เรายินดีที่คุณพร้อมเรียนรู้การแก้ไขวิกิพีเดีย

เริ่มต้น

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ที่ผู้ใช้งานร่วมกันเขียน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2544 (รุ่นภาษาไทยก่อตั้ง พ.ศ. 2547) และเติบโตเป็นเว็บไซต์อ้างอิงใหญ่ที่สุดของโลก
ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความ 163,920 บทความ ที่มีการเข้าชมหลายสิบล้านครั้งต่อเดือน
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์ ดูที่ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย


วิธีที่คุณสามารถช่วยได้

แก้ได้เลย อย่ากลัวทุกคนสามารถแก้ไขหน้าได้เกือบทุกหน้า ลองหาจุดที่คุณสามารถปรับปรุงและลงมือแก้ได้เลย คุณสามารถเพิ่มเนื้อหา (อย่าลืมใส่แหล่งอ้างอิงนะ), แก้ไขการสะกดคำหรือข้อผิดพลาดไวยากรณ์ เรียบเรียงใหม่ให้อ่านง่ายและสละสลวยยิ่งขึ้น หรืองานอื่น ๆ ที่ยังรอผู้สนใจ วิกิพีเดียอาจดูยุ่งยากเพราะนโยบายของเรา ไม่ต้องกังวลว่าคุณยังไม่เข้าใจทุกอย่างตั้งแต่แรก เพราะการใช้สามัญสำนึกของคุณก็ใช้ได้แล้วในกรณีส่วนใหญ่ และถึงคุณพลาดพลั้งไป ก็ยังแก้ไขหรือปรับปรุงได้เองหรือมีผู้อื่นมาจัดการให้ภายหลังได้ ฉะนั้น ลุยเลย!

เสนอแนะข้อควรปรับปรุง – ทุกบทความมีหน้า "อภิปราย" ที่คุณสามารถเสนอแนะข้อควรปรับปรุงและแก้ไขบทความได้ เข้าได้จากแถบด้านบน

บริจาค – วิกิพีเดียไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้ และอาสาสมัครเป็นผู้แก้ไขทั้งหมด แต่ต้องอาศัยเงินบริจาคเป็นค่าดำเนินการเซิร์ฟเวอร์ ขอความกรุณาพิจารณาบริจาคสมทบทุนค่าบำรุงรักษาและพัฒนาโครงการ

สมัครบัญชี

เรายินดีให้คุณแก้ไขแบบไม่ล็อกอิน แต่การลงทะเบียนบัญชีมีประโยชน์หลายอย่าง (รวมทั้งไม่แสดงเลขที่อยู่ไอพีของคุณ)

สมัครเลย


ลองเขียนเลยดีไหม

คุณสามารถทดสอบการเขียนได้โดยใช้หน้า "ทดลอง" ด้านล่าง

แก้ไขหน้าแบบเห็นภาพ หรือ แก้ไขโดยใช้การจัดรูปแบบวิกิ

ลองพิมพ์แล้วคลิก เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง เมื่อคุณพอใจกับผลลัพธ์ ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น หน้านี้เป็นพื้นที่ทดลองโดยเฉพาะ

หลักการสำคัญ

หลักการสำคัญของวิกิพิเดียที่ขัดไม่ได้และต้องยึดถือ มีเพียงห้าข้อเท่านั้น

ยังมีเบื้องหลังอีกเยอะ

วิกิพีเดียมีหน้าชุมชนจำนวนมากนอกเหนือจากบทความ

ศาลาประชาคม – มีรายการภารกิจที่คุณช่วยได้
โครงการวิกิ – ชุมชนผู้เขียนที่มีความสนใจเฉพาะเรื่อง
หน้าวิธีใช้แบบครอบคลุม – มีคู่มือและข้อแนะนำจากชาววิกิพีเดียคนอื่น


นโยบายและแนวปฏิบัติ

จริง ๆ แล้ววิกิพีเดียมีกฎเข้มงวดไม่กี่ข้อเท่านั้น แต่ตั้งอยู่บนหลักการมูลฐาน 5 ข้อ ชุมชนวิกิพีเดียพัฒนานโยบาย และ แนวปฏิบัติ เพื่ออธิบายหลักการดังกล่าวให้กระจ่างขึ้น และอธิบายว่าการนำหลักการนั้นไปปฏิบัติ ระงับข้อพิพาท และช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายของเราในการสร้างสารานุกรมเสรีและน่าเชื่อถือได้อย่างไร


นโยบายเป็นการอธิบายหลักการมูลฐานของวิกิพีเดียให้ละเอียดยิ่งขึ้น และแนวปฏิบัติเป็นข้อแนะนำวิธีการใช้นโยบายและการวางรูปแบบบทความต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นโยบายและแนวปฏิบัติอย่างเป็นทางการมีประกาศอยู่ด้านบนชัดเจน และมีคำเติมหน้า "วิกิพีเดีย:" ก่อนชื่อหน้า


แม้ว่าวิกิพีเดียภาษาไทยมีนโยบายหรือแนวปฏิบัติอยู่หลายเรื่อง แต่เราไม่ได้คาดว่าใครจะต้องรู้ทั้งหมด โชคดีว่ากฎตั้งอยู่บนกฎพื้นฐานไม่กี่ข้อ ซึ่งเราจะมีอธิบายสั้น ๆ ถึงกฎสำคัญอันเป็นจิตวิญญาณโดยทั่วไปของกฎวิกิพีเดีย ในหน้าต่อไปนี้ การทราบกฎพื้นฐานทำให้การอภิปรายและการเขียนง่ายและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

เนื้อหา

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม และชุมชนบากบั่นเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำเสมอ บทความควรมีความเป็นกลาง และพึงมีแต่สารสนเทศและความเห็นที่พิสูจน์ยืนยันได้จากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ความประพฤติ

WikiLove to other editors!
WikiLove to other editors!

การเขียนวิกิพีเดียเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงกัน มีจุดเริ่มต้นสองข้อสำหรับการร่วมงานกับผู้อื่น: ขอให้กล้าและประพฤติเยี่ยงอารยชน


ขอให้กล้าเวลาแก้ไข! การแก้ไขส่วนใหญ่ทำให้สารานุกรมดีขึ้น และข้อผิดพลาดสามารถย้อนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้เสมอ หากคุณพบเห็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ สามารถแก้เองได้เลย และไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น หากการแก้ไขนั้นมีเจตนาพัฒนาและสมเหตุสมผล มีโอกาสดีที่ทุกอย่างจะเป็นที่ยอมรับและคงอยู่ แต่ถ้าไม่ดีประเดี๋ยวจะมีผู้อื่นมาเปลี่ยนกลับเอง


ประพฤติเยี่ยงอารยชน หมายถึง ให้สนทนาอย่างสุภาพและสันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสนใจกับเนื้อหาของการแก้ไขมากกว่าปัญหาส่วนบุคคล กฎนี้กำหนดให้มีส่วนร่วมแบบเคารพและเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยไม่ละเลยจุดยืนและข้อสรุปของผู้อื่น สันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจหมายถึงให้สันนิษฐานโดยปริยายว่าผู้อื่นเจตนาพัฒนาวิกิพีเดีย ถ้าจำเป็นต้องวิจารณ์หรือแก้ไขงานของเขา ให้อภิปรายการกระทำของผู้ใช้คนนั้น แต่อย่าเที่ยวกล่าวหาใครว่ามีเจตนาทำลายหากไม่มีหลักฐานชัดเจน


ปกติผู้เขียนบรรลุความเห็นพ้องเป็นผลลัพธ์ธรรมชาติของการแก้ไข โดยทั่วไปเมื่อมีคนเปลี่ยนหรือเพิ่มเนื้อหา ทุกคนที่อ่านจะมีโอกาสปล่อยไว้หรือแก้ไขต่อ การถูกย้อนอาจรู้สึกไม่ดีอยู่บ้าง แต่อย่าถือโทษโกรธกัน เพราะเป็นขั้นตอนทั่วไปในการหาความเห็นพ้องอยู่แล้ว หากคุณเห็นต่างหรือมีข้อเสนอแนะ ให้เขียนข้อความไว้ในหน้าคุยของบทความ และอภิปรายการเปลี่ยนแปลงอย่างสุภาพ จนกว่าบรรลุความเห็นพ้องกัน


การแก้ไข


วิกิพีเดียจัดรูปแบบโดยใช้ภาษาของตัวเอง เรียก มาร์กอัปวิกิ หรือเรียก ข้อความวิกิ พื้นฐานค่อนข้างง่าย


คุณมีทางเลือกใช้โปรแกรมแก้ไขสองโปรแกรม "โปรแกรมแก้ไขต้นฉบับ" ใช้มาร์กอัปวิกิ


อีกทางหนึ่ง คุณสามารถใช้ VisualEditor ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟซแก้ไขทุติยภูมิซึ่งทำงานเหมือนกับโปรแกรมประมวลคำ แม้ว่า VisualEditor อาจดูใช้ได้ง่ายกว่า แต่โปรแกรมแก้ไขต้นฉบับมีประสิทธิภาพทำงานบางอย่างได้ดีกว่า คุณสามารถเปลี่ยนโปรแกรมแก้ไขไปมาได้ตลอดระหว่างแก้ไข ดังแสดงขวามือ


ในการเข้าชมและแก้ไขหน้าโดยใช้มาร์กอัปวิกิ ให้คลิก แก้ไข (หรือ แก้ไขต้นฉบับ) ที่อยู่บนสุดของทุกหน้า จะทำให้คุณสามารถกรอกข้อความที่คุณต้องการเพิ่ม เปลี่ยนหรือลบได้ โดยใช้มาร์กอัปวิกิในการจัดรูปแบบข้อความและเพิ่มภาพและตาราง ซึ่งจะอธิบายต่อไปในหน้าสอนนี้


ในตอนแรกมาร์กอัปวิกิอาจดูน่ากลัว (โดยเฉพาะเวลาอ้างอิง) แต่จริง ๆ แล้วการทำความเข้าใจและใช้ต้องการทราบกฎเพียงไม่กี่ข้อ แล้วคุณก็จะคุ้นเคยอย่างรวดเร็ว!


การจัดรูปแบบ

ที่จริงบทความส่วนใหญ่แทบไม่ต้องใช้การจัดรูปแบบข้อความ

การจัดรูปแบบทั้งหมดใช้การวางสัญลักษณ์ขนาบบล็อกข้อความสองข้าง คุณสามารถพิมพ์มาร์กอัปเอง หรือเพิ่มผ่านแถบเครื่องมือที่อยู่บนพื้นที่แก้ไขก็ได้


เพิ่มพาดหัวและพาดหัวย่อยโดยคลิก  ขั้นสูง แล้ว หัวเรื่องหลัก  ในบรรทัดแถบเครื่องมือเพิ่มเติมซึ่งจะปรากฏหลังกดปุ่มแรก

เมื่อเลือก "ลำดับที่ 2" จะจัดรูปแบบข้อความเป็นพาดหัวหลัก ซึ่งใช้เป็นการแบ่งส่วนย่อยที่ใช้มากที่สุด
"ลำดับที่ 3" จะได้พาดหัวย่อยสำหรับพาดหัวระดับ 2 เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ในการสร้างพาดหัวโดยไม่ใช้แถบเครื่องมือ ให้ใส่ข้อความไว้กลางสัญัลกษณ์ =; จำนวนสัญลักษณ์ = ที่ขนาบข้อความจะระบุระดับของพาดหัว ดังนี้
==พาดหัว== (ลำดับที่ 2)
===พาดหัวย่อย=== (ลำดับที่ 3)


สามารถทำข้อความเป็นตัวเส้นหนา หรือ ตัวเอน ได้ โดยใช้ปุ่ม B และ I บนแถบเครื่องมือ
ในการสร้างตัวเส้นหนาหรือตัวเอน โดยไม่ใช้แถบเครื่องมือ ให้ใส่ข้อความไว้กลางสัญลักษณ์อะพอสทรอฟี '; ข้างละสามตัวสำหรับตัวเส้นนา หรือข้างละสองตัวสำหรับตัวเอน
'''ตัวเส้นหนา'''
''ตัวเอน''
ให้เน้นตัวเส้นหนาชื่อเรื่องบทความเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกในบทความเพียงครั้งเดียว สำหรับกรณีอื่นดูในคู่มือการเขียนเกี่ยวกับตัวเอน นอกเหนือจากนั้นไม่ควรใช้

ลิงก์และวิกิลิงก์

วิกิลิงก์เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของวิกิพีเดีย วิกิลิงก์ช่วยเชื่อมโยงหน้าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เหมือนกับการเย็บสารานุกรมเข้าด้วยกันเป็นเล่ม


โดยทั่วไป ควรเพิ่มวิกิลิงก์เฉพาะเมื่อกล่าวถึงมโนทัศน์ที่สำคัญหรือผู้อ่านไม่ค่อยคุ้นเคยเมื่อกล่าวถึงเฉพาะครั้งแรกในบทความ (ใช้แทนเชิงอรรถในสารานุกรมรูปเล่ม)


วิกิลิงก์ปกติใช้วงเล็บเหลี่ยม ดังนี้ [[หน้าเเป้าหมาย]]


หากคุณต้องการเชื่อมโยงไปหน้าหนึ่ง แต่ต้องการให้ข้อความแสดงเป็นอย่างอื่น สามารถใช้ขีดตั้ง | แบ่งได้ ( Shift+\) ดังนี้
[[หน้าเป้าหมาย|ข้อความที่จะให้แสดง]]


คุณยังสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนย่อยของบทความได้ด้วยเครื่องหมายแฮช # ดังนี้
[[หน้าเป้าหมาย#ส่วนเป้าหมาย|ข้อความที่จะให้แสดง]]


ตัวอย่างมีดังต่อไปนี้


คุณอาจไปพบกับ แม่แบบ ซึ่งทำให้ส่วนย่อยที่ใช้บ่อยรวมอยู่ได้ในหลายหน้า แม่แบบจะมีรูปแบบคือวงเล็บเหลี่ยม ดังนี้ {{ชื่อแม่แบบ|พารามิเตอร์}}


ตัวอย่างเช่น ในการแทรกป้ายระบุ [ต้องการอ้างอิง] คุณสามารถใช้รหัสดังนี้ {{อ้างอิง|date=เมษายน 2024}}

บันทึกการเปลี่ยนแปลง

ความย่อการแก้ไข (สรุปสิ่งที่คุณได้เปลี่ยนแปลง อย่าใช้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่นผู้ที่แก้ไขก่อนหน้า)

 

เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เฝ้าดูหน้านี้

เมื่อกดปุ่ม เผยแพร่หน้า หรือ เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง ถือว่าคุณยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน และคุณตกลงเผยแพร่งานของคุณภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA 4.0 และ GFDL อย่างไม่อาจเพิกถอนได้ คุณยอมรับว่า ไฮเปอร์ลิงก์หรือยูอาร์แอลเป็นการแสดงที่มาเพียงพอภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง แสดงตัวอย่าง แสดงการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก

 


เมื่อคุณเห็นว่าพร้อมเผยแพร่ (บันทึก) การเปลี่ยนแปลงของคุณ แล้ว ขอให้ปฏิบัติต่อไปนี้ก่อน


คุณควรแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของคุณเพื่อตรวจสอบว่าการแก้ไขของคุณเป็นอย่างที่คุณตั้งใจไว้หรือยัง โดยคลิกปุ่ม แสดงตัวอย่าง วิธีนี้ช่วยให้คุณตรวจพบข้อผิดพลาดได้ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงบทความ


เขียนความย่อการแก้ไขในกล่องความย่อการแก้ไขเพื่อช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของคุณ และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง คุณจะพิมพ์อธิบายไว้สั้น ๆ ก็ได้ เช่น "แก้สะกด"


หากคุณเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ไม่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียง เช่น แก้การสะกดหรือไวยากรณ์ หรือไม่เปลี่ยนแปลงความหมายของหน้า คุณควรเลือกกล่อง "☑ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย" เพื่อช่วยลดภาระการตรวจทานภายหลัง


ในการเพิ่มหน้าเข้า'รายการเฝ้าดูของคุณ เพื่อให้คุณได้รับแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงในหน้านี้ในภายหลัง ให้เลือกกล่อง "☑ เฝ้าดูหน้านี้"


หลังแสดงตัวอย่างแล้ว เขียนความย่อการแก้ไขแล้ว คุณก็พร้อมสำหรับขั้นสุดท้าย คลิกปุ่ม เผยแพร่หน้า แล้วการเปลี่ยนแปลงของคุณจะอัปโหลดเข้าสู่วิกิพีเดียทันที

สร้างบทความใหม่

วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความแล้ว 164,000 บทความ ฉะนั้นเวลาส่วนใหญ่คุณน่าจะคอยปรับเนื้อหาที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและพัฒนายิ่งขึ้น แต่บางโอกาสคุณอาจต้องการสร้างบทความใหม่! ก่อนที่คุณจะทำเช่นนั้น มีเกณฑ์ 3 ข้อที่คุณควรทราบ ดังนี้


ความสำคัญ

หัวข้อนั้นมีความสำคัญหรือไม่ เรื่องที่คุณต้องการเขียนจะต้องมีความสำคัญเพียงพอที่จะมีบทความในวิกิพีเดีย หมายความว่า เรื่องนั้นจะต้องมีการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่องนั้น เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร บทความวารสารวิชาการ และหนังสือ

ลองทดสอบตัวเองสั้น ๆ เกี่ยวกับความสำคัญ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและพิสูจน์ยืนยันได้รองรับข้ออ้างของคุณหรือไม่ ก่อนเริ่มต้นเขียนบทความ จะเป็นการดีที่สุดในการรวบรวมแหล่งอ้างอิงที่ไม่มีส่วนได้เสีย น่าเชื่อถือและพิสูจน์ยืนยันได้สำหรับใช้อ้างอิงเสียก่อน เพราะจำเป็นต่อการรับประกันว่าเนื้อหาของวิกิพีเดียจะเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ อย่าเขียนเพราะว่าเป็นสิ่งที่คุณรู้หรือฟังต่อ ๆ กันมาเฉย ๆ

ผลประโยชน์ทับซ้อน

คุณมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับเรื่องที่คุณจะเขียนหรือไม่ ควรเลี่ยงเขียนบทความเกี่ยวกับตัวคุณเอง บริษัทของคุณ หรือคนที่คุณรู้จักเป็นการส่วนตัว เพราะเลี่ยงอคติได้ยากและมักไม่มีมุมมองที่เป็นกลางในเรื่องเหล่านั้น แต่ถึงคุณจะเขียนบทความด้วยตนเองไม่ได้ คุณสามารถขอให้คนอื่นเขียนให้แทนก็ได้ ตราบเท่าที่เรื่องนั้นผ่านเกณฑ์ข้างต้น 2 ข้อแล้ว

สร้างหน้าใหม่ได้ที่ใด

ควรเริ่มต้นสร้างบทความใหม่จากฉบับร่างจะดีที่สุด (เช่น "ฉบับร่าง:ตัวอย่าง") เพราะคุณจะมีพื้นที่ส่วนตัวในการเขียนและพัฒนาบทความก่อนย้ายเข้าเนมสเปซหลักของวิกิพีเดียซึ่งจะมีการตรวจอย่างเข้มงวด


การอ้างอิง

การพิสูจน์ยืนยันได้

"Wikipedian protester" โดย Randall Munroe, xkcd ชาววิกิพีเดียขึ้นชื่อว่าต้องการแหล่งอ้างอิง!

นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียคือเนื้อหาบทความทั้งหมดต้องพิสูจน์ยืนยันได้ หมายความว่าจะต้องหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือรองรับเนื้อหาได้ คำพูด (quotation) ของผู้อื่นทั้งหมด เนื้อหาที่ถูกคัดค้านการพิสูจน์ยืนยันได้หรือน่าจะถูกคัดค้าน และเนื้อหาซึ่งมีข้อพิพาท (ไม่ว่าเป็นเชิงลบ เชิงบวกหรือเป็นกลางก็ตาม) เกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องมีการอ้างอิงในบรรทัด ไปยังแหล่งที่มาที่รองรับเนื้อหานั้นโดยตรง หมายความว่า วิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับงานค้นคว้าต้นฉบับ ข้อค้นพบใหม่ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน หรือหลักฐานจากแหล่งที่มาที่ยังไม่มีการเผยแพร่


หากคุณเพิ่มเนื้อหาใหม่ เป็นภาระของคุณในการเพิ่มสารสนเทศการอ้างอิงแหล่งที่มา เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งที่มามีโอกาสถูกนำออกจากบทความได้ บางทีเนื้อหาดังกล่าวอาจมีการติดป้ายระบุ "ต้องการอ้างอิง" ก่อนเพื่อให้เวลาผู้เขียนหาและเพิ่มแหล่งที่มาก่อนถูกลบ แต่บางทีเนื้อหาที่ผิดชัด ๆ หรือมีผลเสียอาจถูกลบทันทีก็ได้


มอดูลสอนการใช้งานนี้จะแสดงวิธีการเพิ่มแหล่งที่มาในบรรทัดลงในบทความ และอธิบายสั้น ๆ ว่าวิกิพีเดียมองว่าสิ่งใดบ้างที่เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

อ้างอิงในบรรทัด

การอ้างอิงในบรรทัดปกติเป็นเชิงอรรถตัวเลขขนาดเล็กแบบนี้[1] โดยทั่วไปแทรกไว้หลังข้อมูลที่รองรับทันที หรือท้ายประโยคที่รองรับ โดยอยู่หลังเครื่องหมายวรรคตอน เมื่อคลิกแล้วจะนำผู้อ่านไปส่วนอ้างอิงที่อยู่ท้ายบทความ


ระหว่างแก้ไขหน้าที่ใช้ลีลาเชิงอรรถดังกล่าว คุณจะเห็นการอ้างอิงในบรรทัดแสดงอยู่ระหว่างป้ายระบุ <ref>...</ref>


หากคุณสร้างหน้าใหม่ หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิงในหน้าที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่าลืมใส่ส่วน อ้างอิง ด้วย ดังตัวอย่างด้านล่าง

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}


หมายเหตุ: ระบบนี้เป็นระบบการอ้างอิงในบรรทัดที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่บางทีอาจใช้ระบบอื่นก็ได้ เช่น อ้างอิงแบบวงเล็บ (Wales, 2024 : 6) ถือว่ายอมรับได้ และคุณไม่ควรเปลี่ยนหรือคละระบบอ้างอิง ในการเพิ่มแหล่งอ้างอิงใหม่ให้คัดลอกและดัดแปรจากระบบที่ใช้อยู่แล้วในหน้านั้น

อ้างอิง
  1. Wales, J (2024). What is an inline citation?. Wikipublisher. p. 6.

RefToolbar

การเพิ่มแหล่งอ้างอิงอาจเป็นกระบวนการที่เชื่องช้าและและยุ่งยากได้ โชคดีที่มีเครื่องมือชื่อ "RefToolbar" ติดมากับหน้าต่างแก้ไขวิกิพีเดียด้วย ซึ่งทำให้ง่ายเข้า


การใช้เพียงแค่กด  อ้าง ที่อยู่ในแถบเครื่องมือแก้ไขบนหน้าต่างแก้ไข โดยวางเคอร์เซอร์ไว้ตรงตำแหน่งท้ายประโยคที่คุณต้องการแทรกอ้างอิง แล้วเลือก 'แม่แบบ' หนึ่งจากรายการเลือกดึงลงที่เหมาะกับชนิดของแหล่งที่มา ประกอบด้วย


  • {{cite web}} สำหรับการอ้างอิงเว็บไซต์ทั่วไป
  • {{cite news}} สำหรับหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ข่าว
  • {{cite book}} สำหรับการอ้างอิงหนังสือ
  • {{cite journal}} สำหรับนิตยสาร วารสารวิชาการ และเอกสารวิจัย


จะปรากฏหน้าต่างแม่แบบขึ้น ให้คุณกรอกสารสนเทศให้ได้มากที่สุดเกี่ยวกับแหล่งที่มา และให้ชื่อที่ไม่ซ้ำกันในเขตข้อมูล "ชื่อแหล่งที่มา" (เป็นชื่อที่คิดเอง ใช้เวลาเมื่อต้องเรียกใช้แหล่งอ้างอิงนี้ซ้ำเท่านั้น) คลิกปุ่ม "แทรก" ซึ่งจะเพิ่มข้อความวิกิที่จำเป็นในหน้าต่างแก้ไข คุณอาจต้องการกด "แสดงตัวอย่าง" เพื่อดูความเรียบร้อยก่อน


บางเขตข้อมูล (เช่น ที่อยู่เว็บไซต์ หรือเรียกยูอาร์แอล) จะมีไอคอน อยู่ถัดจากลิงก์ เมื่อกรอกเขตข้อมูลนี้ คุณสามารถคลิกไอคอนนี้เพื่อให้เติมเขตข้อมูลที่เหลือได้อัตโนมัติ แต่ยังทำงานได้ไม่ถูกต้องเสมอไป ฉะนั้นดูให้แน่ใจก่อนสักรอบหนึ่ง


บ่อยครั้งคุณจะต้องการใช้แหล่งที่มาซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อรองรับข้อมูลหลายตำแหน่ง กรณีนี้คุณสามารถคลิก แหล่งอ้างอิงมีชื่อ   ในแถบเครื่องมือ และเลือกแหล่งที่มาเท่าที่มีชื่อเพื่อนำมาใช้ซ้ำได้

แหล่งอ้างอิงน่าเชื่อถือ

บทความวิกิพีเดียต้องการแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ ที่รองรับสารสนเทศที่นำเสนรอในบทความโดยตรง เมื่อคุณทราบวิธีการเพิ่มแหล่งข้อมูลลงในบทความแล้ว แต่แหล่งข้อมูลใดบ้างที่น่าใช้


คำว่า "แหล่งข้อมูล" ในวิกิพีเดียมี 3 ความหมาย ได้แก่ ตัวงานเอง (เช่น เอกสาร บทความ งานวิจัยหรือหนังสือ), ผู้สร้างสรรค์งาน (เช่น ผู้เขียน) และผู้เผยแพร่งาน (ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์) ทั้งหมดเป็นปัจจัยตัดสินความน่าเชื่อถือ


เป็นกฎทั่วไปว่า แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่าย่อมมีบุคคลร่วมในการตรวจสอบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมาย และวิเคราะห์ทบทวนงานในสิ่งพิมพ์เผยแพร่มากกว่า สิ่งพิมพ์เผยแพร่วิชาการและมีพิชญพิจารณ์ (peer review) เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างอื่นเช่น ตำราระดับมหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงดี นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก

(* พึงระวังบล็อกของสำนักข่าวและนิตยสารบางสำนัก ซึ่งเปิด "บล็อก" และให้บุคคลทั่วไปเสนอข่าวในเว็บไซต์ของตน บล็อกนี้อาจน่าเชื่อถือหากผู้เขียนเป็นนักเขียนอาชีพ แต่ผู้อ่านทั่วไปปกติถือว่าไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ)


สื่อที่พิมพ์เอง คือ สื่อที่ผู้เขียนและผู้เผยแพร่เป็นบุคคลเดียวกัน เช่น เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือ สิทธิบัตร วิกิเปิด บล็อกส่วนบุคคลหรือกลุ่ม และทวีตปกติยอมรับเป็นแหล่งข้อมูลไม่ได้ มีข้อยกเว้นทั่วไปว่าผู้เขียนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญมีผู้นับถือและมีประวัติเคยพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสำนักพิมพ์บุคคลที่สามในเรื่องนั้นแล้ว กรณีนี้ งานที่พิมพ์เอง อาจ ถือว่าน่าเชื่อถือสำหรับหัวข้อนั้น (หัวข้อเดียว ไม่รวมหัวข้ออื่น) แต่ถึงอย่างไรก็ควรใช้สิ่งพิมพ์เผยแพร่บุคคลที่สามตามเดิม


การใช้แหล่งที่มานั้นยังขึ้นอยู่กับบริบทด้วย แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือสำหรับเนื้อหาประเภทหนึ่งอาจไม่น่าเชื่อถือสำหรับเนื้อหาอีกประเภทหนึ่ง คุณควรพยายามหาแหล่งที่มาที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้สำหรับสารสนเทศที่คุณมี สำหรับสารสนเทศเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ใช้เฉพาะแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือที่สุดเท่านั้น ในบางโอกาสเท่านั้นที่แหล่งที่มาที่พิมพ์เองสามารถใช้อ้างอิงตัวเองได้


เหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติทั่วไป แต่หัวข้อแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือเป็นเรื่องซับซ้อน และนำมาลงในหน้านี้หมดไม่ได้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ การพิสูจน์ยืนยันได้ และ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ


ภาพ

ในการใช้ภาพในวิกิพีเดีย จะต้องอัปโหลดเสียก่อน อย่างไรก็ดี วิกิพีเดียภาษาไทยได้จำกัดการอัปโหลดไฟล์เข้าสู่โครงการแล้ว มอดูลสอนการใช้งานนี้จะกล่าวถึงกฎและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเท่านั้น


อัปโหลดภาพ

ที่ที่ดีที่สุดสำหรับอัปโหลดภาพคือที่วิกิมีเดียคอมมอนส์ที่ซึ่งเป็นแหล่งเก็บรวบรวมสำหรับใช้ได้ในวิกิพีเดียทุกภาษา โครงการพี่น้องอื่นและสาธารณชนทั่วโลก


สำหรับอัปโหลดภาพเข้าสู่คอมมอนส์ คุณสามารถใช้เครื่องมือวิซาร์ดอัปโหลดของคอมมอนส์ ซึ่งจะพาคุณผ่านกระบวนการทั้งหมด


ทีนี้เข้าสู่คำเตือนสำคัญ คือ คอมมอนส์รับเฉพาะภาพสัญญาอนุญาตเสรี หมายความว่า จะอัปโหลดภาพส่วนใหญ่บนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่มีลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น (* พึงทราบว่ามีคนไทยหลายคนถูกบล็อกที่คอมมอนส์เพราะอัปโหลดภาพดารานักแสดง ภาพข่าว ฯลฯ ที่มีลิขสิทธิ์)


ในวิกิพีเดียภาษาไทยมีบางกรณีที่สามารถใช้ภาพไม่เสรีหรือการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบได้ (ภาพในเซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดียต้องถูกกฎหมายลิขสิทธิ์ในสหรัฐและไทย) โดยทั่วไปใช้ได้เฉพาะเมื่อภาพนั้นช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจหัวข้อนั้นดีขึ้นมาก ไม่มีภาพเสรีทดแทน และไม่ขัดต่อการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ของเจ้าของ ตัวอย่างเช่น โปสเตอร์ภาพยนตร์ โลโก้บริษัท และสกรีนช็อตเว็บไซต์ เป็นต้น


ปัจจุบันการอัปโหลดไฟล์มีลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะต้องให้ผู้ใช้มากประสบการณ์ดำเนินการให้เท่านั้น ดูที่ ไฟล์สำหรับอัปโหลด

ใช้ภาพ

วิกิพีตัง

เมื่ออัปโหลดภาพที่คอมมอนส์หรือวิกิพีเดียแล้ว คุณอาจต้องการใช้ในบทความ เพียงคลิก แก้ ในบทความที่คุณต้องการแทรกภาพ แล้วแทรกรหัสต่อไปนี้ ณ ตำแหน่งที่คุณต้องการให้ภาพปรากฏ


[[ไฟล์:ชื่อไฟล์.สกุลไฟล์|thumb|คำบรรยายภาพ]]


ตัวอย่างเช่น

[[File:Wikitanface.png|thumb|[[วิกิพีเดีย:วิกิพีตัง|วิกิพีตัง]]]]

สังเกตว่าคำบรรยายก็ใส่ลิงก์ได้


โคลอสเซียมในกรุงโรม

ภาพจัดอยู่ด้านขวามือของบทความเป็นค่าตั้งต้น แต่คุณสามารถจัดให้ชิดด้านซ้ายของบทความได้โดยเพิ่ม |left ดังนี้

[[ไฟล์:Colosseum in Rome, Italy - April 2007.jpg|thumb|left|[[โคลอสเซียม]]ในกรุงโรม]]


ดู วิธีใช้:ภาพ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการปรับแต่งการจัดแสดงภาพ รวมทั้งขนาดภาพ

ตาราง

Enhanced editing toolbar
Enhanced editing toolbar


ตารางเป็นวิธีการจัดแสดงข้อมูลที่พบบ่อยอย่างหนึ่ง มอดูลสอนการใช้งานนี้จะมีคู่มือสร้างตารางใหม่และแก้ไขตารางเดิม


วิธีง่ายที่สุดในการแทรกตารางใหม่คือใช้แถบเครื่องมือแก้ไขที่ปรากฏเมื่อคุณแก้ไขหน้า (ตัวอย่างดังภาพด้านบน) เมื่อคลิกปุ่ม จะเปิดคำโต้ตอบให้คุณนิยามตารางใหม่ เมื่อคุณเลือกจำนวนแถวและสดมภ์แล้ว จะแทรกมาร์กอัปวิกิลงในบทความ คุณสามารถเปลี่ยนข้อความ "ตัวอย่าง" เป็นข้อมูลที่คุณต้องการแสดง


ตารางในวิกิพีเดียโดยเฉพาะตารางใหญ่ ๆ อาจดูยุ่งยาก แต่หลักการของตารางเข้าใจได้ไม่ยากเลย

แก้ไขตาราง

ไม่ว่าคุณกำลังแทรกตารางใหม่ หรือกำลังแก้ไขตารางเดิมก็ตาม การเปลี่ยนแปลงข้อความในเซลล์ตารางจะเปลี่ยนการแสดงผลของตาราง แต่คุณสามารถทำได้มากกว่านั้น

ตารางหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยส่วนย่อยพื้นฐานต่อไปนี้ ซึ่งทั้งหมดคุณสามารถดัดแปรได้

{| เริ่ม นอกจากเป็นจุดเริ่มต้นของตารางแล้ว ยังเป็นที่นิยามคลาสของตาราง ตัวอย่างเช่น class="wikitable" "คลาส" (class) ของตารางใช้การจัดรูปแบบวิกิพีเดียมาตรฐานกับตารางนั้น คลาสที่ใช้บ่อยที่สุดสองอันดับแรก ได้แก่ "wikitable" และ "wikitable sortable" ซึ่งคลาสหลังทำให้สามารถเรียงลำดับตารางได้โดยคลิกเซลล์หัวตารางของสดมภ์ใดก็ได้
|+ คำบรรยายตาราง จำเป็น สำหรับความมุ่งหมายด้านการอ่านง่าย (accessibility) ของตาราง และวางอยู่ระหว่างเริ่มตารางกับตารางแถวแรก
! เซลล์หัวตาราง ไม่มีก็ได้ หนึ่งเซลล์เริ่มด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่และมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) หนึ่งตัว เซลล์หัวตารางหลายเซลล์สามารถวางในบรรทัดเดียวกันได้โดยใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์คู่ (!!)
|- แถวใหม่ การขึ้นต้นเซลล์แถวใหม่ ใช้ขีดตั้งเดี่ยว (|) และยัติภังค์เดี่ยว (-)
| เซลล์ใหม่
ในแถว
การเพิ่มเซลล์ใหม่ในแถว ให้เริ่มต้นเซลล์ใหม่ในบรรทัดใหม่ตามด้วยขีดตั้งเดี่ยว (|) หรือสามารถวางหลายเซลล์ในบรรทัดเดียวกันได้โดยใช้เครื่องหมายขีดตั้งคู่ (||)
|} จบ ปิดท้ายตารางด้วยเครื่องหมายขีดตั้งเดี่ยว (|) และวงเล็บเหลี่ยมหันซ้าย (}) โดด ๆ โดยขึ้นบรรทัดใหม่

ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ไม่สนใจช่องว่างต้นและท้ายเซลล์

ผัง

เมื่อคุณแก้ไขตารางที่มีอยู่แล้ว คุณอาจเห็นว่ามีวิธีวางผังตารางอยู่สองแบบที่พบบ่อย

สำหรับผู้อ่าน ตัวอย่างข้างต้นทั้งสองแบบจะเห็นเหมือนกัน

คำบรรยาย
หัว C1 หัว C2 หัว C3
R1C1 R1C2 R1C3
R2C1 R2C2 R2C3

ขยายตาราง

การเพิ่มสดมภ์หรือแถวใหม่เป็นเรื่องปกติ


การเพิ่มแถว

ในการเพิ่มแถวในตาราง ให้แทรกตัวแบ่งแถวใหม่เพิ่ม และแทรกจำนวนสดมภ์ให้เท่ากับแถวอื่น


วิธีง่ายที่สุดคือลอกแถวก่อน ๆ แล้ววางมาร์กอัป แล้วค่อยแก้ไขเนื้อหาของเซลล์ แต่อย่าลบมาร์กอัปจบตาราง |} ที่ต้องอยู่ใต้ตารางแถวล่างสุดเสมอ


การเพิ่มสดมภ์

ในการเพิ่มสดมภ์ในตาราง ให้เพิ่มเซลล์เข้าไปในตำแหน่งเดียวกันของทุกแถว


แสดงตัวอย่าง

เมื่อแก้ไขตาราง แนะนำอย่างยิ่งให้แสดงตัวอย่างก่อน เพราะผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ตารางรวนไปหมดได้


หน้าคุย

หากคุณมีคำถาม ความกังวล หรือความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบทความวิกิพีเดีย คุณสามารถเขียนข้อความไว้ในหน้าคุยของบทความ


คุณเข้าสู่หน้าคุยได้โดยคลิกแถบ "อภิปราย" ที่อยู่บนสุดของบทความ ถ้าแถบนั้นขึ้นเป็นสีแดง หมายความว่าหน้านั้นยังไม่มีผู้มาแสดงความเห็น คุณเปิดการอภิปรายได้เลย


เมื่อคุณเริ่มหัวข้ออภิปรายใหม่ ให้วางไว้ล่างสุดของหน้าคุย หรือทำได้ง่าย ๆ โดยคลิกแถบ "ส่วนใหม่" ที่อยู่บนสุดของหน้า ทำให้คุณกรอกพาดหัวส่วนใหม่และความเห็น


หากคุณกำลังตอบความเห็นของผู้อื่น ให้วางความเห็นคุณต่อท้ายความเห็นของผู้นั้น โดยคลิกลิงก์ "[แก้]" ที่อยู่ขวามือของพาดหัวส่วนแล้วเลื่อนหน้าจอลง


ให้เซ็นชือกำกับความเห็นคุณทุกครั้งโดยพิมพ์ ~~~~ ลายเซ็นจะแทรกชื่อผู้ใช้พร้อมลิงก์ไปหน้าคุยส่วนตัวของคุณอัตโนมัติ ร่วมกับวันเวลาที่คุณบันทึก คุณปรับแต่งลายเซ็นได้ถ้ามีบัญชี (ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ) หากคุณไม่ได้ล็อกอิน เลขที่อยู่ไอพีจะใช้เป็นลายเซ็น (แม้คุณไม่เซ็น แต่ก็มีการเก็บประวัติไอพีของคุณอยู่ดี)

การใช้หน้าคุย

ทุกคนที่เขียนวิกิพีเดีย (บัญชีและไอพี) มีหน้าคุยกับผู้ใช้ ทุกคนสามารถส่งสารถึงคุณได้ทางหน้านี้ ซึ่งสามารถถามคำถามหรือให้คำแนะนำคุณได้ นอกจากนี้ยังมี "บอต" อัตโนมัติจำนวนหนึ่งที่ส่งสารที่เป็นประโยชน์


เมื่อผู้ใช้ลงทะเบียนได้รับสาร จะปรากฏแจ้งเตือนบนสุดของจอภาพ ดังนี้

Screenshot of talk page notification for logged-in user


สำหรับผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบ่งกัน เช่น โรงเรียนหรือเครือข่ายบ้าน จะมีหน้าคุยที่ใช้ร่วมกัน (เพราะไอพีอาจกำหนดซ้ำกับผู้ใช้อื่น) ถ้ามีผู้ส่งสารถึงผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน ผู้ใช้จะเห็นแถบประกาศไม่ว่ากำลังดูหน้าใดอยู่


การตอบให้เพิ่มความเห็นใต้สารในหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ (ขึ้นต้นด้วย {{ping|theirusername}} เพื่อแจ้งให้เขาทราบ)


โดยทั่วไปคุณสามารถหาหน้าคุยกับผู้ใช้ของคนนั้นได้โดยตามลิงก์ชื่อ "คุย" ในลายเซ็นของผู้ใช้นั้น คุณยังสามารถเข้าได้โดยคลิกชื่อผู้ใช้นั้นแล้วคลิกแถบ "คุย" เมื่ออยู่ในหน้าผู้ใช้ ในทำนองเดียวกับบทความ

ผัง

การเว้นย่อหน้าช่วยเพิ่มความง่ายของการอ่านการอภิปราย ทำให้เข้าใจง่ายว่าความเห็นของใครเป็นของใคร ให้เว้นย่อหน้าคำตอบของคุณลึกกว่าคำตอบของคนก่อนหน้า 1 ระดับ วิธีการคือใส่เครื่องหมายทวิภาค (:) เมื่อขึ้นต้นบรรทัดใหม่ จำนวนเครื่องหมายจะยิ่งทำให้มีย่อหน้าลึกขึ้น

คุณพิมพ์ คุณได้
บรรทัดนี้จัดชิดซ้าย
: บรรทัดนี้มีย่อหน้าเล็กน้อย
:: บรรทัดนี้มีย่อหน้ามากขึ้น

บรรทัดนี้จัดชิดซ้าย

บรรทัดนี้มีย่อหน้าเล็กน้อย
บรรทัดนี้มีย่อหน้ามากขึ้น


ในการสร้างรายการ (list) ให้ขึ้นต้นบรรทัดใหม่ด้วยเครื่องหมายดอกจัน (*) ทั้งนี้จะตามหลังมาร์กอัปอย่างอื่นก็ได้ (:, *, หรือ #) ที่ใช้ในบรรทัดก่อน จะเพิ่ม "จุดนำ" (•) ในแต่ละบรรทัด ดังนี้

คุณพิมพ์ คุณได้
* ไอเท็มรายการแรก
* ไอเท็มรายการที่ 2
** ไอเท็มรายการย่อยในไอเท็มรายการที่ 2 
* ไอเท็มรายการที่ 3
  • ไอเท็มรายการแรก
  • ไอเท็มรายการที่ 2
    • ไอเท็มรายการย่อยในไอเท็มรายการที่ 2
  • ไอเท็มรายการที่ 3


ตัวอย่างการอภิปรายที่จัดรูปแบบดี

Hi. I have a question about this article. I'm pretty sure only purple elephants live in New York! JayRandumWikiUser 02:49, 10 Nov 2023 (UTC)

Well, I have visited New York before, and the elephants definitely come in green. try2BEEhelpful 17:28, 11 Nov 2023 (UTC)
I think you should find a source for your claims before I believe them! Living × Skepticism 20:53, 11 Nov 2023 (UTC)
Okay, these elephant journals agree with me:
I've done my research! try2BEEhelpful 19:09, 12 Nov 2023 (UTC)
I guess you're right. Thanks for listing out your sources. JayRandumWikiUser 23:09, 12 Nov 2023 (UTC)


หากต้องการให้ความเห็นอยู่ในระนาบเดียวกัน ให้ใส่เครื่องหมายทวิภาคจำนวนเท่ากับบรรทัดก่อนหน้า ก่อนเพิ่มจุดนำหรือย่อหน้าของคุณเอง

ตัวอย่างการอภิปรายมรย่อหน้าที่มีรายการจุดนำ
คุณพิมพ์ คุณได้
::: Okay, these elephant journals agree with me:
::: * [http://www.ElephantsMonthly.com/NewYork Elephants Monthly]
::: * [http://www.ElephantsWorld.com/Purple Elephants World]
::: * [http://www.ElephantsEnthusiast.com/10-12-15 Elephants Enthusiast]
::: I've done my research! ~~~~
Okay, these elephant journals agree with me:
I've done my research! try2BEEhelpful 11:08, 12 Dec 2023 (UTC)


การนำทาง

วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่


ปัจจุบัน รุ่นภาษาไทยมี 163,920 บทความ ซึ่งเมื่อรวมทุกภาษาแล้วเป็นสารานุกรมที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์โลก


นอกจากนี้ยังมีหน้าสนับสนุนอีก 917,836 หน้า ซึ่งอุทิศเพื่อช่วยให้สร้างโครงการ


มอดูลสอนการใช้งานนี้จะให้คุณทราบวิธีหาสิ่งที่คุณต้องการ และแนะนำหน้าสำคัญบางหน้าให้คุณทราบ

เนมสเปซ

หน้าวิกิพีเดียแบ่งเป็นเนมสเปซ ทุกเนมสเปซ (ยกเว้นบทความหลัก) มีคำนำหน้าตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) ก่อนเริ่มชื่อหน้า ต่อไปนี้เป็นเนมสเปซบางส่วนที่คุณอาจไปพบ ร่วมกับคำอธิบายและตัวอย่าง


เนมสเปซ จุดประสงค์ ตัวอย่าง
หลัก/บทความ
ไม่มีคำนำหน้า
บทความ ดาวทะเล
หน้าแก้ความกำกวมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านหาบทความได้ถูกต้อง ไทย (แก้ความกำกวม)
วิกิพีเดีย:
หรือ "โครงการ"
นโยบายและแนวปฏิบัติ วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง
หน้ากระบวนการ วิกิพีเดีย:ไฟล์สำหรับอัปโหลด
ฟอรัมอภิปรายและกระดานประกาศ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ
ชุมชนโครงการวิกิที่สนใจหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง วิกิพีเดีย:โครงการวิกิประวัติศาสตร์
ผู้ใช้: หน้าโพรไฟล์ส่วนบุคคลเกี่ยวกับผู้ใช้ en:User:Jimbo Wales
หน้ากระบะทรายและฉบับร่างส่วนบุคคล ผู้ใช้:ตัวอย่าง/ทดลองเขียน
ฉบับร่าง: บทความร่างที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ฉบับร่าง:ทดลองเขียน
วิธีใช้: หน้าวิธีใช้ วิธีใช้:สารบัญ
แม่แบบ: แม่แบบ ซึ่งสามารถรวมหรือแทนที่ในหน้าอื่น แม่แบบ:ต้องการอ้างอิง
หมวดหมู่: หน้าที่จัดเข้ากลุ่มเดียวกันเพราะลักษณะบางอย่าง หมวดหมู่:ศิลปะ
ไฟล์: ภาพและไฟล์อื่น ไฟล์:Wiki.png
สถานีย่อย: หน้าที่นำเสนอเนื้อหาวิกิพีเดียในหัวข้อหนึ่ง ๆ สถานีย่อย:เหตุการณ์ปัจจุบัน
มีเดียวิกิ: ข้อความที่ปรากฏในซอฟต์แวร์วิกิ มีเดียวิกิ:Wikimedia-copyrightwarning
พิเศษ: หน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ พิเศษ:Recentchanges



ทุกหน้าในเนมสเปซข้างต้น ยกเว้น พิเศษ มีหน้าคุยสำหรับใช้อภิปราย ตัวอย่างเช่น คุณสามารถอภิปรายเกี่ยวกับบทความดาวทะเล ที่ พูดคุย:ดาวทะเล หรือคุยเกี่ยวกับวิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง คุณสามารถเปลี่ยนระหว่างหน้าปกติกับหน้าคุยโดยคลิกแถบที่มุมซ้ายบน

หน้าค้นหา

กล่องค้นหามีอยู่ที่มุมขวาบนของทุกหน้า เมื่อเริ่มพิมพ์กล่องจะแนะนำหน้าที่คุณอาจกำลังมองหา ซึ่งคุณสามารถคลิกชื่อที่ต้องการเพื่อไปยังหน้านั้นโดยตรง หรือเมื่อพิมพ์ชื่อเรื่องเต็มแล้วกด Enter ก็จะเข้าสู่หน้านั้นได้เช่นกัน


เมื่อคุณพิมพ์คำหรือวลีที่ไม่ใช่ชื่อเรื่องที่ถูกต้อง แล้วกด Enter คุณจะเห็นหน้าค้นหาฉบับเต็มที่แสดงรายการที่ตรงกับคำค้นของคุณ คุณยังสามารถเข้าสู่หน้านี้ได้โดยคลิกไอคอนแว่นขยาย หรือพิมพ์อะไรก็ได้ลงในกล่องค้นหาแล้วกดลิงก์ "มี..." ที่อยู่ล่างชื่อที่แนะนำอื่น ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการหาบทความ "ปลา" บางชนิดในวิกิพีเดีย แต่ไม่อยากเข้าสู่บทความปลา


หน้าค้นหาช่วยจำกัดการค้นหาของคุณเหลือในบางเนมสเปซ คุณสามารถเลือกตัวเลือกตั้งล่วงหน้า (หน้าเนื้อหา สื่อประสม ทั้งหมด) หรือใช้ตัวเลือกขั้นสูงเพื่อเจาะจงเนมสเปซที่ต้องการค้นหา


หมวดหมู่

ต้นไม้หมวดหมู่อย่างง่าย
สิ่งมีชีวิต
/
สัตว์
\ 
พืช 
/
หมา
\ 
แมว

การค้นหาหน้าที่มีประโยชน์อีกทางหนึ่งคือการค้นดูการจัดกลุ่มหน้าที่เกี่ยวข้องกันเป็นหมวดหมู่ ซึ่งแสดงอยู่ล่างสุดของหน้า เป็นการสร้างต้นไม้ลำดับชั้นจากหัวข้อใหญ่ไปจนถึงหัวข้อเล็กและเฉพาะทาง เราพยายามจัดหน้าเฉพาะหมวดหมู่ที่ตรงกันและจำเพาะที่สุดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อย่าใส่ [[หมวดหมู่:นักดนตรี]] ในบทความที่จัดเข้า [[หมวดหมู่:นักดนตรีชาวไทย]] แล้ว


ลองจัดหน้าที่ยังไม่มีหมวดหมู่

เปลี่ยนทางและเว็บย่อ

เปลี่ยนทาง

หน้าบางหน้าในวิกิพีเดียเป็นหน้าเปลี่ยนทาง เป็นหน้าที่ไม่มีเนื้อหาของตัวเอง แต่ใช้ส่งคุณไปหน้าอื่น ตัวอย่างเช่น UK เปลี่ยนทางไป สหราชอาณาจักร ดังนั้นเมื่อคุณพิมพ์ UK ในกล่องค้นหา คุณจะเข้าสู่บทความสหราชอาณาจักรโดยตรง (จะมีหมายเหตุใต้ชื่อบทความว่า "เปลี่ยนทางจาก UK")


ในการสร้างหน้าเปลี่ยนทาง คุณสามารถใช้รายการเลือก   ใน VisualEditor แล้วคลิก  Page settings เพื่อเลือกหน้าปลายทาง หรือคุณสามารถแทรกรหัสมาร์กอัปวิกิ #เปลี่ยนทาง [[หน้าเป้าหมาย]]


หน้าย่อ

ชาววิกิพีเดียมักเรียกหน้าภายในวิกิพีเดียว่าหน้าย่อเพื่อให้พิมพ์ค้นหาได้เร็วขึ้น เนมสเปซวิกิพีเดียสามารถย่อได้อีกเป็น WP: หน้าย่อเหล่านี้เป็นหน้าเปลี่ยนทางแบบหนึ่งเหมือนกัน


ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง เขียนได้อีกอย่างหนึ่งว่า WP:NPOV สามารถทำลิงก์หรือพิมพ์ในกล่องค้นหาได้ ปกติหน้าย่อจะมีอยู่ในกล่องด้านบนหรือบนขวาของหน้า (ถ้ามี)

ลิงก์มีประโยชน์

บนสุด

เมื่อคุณล็อกอิน คุณจะเห็นลิงก์มีประโยชน์อยู่มุมขวาบนของจอภาพ

  • ชื่อผู้ใช้ของคุณนำคุณไปยังหน้าผู้ใช้
  • คุยเป็นหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ ไว้สำหรับส่งข้อความหาคุณ
  • ทดลองเขียนเป็นหน้าในเนมสเปซของคุณที่เปิดให้คุณทดลองแก้ไขโดยไม่ต้องห่วงเรื่องปัญหาจุกจิกแบบบทความวิกิพีเดีย
  • ตั้งค่า ปรับแต่งรหัสผ่าน ที่อยู่อเีมล และการตั้งค่าซอฟต์แวร์วิกิ
  • รายการเฝ้าดูดูการเปลี่ยนแปลงล่าสุดของหน้าที่คุณกำลังเฝ้าดู (หน้าที่กดรูปดาวที่มุมขวาบน)
  • ส่วนร่วม รวบรวมการแก้ไขทั้งหมดของคุณ
  • ออกจากระบบ


ซ้ายมือ

ลิงก์ด้านซ้ายมีที่มีประโยชน์ เช่น


ลิงก์มีประโยชน์อีก

มีบางหน้าในวิกิพีเดียที่ทราบแล้วเป็นประโยชน์


คู่มือการเขียน


คู่มือการเขียน (MOS) เป็นคู่มือเชิงลึกที่วางมาตรฐานสำหรับการจัดรูปแบบบทความวิกิพีเดีย การปฏิบัติตามแนวดังนี้ช่วยให้สารานุกรมชัดเจน มีรูปแบบเดียวกัน และเสถียร


วิธีง่าย ๆ คือหาบทความที่เขียนดีแล้วลอกการจัดรูปแบบมาเลย แต่ถ้าคุณต้องการสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดรูปแบบ คู่มือการเขียนน่าจะมีคำแนะนำให้


พึงระลึกว่า MOS เป็นแนวปฏิบัติ คุณไม่จำเป็นต้องจำได้ทั้งหมด คือมีอยู่เพื่อให้คุณดูเมื่อคุณไม่แน่ใจว่าควรแสดงผลสารสนเทศอย่างไรจึงดีที่สุด และลดความขัดแย้งกับผู้เขียนอื่นเมื่อตัวเลือกการจัดรูปแบบไม่ตรงกัน


เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ และผู้ใช้อื่นสามารถช่วยเหลือคุณได้เมื่อสงสัย

แบ่งส่วนบทความ

An article with a table of contents block and an image near the start, then several sections

บทความควรประเดิมด้วยบทสรุปหัวข้อนั้น แล้วจึงนำผู้อ่านเข้าสู่รายละเอียด โดยแบ่งข้อความออกเป็นส่วน ๆ ภายใต้ชื่อที่จัดเป็นกลุ่ม


ส่วนนำ

ส่วนนำเป็นส่วนแรกที่อยู่บนสุดของบทความ อยู่ก่อนสารบัญและเหนือพาดหัว ประโยคแรกมักเป็นนิยามที่กระชับและระบุความสำคัญของเรื่อง ส่วนนำที่เหลือนำเสนอบริบทของบทความและสรุปใจความสำคัญ


ส่วนนำควรมีความยาว 1–4 ย่อหน้า และเป็นภาพรวมอย่างกระชับของบทความ (คือตัดเนื้อหาออกก็อ่านเข้าใจ) แต่ละประโยคในส่วนนำควรเน้นเพื่อสะท้อนความสำคัญของเรื่อง ควรเรียบเรียงอย่างชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจอ่านบทความเต็ม ร้อยแก้วที่เหลือของบทความให้สารสนเทศเพิ่มเติม


ส่วนและพาดหัว

บทความจัดระเบียบเป็นส่วนและส่วนย่อย โดยมีพาดหัวสั้น ๆ จะปรากฏอัตโนมัติในสารบัญ โดยทั่วไปส่วนที่มีความยาว 1–4 ย่อหน้าอ่านได้ง่ายที่สุด


พาดหัวลำดับที่ 1 เป็นชื่อบทความและสร้างอัตโนมัติ ดังนั้นพาดหัวอันแรกในบทความจึงต้องเป็นลำดับที่ 2 (==ลำดับที่ 2==) และส่วนย่อยเป็นลำดับที่ 3 (===ลำดับที่ 3===) ไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ไม่ควรข้ามลำดับ (เช่น ลำดับที่ 2 ไม่ควรต่อด้วยลำดับที่ 4)


ภาพและอ้างอิง

ภาพควรสนับสนุนเนื้อหาสาระของบทความโดยไม่แย่งความสนใจไปจากเนื้อหา และควรใส่อ้างอิงสำหรับสารสนเทศที่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียง


ภาพ

ภาพช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจบทความดียิ่งขึ้น เพิ่มหรือเปลี่ยนภาพเฉพาะเมื่อดีกว่าภาพเก่า หรือภาพใหม่สนับสนุนเนื้อหาบทความได้ดีกว่า เมื่อสร้างและอัปโหลดภาพ ควรมีความละเอียดสูงเพียงพอและมีรูปแบบไฟล์เหมาะสม


ควรกระจายภาพไม่ให้กระจุกอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในบทความ ภาพควรสัมพันธ์กับส่วนที่แสดงภาพอยู่ และมีคำบรรยายภาพที่ช่วยอธิบายบริบทได้ดีขึ้น แสดงภาพเป็นภาพขนาดย่อ (thumbnail) และจัดชิดขวาของบทความเป็นค่าตั้งต้นเพื่อให้อ่านดูแล้วกลมกลืนกัน หากจำเป็นอาจใช้การจัดรูปแบบอย่างอื่น เช่น ชิดซ้าย แกลอรี และพาโนรามา


เลี่ยงการอัดภาพจำนวนมากในส่วนสั้น ๆ เพราะจะล้นไปส่วนถัดไป และทำให้อ่านยาก (ผังมาตรฐานมุ่งสำหรับความละเอียดจอภาพ 1024 × 768 พิกเซล)

ดูเพิ่ม


lefteless
lefteless

อ้าง

  • อย่าตัดตอนข้อความยาว ๆ จากต้นฉบับมามากเกินไป โดยทั่วไปบทความควรถอดความและสรุปเนื้อหา (ถ้าต้องการเผยแพร่เอกสารทั้งหมด กรุณาใช้โครงการวิกิซอร์ซ)
  • ใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  • ใช้ลีลาการอ้างอิงที่ใช้อยู่แล้ว อย่าใช้ปะปนกัน โดยมีรายการอ้างอิงอยู่ท้ายบทความ


ดูเพิ่ม


ลิงก์

ลิงก์

Example of good wikilinking, with only the first occurrence of each key term linked.

ลิงก์ที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์เป็นคุณลักษณะสำคัญของวิกิพีเดีย ลิงก์ภายใน (หรือ "วิกิลิงก์") เชื่อมโครงการเข้าด้วยกันเหมือนกับสารานุกรมเล่มเดียวกัน ลิงก์เป็นวิถีทางตรงไปยังตำแหน่งในโครงการที่น่าจะเพิ่มความเข้าใจของผู้อ่านในหัวข้อที่กำลังอ่านอยู่ คุณทราบวิธีใส่ลิงก์ไปแล้วในมอดูล แก้ไข ของหน้าสอนการใช้งานนี้


การตัดสินว่าควรใส่ลิงก์ภายในในบทความมากน้อยเท่าใดนั้น ให้ถามตนเองว่า "ผู้อ่านเรื่องนี้จะสนใจบทความอื่นที่ลิงก์ไปหรือไม่" "ทำลิงก์แล้วช่วยอธิบายมโนทัศน์ที่อธิบายสั้น ๆ หรือผู้อ่านอาจไม่ค่อยคุ้นเคยหรือไม่" โดยทั่วไปคำสำคัญควรทำลิงก์ไปเมื่อกล่าวถึงเฉพาะครั้งแรกในหัวข้อนั้น


สำหรับแหล่งข้อมูลอื่น (ลิงก์ภายนอกที่มิใช่วิกิพีเดีย) เพิ่มได้ในส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" ควรใส่เฉพาะที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสูงหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่บทความไม่มีพื้นที่มากพอหรือไม่ แต่สำหรับลิงก์ที่ใช้อ้างอิงเนื้อหาบทความควรใส่ในส่วน "อ้างอิง" มิใช่ส่วนนี้


ดูเพิ่ม


ความกลมกลืน

MoS มีแนวปฏิบัติอย่างกวางขวางในประเด็นงานสารบรรณทุกรูปแบบ ด้านล่างเป็นตัวอย่างประเภทที่คุณสามารถหาคำแนะนำได้


ภาษา

พึงเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 (ผม, คุณ, ผู้อ่าน) ยกเว้นในคำพูดที่ยกมาและชื่อผลงาน

งดใช้วลีทำนอง ควรทราบว่า และ พึงตระหนักว่า และเลี่ยงคำอย่าง แน่นอน, ในความเป็นจริง, และ ชัดเจนว่า (รวมถึงการเขียนข้อเท็จจริงโดยใช้ อ้างว่า)

สำหรับการทับศัพท์และการแปล ให้ใช้ตามหลักการตกลงกันไว้แล้ว คือ คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย และหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

แปล United States ว่า สหรัฐ


วันที่และจำนวน

เลี่ยงการใช้วลีที่มีโอกาสพ้นสมัยไปได้ เช่น ล่าสุด, ปัจจุบัน

อย่าเขียน #1; ให้ใช้ ที่ 1 แทน ทั้งนี้ยกเว้นหนังสือการ์ตูน

ไม่ควรใช้ "ปี พ.ศ." หรือ "ปี ค.ศ." (ใช้ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ตามลำดับ)


เครื่องหมายวรรคตอน

ใช้เครื่องหมายอัญประกาศตรง " และอะพอสทรอฟีตรง ' ตามที่มีอยู่ในคีย์บอร์ด ไม่ใช้ “ ” และ ‘ ’

ชื่อหนังสือ ภาพยนตร์ ซีรีย์โทรทัศน์ อัลบั้มเพลง งานจิตรกรรม และเรือให้ทำตัวเอน ส่วนชื่อเพลงหรือบทกวีให้เขียนเครื่องหมายอัญประกาศคร่อม

ใช้เครื่องหมายจุลภาคเพื่อแยกกลุ่มคำหรือประโยคเพื่อกันความสับสน

ใช้ en dash (—) ไม่ใช่ยัตภังค์ (-) ระหว่างตัวเลข pp. 14–21, ค.ศ. 1953–2008 ใช้เชื่อมคำที่สัมพันธ์ขนานกัน ตาบอดสีแดง–เขียว; เที่ยวบินนิวยอร์ก–ลอนดอน ให้เว้นช่องไฟสองข้างของ en dash เมื่อเชื่อมหน่วยต่างกัน เช่น มกราคม 1999 – ธันวาคม 2000


ช่องว่างกันขึ้นบรรทัดใหม่กลางคำ

ป้องกันการขึ้นบรรทัดใหม่กลางคำ โดยใช้รหัส {{nowrap}} หรือ {{ไม่ตัดคำ}}


สรุป

MoS เป็นทรัพยากรอย่างดี แม้คุณไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด ต่อไปนี้เป็นหลักการสำคัญที่พึงระลึกไว้

  1. ความกลมกลืน – รักษาลีลาและการจัดรูปแบบภายในบทความให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนบทความต่าง ๆ ควรรักษาให้ใกล้เคียงกันตามความเหมาะสม
  2. เสถียร – เลี่ยงเปลี่ยนลีลาที่ตรงตามแนวปฏิบัติแล้วหากปราศจากเหตุผล
  3. กระจ่าง – มุ่งเขียนสารานุกรมให้อ่านง่ายที่สุด (เช่น การเลือกใช้คำ ผัง การจัดรูปแบบ แผนภาพ)
  4. อ้างอิง – ดูให้แน่ใจว่าผู้อ่านสามารถใช้แหล่งอ้างอิงยืนยันสารสนเทศในบทความได้


สำหรับเรื่องที่เหลือสามารถดูได้จากกล่องขวามือ ถ้าสงสัยลองลอกรูปแบบบทความที่เขียนดีเรื่องคล้ายกันมาใช้ก็ได้


สารสนเทศละเอียด



สรุป

แสดงความยินดีด้วย บัดนี้คุณผ่านการสอนใช้งานวิกิพีเดียแล้ว!

ขอความช่วยเหลือ

คุณสามารถค้นหาหน้าวิธีใช้โดยพิมพ์คำขึ้นต้น "วิธีใช้:" ในกล่องค้นหา หรือเข้าชม สารบัญคำอธิบาย (อยู่ในแถบข้างด้านซ้าย)

หรือถามที่ แผนกช่วยเหลือ


แบ่งเบางานที่คุณช่วยได้

ศาลาประชาคมมีภาพรวมวิธีต่าง ๆ ที่คุณช่วยเราได้ ลองหางานที่คุณชอบและถนัดดูสิ!


อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง

มอดูลสอนใช้งานเหล่านี้ครอบคลุมเรื่องที่ผู้ใช้ใหม่ควรรู้ก่อนเริ่มต้น ทางที่ดีที่สุดคือลงมือแก้ไข แต่อย่าหยุดพัฒนาฝีมือตัวเองล่ะ