เทียม ไชยนันทน์
เทียม ไชยนันทน์ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2450 – 21 เมษายน พ.ศ. 2540) เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 7 สมัย เป็นบิดาของนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และปู่ของนายธนิตพล ไชยนันทน์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
เทียม ไชยนันทน์ | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
ถัดไป | ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | ใหญ่ ศวิตชาติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2450 อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 เมษายน พ.ศ. 2540 (89 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2489–2540) |
คู่สมรส | พร้อม ไชยนันทน์ |
ประวัติ
แก้เทียม ไชยนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2450 ที่ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรของหลวงคลัง (ขุนทอง ไชยนันทน์) กับ นางก้อนทอง ไชยนันทน์[2] สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับ นางพร้อม ไชยนันทน์ (สกุลเดิม: อยู่สวัสดิ์) มีบุตร-ธิดา 6 คน โดยคนที่ 4 คือ เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
การทำงาน
แก้เทียม เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ ในหลายอำเภอของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก อำเภอแม่สอด และ อำเภออุ้มผาง รวมถึง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
งานการเมือง
แก้เทียม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2522 รวม 7 สมัย
เทียม ไชยนันทน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 13 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2518[3] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้เทียม ไชยนันทน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดตาก
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดตาก
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดตาก
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[6]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เทียม ถึงแก่อนิจกรรม จากโรคหัวใจเรื้อรังจนเกิดอาการแทรกซ้อน เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2540 สิริอายุรวม 89 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ "ปู่เทียม" เหง้าแท้ "ประชาธิปัตย์" ผู้ผลิตทายาท "ไชยนันทน์" สืบทอด 65 ปีการเมืองไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔