นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์

นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2536[1]) อดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา [2] อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี [3] และรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ช่วง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2519 อีกทั้งยังเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกและคนเดียวตราบถึงปัจจุบันที่ไม่ได้เป็นทหาร

นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ถัดไปดุสิต ศิริวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าพลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ถัดไปพลเอกเล็ก แนวมาลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าอรุณ สรเทศน์
ถัดไปสุรินทร์ เทพกาญจนา
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าประกายเพชร อินทุโสภณ
ถัดไปเสริมศักดิ์ เทพาคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กรกฎาคม พ.ศ. 2463
เสียชีวิต7 สิงหาคม พ.ศ. 2536 (73 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสอินทิรา ชาลีจันทร์

ประวัติ

แก้

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นบุตรของ พันเอกหลวงชาญสงคราม (กฤษณ์ ชาลีจันทร์) กับ นางแฉล้ม ชาญสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 ณ ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ [4] จบปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนกรมโลหกิจด้านธรณีวิทยา ณ Massachusetts Institute of Technology ที่สหรัฐอเมริกา ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐฯ นายนิธิพัฒน์เป็นนักเรียนไทยรุ่นแรกที่สมัครเข้าเป็น "เสรีไทย"ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และได้เข้าเรียนในหลักสูตรของ โรงเรียนสื่อสารและการรบพิเศษ (Office of Strategic Services) โดยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทาง O.S.S ส่งให้เดินทางมาปฏิบัติ "การรบพิเศษ" ในประเทศจีน อินเดีย ลังกา และไทย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงแล้ว นายนิธิพัฒน์ก็ได้เข้ารับราชการจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ [5] เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 [6]

นายนิธิพัฒน์สมรสกับ นางอินทิรา อินทรทูต บุตรสาวของพระพินิจชนคดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับหม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์ มีบุตรชายคือ นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์

งานการเมือง

แก้

นายนิธิพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2517 และเข้าทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมทั้งลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางกอกใหญ่ เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 [8] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[9]

ต่อมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[10][5] นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของประเทศไทย ที่ไม่ได้เป็นทหาร แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

บั้นปลายของชีวิต

แก้

หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 นายนิธิพัฒน์หันไปทำธุรกิจส่วนตัว และดูแลกิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลภรรยา และนายนิธิพัฒน์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2536 รวมอายุ 73 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ และคณะ. ปิยานุสรณ์. กรุงเทพฯ : ที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2537, 2537. 378 หน้า. , 378 หน้า
  2. จากบทความ"เสรีไทย"
  3. รายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี
  4. "หอเชิดชูเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
  5. 5.0 5.1 การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของ ROTHCHILD ไทยนาม "อินทรทูต"!?[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ, พฤษภาคม 2529
  6. วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร บทความโดย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม อุปนายก วสท.
  7. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  9. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗