ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส

(เปลี่ยนทางจาก Portugal national football team)

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส (โปรตุเกส: Seleção Portuguesa de Futebol) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลระดับทีมชาติจากโปรตุเกส ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส ทีมชาติโปรตุเกสมีผลงานสูงสุดคือ ได้ที่สาม ฟุตบอลโลก 1 ครั้งในฟุตบอลโลก 1966 ชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1 ครั้งในฟุตบอลยูโร 2016 และชนะเลิศยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 ครั้งในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้าย

โปรตุเกส
Shirt badge/Association crest
ฉายาA Seleção (ผู้ถูกเลือก)
Os Navegadores (The Navigators)
ฝอยทอง (ในภาษาไทย)[1]
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส
(Federação Portuguesa de Futebol, FPF)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโรเบร์โต มาร์ติเนซ
กัปตันคริสเตียโน โรนัลโด
ติดทีมชาติสูงสุดคริสเตียโน โรนัลโด (196)
ทำประตูสูงสุดคริสเตียโน โรนัลโด (118)
สนามเหย้าหลายแห่ง
รหัสฟีฟ่าPOR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 7 Steady (15 กุมภาพันธ์ 2024)[2]
อันดับสูงสุด3 (พฤษภาคม–มิถุนายน ค.ศ. 2010, ตุลาคม ค.ศ. 2012, เมษายน–มิถุนายน ค.ศ. 2014, กันยายน ค.ศ. 2017–เมษายน ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด43 (สิงหาคม ค.ศ. 1998)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสเปน สเปน 3–1 โปรตุเกส ธงชาติโปรตุเกส
(มาดริด ประเทศสเปน; 18 ธันวาคม ค.ศ. 1921)
ชนะสูงสุด
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส; 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994)
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(กูอิงบรา ประเทศโปรตุเกส; 9 มิถุนายน ค.ศ. 1999)
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 คูเวต ธงชาติคูเวต
(ไลรีอา ประเทศโปรตุเกส; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003)
แพ้สูงสุด
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 0–10 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1947)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1966)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (1966)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 1984)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2016)
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2019)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2019)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2017)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (2017)
เว็บไซต์fpf.pt

ในฟุตบอลโลก โปรตุเกสยังไม่เคยได้แชมป์โดยเคยได้อันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 2006 เข้าแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1966 ที่เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย (ที่ 3) แพ้ให้กับอังกฤษ 2–1 ต่อมาโปรตุเกสติดเข้ารอบฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1986 และ 2002 แต่ตกรอบไปตั้งแต่รอบแรก

ในปี ค.ศ. 2003 สหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกสตัดสินใจจ้างลูอิส ฟีลีปี สโกลารี ชาวบราซิลที่เคยนำบราซิล ได้แชมป์ในฟุตบอลโลก 2002 โดยสโกลารีนำโปรตุเกสเข้าสู่รอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 แต่แพ้ต่อกรีซในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทำให้โปรตุเกสกลายเป็นหนึ่งในสองประเทศเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่ไม่ชนะในรอบชิงชนะเลิศ[3](อีกทีมคือฝรั่งเศส) และต่อมายังทำให้ทีมเข้าสู่ฟุตบอลโลก 4 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 2006 แต่หลังจากนั้นสโกลารีออกไปในปี ค.ศ. 2008 เพื่อเป็นผู้จัดการทีมเชลซี โดยได้การ์ลุช ไกรอช มาเป็นผู้จัดการคนใหม่ของทีมชาติโปรตุเกสในปี 2008 และเคยรอซได้นำทีมชาติโปรตุเกสเข้าสู่สุดท้ายในฟุตบอลโลก 2010

ในฟุตบอลโลก 2006 โปรตุเกสได้รับรางวัล "ฟีฟ่าเวิลด์คัพเอนเตอร์เทนเมนต์ทีมอวอร์ด" คือ ทีมที่เล่นได้สนุกเร้าใจที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยเป็นทีมสุดท้ายที่ได้รับรางวัลนี้ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป[3]

โปรตุเกสเป็นแชมป์ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส โดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถเอาชนะฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าภาพไปได้ 1–0 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาการแข่งขันปกติ ในนาทีที่ 109 จากแอแดร์ ถือเป็นรายการใหญ่รายการแรกที่โปรตุเกสคว้าชัยชนะมาได้

ประวัติ แก้

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 แก้

บทความหลัก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ในรอบคัดเลือก โปรตุเกสผ่านเข้ารอบมาได้อย่างกระท่อนกระแท่น โดยนัดแรกก็เป็นฝ่ายแพ้ต่อสวีเดน แต่ท้ายสุดก็สามารถผ่านเข้าร่วมการแข่งขันได้ โดยอยู่ในกลุ่มเอฟ ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายร่วมกับฮังการี, ออสเตรีย และไอซ์แลนด์ ในรอบแรกโปรตุเกสไม่สามารถเอาชนะทีมใดได้เลย โดยได้ผลเสมอทั้ง 3 นัด แต่ได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายมาได้ ด้วยการเป็นทีมที่ได้อันดับ 3 หนึ่งในจำนวน 4 ทีม ที่มีคะแนนดีที่สุดในบรรดา 6 กลุ่ม

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   ฮังการี 3 1 2 0 6 4 +2 5 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2   ไอซ์แลนด์ 3 1 2 0 4 3 +1 5
3   โปรตุเกส 3 0 3 0 4 4 0 3
4   ออสเตรีย 3 0 1 2 1 4 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
กฎการจัดอันดับ : กฎการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โปรตุเกสสามารถเอาชนะโครเอเชีย ซึ่งเป็นที่หนึ่งของกลุ่มดี มาได้ 0–1 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นรองกว่า ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายก็เอาชนะโปแลนด์มาได้ 5–3 จากการดวลจุดโทษตัดสิน หลังจบการแข่งขันในเวลาปกติ เสมอกันที่ 1–1 ในรอบ 4 ทีมสุดท้ายก็เอาชนะเวลส์มาได้ 2–0 จนกระทั่งในรอบชิงชนะเลิศก็เอาชนะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพได้ 1–0 ช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ จากการยิงของแอดืร์ ในนาทีที่ 109 ได้แชมป์ไปในที่สุด[4] โดยถือว่าเป็นแชมป์ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะไม่มีการคาดคิดมาก่อนว่าโปรตุเกสจะสามารถทำได้ เนื่องจากการเล่นแต่ละครั้งเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น โดยการแข่งขันทั้งหมด 7 นัด รวมถึงรอบชิงชนะเลิศ โปรตุเกสเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในเวลาแข่งขันปกติเพียงนัดเดียวเท่านั้น คือการเอาชนะเวลส์ นอกนั้นต้องตัดสินกันที่การต่อเวลาพิเศษออกไปอีก 30 นาที และการดวลจุดโทษตัดสิน[5]

รายชื่อผู้เล่น แก้

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[6]

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ   สเปน

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK รุย ปาตรีซียู (1988-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) 104 0   โรมา
22 1GK จีโอกู กอชตา (1999-09-19) 19 กันยายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 7 0   โปร์ตู
12 1GK ฌูแซ ซา (1993-01-17) 17 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 0 0   วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์

3 2DF เปปี (รองกัปตัน) (1983-02-26) 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (41 ปี) 128 7   โปร์ตู
13 2DF ดานีลู ปึไรรา (1991-09-09) 9 กันยายน ค.ศ. 1991 (32 ปี) 63 2   ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
5 2DF ราฟาแอล กึไรรู (1993-12-22) 22 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 56 3   โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
4 2DF รูแบน ดียัช (1997-05-14) 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 39 2   แมนเชสเตอร์ซิตี
20 2DF ฌูเวา กังเซลู (1994-05-27) 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 37 7   แมนเชสเตอร์ซิตี
19 2DF นูนู เม็งดึช (2002-06-19) 19 มิถุนายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 16 0   ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2 2DF ดีโยกู ดาโล (1999-03-18) 18 มีนาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 6 2   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
24 2DF อังตอนียู ซิลวา (2003-10-30) 30 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (20 ปี) 0 0   ไบฟีกา

14 3MF วีลียัม การ์วัลยู (1992-04-07) 7 เมษายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 75 5   เบติส
10 3MF บือร์นาร์ดู ซิลวา (1994-08-10) 10 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 72 8   แมนเชสเตอร์ซิตี
17 3MF ฌูเวา มารียู (1993-01-19) 19 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 52 2   ไบฟีกา
8 3MF บรูนู ฟือร์นังดึช (1994-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 48 9   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
18 3MF รูแบน แนวึช (1997-03-13) 13 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 32 0   วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์
6 3MF ฌูเวา ปัลยีญา (1995-07-09) 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 15 2   ฟูลัม
23 3MF มาเตวช์ นูนึช (1998-08-27) 27 สิงหาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 9 1   วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์
25 3MF โอตาวียู (1995-02-09) 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี) 7 2   โปร์ตู
16 3MF วีตีญา (2000-02-13) 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 (24 ปี) 4 0   ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

7 4FW คริสเตียโน โรนัลโด (กัปตัน) (1985-02-05) 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985 (39 ปี) 191 117   อันนัศร์
9 4FW อังแดร ซิลวา (1995-11-06) 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 51 19   แอร์เบ ไลพ์ซิช
11 4FW ฌูเวา แฟลิกส์ (1999-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 23 3   อัตเลติโกเดมาดริด
15 4FW ราฟาเอล เลเอา (1999-06-10) 10 มิถุนายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 11 0   เอซี มิลาน
21 4FW ริคาร์โด้ ฮอร์ต้า (1994-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 5 1   บรากา
26 4FW กงซาลู รามุช (2001-06-20) 20 มิถุนายน ค.ศ. 2001 (22 ปี) 0 0   ไบฟีกา

เกียรติประวัติ แก้

  • อันดับ 3 (1): 1966
  • อันดับ 4 (1): 2006
  • ชนะเลิศ (1): 2016
  • รองชนะเลิศ (1): 2004
  • อันดับ 3 (1): 2017
  • อันดับ 4 (1): 1996

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "อุ่นเดือด!โด้นำฝอยทองโป้ง,ตราไก่ใช้ป็อกบาจิก". สยามกีฬา. 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 15 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024.
  3. 3.0 3.1 หน้า 13 กีฬา, โปรตุเกส หากท็อปฟอร์มมีลุ้นถึงแชมป์ โดย ทีมข่าวกีฬา. "ตะลุยยูโร". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,321: วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  4. "เอแดร์ ซัดชัย พา 'ฝอยทอง' เชือดเจ้าภาพ เถลิงแชมป์ยุโรปสมัยแรก". เรื่องเล่าเช้านี้. July 11, 2016. สืบค้นเมื่อ July 11, 2016.[ลิงก์เสีย]
  5. หน้า 19 สังคม/มวย/ฟุตบอลต่างประเทศ/สกู๊ป, ตำนานเทพนิยาย 'ฝอยทอง' ต้นร้าย–ปลายแชมป์. คมชัดลึกปีที่ 15 ฉบับที่ 5379: วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
  6. "Convocados para o Mundial 2022" (ภาษาโปรตุเกส). Federação Portuguesa de Futebol. 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 10 November 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้