คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University) เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ

คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
สถาปนา18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์
ที่อยู่
ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สี███ สีฟ้า
เว็บไซต์www.soc.cmu.ac.th

ประวัติ แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น คณะที่เสนอไปครั้งแรกนั้นมีคณะนิติศาสตร์รวมอยู่ด้วย แต่จากผลการสำรวจความสนใจทางการศึกษาของประชาชนในภาคเหนือระหว่างปี พ.ศ. 2504-2505 พบว่าในช่วงนั้นความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสำหรับคณะวิชานี้ยังมีไม่มากนัก ประกอบกับมีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิว่า ควรจะเปิดสอนเป็นคณะสังคมศาสตร์ที่ประกอบด้วยสาขาวิชาที่กว้างกว่าสาขาวิชาเฉพาะ เช่น คณะนิติศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อันหาได้ยากยิ่งแม้แต่ในกรุงเทพเองก็ตาม ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างรายละเอียดหลักสูตรวิชาสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2506 โดยมีนายเกษม อุทยานิน เป็นประธานอนุกรรมการ นางสุมนา คำทอง เป็นเลขานุการ และประกอบด้วยกรรมการอีก 10 คน

คณะสังคมศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ ระหว่างถนนสุเทพและถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ (ปัจจุบันมี 27 ไร่) เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2507 และเริ่มเปิดสอนวันแรก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2507 มีนักศึกษา 75 คน อาจารย์ 15 คน ในระยะแรกคณะสังคมศาสตร์ยังไม่มีอาคารเรียนเป็นของตนเอง เพราะอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ดังนั้น จึงต้องอาศัยอาคารของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหอพักชาย อาคาร 1 เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนถึงปี 2509 จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่อาคารหลังแรกของคณะฯ [1]

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงแรก (พ.ศ. 2507) เริ่มเปิดดำเนินการจำนวน 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภูมิศาสตร์ (ก่อตั้งเป็นภาควิชาภูมิศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย) ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาบัญชีและบริหารธุรกิจ และภาควิชารัฐศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตในปี พ.ศ. 2507 ใน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และใน พ.ศ. 2544 ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ อีกด้วย [2]

ต่อมา ภาควิชาและสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะสังคมศาสตร์ ได้แยกตัวเป็นคณะ ได้แก่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาบัญชีและบริหารธุรกิจ ได้แยกตัวออกเป็น คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ตามลำดับ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2535

ภาควิชารัฐศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2548

สาขาวิชานิติศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะนิติศาสตร์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549

ภาควิชาและส่วนงาน แก้

คณะสังคมศาสตร์ได้แบ่งภาควิชาและส่วนงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกเป็น 6 ส่วนงานดังต่อไปนี้

1. สำนักงานคณะ

2. ภาควิชาภูมิศาสตร์

3. ภาควิชาสตรีศึกษา

4. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

5. ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา

6. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ

หลักสูตร แก้

ปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี 4 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร และปริญญาเอก 4 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (แขนงวิชาสตรีศึกษา, แขนงวิชาชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา และแขนงวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ)
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (แขนงวิชาการศึกษาการพัฒนา หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสตรีศึกษาและเพศภาวะศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง (หลักสูตรพหุวิทยาการ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสตรีศึกษาและเพศภาวะศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ แก้

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประสานงาน ขับเคลื่อน และบูรณาการงานต่างๆ ของศูนย์และโครงการในคณะอย่างมีทิศทาง โดยเฉพาะงานวิจัย บริการวิชาการแก่สังคม โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติ (International Exchange Program) รวมไปถึงสนับสนุนงานและบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ แบ่งเป็นศูนย์และโครงการในสังกัด ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ และศูนย์และโครงการที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศภายใต้กลุ่มวิจัย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม-ภัยพิบัติ เทคโนโลยีคาดการณ์ และผลกระทบเชิงพื้นที่/ผู้คน 2) การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เมือง ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ แรงงานและการอพยพ 3) วัฒนธรรมการศึกษา ศาสนา ชาติพันธุ์ ล้านนา 4) สตรีและเพศภาวะศึกษา และ 5) ภูมิภาคศึกษา จีน อินเดีย อาเซียน ชายแดน และการข้ามชาติศึกษา โดยประกอบไปด้วยศูนย์ฯ ต่างๆ ดังต่อไปนี้

สำนักงานระดับมหาวิทยาลัย
  • สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Chiang Mai University Research Ethics Committee: CMUREC) [3]
  • ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Indian Studies Center, Chiang Mai University: ISCCMU)
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการระดับคณะ
  • ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Regional Center for Social Science and Sustainable Development: RCSD)[3]
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (Geoinformatics and Space Technology Centre Northern Region: GISTNORTH)
  • ศูนย์การศึกษาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Chiang Mai University - Sustainable Land Use and Natural Resource Management Academic Center: CMU-SLUSE)[4]
  • ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Biodiversity and Indigenous Knowledge Research Center for Sustainable Development: BIRD)[5]
  • ศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Regional Center for Climate and Environmental Studies: RCCES)[6]
  • ศูนย์สตรีศึกษา (Women's Studies Center: WSC)
  • ศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา (China-Southeast Asia Studies Center: CSC)
  • ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (Center for Ethnic Studies and Development: CESD)[7]

รายนามคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รายนามคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. นายไกรศรี นิมมานเหมินท์
พ.ศ. 2506
2. ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย
พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2508
3. ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์
พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2510
4. ศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ศศิธร
พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2516
5. รองศาสตราจารย์ ประดิษฐ์ วิชัยดิษฐ์
พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2518
6. ศาสตราจารย์ พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนจินดา
พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2522
7. รองศาสตราจารย์ ฤทธิ์ ศิริมาตย์
พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โฉมเฉลา เรืองพงษ์
พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528
9. รองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว
พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์
พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2540
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2547
12. รองศาสตราจารย์ ดร. เสน่ห์ ญาณสาร
พ.ศ. 2547
13. รองศาสตราจารย์ เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
14. ดร. สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร
พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
15. รองศาสตราจารย์ พวงเพชร์ ธนสิน
พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559
16. รองศาสตราจารย์ ดร. เทพินทร์ พัชรานุรักษ์
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

คณาจารย์ แก้

ภาควิชาภูมิศาสตร์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ภาควิชาสตรีศึกษา
ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา

หัวหน้าภาควิชา

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลิวา ผาดไธสง

คณาจารย์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาทินี ถาวรธรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี ชัยพิมลผลิน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศรา เจริญปัญญาเนตร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิน หุตานุวัตร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เผ่าไทย สินอำพล
  • อาจารย์ ดร.ชวิศ ศรีมณี
  • อาจารย์ ดร.ชยา วรรธนะภูติ
  • อาจารย์ ดร.ชาคริน เพชรานนท์
  • อาจารย์ ดร.ศักดิ์ดา หอมหวล


หัวหน้าภาควิชา

  • รองศาสตราจารย์ ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

คณาจารย์

  • ศาสตราจารย์ ดร.ยศ สันตสมบัติ
  • ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ศิริผล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ประพงษ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญ พนารัตน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ สมศิริวรางกูล
  • อาจารย์ ดร.สุนทรีย์ สิริอินต๊ะวงศ์
  • อาจารย์ ดร.ศิริจินดา ทองจินดา
  • อาจารย์ รังสรรค์ ประทุมวรรณ์
  • อาจารย์ นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย
  • อาจารย์ ผานิตดา ไสยรส

รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ

คณาจารย์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริยา เศวตามร์
  • อาจารย์ ดร.มลิวัลย์ เสนาวงษ์

หัวหน้าภาควิชา

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ

คณาจารย์

  • รองศาสตราจารย์ ดร.อัมพร จิรัฐติกร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ วิทยาภัค
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อารตี อยุทธคร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิญา อุทัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญณ์ณภัทร์ วิวัฒน์วงศ์วนา รักษ์โมลาจา
  • Assistant Professor Dr.Ta-Wei Chu
  • Assistant Professor Dr.Margo Haenssgen
  • อาจารย์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
  • อาจารย์ ดร.พุทธิดา กิจดำเนิน
  • Dr.Shirley Worland
  • Dr.Maranatha Ivanova
  • Dr.James Leslie Taylor

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติความเป็นมาของคณะสังคมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-05.
  2. "/ ประวัติความเป็นมาคณะสังคมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-03-25.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.
  4. [1][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.
  6. [2]
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้