคเหนือ

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเป็นสถาบันวิชาการทางอุตสาหกรรมเกษตรที่มีความเป็นสากล สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ดำรงตำแหน่งคณบดี ในปัจจุบัน

หน่วยงาน

แก้

มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานในส่วนวิชาการและส่วนงานอื่น (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2567 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป โดยควบรวมศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ และวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล ให้เป็นส่วนหนึ่งของคณะอุตสาหกรรมเกษตร โดยคณะอุตสาหกรรมเกษตร แบ่งหน่วยงานดังนี้
1.สำนักงานคณะ
2.สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
3.ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์

หลักสูตร

แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[2] ได้แก่

หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอก
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ทางทะเล
สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร
สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

รายละเอียดหลักสูตร และแนวทางการประกอบอาชีพ

แก้

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

เป็นสาขาที่จะได้เรียนรู้ในรายวิชาที่ครอบคลุม และหลากหลายในทุกๆ ชนิดของอาหาร เช่น องค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพของอาหาร จุลชีววิทยาในอาหาร หลักการการถนอมอาหาร กระบวนการแปรรูปอาหาร เคมีอาหาร การวิเคราะห์อาหาร การประเมินคุณภาพทั้งทางประสาทสัมผัส และทางกายภาพ เช่น กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และทางเคมี รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแทบทุกชนิด

ในชั้นปีที่ 1 - 2 นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาทั่วไป และวิทยาศาสตร์ทั่วไป เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ แคลคูลัส เป็นต้น โดยเน้นไปทางด้านวิชาที่เกี่ยวข้อทางด้านเคมี

จากนั้นในชั้นปีที่ 3 จะได้เรียนลึกในรายวิชาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้คิดค้นและเรียนรู้กระบวนการแปรรูปอาหาร หลักวิศวกรรมอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหารทั้งในแง่การเสื่อมเสียของอาหาร และการใช้ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในอาหารต่างๆ เคมีของอาหาร การควบคุมและการประกันคุณภาพ การวิเคราะห์อาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีของผลตภัณฑ์อาหารขนิดต่างๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติจริงในทุกๆกระบวนการแปรรูปอาหาร นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถเลือกเรียนวิชาโททางด้านต่างๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน

ในชั้นปีสุดท้าย นักศึกษามีโอกาสได้เลือกแผนฝึกงานในอุตสาหกรรมอาหาร หรือเลือกสหกิจศึกษาเพื่อฝึกงานในโรงงานอาหาร เน้นการทำงาน และการแก้ปัญหาจริงในระยะเวลาที่นาน และเข้มข้นขึ้น

โอกาสในการทำงาน

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เรียกว่าเป็นสาขาวิชาหลักในการผลิตบุคลากรที่จะไปเป็นส่วนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและการใช้ผลิตผลจากภาคเกษตรของประเทศ บุคลากรในสายงานนี้จึงเป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก แม้ว่าตำแหน่งนักตรวจสอบคุณภาพ หรือ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นสายงานหลัก แต่บัณฑิตอุตสาหกรรมเกษตรก็สามารถทำงานในสายวิชาการได้ ทั้งรับราชการหรือเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรืออยากจะประกอบอาชีพอิสระ ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ก็มีความหลากหลายให้ ได้เลือก ขึ้นอยู่กับความสามารถและการประยุกต์ใช้ความรู้ของนักศึกษาเอง


สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์

เป็นสาขาวิชาที่ใช้ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มีการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมทางด้านอาหาร เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และตรงตามความต้องการของของผู้บริโภค ดังนั้นหลักสูตรเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรเชิงระบบ

ในชั้นปีที่ 1 นักศึกษาจะได้เรียนวิทยาศาสตร์ทางด้านเคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา แคลคูลัส ภาษาอังกฤษ และวิชาเลือกทั่วไป เช่น บัญชี เศรษฐศาสตร์และการตลาด รวมทั้งอุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้นและข้อบังคับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร

ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาจะได้เรียนวิชาในหลักสูตรเพิ่มขึ้น เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการใช้สารเคมีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและวิทยาศาสตร์ทางด้านเคมีมากขึ้น

ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาจะได้เรียนรู้การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เรียนรู้กระบวนการแปรรูป การทดสอบทางด้านประสาทสัมผัส การวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคนิคและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ รวมถึงการวิเคราะห์ผลทางด้านสถิติ นอกจากนี้ นักศึกษามีโอกาสได้ไปดูงานและฝึกงานในโรงงานหรือสถานประกอบการจริง

ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะได้เรียนการวิจัยการตลาด การควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ การศึกษาอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ graphic design โดยในภาคการเรียนสุดท้าย นักศึกษาสามารถเลือกแผนการเรียนแบบสหกิจศึกษา เพื่อให้ นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ ในการจัดทำโครงงานวิจัยร่วมกับโรงงาน หรือสถานประกอบการจริง

โอกาสในการทำงาน

บัณฑิตของสาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและโรงงานแปรรูปผลิตผลการเกษตรในระดับเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ เป็นอย่างมาก ตำแหน่งงานในสายอาชีพได้แก่

1) นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร

2) นักวิจัยและพัฒนาในองค์กรของรัฐและเอกชน

3) เจ้าหน้าที่ควบคุมและวางแผนการผลิตสินค้า

4) เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพสินค้า

5) เจ้าของกิจการ

นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอกในสาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์และสาขาที่เกี่ยวข้องได้


สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ

เป็นสาขาวิชาที่ทำการเรียนการสอนในด้านวัสดุศาสตร์ วัสดุบรรจุภัณฑ์ทางชีวภาพ กระบวนการผลิตวัสดุ และบรรจุภัณฑ์ การทดสอบวัสดุบรรจุภัณฑ์ รวมถึงหลักการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องป้องและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร ทั้งนี้สาขาเทคโนโลยีการบรรจุมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น บรรจุภัณฑ์ฉลาด บรรจุภัณฑ์แอคทีฟ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยงานวิจัยด้านดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษา และบ่งชี้คุณภาพภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้สาขาวิชายังทำการเรียนการสอน และทำการวิจัยด้านการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย มีความแข็งแรงเหมาะสมสำหรับนำไปใช้งาน รวมถึงด้านการออกแบบกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

ในชั้นปีที่ 1 จะได้เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานต่างๆ ชองคณะวิทยาศาสตร์

เมื่อเริ่มเข้าสู่ปีที่ 2 จะเริ่มเข้าสู่วิชาเอกมากขึ้น ได้ศึกษาลงลึกเกี่ยวกับ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ สมบัติของวัสดุบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ

ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาจะเริ่มได้ใช้งานเครื่องวิเคราะห์ ทดสอบ สมบัติของวัสดุ ศึกษาในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทั้งกราฟฟิก และ โครงสร้างมากขึ้น

และในปีสุดท้ายได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการขนส่งบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์ฉลาด รวมถึงโครงงานวิจัยในด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ทางชีวภาพ บรรจุภัณฑ์ฉลาด และ วัสดุเชิงประกอบ อีกทั้ง สามารถเลือกแผนฝึกงานในอุตสาหกรรมอาหารหรือเลือกสหกิจศึกษาได้

โอกาสในการทำงาน

ปัจจุบันบริษัทชั้นนำทางอุตสาหกรรมทั้งหลายทั้งในประเทศและนานาชาติ ต่างให้ความสำคัญกับการแข่งกันกันออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับสินค้ามากที่สุดและดึงดูดผู้บริโภค และ บัณฑิตจากสาขาเทคโนโลยีการบรรจุจึงเป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมด้านการผลิต ด้านเทคนิค ด้านวิจัยและพัฒนา และด้านการตลาดในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุทั้ง พลาสติก กระดาษ โลหะ แก้ว อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมขนส่ง (logistic) และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือยังสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ตั้งแต่การผลิต การเลือกใช้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจัดการ อีกทั้งยังสามารถประกอบอาชีพอิสระ เช่น นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ หรือเป็นนักวิชาการและนักวิจัย สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ ทั้งในสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และห้องปฏิบัติการของภาครัฐและภาคเอกชน


สาขาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ทางทะเล

เป็นสาขาที่เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร การตลาด และการจัดการ เพื่อที่จะคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางทะเล สามารถคัดเลือกวัตถุดิบและกระบวนการแปรรูปที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ ควบคุมกระบวนการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการกำจัดและการใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเล ได้เรียนรู้หลักเกณฑ์วิธีการในการผลิตอาหารเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีโภชนาการและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงมีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ และรายวิชาสำคัญอื่นๆ เช่น การส่งลำเลียงและการจัดการ กฎหมายและมาตรฐานอาหาร การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์วัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ทางทะเล จุลชีววิทยาและเคมีผลิตภัณฑ์ทางทะเล เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ทางทะเล กระบวนการทางความร้อน การแช่เย็นและการแช่เยือกแข็งผลิตภัณฑ์ทางทะเล เป็นต้น สาขานี้เป็นหลักสูตรสหกิจศึกษา มีการจัดการเรียนการสอน 2.5 ปี ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ1.5 ปี ที่วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล จ.สมุทรสาคร นอกจากนี้ทางคณะฯ ยังมีความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ นักศึกษาจะได้ออกไปฝึกปฏิบัติ ในชั้นปีที่ 4 ตลอด 1 ปี กับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงในภาคกลาง และภาคใต้

โอกาสในการทำงาน

เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญทั้งจากการเกษตรและการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ำเค็มและอาหารทะเลกระป๋องแปรรูปที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และการที่จะพัฒนาให้สินค้าดังกล่าวมีมูลค่าสูงขึ้น จะต้องมีการจัดการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ปลอดภัย มีจุดเด่น และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่เพียงไม่กี่สถาบันที่จัดการเรียนการสอนทางด้านนี้โดยตรง และแน่นอนว่าบัณฑิตที่จบสาขานี้ในประเทศไทยนั้นยังคงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม


สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร

เป็นสาขาวิชาที่มีการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำสิ่งมีชีวิตทั้งจุลินทรีย์ พืช และสัตว์ ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น อาหาร กระดาษ สิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องสำอาง และการแพทย์ เป็นต้น รวมทั้งการจัดการ และเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และอุตสาหกรรม การเรียนการสอน และงานวิจัยมุ่งเน้นทางด้านความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการหมัก การออกแบบโรงงาน การจัดการและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การพัฒนาและการปรับปรุงการผลิตโดยกระบวนการทางพันธุกรรม

ในชั้นปีที่ 1 - 2 นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาทั่วไปและวิทยาศาสตร์ ในเรื่องปฏิบัติการเคมี แคลคูลัส ปฏิบัติการฟิสิกส์ ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร พันธุศาสตร์ จุลชีววิทยา ปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ

ชั้นปีที่ 3 จะได้เรียนลงลึก เกี่ยวกับ ชีวเคมี จุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมเกษตร กระบวนการก่อนและหลังการผลิต การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ในชั้นปีสุดท้าย นักศึกษาจะได้เลือกแผนฝึกงาน ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือเลือกสหกิจศึกษา

โอกาสในการทำงาน

สาขาวิชาสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสาขาวิชาที่บัณฑิตสามารถเลือกทำงานทำงานได้กว้างในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ เป็นผู้เชียวชาญเฉพาะทางในอุตสาหกรรมการหมักอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง อุตสาหกรรมการผลิตนํ้าตาล อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมการผลิตสารชีวภาพต่างๆ ได้แก่ กรดอินทรีย์ แอลกอฮอล์ กรดอะมิโน สารให้กลิ่นรส สารยับยัง้เชือ้ ก่อโรค และ สารเสริมสุขภาพ เป็นต้น โดยเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการผลิต การควบคุมคุณภาพการจัดหาวัตถุดิบ เป็นนักวิจัยและพัฒนา หรือศึกษาต่อปริญญาโทและ/หรือปริญญาเอกในสาขาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมเคมี นอกจากนีบั้ณทิตที่จบยังสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมการนำเข้าส่งออกสารเสริมชีวภาพ ในฝ่ายจัดซือ้ ฝ่ายบริการวิชาการ ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดเป็นต้น


สาขาวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

เป็นสาขาที่จะได้เรียนวิชาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรด้วยกระบวนการผลิตและเครื่องจักรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ในชั้นปีที่ 1 - 2 นักศึกษาจะได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับวิชาในขั้นสูงต่อไป

จากนั้นในชั้นปี 3 - 4 จะได้เรียนรายวิชาหลักของสาขา เช่น การจัดการองค์การและดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร สมดุลมวลสารและพลังงานทางวิศวกรรมอาหาร สมบัติทางกายภาพและเคมีของวัสดุเกษตร การแปรรูปและการถนอมอาหาร การควบคุมและการประกันคุณภาพ การคำนวณในวิศวกรรมอาหาร การควบคุมกระบวนการในวิศวกรรมอาหาร เครื่องมือแปรรูปอาหาร การออกแบบโรงงานอาหาร การปรับปรุงผลิตภาพในอุตสาหกรรมอาหาร และวิศวกรรมกระบวนการอาหาร เป็นต้น สำหรับวิชาที่มีปฏิบัติการนั้นนักศึกษาจะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต้นแบบ

โอกาสในการทำงาน

เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมกระบวนการอาหารเพียงไม่กี่แห่ง ซึ่งนับว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นบัณฑิตสาขาวิชานี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารเป็นอย่างมากทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เมื่อจบการศึกษาบัณฑิตสามารถเลือกทำงานได้หลากหลาย ทั้งในสายโรงงานอาหาร เช่น การวางแผนและควบคุมกระบวนการผลิต การออกแบบเครื่องมือ การออกแบบโรงงานอาหาร การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต การสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค ที่ปรึกษาโครงการ ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมอาหารหรือระบบประกันคุณภาพทางด้านอาหาร วิศวกรฝ่ายขาย หรือเจ้าของธุรกิจได้

==ศิษย์เก่าดีเด่น==[3]

  • คุณ อภิรักษ์ โกษะโยธิน

2208139 วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2543

  • คุณ ยงยุทธ ติยะไพรัช

2208701 วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2545

  • อาจารย์ พวงเพชร นิธยานนท์

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2560 สาขาวิชาการ

  • ดร. ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาบริหารราชการ

  • คุณ มัทนา เมฆาอภิรักษ์

198065 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2562 สาขาบริหารธุรกิจ

  • ศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ วิริยจารี

2008068 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2563 สาขาวิชาการ

  • คุณ ติณณ์สัณห์ เทพเกษตรกุล

2008085 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาบริหารธุรกิจ

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติคณะ". {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |archive-url= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะอุตสาหกรรมเกษตร". {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |archive-url= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ศิษย์เก่าดีเด่น".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้