คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ที่สามารถบริหารจัดการ ควบคุมกระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสามารถทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Agro-Industry,
Kasetsart University
ไฟล์:คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.png
ชื่อย่ออก.
สถาปนา23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523
(43 ปี 335 วัน)
คณบดีรศ.ดร.อนุวัตร แจ้งชัด
ที่อยู่
เพลงอุตสาหกรรมเกษตร
สี███ สีชมพูกลีบบัว [1]
มาสคอต
กระป๋อง
เว็บไซต์www.agro.ku.ac.th

ประวัติ แก้

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตรเป็นคณะแรกของประเทศไทย ตามนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 โดยได้รับโอน "แผนกวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร" ซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จาก คณะเกษตร มาสังกัดเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะด้วย

หน่วยงาน แก้

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตร แก้

ระดับปริญญาตรี ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีของน้ำตาล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาการจัดการสินค้าสิ่งทอ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร (ภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติ)

โครงการปริญญาตรีร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แก้

นิสิตสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมก็ได้

ที่มาของโครงการและวัตถุประสงค์
โครงการปริญญาตรีร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี 2549 โดยความร่วมมือระหว่างคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ University of Reading ประเทศอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการได้มีประสบการณ์ในการศึกษาใน ต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อ รวมถึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเพิ่มพูนทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ
ลักษณะของโครงการ
นิสิตที่เข้าร่วมโครงการจะเข้าเรียนชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์และเดินทางไปเรียนชั้นปีที่ 4 ที่ University of Reading (Department of Food Bioscience) ประเทศอังกฤษเป็นเวลาประมาณ 8-10 เดือน (ขึ้นอยู่กับคะแนนภาษาอังกฤษ) โดยในช่วง 1-3 เดือนแรกนิสิตจะได้เข้าเรียนภาษาอังกฤษร่วมกับนักเรียนต่างชาติจากประเทศต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียนในเดือนตุลาคม นิสิตที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมประกาศนียบัตรจาก University of Reading หากนิสิตมีความประพฤติและมีผลการเรียนดีผ่านเกณฑ์การเข้าศึกษาต่อของมหาวิทยาลัยก็สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ University of Reading (Department of Food Bioscience) ได้โดยไม่จำเป็นต้องสอบภาษาอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางการประกอบอาชีพ แก้

ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ แก้

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ สามารถทำงานเป็นนักเทคโนโลยีการบรรจุ ที่ออกแบบและควบคุมการผลิตภาชนะบรรจุ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ สถานที่ทำงานหลังจบการศึกษาได้แก่ บริษัทในกลุ่มอุปโภคบริโภค เช่น Procter & Gamble Manufacturing Ltd., คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ประเทศไทย จำกัด, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศไทย จำกัด, 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ฯลฯ บริษัทในกลุ่มวัสดุบรรจุ เช่น ฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด, สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด, เยื่อกระดาษสยาม จำกัด ฯลฯ และกลุ่มการพิมพ์ภาชนะบรรจุ เช่น สยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด, สยามทบพัน จำกัด, Fuji Ace Co.,Ltd ฯลฯ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ แก้

ผู้ที่จบสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมการหมัก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ฯลฯ ในบทบาทของนักวิจัย ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพ หรือศึกษาต่อปริญญาโทเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือวิศวกรรมเคมี บัณฑิตของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเนสเล่(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัทเบทาโกรอโกรกรุ๊ฟ จำกัด (มหาชน), บริษัทซี.พี.อินเตอร์ฟูด (ไทยแลนด์) จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ

ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ แก้

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นพนักงานควบคุมการผลิตในบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร หรือทำงานในองค์กรของรัฐต่างๆ เช่น สภาวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรม สถาบันอาหาร ฯลฯ ในตำแหน่งนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ควบคุมคุณภาพสินค้า หรือศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสาขาเดิมหรือสาขาอื่น เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม,Food Engineering, Chemical Engineering, MBA, Marketing, Industrial Engineering, Packaging ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร แก้

ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ในฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา หรือฝ่ายขาย และ ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งวิศวกรกระบวนการแปรรูปอาหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต บัณฑิตของภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัทลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ เช่น สำนักงานอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงสาธารณสุข โครงการหลวงและโครงการส่วนพระองค์ ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ แก้

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอสามารถก้าวสู่มืออาชีพด้านการจัดการธุรกิจสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ หรือเป็นผู้ควบคุมการผลิต หรือหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างๆ เช่น โรงงานปั่นด้าย โรงงานฟอกย้อม โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ โรงงานเคหะสิ่งทอ หรือเป็นนักวิจัยในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันสิ่งทอ สถาบันค้นคว้าและวิจัยต่างๆ ฯลฯ

อันดับและมาตรฐาน แก้

Academic Ranking of World Universities (ARWU)
Global Ranking of Academic Subjects
Subject 2021 2020 2019 2018 2017
Food Science & Technology 201-300 201-300 101-150 101-150 101-150
Biotechnology - - 401-500 401-500 -

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา ARWU Global Ranking of Academic Subjects [2] จัดโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทงของประเทศจีน โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัย (Q1) อิทธิพลของงานวิจัย (CNCI) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (IC) คุณภาพการวิจัย (TOP) และรางวัลวิชาการระดับนานาชาติ (Award) พบว่าในสาขา Food Science & Technology และ สาขา Biotechnology ซึ่งเป็นสาขาของ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก

โดยในสาขา Food Science & Technology ปี 2017 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[3] ปี 2018 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[4] ปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[5] ปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 201-300,[6] และปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 201-300[7] และสาขา Biotechnology ปี 2018 อยู่ในอันดับที่ 401-500[8] และปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 401-500[9]

U.S. News & World Report
Global
USNWR Food Science and Technology 166 (2022)[10]

U.S. News & World Report เป็นนิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา มีเกณฑ์การจัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยในปี 2022 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับตามสาขาวิชา (Subject Rankings) ในสาขา Food Science and Technology ให้อยู่ในอันดับที่ 166 ของโลก[11]

ศิษย์เก่าดีเด่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. "Global Ranking of Academic Subjects". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  3. "2017 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  4. "2018 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  5. "2019 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  6. "2020 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  7. "2021 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  8. "2018 Global Ranking of Academic Subjects - Biotechnology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  9. "2019 Global Ranking of Academic Subjects - Biotechnology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  10. "Best Global Universities for Food Science and Technology 2022 - Kasetsart University". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-11-08.
  11. "Best Global Universities for Food Science and Technology 2022 - Kasetsart University". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-11-08.
  12. "ประวัติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข - พิศาล พงศาพิชณ์" (PDF). hsri.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-04. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  13. "ผู้บริหาร มกอช. - พิศาล พงศาพิชณ์". สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  14. "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เล่ม ๑๓๔, ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง, ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐, หน้า ๑" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  15. "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน เล่ม ๑๑๖, ตอน ๙๓ ง, ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๕" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  16. "คณะผู้บริหาร - นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์". investor.oishigroup.com. สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021.
  17. "คณะผู้บริหาร - ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิต - นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์". sermsukplc.com. สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021.
  18. "ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิ์วัตน์ กูรูเรื่องความอร่อย...ฉายา ปิ่นโตเถาเล็ก". 10 Aug 2012. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  19. "รู้จักคน รู้จักข่าว - ภาสันต์ สวัสดิวัตน์". thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  20. "ร้านอาหารครึ่งหมื่นกับลิ้นเทวดา 'ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์'". thairath.co.th. 23 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้