โครงสร้างข้อมูลวิกิพีเดีย
เนมสเปซหัวเรื่อง เนมสเปซคุย
0 (หลัก/บทความ) พูดคุย 1
2 ผู้ใช้ คุยกับผู้ใช้ 3
4 วิกิพีเดีย คุยเรื่องวิกิพีเดีย 5
6 ไฟล์ คุยเรื่องไฟล์ 7
8 มีเดียวิกิ คุยเรื่องมีเดียวิกิ 9
10 แม่แบบ คุยเรื่องแม่แบบ 11
12 วิธีใช้ คุยเรื่องวิธีใช้ 13
14 หมวดหมู่ คุยเรื่องหมวดหมู่ 15
100 สถานีย่อย คุยเรื่องสถานีย่อย 101
108 หนังสือ คุยเรื่องหนังสือ 109
118 ฉบับร่าง คุยเรื่องฉบับร่าง 119
828 มอดูล คุยเรื่องมอดูล 829
2300 2301
2302 2303
-1 พิเศษ
-2 สื่อ

เนมสเปซไฟล์ เป็นเนมสเปซซึ่งประกอบด้วยหน้าบริหารอันเป็นที่อยู่ของเนื้อหาสื่อทั้งหมดของวิกิพีเดีย ในวิกิพีเดีย ชื่อไฟล์สื่อทั้งหมดขึ้นต้นด้วย ไฟล์: รวมถึงไฟล์ข้อมูลสำหรับภาพ คลิปวิดีทัศน์ หรือคลิปเสียง รวมถึงคลิปความยาวของเอกสาร หรือไฟล์ midi (ไฟล์ขนาดเล็กที่เป็นคำสั่งคอมพิวเตอร์)

ค้นหาไฟล์หรืออัพโหลดไฟล์ของคุณเอง (ดู การอัปโหลดไฟล์ ด้านล่าง) การค้นหาแสดงรายการทุกคำค้นที่พบในหน้าไฟล์ จากกล่องค้นหาให้กรอก ไฟล์: คำบรรยาย ตัวอย่างเช่น ใส่คำว่า "ภาพ", "วิดีโอ", หรือ "midi" ในคำค้น แล้วพบชื่อหน้าที่คุณสามารถแก้ไขข้อความวิกิของหน้าใด ๆ และแทรกสื่อนั้นได้ นับเป็นวิธีง่าย ๆ ในการปรับปรุงบทความได้มาก (ดูที่ การใช้ไฟล์ ด้านล่าง) ตัวอย่างเช่นชื่อหน้า "ไฟล์: CI 2011 swim 04 jeh.theora.ogv" จะปรากฏในผลการค้นหาสำหรับ File:siwm video

มีความแตกต่างในความหมายสามอย่างจากวากยสัมพันธ์วิกิลิงก์ปกติเมื่อใช้กับ หน้าไฟล์ ดังนี้

  • [[ไฟล์:ชื่อหน้า]] จะรวมข้าม (transclude) ไฟล์นั้น โดยแทรกภาพ วิดีทัศน์หรือเสียงเข้าสู่หน้าที่เรนเดอร์ใน ลิงก์ไฟล์ อย่างไรก็ดี สำหรับไฟล์ MIDI ทำงานได้ตามปกติและมีการใส่การเชื่อมโยงไปยังหน้าคำบรรยายไฟล์ ลิงก์ไฟล์เป็นการรวมข้ามจากเนมสเปซไฟล์ ที่เติมข้อมูลตัวแปรเสริมการรวมข้ามจนครบ
  • [[:ไฟล์:ชื่อหน้า]] โดยมีเครื่องหมายทวิภาค (:) นำหน้า จะลิกง์ไปยังหน้าไฟล์ภาพ วิดีทัศน์หรือเสียง
  • [[สื่อ:ชื่อหน้า]] จะเรนเดอร์ลิงก์ซึ่งสามารถเปิดใช้งานภาพหรือเสียงหรือวิดีทัศน์ของไฟล์ข้อมูลโดยตรง ในหน้าของมันเอง (แยกจากหน้าที่เรนเดอร์หรือหน้าไฟล์)

สำหรับความเข้ากันได้ย้อนหลังกับหน้าเก่า สมนาม ภาพ: (ซึ่งเลิกใช้แล้ว) ยังคงมีอยู่แทน ไฟล์: ในวิกิลิงก์หรือในช่องค้นหา แต่ "ภาพ" ปัจจุบันหมายความถึงไฟล์ข้อมูลชนิดอื่นนอกเหนือจากภาพด้วย

การอัพโหลดไฟล์ แก้

 
โบรชัวร์มูลนิธิวิกิมีเดียในรูปแบบ PDF ที่แนะนำผู้มาใหม่สู่วิกิมีเดียคอมมอนส์และวิธีที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมได้

ขั้นตอนแรกในการใช้ภาพหรือไฟล์สื่ออื่นคือการเลือกเซิร์ฟเวอร์สำหรับอัพโหลด บางไฟล์จะต้องใช้เซิร์ฟเวอร์อัปโหลดของวิกิพีเดีย ไฟล์จำนวนมากสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์อัปโหลดวิกิมีเดียคอมมอนส์ ซึ่งเก็บไฟล์ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์ (คอมมอนส์ไม่อนุญาตการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ หากภาพนั้น ไม่เสรี คุณอาจต้องอัปโหลดเข้าสู่วิกิพีเดีย) ทุกไฟล์ที่อัปโหลดเหมือนกันระหว่างวิกิพีเดียและวิกิมีเดียคอมมอนส์ และสามารถค้นหาได้จากทั้งสองเว็บไซต์ (ดู พิเศษ:รายชื่อภาพ)

รูปแบบที่ต้องการ

  • สำหรับภาพ : SVG, PNG, JPEG และ XCF รองรับรูปแบบ GIF และ TIFF และอาจรวมถึงรูปแบบรูปภาพอื่น ๆ
  • สำหรับเสียง : MIDI และ Ogg ด้วยโคเดก FLAC, Speex หรือ Vorbis
  • สำหรับวิดีทัศน์ : WebM และ Ogg ด้วยโคเดก Theora

คุณอาจต้องเปลี่ยนชื่อไฟล์สำหรับวิกิพีเดีย ดู การตั้งชื่อไฟล์ ด้านล่าง นอกจากนี้กรุณาจำว่ารูปแบบ Exif ของกล้องดิจิทัล สมาร์ทโฟนและสแกนเนอร์หลายแบบอาจฝังตัวข้อมูลอภิพันธุ์ และถ้าไฟล์สื่อของคุณมีการจัดการโดยบุคคลที่ไม่รู้จัก สามารถฝังตัว "โปรแกรมอำพรางข้อมูล" ในไฟล์ได้

ภาพความละเอียดสูงและไฟล์ .gif เคลื่อนไหวอาจก่อปัญหาสำหรับสมรรถนะได้ สำหรับภาพถ่ายในรูปแบบ JPEG อัปโหลดภาพคุณภาพสูงและความละเอียดสูงสุดที่มี ซึ่งจะมีการปรับขนาดอัตโนมัติลงเหลือภาพขนาดย่อความละเอียดต่ำเมื่อจำเป็น

เมื่ออัปโหลดไฟล์แล้ว กรุณาพิสูจน์ยืนยันคุณภาพและคำบรรยายของ หน้าไฟล์ พิจารณาว่าคำสำคัญจะช่วยระบุไฟล์นี้สำหรับการทำดัชนีอย่างเหมาะสมในผลการค้นหาอย่างไร หากมีไฟล์ชื่อเดียวกันอยู่ทั้งบนวิกิพีเดียและคอมมอนส์ จะแสดงผลไฟล์วิกิพีเดีย

เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไม่สามารถอัปโหลดสู่วิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์ ดู วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ ไฟล์ที่มีข้อจำกัดใด ๆ แม้แต่ "อนุญาตให้ใช้บนวิกิพีเดียเท่านั้น" อาจไม่เสรีมากพอ ในกรณีที่รูปภาพเนื้อหาไม่เสรี ให้ใช้ไฟล์ความละเอียดต่ำและความกว้างแถบความถี่ต่ำ

การใช้ไฟล์ แก้

ค้นหาและพบไฟล์ภาพที่มีอยู่ หรืออัปโหลดไฟล์ของคุณเอง การทราบชื่อหน้าของไฟล์ คุณสามารถแก้ไขหน้าของคุณและอ้างอิงไฟล์นั้นเพื่อแทรกลงใน ข้อความวิกิของคุณ คุณจะทำวิกิลิงก์ชื่อหน้า ซึ่งจะรวมไฟล์ (ชื่อนั้น) ในหน้าที่คุณแก้ไข ลองดูตัวอย่าง ไฟล์:Wikipedesketch.png ใส่รหัสต่อไปนี้โดยไม่เว้นบรรทัด แล้วผลลัพธ์จะแสดงผลเป็นภาพทางขวามือ

[[ไฟล์:Wikipedesketch.png|thumb|alt=ตะขาบการ์ตูน ... detailed description.|ตะขาบวิกิแก้ไข ''[[Myriapoda]]'']]
 
ตะขาบวิกิแก้ไข Myriapoda

ลิงก์ด้านบนมี "เขตข้อมูล" ดังนี้

  1. ชื่อหน้า " ไฟล์:Wikipedesketch.png "
  2. "thumb" ย่อมาจาก ภาพขนาดย่อ (thumbnail) และอ้างอิงที่นี่เพื่อดูขนาดโดยปริยายสำหรับภาพของผู้อ่าน (ดู วิธีใช้:การตั้งค่าผู้ใช้ เพื่อระบุขนาดภาพย่อของคุณเอง)
  3. ข้อความทางเลือก (alt text) เช่นอาจเขียนว่า "ตะขาบการ์ตูนที่มีเจ็ดมือ กำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ยกอีกเล่มหนึ่ง พิมพ์บนแล็บท็อบ และถือขวด" ข้อความทางเลือกตั้งใจให้สำหรับผู้อ่านที่พิการทางการมองเห็น หรือผู้ที่ใช้เบราว์เซอร์หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่แสดงภาพ ควรอธิบายแก่นลักษณะปรากฏของภาพอย่างละเอียด
  4. คำบรรยายภาพ เช่น "ตะขาบวิกิแก้ไข Myriapoda" คำบรรยายภาพตั้งใจสำหรับผู้ชมภาพ และอธิบายความหมายขณะที่ใช้คำที่หมายความถึงไอเท็มโดยตรงตามที่ปรากฏในภาพ

ข้อความและคำบรรยายภาพจำเป็นต้องมีข้อความเหมือนกันเล็กน้อย ผู้อ่นาบทความสามารถคลิกบนภาพขนาดย่อ หรือบนไอคอนสี่เหลี่ยมผืนผ้าคู่ขนาดเล็ก   ที่อยู่ใต้ภาพเพื่อไปยังหน้าไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

โดยปริยาย ผังหน้าจะวางภาพอยู่ด้านขวาของข้อความวิกิ อยู่ใต้ที่ที่คุณวางลิงก์หนึ่งบรรทัด วากยสัมพันธ์ภาพขยายมีตัวเลือกหลากหลายในการควบคุมการแสดงผลภาพ คุณสามารถทำให้ภาพ "ลอย" อยู่ชิดซ่าย ตรงกลางหรือวางโดยไม่ให้ข้อความวนอยู่รอบภาพ คุณสามารถบังคับขนาดภาพ (ซึ่งต่างจากค่าโดยปริยายที่ผู้ใช้ตั้ง) หรือแม้แต่ทำให้เป็นภาพพาโนรามา คุณสามารถเลี่ยง "การซ้อนภาพเป็นชั้น ๆ" ได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น โดยการสลับภาพซ้ายขวา โดยการปรับแนวภาพ และวิธีสุดท้ายคุณสามารถบังคับให้ภาพแยกกันได้ คุณสามารถสร้างแกลอรีภาพจัดเรียงเป็นแถวลำดับโดยใช้วากยสัมพันธ์ตาราง (ดู {{Gallery}} ) และโดยใช้ แท็กคลัง ภาพ (แท็กแกลลอรี่ไม่สนับสนุน ข้อความ <i id="mwqw">ALT</i> เพื่อให้พวกเขาสร้างแกลเลอรี่ที่จะไม่ สามารถเข้าถึงได้ ให้กับผู้อ่านที่ไม่สามารถมองเห็นภาพ) นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้างภาพธรรมดาที่ไม่ได้มีคำอธิบายภาพและสามารถนำมาผสมกับข้อความและภาพอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถใช้เทคนิคที่ละเอียดยิ่งขึ้นรวมถึงเส้นขอบการจัดตำแหน่งแนวตั้งด้วยข้อความและควบคุมลิงก์ นอกจากนี้คุณยังสามารถลิงค์ไปยังภาพโดยไม่แสดงภาพได้

สำหรับตัวอย่างเทคนิคเหล่านี้ทั้งหมดดูที่ วิธีใช้:ภาพ

การตั้งชื่อไฟล์ แก้

ชื่อไฟล์ควรชัดเจนและเป็นคำบรรยายโดยไม่ยืดยาวเกินไป แม้ชื่อภาพมีความสำคัญต่อผู้อ่านไม่มากนัก (พวกเขาสามารถไปหน้าคำบรรยายได้โดยคลิกที่ภาพเท่านั้น) แต่ชื่อสำคัญต่อผู้เขียน มีประโยชน์ต่อผู้เขียนคนอื่นและสำหรับการบำรุงรักษาสารานุกรมถ้าภาพมีชื่อไฟล์ที่เป็นคำบรรยายหรือยอ่างน้อยอ่านได้ ตัวอย่างเช่น ไฟล์: Skyline Frankfurt am Main.jpg สามารถจัดการได้ดีกว่า ไฟล์:14004096 200703230833355477800.jpg

ในการเลี่ยงการเขียนทับภาพหรือสื่ออื่นโดยอุบัติเหตุ ไม่ควรใช้ชื่อไฟล์ทั่วไปเมื่ออัปโหลด ตัวอย่างเช่น ภาพปกอัลบั้มไม่ควรใช้ชื่อ ไฟล์:Cover.jpg เพราะไม่ช้าก็เร็วคนอื่นจะพยายามอัปโหลดและใช้ชื่อเดียวกัน และอาจเขียนทับภาพเก่าได้ เช่นนั้นภาพใหม่จะปรากฏทุกที่ที่ภาพเก่าเคยปรากฏ บทความอัลบั้มที่ใช้ภาพเดิมอยู่จะแสดงปกอัลบั้มที่ผิด ไฟล์:Sabaton The Last Stand cover.jpg เป็นชื่อที่ดีกว่า

การเปลี่ยนชื่อไฟล์ แก้

การเปลี่ยนชื่อหน้าไฟล์แตกต่างจากการเปลี่ยนชื่อหน้าอื่น ในวิกิพีเดียภาษาไทย ผู้อัปโหลดและผู้ดูแลระบบมีสิทธิเปลี่ยนชื่อหน้าของหน้าไฟล์ ฉะนั้น หากคุณไม่มีสิทธิดังกล่าว คุณจะต้องขอให้ผู้อื่นเปลี่ยนชื่อหน้านั้น

สามารถขอเปลี่ยนชื่อหน้าไฟล์ได้โดยการแทรกแม่แบบต่อไปนี้ในข้อความวิกิหน้าไฟล์ ที่ใดก็ได้ในหน้านั้น

{{เปลี่ยนชื่อไฟล์|ชื่อไฟล์ใหม่.extension|เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนชื่อไฟล์}}

ซึ่งจะเพิ่มหน้าไฟล์เข้าสู่ หมวดหมู่:ไฟล์ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ

สาเหตุที่มักเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้อัปโหลดในการเปลี่ยนชื่อ ได้แก่

  • ผู้อัปโหลดร้องขอ
  • เปลี่ยนจากชื่อไร้ความหมายเป็นชื่อบรรยาย
  • เปลี่ยนจากชื่อที่ทำให้เข้าใจผิดเป็นชื่อที่แม่นยำ
  • การแก้ไขข้อผิดพลาดที่สำคัญ ได้แก่ การสะกดสามานยนาม หรือวันที่ประวัติศาสตร์ที่ผิด
  • การเปลี่ยนชื่อไฟล์ให้สอดคล้องกับภาพทำนองเดียวกัน
  • การแก้ความกำกวมไฟล์ที่มีชื่อคล้ายกันมาก
  • ลบภาษาดูถูก ก้าวร้าวหรือไม่ละเอียดอ่อน

การค้นหาไฟล์ แก้

คุณสามารถใช้กล่อง พิเศษ:ค้นหา ด้านล่างเพื่อค้นหาไฟล์ ดูสารสนเทศเพิ่มเติมที่ วิธีใช้:การค้นหา

ดูเพิ่ม แก้