สมศาสตร์ รัตนสัค
ร้อยโท สมศาสตร์ รัตนสัค (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 7 สมัย
สมศาสตร์ รัตนสัค | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (80 ปี) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
คู่สมรส | อัศนีพร รัตนสัค |
ประวัติ
แก้ร้อยโท สมศาสตร์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เป็นบุตรคนที่ 9 ของ ขุนรัตน์ราชธน (สมบูรณ์ รัตนสัค) และ นางแสงหล้า รัตนสัค (เมืองคำ) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับนางอัศนีพร รัตนสัค[1]
บั้นปลายของชีวิต ร้อยโท สมศาสตร์ ได้นำความรู้ทางด้านการแพทย์กลับมาเปิดคลีนิครักษาโรค ที่บ้านพัก อ.พาน ซึ่งมีการเก็บค่ารักษาซึ่งเรียกว่าเป็นค่าต้นทุนยารักษาโรคต่าง ๆ ในราคาถูก ให้กับประชาชนทั่วไป จนเป็นที่เคารพรักของประชาชนทั่วไปในวงกว้าง
งานการเมือง
แก้ร้อยโทสมศาสตร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 7 สมัย[2]
ร้อยโทสมศาสตร์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช [3] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ร้อยโทสมศาสตร์ รัตนสัค ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคสหประชาไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเกษตรสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ร้อยโท สมศาสตร์ รัตนสัค ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สิริอายุรวม 80 ปี[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2519. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2519
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ นพ.สมศาสตร์ ส.ส.เชียงราย8สมัยเสียชีวิต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓