ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม
ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม หรือ ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ไอที (อังกฤษ: Dot-com bubble หรือ I.T. bubble[1]) คือภาวะการเก็งกำไรอันเกินควรของตลาดหลักทรัพย์ภาคเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2543 (โดยที่จุดสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2000 เมื่อตลาดแนสแด็กขึ้นไปถึง 5132.52) ในช่วงเวลานั้นตลาดหลักทรัพย์ทางตะวันตกเป็นตลาดที่มูลค่าของหุ้นในเครืออินเทอร์เน็ตถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับหุ้นในภาคตลาดอื่น ๆ โดยทั่วไป
สภาวะนี้เริ่มขึ้นในช่วงที่มีการก่อตั้งธุรกิจหรือบริษัทที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานขึ้นเป็นจำนวนมากที่เรียกว่า “บริษัทดอตคอม” เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วธุรกิจต่างก็หันมาเติมคำ “e-” นำหน้าชื่อ หรือ เติม “.com” ท้ายชื่อที่ทำให้ดูเหมือนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้นักเขียนผู้หนึ่งเรียกการลงทุนชนิดนี้ว่า “การลงทุนคำเสริม” (prefix investing)[2]
ปัจจัยต่าง ๆ ที่รวมทั้งการถีบตัวสูงขึ้นของหุ้น, ความมั่นใจของตลาดที่เชื่อว่าบริษัทจะสร้างผลกำไรในอนาคต, การเก็งกำไรของนักลงทุนแต่ละราย, และ กองทุนร่วมลงทุน (venture capital) ที่มีอยู่โดยทั่วไป สร้างบรรยากาศที่ทำให้นักลงทุนมองข้ามพื้นฐานหลักของการลงทุน เช่นการที่จะต้องคำนึงถึงอัตราต่อกำไร (P/E ratio) และหันไปให้ความเชื่อมั่นต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแทนที่
อ้างอิง
แก้- ↑ http://utip.gov.utexas.edu/papers/utip_27.pdf
- ↑ Nanotech Excitement Boosts Wrong Stock, The Market by Mike Maznick, Techdirt.com, Dec 4, 2003