คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Engineering, Chiang Mai University) เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับความร่วมมือและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ (คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้นซึ่งต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้เข้ามาช่วยดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นในหลายๆด้าน โดยการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านมีส่วนเป็นอย่างมากในการวางแผน ก่อสร้างอาคารต่างๆ และช่วยร่างหลักสูตรตลอดจนได้จัดหาอุปกรณ์ละตำราการสอน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการจัดหาอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการเรียนการสอนของนักศึกษา[1]

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Engineering,
Chiang Mai University
สถาปนา3 มิถุนายน พ.ศ. 2513 (53 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร
ที่อยู่
สี███ สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.eng.cmu.ac.th

ประวัติ แก้

เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ได้เปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เป็นสาขาแรก โดยใช้อาคารหอพักชายอาคาร 1 เดิม (ปัจจุบันคือคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์) ชั้นล่างจำนวน 3 ห้อง ทางด้านทิศเหนือติดต่อกับธนาคารไทยพานิชย์ เป็นอาคารธุรการ และอาคารเรียนชั่วคราวโดยมีอาจารย์ผู้สอนเริ่มแรก จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร. สุพจน์ ตียาภรณ์ ผศ.สุธรรม ยุตบุตร และ รศ.ดร.ถวัลยวงค์ ไกรโรจนานันท์ ทั้งนี้ มี รศ.ดร.สุพจน์ ตียาภรณ์ เป็นคณบดีท่านแรก โดยรับ นักศึกษารุ่นแรก คือนักศึกษารหัส 1360….. เข้าเรียนรุ่นแรกจำนวน 60 คน ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนาการด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2513 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับอาจารย์เพิ่มเติม ได้แก่ ร.ศ.พิชัย บุณยะกาญจน์ ผศ.ปราโมทย์ ฤทธิปรีดานันท์ อ.โกมล ศักดิ์ศรี รศ.คำนึง วัฒนคุณ ผศ.สมคิด สลัดยะนันท์ รศ.ดร.สุพร คุตตะเทพ รศ.ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม รศ.ดร.เจษฏา เกษมเศรษฐ์ รศ.เกษม จันทรมังกร รศ.ลำดวน ศรีศักดา และรศ.สุเทพ นิ่มนวล เป็นต้น

ต่อมาในปีพ.ศ. 2515 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคาร 3 หลัง ภายในพื้นที่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับมอบ คือ อาคารแฝดอำนวยการ-ห้องสมุด อาคารเรียน 4 ชั้น และอาคาร Workshop

นอกจากนั้นสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงมติให้บัณฑิตที่จบการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับปริญญา “วิศวกรรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.)” ในภาษาไทย และ“Bachelor of Engineering (B.Eng.)” ในภาษาอังกฤษ มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอื่นทั้งในและนอกประเทศทุกประการ โดยมีบัณฑิตจบการศึกษาตามหลักสูตรฯ และได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เป็นรุ่นแรกประมาณ 40 คน เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2515 ได้มีการพัฒนาด้านการศึกษาโดยเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ สาขาต่างๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2518 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • พ.ศ. 2524 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2526 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • พ.ศ. 2539 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย

การดำเนินงานตามพันธกิจในระยะแรก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก เพื่อผลิตบุคลากรในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ตามความต้องการของประเทศซึ่งจำเป็นต้องใช้วิศวกรเป็นจำนวนมากสำหรับการพัฒนาประเทศ และปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการหรือแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยเน้นการดำเนินงานด้านวิจัยพร้อมกับการผลิตบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งได้ผลิตบัณฑิตและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับกันทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งหวังให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพวิศวกรอย่างเคร่งครัด สามารถชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณในวิชาชีพ เปิดสอนการศึกษาระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาต่างๆ จนถึงปัจจุบัน[2]

ทำเนียบคณบดี แก้

ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ ตียาภรณ์ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2516
2. รองศาสตราจารย์ พิชัย บุณยะกาญจน พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2528
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณอคุณ สิทธิพงษ์ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2540
4. รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย แสงอินทร์ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2548
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2564
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ภาคพิเศษ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) นานาชาติ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) ภาคพิเศษ (แผน ข)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบริหารการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (เรียน 1 ปี)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) นานาชาติ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ)

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติความเป็นมา – Faculty of Engineering, CMU".
  2. "ประวัติความเป็นมา – Faculty of Engineering, CMU".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้