แอร์โครยอ
แอร์โครยอ (เกาหลี: 고려항공, โครยอฮังกง; ชื่อเดิมคือ โชซ็อนมินฮัง (조선민항)) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศเกาหลีเหนือ ดำเนินการโดยรัฐบาล มีศูนย์บัญชาการในเขตซูนัน กรุงเปียงยาง[2] และมีฐานการบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน (IATA: FNJ)[3] โดยให้บริการเที่ยวบินประจำและเที่ยวบินพิเศษไปยังจุดหมายปลายทางในทวีปเอเชียและยุโรป
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1950 (74 ปี) (ในชื่อ โซเกา) ค.ศ. 1954 (70 ปี) (ในชื่อ โชซ็อนมินฮังโคเรียนแอร์เวยส์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน | ||||||
จุดหมาย | 23 แห่ง (เฉพาะฤดูกาล 4 แห่ง, ชาร์เตอร์ 1 แห่ง) | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
เว็บไซต์ | www |
แอร์โครยอ | |
โชซ็อนกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Goryeo Hanggong |
เอ็มอาร์ | Koryŏ Hanggong |
แอร์โครยอ มีสำนักงานสายการบินในกรุงปักกิ่ง กับนครเฉิ่นหยาง ประเทศจีน, นครวลาดีวอสตอค ประเทศรัสเซีย, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และมีสำนักงานขายในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสิงคโปร์, กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, ประเทศคูเวต, ประเทศอิตาลี, ประเทศออสเตรีย และประเทศเยอรมนี[4]
ประวัติ
แก้การก่อตั้ง
แก้แอร์โครยอ ก่อตั้งครั้งแรกภายใต้ชื่อ โซเกา (การบินโซเวียต-เกาหลีเหนือ) ในปี ค.ศ. 1950 เพื่อเชื่อมต่อระหว่างกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ กับกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย[5] แต่การบริการได้หยุดชะงักลงช่วงหนึ่งระหว่างสงครามเกาหลี จนต่อมาในปี ค.ศ. 1953 สายการบินได้กลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในชื่อ ยูแคมปส์[5] (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK) ในคริสต์ทศวรรษ 1970) เริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1955 และถูกแทนที่ภายใต้การควบคุมของกรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK)[3] ได้ให้บริการเครื่องบิน ลิซูโนฟ ลิ-2, อานโตนอฟ อาน-2 และอิลยูชิน อิล-12 ส่วนเครื่องบินเทอร์โบ อิลยูชิน อิล-14 และอิลยูชิน อิล-18 ก็ได้ถูกนำเข้ามาเพิ่มในคริสต์ทศวรรษ 1960
การให้บริการเครื่องบินไอพ่น
แก้การให้บริการเครื่องบินไอพ่น เริ่มในปี ค.ศ. 1975 เมื่อเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-154 ลำแรกได้ให้บริการเที่ยวบินจากกรุงเปียงยาง ไปยังปราก, เบอร์ลินตะวันออก (ในขณะนั้น) และมอสโก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องบินตู-154 มีจำนวนไม่เพียงพอ เครื่องบินจึงจำเป็นต้องจอดรับผู้โดยสารระหว่างทางที่อีร์คุตสค์และโนโวซีบีสค์เพิ่มด้วย ต่อมาเครื่องบิน ตู-154, ตู-134 และ อาน-24 ก็เริ่มให้บริการเที่ยวบินในประเทศ
เครื่องบิน ตู-154 มีจำนวนมากขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 และเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-62 ก็ได้ให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 (เป็นเครื่องบินของบุคคลสำคัญ)[6] ในฐานะเที่ยวบินระหว่างประเทศ เปียงยาง-มอสโก โดยไม่หยุดรับผู้โดยสารระหว่างทาง ในช่วงนี้ โซเฟียและเบลเกรด ก็ได้เป็นจุดหมายปลายทางเพิ่มด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการควบคุมการบินในยุโรป ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง แอร์โครยอจึงถูกสั่งห้ามไม่ให้ลงจอดที่ท่าอากาศยานใด ๆ ในทวีปยุโรปอีกเลย
สกายแทร็กซ์ ได้ประเมินสายการบินแอร์โครยอให้เป็นสายการบินที่แย่ที่สุดในโลก (ในด้านการบริการและความปลอดภัย) และยังเป็นสายการบินเดียวในโลกที่ได้รับการประเมิน 1 ดาว เนื่องจากการบริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ[7]
การจัดซื้อเครื่องบินใหม่และขยายเที่ยวบิน
แก้หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น และการล่มสลายของรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่งผลให้มีเที่ยวบินระหว่างประเทศน้อยลง กรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แอร์โครยอ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1992 ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 แอร์โครยอได้สั่งซื้อเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-76 จำนวน 3 ลำ เพื่อใช้ขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและรัสเซีย และยังซื้อเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-300 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 และมีนาคม ค.ศ. 2010[8] เพื่อนำมาใช้ในเที่ยวบินระหว่างประเทศแทนเครื่องเก่า[9] หลังจากนั้น แอร์โครยอก็เริ่มปรับปรุงเครื่องบินให้ดีขึ้น และมีแผนเที่ยวบินไปยุโรป พร้อมกับเครื่องบินใหม่ ตู-204
ในเดือนกันยายน 2009 แอร์โครยอได้สั่งซื้อตัวอย่างเครื่องบิน ตู-204-300 และตู-204-100 และยังเจรจาในการสั่งซื้อเครื่องบินซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 เพื่อใช้แทนที่เครื่องบิน ตู-134 และอาน-24
ต่อมา แอร์โครยอได้รับเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-100B จำนวน 210 ที่นั่ง และใช้เป็นเที่ยวบินไปยังเมืองต้าเหลียน ประเทศจีน และในปี ค.ศ. 2010 ได้ทำพิธีเปิดเที่ยวบินเปียงยาง-เซี่ยงไฮ้ผู่ตง (เครื่องบิน ตู-134) โดยให้บริการ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์[10][11][12] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 แอร์โครยอได้ทำการเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังปักกิ่ง, วลาดีวอสตอค และเฉิ่นหยาง[13]
การให้บริการในเส้นทางใหม่
แก้ในปี ค.ศ. 2011 แอร์โครยอได้เปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังกัวลาลัมเปอร์และคูเวตซิตี โดยเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 เปิดให้บริการช่วงฤดูการท่องเที่ยว คือช่วงเดือนเมษายน ถึงตุลาคม[14]
ในปี ค.ศ. 2012 แอร์โครยอได้กลับมาเปิดเที่ยวบินกัวลาลัมเปอร์อีกครั้ง พร้อมกับการขยายเที่ยวบินไปยังเมืองฮาร์บิน ประเทศจีน[15][16] และในปีเดียวกัน บริษัทชูเช ซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยว ก็ได้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือโดยเครื่องบินส่วนตัว เครื่องบินที่ให้บริการได้แก่ อิล-76, มิล-17, อาน-24, ตู-134 และตู-154 ส่วนเที่ยวบินระหว่างประเทศ ใช้เครื่องบิน ตู-204 หรือไม่ก็ อิล-62
จุดหมายปลายทาง
แก้ประวัติเที่ยวบินระหว่างเกาหลีเหนือ–เกาหลีใต้
แก้เที่ยวบินระหว่างประเทศ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-154 ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน แอร์โครยอเคยให้บริการเที่ยวบิน 40 เที่ยวไปยังโซล, ยังยัง และปูซาน ในประเทศเกาหลีใต้[17] ส่วนเที่ยวบินจากท่าอากาศยานฮัมฮึง ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติยังยังนั้น เริ่มในปี ค.ศ. 2002[18] แต่ต่อมาท่าอากาศยานยังยังได้ปิดตัวลงในปี ค.ศ. 2008 และไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้อีกเลย
ฝูงบิน
แก้ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ฝูงบินของแอร์โครยอทั้งหมดประกอบไปด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้[19]
ฝูงบินของแอร์โครยอ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เครื่องบิน | ประจำการ | สั่งซื้อ | จำนวนที่นั่ง | หมายเหตุ | ||||
ธ | ป | ทั้งหมด | ||||||
อานโตนอฟ อาน-24R/RV [20] | 3 | — | 0 | 52 | 52 | |||
อานโตนอฟ อาน-148-100B | 2 | — | 8 | 62 | 70 | |||
อิลยูชิน อิล-18D [21] | 1 | — | ? | ? | ? | |||
อิลยูชิน อิล-62M | 2 | — | 12 | 178 | 180 | เครื่องบินส่วนตัวของรัฐบาลเกาหลีเหนือ | ||
2 | เฉพาะกิจ | ลายด้านข้างเป็นลายรัฐบาลเกาหลีเหนือ[22] | ||||||
ตูโปเลฟ ตู-134B-3 [23] | 2 | — | 0 | 76 | 76 | |||
ตูโปเลฟ ตู-154B/B-2 | 2 | — | 16 | 136 | 152 | |||
ตูโปเลฟ ตู-204-100B | 1 | — | 0 | 210 | 210 | |||
ตูโปเลฟ ตู-204-300 | 1 | — | 16 | 150 | 166 | |||
ฝูงบินของแอร์โครยอคาร์โก้ | ||||||||
อิลยูชิน อิล-76TD [21] | 3 | — | — | — | — | |||
ทั้งหมด | 18 | 1 |
การปรับให้ทันสมัย
แก้ในปัจจุบัน แอร์โครยออยู่ระหว่างการระดมหาเครื่องบินใหม่ โดยเครื่องบินใหม่อาจจะถูกสร้างโดยรัสเซีย เนื่องจากถูกปิดกั้นจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป แอร์โครยอได้เลือกเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-96 และซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 ส่วนเครื่องบินที่มีอยู่อย่าง ตูโปเลฟ ตู-204 ก็มีประสิทธิภาพในการบินไปยังมอสโกโดยไม่หยุดพัก นอกจากนี้ แอร์โครยอยังได้ติดตั้งจอโทรทัศน์ในเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-204 อีกด้วย
นิตรสาร แอร์ไลเนอร์เวิลด์ รายงานว่า แอร์โครยอ พยายามที่จะบินไปยังยุโรปอีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะให้เกิดเที่ยวบินเปียงยาง-เบอร์ลินในอนาคต การบินไปยังยุโรปได้รับการยินยอมอีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 หลังจากถูกปิดกั้นมา 7 ปี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 แอร์โครยอ ได้เปิดเที่ยวบินจากกรุงเปียงยางไปยังกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สัปดาห์ละ 2 เที่ยว โดยเครื่องบิน ตู-204 และเที่ยวบินไปยังคูเวตซิตี ทุกสัปดาห์[14]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 ได้มีการเปิดจองที่นั่งออนไลน์เป็นครั้งแรก[7] และในช่วงไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2013 แอร์โครยอได้รับเครื่องบินใหม่อีกครั้ง เป็นเครื่องบิน อานโตนอฟ อาน-148[24]
ตูโปเลฟ ตู-204
แก้เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 ลำแรก ถูกส่งมอบเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งถูกส่งข้ามฟากจากอุลยานอฟสก์มายังเปียงยาง ประกอบไปด้วยที่นั่งชั้นธุรกิจ 16 ที่ และชั้นประหยัด 150 ที่ เครื่องบินลำนี้เป็นเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-300 ลำแรกที่ถูกส่งออกนอกประเทศรัสเซีย
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เครื่องบิน ตู-204 ถูกกำหนดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ ระหว่างเปียงยาง-สิงคโปร์ และเปียงยาง-กรุงเทพมหานคร
แอร์โครยอได้ให้บริการเครื่องบินไอพ่น ตู-204-100B ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทันสมัยกว่าเครื่องบิน ตู-204-300 และในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2010 แอร์โครยอได้รับมอบเครื่องบิน ตู-204-100B ลำที่สอง[25] และเริ่มให้บริการในวันถัด ๆ มา[26]
วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2010 เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 จำนวน 2 ลำ ได้บินไปยังสหภาพยุโรป และมีโอกาสสูงที่เที่ยวบินเปียงยาง-เบอร์ลิน จะกลับมาให้บริการในอนาคต[27]
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
แก้- วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 เครื่องบิน อิลยูชิน อิล-62M ของ CAAK (ในขณะนั้น) ซึ่งเดินทางจากกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ไปยังกรุงโคนาครี ประเทศกินี ได้ชนกับภูเขาเฟาตาจัลลอนในกินี ผู้โดยสาร 23 คนเสียชีวิตทั้งหมด และเครื่องบินได้ร่วงตกลง[28][29]
การถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในสหภาพยุโรป
แก้เนื่องจากปัจจัยด้านความปลอดภัยและมลพิษทางเสียง แอร์โครยอจึงถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป ได้พบข้อบกพร่องของเครื่องบินในหลุมจอดของท่าอากาศยานในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ทำให้แอร์โครยอถูกกล่าวหาด้านการให้บริการเครื่องบินที่บกพร่องมาก และยังล้มเหลวในการเจรจากับกรมการบินพลเรือนฝรั่งเศส ทำให้ฝ่ายฝรั่งเศสมองว่าสายการบินนี้มีประสิทธิภาพตกต่ำมาก นอกจากนี้ องค์กรอีซียังกล่าวว่า เกาหลีเหนือควบคุมสายการบินประจำชาติได้ไม่เพียงพอ และการประชุมที่ชิคาโก ก็ได้สรุปว่า ด้วยเหตุนี้ หากวัดกันด้วยพื้นฐานของเกณฑ์ตัดสินทั่วไปแล้ว[30] คณะกรรมการจึงได้ประเมินผลว่า แอร์โครยอไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีพอ[31]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 แอร์โครยอ ได้รับอนุญาตให้กลับไปบินเหนือน่านฟ้ายุโรปได้อีกครั้ง โดยเครื่องบิน ตู-204 ซึ่งมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม และเข้ากันกับมาตรฐานนานาชาติ อย่างไรก็ตาม เครื่องบินประเภทอื่น ยังคงถูกสั่งห้าม[27][32][33]
การประเมินสายการบิน
แก้แอร์โครยอ เป็นเพียงสายการบินเดียวที่ได้รับการประเมินเพียง 1 ดาว จาก 681 สายการบิน ได้รับการประเมินโดย สกายแทร็กซ์[34] ซึ่งแอร์โครยอได้รับการประเมิน 1 ดาวมาแล้ว 4 ปีติดต่อกัน[35]
สมุดภาพ
แก้-
ธงชาติเกาหลีเหนือบนหางเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 (พี-632) กำลังเตรียมตัว ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
หลุ่มจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
ผู้โดยสารกำลังขึ้นเครื่อง ตูโปเลฟ ตู-204 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 (พี-632) กำลังเตรียมตัว ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
อาหารที่ให้บริการบนเที่ยวบินเปียงยาง-ปักกิ่ง
-
เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 (P-632) กำลังเตรียมตัว ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน ฐานการบินหลัก
-
เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-154B-2 (P-561) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
-
เครื่องบิน อิลยูชิน อิล-62M (P-881) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว
-
เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 (P-632) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง
-
เครื่องบิน อานโตนอฟ อาน-148-100B (P-671) ในปี ค.ศ. 2012
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "» Pyongyang Airport provides flight service worldwide". Korea-dpr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-29. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "Contact เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Air Koryo. Retrieved on 6 August 2009. "Democratic People's Republic of Korea P'yongyang – Head office Air Koryo Sunan District P'yongyang"
- ↑ 3.0 3.1 "Directory: World Airlines". Flight International. 27 March 2007. p. 59.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
- ↑ 5.0 5.1 "World Airlines Survey". Flight Global: 512. 13 April 1961. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
- ↑ Kim Jong-Un's 'Air Force One' Revealed, 12 may 2014, The Chonsunilbo
- ↑ 7.0 7.1 "'World's worst airline' launches online booking". Telegraph. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
- ↑ Air Koryo Asian Info, Retrieved 25 January 2015
- ↑ "North Korea's quirky (and unsafe) Air Koryo survives and, increasingly, appears to thrive". International Herald Tribune. 29 March 2009. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "North Korean Economy Watch » Blog Archive » Air Koryo launches Shanghai-Pyongyang flights". Nkeconwatch.com. 28 July 2010. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "2010年*上海=平壤8月散客*出团计划 行行摄摄 旅游摄影 出行旅游论坛". www.dayout.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "Photo ť P-814 (CN: 66368) Air Koryo Tupolev Tu-134 by LGY". Jetphotos.net. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ (25 January 2015) Air Koryo - cheap flights to Pyongyang เก็บถาวร 2020-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Koryo web site, Retrieved 25 January 2015
- ↑ 14.0 14.1 "Al - Malek International Group". Almalekint.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
- ↑ JL (2012-02-23). "Air Koryo to Start Pyongyang – Harbin Charter service from late-Apr 2012 | Airline Route – Worldwide Airline Route Updates". Airlineroute.net. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ JL (2012-03-19). "Air Koryo S12 Operation Changes to Kuala Lumpur | Airline Route – Worldwide Airline Route Updates". Airlineroute.net. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ "air koryo | 2003 | 2045 | Flight Archive". Flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "N. Korean plane to test-fly direct air route with South". Asia Africa Intelligence Wire. 20 July 2002.
- ↑ "Air Koryo". ch-aviation.ch. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ Air Koryo Antonov fleet list
- ↑ 21.0 21.1 Air Koryo Ilyushin fleet list
- ↑ Air Koryo VIP IL-62M now operating in Govt. livery
- ↑ Air Kory Tupolev flet list
- ↑ "Air Koryo - The Official Webpage of the national airline of the DPRK". Korea-dpr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "Самолёт Ту-204-100В передан авиакомпании "Air Koryo" – Аргументы и Факты". Ul.aif.ru. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
- ↑ 27.0 27.1 "EU Bans All Airlines From Philippines, Sudan in New Blacklist". BusinessWeek. 30 March 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ "Aviation Safety Database report". Aviation-safety.net. 1 July 1983. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- ↑ UPI. "AROUND THE WORLD; 23 Killed in Guinea Crash Of a North Korean Plane". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 6, 1983.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Fly Well portal เก็บถาวร 2006-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Which contains links to the common air transport policy)(อังกฤษ), European Commission, 22 March 2006
- ↑ Commission Regulation (EC) No 474/2006 of 22 March 2006 เก็บถาวร 2013-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF-file)(อังกฤษ), European Commission, 22 March 2006
- ↑ "Commission updates the list of airlines banned from the European airspace". Europa Press Release Database. 30 March 2010.
- ↑ "EU Upholds Flight Ban". Radio Free Asia. 13 January 2010.
- ↑ "Airline Rating". Skytrax. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
- ↑ (22 January 2015) And the very worst airline in the world is... เก็บถาวร 2015-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Traveller24, Retrieved 25 January 2015