คล้าย ละอองมณี เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย

คล้าย ละอองมณี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ 2518 – 13 มีนาคม 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าอุดม โปษะกฤษณะ
ถัดไปประชุม รัตนเพียร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน 2519 – 23 กันยายน 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
ธเนตร เอียสกุล
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม 2519 – 6 ตุลาคม 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าปรก อัมระนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450
อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เสียชีวิต9 กันยายน พ.ศ. 2528 (77 ปี)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสนางสุมน ละอองมณี

ประวัติ

แก้

คล้าย ละอองมณี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 เป็นบุตรของ นายนุ่น และ นางม่วง ละอองมณี[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางสุมน ละอองมณี

คล้าย ละอองมณี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 สิริอายุรวม 77 ปี

งานการเมือง

แก้

คล้าย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ได้รับเลือกตั้งสมัยแรก จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งรวม 8 สมัยติดต่อกัน จนถึงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519[2][3][4]

คล้าย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[5] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[6]

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[8] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายคล้าย ละอองมณี
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  3. รายงานการวิจัยโครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น : จังหวัดสงขลา. ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2549
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  6. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๙, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
ก่อนหน้า คล้าย ละอองมณี ถัดไป
อุดม โปษะกฤษณะ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(15 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
  ประชุม รัตนเพียร