คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
คณะรัฐมนตรีเสนีย์ 2 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
กุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2518 | |
วันแต่งตั้ง | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 |
วันสิ้นสุด | 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 (0 ปี 21 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคประชาธิปัตย์ (72) พรรคธรรมสังคม (45) พรรคเกษตรสังคม (19) พรรคกิจสังคม (18) |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 26 มกราคม พ.ศ. 2518 |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 34 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 36 |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 รัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จัดตั้งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ซึ่งผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงมากที่สุด หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคในขณะนั้นจึงได้รับการสนับสนุนให้ให้เป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาลประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเกษตรสังคม แต่เมื่อคณะรัฐบาลชุดนี้แถลงนโยบายเพื่อขอความไว้วางใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องลาออก
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
แก้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518[1]
- นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี (พรรคเกษตรสังคม)
- นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พรรคเกษตรสังคม)
- นายพิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคเกษตรสังคม)
- นายสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคกิจสังคม)
- นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พรรคประชาธิปัตย์)
- พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายเทียม ไชยนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลอากาศโท อุสาห์ ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายประมุท บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคเกษตรสังคม)
- นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคประชาธิปัตย์)
- ร้อยโทสมศาสตร์ รัตนสัค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคเกษตรสังคม)
- นายประเทือง คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พรรคเกษตรสังคม)
- นายธรรมนูญ เทียนเงิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายสมบุญ ศิริธร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายสันต์ เทพมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคเกษตรสังคม)
- นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พรรคประชาธิปัตย์)
ผลการหยั่งเสียงเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ผลปรากฏว่า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียง 133 ต่อ 50 โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม พรรคพลังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคแนวร่วมสังคมนิยม พรรคอธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตย และพรรคเกษตรกร
การพ้นจากหน้าที่
แก้รัฐบาลคณะนี้เป็นรัฐบาลแรกและรัฐบาลเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่พ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย โดยเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลเมื่อรวมกับพรรคเกษตรสังคมแล้ว ได้เพียงแค่ 91 เสียงเท่านั้น ซึ่งก็ยังมิได้ถึงครึ่งของเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร (269)
ในวันที่ 6 มีนาคม 2519 รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และเมื่อเสร็จสิ้นลงและมีการลงมติ ปรากฏว่าเสียงที่ไว้วางใจรัฐบาลมีอยู่ 111 เสียง มากกว่าเสียงของรัฐบาล 20 เสียง แต่มีเสียงไม่ไว้วางใจสูงถึง 152 เสียง จึงต้องพ้นจากตำแหน่งไป และทำให้รัฐธรรมนูญในฉบับต่อมา (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519) กำหนดไว้ว่าการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ให้เป็นไปโดยไม่มีการลงมติไว้วางใจ[2][3]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ, LIRT (1975-03-06), ไทย: บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 3/2518 (สามัญสมัยแรก) วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2518 ณ ตึกรัฐสภา (PDF), สืบค้นเมื่อ 2023-07-02