เศรษฐกิจญี่ปุ่น
เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก[11][12] รองจาก สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว[13] ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในรัชสมัยโชวะ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามแต่ญี่ปุ่นก็สามารถไต่เต้าขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และครองตำแหน่งนี้ยาวนานกว่าสองทศวรรษจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ญี่ปุ่นก็กลายเป็นชาติเศรษฐกิจอันดับสองของโลกจนถึงปี 2009 จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อำนาจซื้อต่อหัวของญี่ปุ่นในเวทีโลก อยู่ที่ 35,855 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก[14] การคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีการสำรวจเป็นรายไตรมาสที่เรียกว่า ทังกัง จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น[15]
เศรษฐกิจญี่ปุ่น | |
---|---|
![]() โตเกียวคือศูนย์กลางทางการเงินลำดับต้น ๆ ของโลก | |
อันดับทางเศรษฐกิจ | 3 (ตัวเงิน) 4 (อำนาจซื้อ) |
สกุลเงิน | เยน (JPY) |
ปีงบประมาณ | 1 เมษายน – 31 มีนาคม |
ภาคีการค้า | APEC, WTO, OECD, G-20, G8 และอื่น ๆ |
สถิติ | |
จีดีพี | $5.964 ล้านล้าน (2012 ประมาณการ) (ตัวเงิน) $4.628 ล้านล้าน (2012 ปมก.) (อำนาจซื้อ) |
จีดีพีเติบโต | 2.6% (ไตรมาส 1 ค.ศ. 2014) |
จีดีพีต่อหัว | $46,736 (2012 ปมก.) (ตัวเงิน. 14 ของโลก) $36,266 (2012 ปมก.) (อำนาจซื้อ. 23 ของโลก) |
ภาคจีดีพี | เกษตรกรรม: 1.2%, อุตสาหกรรม: 27.5%, บริการ: 71.4% (2012 ปมก.) |
เงินเฟ้อ (CPI) | 3.2% (พ.ค. 2014)[1] |
ประชากรยากจน | 16% (2010)[2] |
จีนี | 38.1 (2002) |
แรงงาน | 65.93 ล้านคน (2011 ปมก.) |
ภาคแรงงาน | เกษตรกรรม: 3.9%, อุตสาหกรรม: 26.2%, บริการ: 69.8% (2010 ปมก.) |
ว่างงาน | 4.6% (2011 ปมก..)[3] |
อุตสาหกรรมหลัก | ยานยนต์และส่วนควบ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร, เหล็ก และ โลหะนอกลุ่มเหล็ก, เรือ, เคมีภัณฑ์, สิ่งทอ, อาหารแปรรูป |
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ | 24[4] |
การค้า | |
มูลค่าส่งออก | $788 พันล้าน (2011 ปมก.) |
สินค้าส่งออก | ยานยนต์ 13.6%; อุปกรณ์กึ่งตัวนำ 6.2%; เหล็กและโลหะภัณฑ์ 5.5%; ชิ้นส่วนยานยนต์ 4.6%; วัสดุพลาสติก 3.5%; เครื่องจักรกล 3.5% |
ประเทศส่งออกหลัก | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
มูลค่านำเข้า | $808.4 พันล้าน (2011 ปมก.) |
สินค้านำเข้า | ปิโตรเลียม 15.5%; ก๊าซธรรมชาติเหลว 5.7%; เสื้อผ้า 3.9%; อุปกรณ์กึ่งตัวนำ 3.5%; ถ่านหิน 3.5%; อุปกรณ์ภาพและเสียง 2.7% |
ประเทศนำเข้าหลัก | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
FDI | $161.4 พันล้าน (2010 ปมก.) |
หนี้ต่างประเทศ | $2.719 ล้านล้าน (มิ.ย. 2011) |
การคลังรัฐบาล | |
หนี้สาธารณะ | $13.64 ล้านล้าน / 229.77% ของจีดีพี (2011 ปมก.)[7] |
รายรับ | $1.1 ล้านล้าน (2011 ปมก.) |
รายจ่าย | $1.157 ล้านล้าน (2011 ปมก.) |
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ | $9.7 พันล้าน (ODA. กุมภาพันธ์ 2007) |
อันดับความเชื่อมั่น | สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส:[8] AA- (ในประเทศ) AA- (ระหว่างประเทศ) AAA (T&C Assessment) ภาพลักษณ์: มีเสถียรภาพ[9] มูดดี้ส์:[9] A1 ภาพลักษณ์: ดี ฟิทซ์:[9] A- ภาพลักษณ์: ดี |
ทุนสำรอง | US$1.154 ล้านล้าน (เมษายน 2011)[10] |
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ |
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผลิตยานยนต์ได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก[16] นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่มักจะมีการจัดอันดับในบรรดาหมู่ประเทศนวัตตกรรมชั้นนำ[17] ซึ่งในระยะหลังมานี้ญี่ปุ่นต้องเผชิญการแข่งขันกับ จีน และ เกาหลีใต้[18] ที่เริ่มช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตเป็นหลัก ซึ่งใช้แรงงานคนน้อย และมีความแม่นยำมากกว่า จำพวก ยานยนต์ไฮบริด และหุ่นยนต์อัตโนมัติต่าง ๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโรงงานในภูมิภาคคันโต[19][20][21][22] ทั้งนี้ภูมิภาคคันไซก็เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมชั้นนำและศูนย์การผลิตสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น [23]
ทิศทางเศรษฐกิจมหภาคแก้ไข
แผนภูมินี้แสดงให้เห็นถึงทิศทางของจีดีพีของญี่ปุ่นตามตัวเงิน ประมาณการโดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในหน่วยล้านเยน[24] ดูเพิ่ม [25][26]
ค.ศ. | จีดีพี | เยน / 1 ดอลลาร์ | ดัชนีเงินเฟ้อ (ฐาน ณ ปี 2000) |
จีดีพี (ตัวเงิน) ต่อหัว ในหน่วย % ของชาวอเมริกัน |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ต่อหัว ในหน่วย % ของชาวอเมริกัน |
1955 | 8,369,500 | ¥360.00 | 10.31 | – | |
1960 | 16,009,700 | ¥360.00 | 16.22 | – | |
1965 | 32,866,000 | ¥360.00 | 24.95 | – | |
1970 | 73,344,900 | ¥360.00 | 38.56 | – | |
1975 | 148,327,100 | ¥297.26 | 59.00 | – | |
1980 | 240,707,315 | ¥225.82 | 100 | 105.85 | 71.87 |
2005 | 502,905,400 | ¥110.01 | 97 | 85.04 | 71.03 |
2010 | 477,327,134 | ¥88.54 | 98 | 89.8 | 71.49 |
จากข้อมูลดัชนีเงินเฟ้อข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นได้เผชิญกับสภาวะปราศจากเงินเฟ้อในช่วงทศวรรษ 1980-2000 ที่สินค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาตลอด 2 ทศวรรษ มิหนำซ้ำ ภายหลังปี 2000 ยังต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด ที่ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศมีทิศทางถูกลงแม้จะเพียงเล็กน้อย เหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ชาวญี่ปุ่นตลอดจนบริษัทต่าง ๆ ไม่นิยมนำเงินฝากธนาคารภายในประเทศเพื่อเป็นการลงทุน เนื่องจากไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย หรือจ่ายในอัตราที่ต่ำมากจนแทบจะเป็นร้อยละศูนย์
สำหรับการเปรียบเทียบอำนาจซื้อ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ อยู่ที่ 109 เยนในปี 2010[27]
อุตสาหกรรมแก้ไข
มูลค่าจีดีพีในปี 2012 แบ่างตามภาคอุตสาหกรรม [28] มูลค่าถูกแปลงเป็นหน่วยสกุลเงินบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 12 เมษายน 2013.[29]
อุตสาหกรรม | มูลค่าจีดีพี (ล้านล้านบาท) |
% ของจีดีพีทั้งหมด |
---|---|---|
ภาคบริการอื่น ๆ | 36.139 | 23.5% |
การผลิต | 27.643 | 18.0% |
อสังหาริมทรัพย์ | 20.346 | 13.2% |
ค้าส่ง และ ค้าปลีก | 19.266 | 12.5% |
คมนาคม และ โทรคมนาคม | 10.450 | 6.8% |
รัฐประศาสน์ | 9.603 | 6.2% |
ก่อสร้าง | 9.545 | 6.2% |
การเงินและกรมธรรม์ประกัน | 8.932 | 5.8% |
ไฟฟ้า, ก๊าซ และ ประปา | 5.225 | 3.4% |
บริการของรัฐบาล | 1.197 | 0.7% |
เหมือง | 0.087 | 0.05% |
ทั้งหมด | 153.778 | 100% |
การเงินแก้ไข
ตลาดหลักทรัพย์แก้ไข
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ปัจจุบันเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 สองโลก ตามราคาตลาด ทำให้ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 ตลาดประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียนกว่า 3,425 บริษัท[30] ซึ่งตลาดหลักทรัพย์โตเกียว มีดัชนีตลาดที่สำคัญอยู่ 2 ดัชนี คือ Nikkei 225 และ TOPIX[31][32] นอกจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังมีตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่อีกหนึ่งแห่ง คือ ตลาดหลักทรัพย์โอซะกะ ซึ่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 มีการรวมกลุ่มของตลาดหลัพทรัพย์ทั้งสอง เป็น กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (Japan Exchange Group) นอกเหนือไปจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ของญี่ปุ่น ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์นะโงะยะ, ฟุกุโอะกะ และ ซัปโปะโระ[33][34]
ตลาดแรงงานแก้ไข
ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราว่างงานอยู่ที่ระดับต่ำ อัตราว่างงานในญี่ปุ่น ณ สิ้นปี 2013 อยู่ที่ 3.7% ลดลงจากปี 2009 ที่เคยอยู่ที่ 5.2% อันเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูอุตสาหกรรมในประเทศ [35][36][37] ในตัวเลขนี้ แม้แต่บุคคลที่ทำอาชีพเสริม(พาร์ทไทม์)ที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำ ก็ไม่ถูกนับว่าเป็นบุคคลว่างงาน
ในปี 2008 แรงงานของญี่ปุ่นมีจำนวน 66 ล้านคน ในจำนวนนี้ 40% เป็นผู้หญิง ตลาดแรงงานของญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะหดตัวลงอย่างเรื่อย ๆ เป็นผลมาจากแรงงานส่วนใหญ่เริ่มมีอายุสูงขึ้นสู่วัยเกษียณ ในขณะที่แรงงานรุ่นใหม่ที่เข้ามาทดแทนก็ไม่เพียงพอ ปัญหาที่สำคัญนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากอัตราการเกิดที่อยู่ในระดับต่ำมาก แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายอุดหนุนสวัสดิการแก่เด็กเกิดใหม่มากมาย แต่ไม่ได้ช่วยทำให้อัตราเกิดเพิ่มขึ้นตามเป้าแต่อย่างใด ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นได้มีนโยบายใหม่ คือลดเงื่อนไขในการขอสัญชาติญี่ปุ่นแก่พลเมืองต่างประเทศ แต่นโยบายนี้ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Japan inflation rate hits 23-year high". BBC News. 29 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2014.
- ↑ "CIA World Factbook: Japan". Central Intelligence Agency. 28 มกราคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Latest indicators". Statistics Bureau, Ministry of Internal Affairs and Communications. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2011.
- ↑ "Doing Business in Japan 2013". World Bank. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Export Partners of Japan". CIA World Factbook. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-06. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013.
- ↑ "Import Partners of Japan". CIA World Factbook. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". Imf.org. 14 September 206. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Rogers, Simon; Sedghi, Ami (15 เมษายน 2011). "How Fitch, Moody's and S&P rate each country's credit rating". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2011.
- ↑ "International Reserves and Foreign Currency Liquidity – JAPAN". International Monetary Fund. 12 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2011.
- ↑ "GDP (current US$)". World Bank. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2013.
- ↑ "GDP (OFFICIAL EXCHANGE RATE)". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Country statistical profile: Japan". OECD iLibrary. 28 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2013.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "World Economic Outlook Database-ตุลาคม 2013". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2013.
- ↑ "TANKAN :日本銀行 Bank of Japan". Bank of Japan. Boj.or.jp. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ "2013 PRODUCTION STATISTICS – FIRST 6 MONTHS". OICA. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Statistics on Patents". World Intellectual Property Organization. 19 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Morris, Ben (12 เมษายน 2012). "What does the future hold for Japan's electronics firms?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2013.
- ↑ Iwadare, Yoshihiko (1 เมษายน 2004). "Strengthening the Competitiveness of Local Industries: The Case of an Industrial Cluster Formed by Three Tokai Prefecters" (PDF). Nomura Research Institute. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Kodama, Toshihiro (1 กรกฎาคม 2002). "Case study of regional university-industry partnership in practice". Institute for International Studies and Training. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-30. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Mori, Junichiro, Kajikawa, Yuya, Sakata, Ichiro (2010). "Evaluating the Impacts of Regional Cluster Policies using Network Analysis" (PDF). International Association for Management of Technology. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Schlunze, Rolf D. "Location and Role of Foreign Firms in Regional Innovation Systems in Japan" (PDF). Ritsumeikan University. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Profile of Osaka/Kansai" (PDF). Japan External Trade Organization Osaka. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013.
- ↑ Statistics Bureau Home Page
- ↑ What Were Japanese GDP, CPI, Wage, or Population Then?
- ↑ "Yearly Average Currency Exchange Rates Translating foreign currency into U.S. dollars". IRS. 2010. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
- ↑ Statistics Division of Gifu Prefecture เก็บถาวร 2007-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ญี่ปุ่น) Gifu Prefecture. Accessed November 2, 2007.
- ↑ "THB/JPY / Japanese Yen Conversion". ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2014.
- ↑ Number of companies in the stock exchange Tokyo Stock Exchange (ญี่ปุ่น)
- ↑ "The Nikkei 225 Index Performance". Finfacts. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ "Tokyo Stock Exchange Tokyo Price Index TOPIX". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ Smith, Simon (22 January 2014). "Horizons introduces leveraged and inverse MSCI Japan ETFs". eftstrategy.com. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ "About JSCC History". Japan Securities Clearing Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ "雇用情勢は一段と悪化、5月失業率は5年8カ月ぶり高水準(Update3)". Bloomberg. 2009-06-30. สืบค้นเมื่อ 2013-02-01.
- ↑ Fujioka, Toru (2009-06-29). "Japan's Jobless Rate Rises to Five-Year High of 5.2% (Update2)". Bloomberg News. Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2013-02-01.
- ↑ Rochan, M (January 31, 2014). "Japan's Unemployment Rate Drops to Six-Year Low Amid Rising Inflation". International Business Times. สืบค้นเมื่อ April 29, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เศรษฐกิจญี่ปุ่น |
- รายงานทางเศรษฐกิจรายเดือน โดย สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (อังกฤษ)
- Why Are Japanese Wages So Sluggish? IMF Working paper โดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (อังกฤษ)
- World Bank Trade Summary Statistics Japan 2012 โดย ธนาคารโลก (อังกฤษ)