การว่างงานเป็นสถานการณ์ที่บุคคลผู้สามารถที่กำลังหางานไม่สามารถหางานได้

กลุ่มผู้ชายเข้าแถวหน้าร้านซุปในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่ชิคาโก, รัฐอิลลินอย, สหรัฐ. ค.ศ.1931

สาเหตุของการว่างงานเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก[1] เศรษฐศาสตร์คลาสสิก เศรษฐศาสตร์คลาสสิกใหม่ และเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียแย้งว่ากลไกตลาดเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน ทฤษฎีข้างต้นคัดค้านการแทรกแซงที่กำหนดต่อตลาดแรงงานจากภายนอก เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงาน กฎทำงานระบบข้าราชการประจำ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ ภาษีและการวางระเบียบอื่นซึ่งพวกเขาอ้างว่าขัดขวางการจ้างคนงาน เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เน้นย้ำสภาพวัฏจักรของการว่างงานและแนะนำให้รัฐบาลแทรกแซงตลาดแรงงานในเศรษฐกิจที่ทฤษฎีอ้างว่าจะลดการว่างงานระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แบบจำลองเคนส์แนะนำให้รัฐบาลแทรกแซงซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มอุปสงค์สำหรับแรงงาน รวมทั้งสิ่งจูงใจทางการเงิน การสร้างงานที่ใช้งบประมาณสาธารณะและนโยบายการคลังแบบขยายตัว จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นบิดาทฤษฎีดังกล่าว เชื่อว่าสาเหตุรากเหง้าของการว่างงานคือความประสงค์ของนักลงทุนที่จะเอาเงินมากขึ้นแทนผลิตผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้หากปราศจากหน่วยานสาธารณะผลิตเงินเพิ่ม[2] ทฤษฎีกลุ่มที่สามเน้นความจำเป็นสำหรับากรมีอุปสงค์ทุนและการลงทุนอย่างเสถียรเพื่อรักษาการจ้างงานเต็มที่[3] ในมุมมองนี้ รัฐบาลควรรับประกันการจ้างงานเต็มผ่านนโยบายการเงิน นโยบายการคลังและนโยบายการค้า ตัวอย่างเช่น ในรัฐบัญญัติการจ้างงานสหรัฐ ค.ศ. 1946 โดยการถ่วงดุลภาคเอกชนหรือความผันผวนของการลงทุนการค้า และลดความไม่เสมอภาค[4]

นอกจากทฤษฎีการว่างงานแล้ว ยังมีการแบ่งหมวดการว่างงานอยู่บ้างซึ่งใช้แบบจำลองที่แม่นยำมากกว่าเพื่อสร้างแบบจำลองผลของการว่างงานในระบบเศรษฐกิจ การว่างงานหลักบางประเภท เช่น การว่างงานเชิงโครงสร้างและการว่างงานแบบเสียดทาน เช่นการว่างงานวัฏจักร การว่างงานโดยไม่สมัครใจ และการว่างงานคลาสสิก การว่างงานเชิโครสร้างเน้นปัญหารากฐานในเศรษฐกิจและความด้อยประสิทธิภาพที่พบในตลาดแรงงานเอง รวมทั้งความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานสำหรับผู้ใช้แรงงานที่มีชุดทักษะที่จำเป็น การให้เหตุผลเชิงโครงสร้างเน้นสาเหตุและทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่รบกวนและโลกาภิวัฒน์ การอภิปรายเกี่ยวกับการว่างงานแบบเสียดทานเน้นการตัดสินใจโดยสมัครใจให้ทำงานโดยตั้งอยู่บนการให้คุณค่างานของตนของปัจเจกบุคคล และว่าวิธีดังกล่าวเปรียบเทียบกับอตราค่าจ้างปัจจุบันบวกกับเวลาและความพยายามที่จำเป็นเพื่อหางาน สาเหตุและทางแก้สำหรับการว่างงานแบบเสียดทานมักเน้นขีดแบ่งการรับเข้าทำงานและอัตราค่าจ้าง

อัตราการว่างงานเป็นการวัดความชุกของการว่างงานและคำนวณเป็นร้อยละโดยหารจำนวนปัจเจกบุคคลว่างงานด้วยปัจเจกบุคคลทั้หมดที่ปัจจุบันอยู่ในกำลังแรงงาน ระหว่างช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เศรษฐกิจอาจประสบอัตราการว่างงานค่อนข้างสูง[5] ประมาณ 6% ของกำลังแรงงานทั่วโลกว่างงานในปี 2555[6]

อ้างอิง แก้

  1. E McGaughey, 'Will Robots Automate Your Job Away? Full Employment, Basic Income, and Economic Democracy' (2018) SSRN, part 2(1), on 'Three views on unemployment's causes'
  2. "Why Money Matters" เก็บถาวร 14 กุมภาพันธ์ 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 20 August 2013.
  3. S Webb, How the Government Can Prevent Unemployment (1912). M Kalecki, ‘Political aspects of full employment’ (1943) 14(4) Political Quarterly 322. United Kingdom Government White Paper, Employment Policy (May 1944) Cmd 6527. W Beveridge, Full Employment in a Free Society (1944). AA Berle, ‘A New look at management responsibility’ (1962) 2 Human Resource Management 3. E McGaughey, 'Will Robots Automate Your Job Away? Full Employment, Basic Income, and Economic Democracy' (2018) SSRN, part 2(3)
  4. e.g. MS Eccles, Beckoning Frontiers: Public and Personal Recollections (1951) 75-76 and Robert Reich, Aftershock: The next economy and America's future (2012)
  5. The Saylor Foundation. "Unemployment Rate." pp. 1 [1] Retrieved 20 June 2012
  6. "Global employment trends 2013" (PDF). International Labour Organization. 21 January 2013.