มิดิ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
มิดิ หรือ มาตรฐานการประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิทัล [1] (อังกฤษ: Music Instrument Digital Interface: MIDI) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานที่คิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523[2] โดยเป็นระบบการติดต่อสื่อสารทางดนตรี ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางดนตรี เช่น คอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซีเควนเชอร์ ซาวด์โมดูล แซมเพลอร์ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิทัล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ โดยจะมีความหมายเป็นโน้ตดนตรี และค่าการควบคุมลักษณะเสียงต่าง ๆ
ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใด ๆ ไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ไหน(Velocity) และคำสั่งอื่น ๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมาก ๆ แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิทัลนี่เอง นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิทัลนี้มาพัฒนาด้วย จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรีก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดย ผ่านระบบ MIDI นี่เอง
General MIDI
แก้ในปี พ.ศ. 2526 เมื่อมาตรฐานการเชื่อมต่อ MIDI ออกมาใหม่ ๆ ได้สร้างความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สร้างเสียงดนตรี อุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์บันทึกที่หลากหลายเข้าด้วยกัน, ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นระหว่างผู้ผลิตเครื่องดนตรีหลาย ๆ เจ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากมาตรฐานนี้, แต่เนื่องจากมาตรฐาน MIDI เป็นมาตรฐานการส่งคำสั่งควบคุมทางไฟฟ้าเท่านั้น ไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าการใช้งานคำสั่งย่อยต่าง ๆ จะต้องตีความอย่างไร หรือหมายเลขเครื่องดนตรีที่อยู่ในคำสั่งนั้น หมายถึงเสียงเครื่องดนตรีใด, ทำให้ผู้ผลิตแต่ละบริษัทใช้รูปแบบการตั้งค่าคำสั่งที่แตกต่างกันมาก หากนำมาใช้ร่วมกันจะทำให้เสียงผิดเพี้ยน, ทำให้เมื่อนักดนตรีเลือกใช้เครื่องดนตรี หรืออุปกรณ์ควบคุมยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งแล้ว จะไม่สามารถนำเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ควบคุมยี่ห้ออื่น ๆ มาใช้งานร่วมกันผ่านระบบ MIDI ได้, จนสร้างความอึดอัดใจให้กับนักดนตรีทั่ว ๆ ไป เป็นอย่างมาก
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการประกาศมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ชุดคำสั่ง MIDI ออกมาเป็นครั้งแรก โดยมีชื่อเรียกว่า The General MIDI System Level 1 หรือเรียกกันทั่วไปว่า General MIDI (GM) อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นที่เรียกตัวเองว่า Japanese MIDI Standards Committee (JMSC) กับกลุ่มผู้ผลิตทางอเมริกาที่ชื่อว่า American MIDI Manufacturers Association (MMA)
มาตรฐาน GM ประกอบด้วยสาระสำคัญเรื่องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการรองรับคำสั่ง MIDI (เช่น ต้องรองรับการปรับความดังตัวโน้ต และต้องเล่นได้อย่างน้อย 24 โน้ตพร้อมกัน) รวมทั้งกำหนดเสียงเครื่องดนตรีที่ใช้ใน MIDI ทั้งหมด 128 ชนิด ซึ่งจะรวมเสียงของเครื่องดนตรีจริง ๆ และเสียงเอฟเฟคต์ต่าง ๆ เช่นเสียงปรบมือ เสียงฝนตก ฯลฯ เอาไว้ด้วย โดยหมายเลขของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะเรียกว่า Patch และมีการแบ่ง Patch ออกเป็นกลุ่ม ๆ ดังต่อไปนี้:
- Piano
- Chromatic Percussion
- Organ
- Guitar
- Bass
- Strings
- Ensemble
- Brass
- Rreed
- Pipe
- Synth Lead
- Synth Pad
- Synth Effects
- Ethnic
- Percussive
- Sound Effects
ในแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อย ๆ ไปอีกกลุ่มละ 8 ชนิด เช่น ในกลุ่มของเปียโน ก็จะมีเสียงของเปียโนชนิดต่าง ๆ อีก 8 ชนิด หรือในกลุ่มของ Brass ก็ประกอบด้วย ทรัมเป็ต, ทรอมโบน และเครื่องเป่าอื่น ๆ อีกรวม 8 ชนิด เป็นต้น
เมื่อมาตรฐาน GM ออกมา ก็ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย จนในที่สุดเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จากบริษัทผู้ผลิตทั่วโลกก็สามารถนำมาผสมผสานและเล่นร่วมกันได้ในระบบ MIDI โดยอาศัยมาตรฐานนี้, และนอกจากการใช้งานกับเครื่องดนตรีแล้ว มาตรฐานนี้ก็ถูกนำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ด้วย เช่นการ์ดเสียงคอมพิวเตอร์ที่ระบุว่ารองรับมาตรฐาน GM ก็จะสามารถเล่นเพลงที่บันทึกมาจากเครื่องดนตรี หรือแต่งเพลงแล้วนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีในมาตรฐาน GM ได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องเสียงของเครื่องดนตรีไม่ตรงกัน
GS
แก้มาตรฐาน GM ถูกใช้งานกันมานานด้วยความเรียบร้อยดี อยู่ต่อมาเมื่อบทเพลงต่าง ๆ เริ่มต้องการเสียงที่วิจิตรพิสดารมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า ROLAND CORPERATION เริ่มรู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในมาตรฐานเดิมนั้นไม่พอใช้เสียแล้ว จึงได้ทำการเพิ่มเติมเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดเข้าไปกับมาตรฐาน GM อีก โดยใช้ชื่อมาตรฐาน อันใหม่นี้ว่า มาตรฐาน GS ซึ่งยังคงมีกลุ่มเสียงทั้งหมด 16 กลุ่มเท่าเดิม แต่ในแต่ละกลุ่มจะมีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก จากเดิม 128 เสียง เพิ่มมาเป็น 189 เสียง
จาก ความแตกต่างของ GM และ GS นี่เองทำให้เกิดปัญหาเล็ก ๆ ตามมา นั่นก็คือหากใครมีเพลงรุ่นใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GS แล้ว เมื่อนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้มาตรฐาน GM อยู่อาจจะให้เสียงไม่ครบหรือไม่ถูกต้องตาม ต้นฉบับก็ได้ แต่ถ้าหากเพลงนั้นถูกสร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GM เมื่อนำไปเล่นบนเครื่องที่เป็นมาตรฐาน GS ก็ยังคงให้เสียงได้ครบถ้วนอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าในมาตรฐาน GS ยังคงมีเสียงจากมาตรฐาน GM อยู่ครบนั่นเอง
หัน มาดูทางด้านคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้าง ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตซาวด์การ์ดที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ติดตาม ข่าวคราว ในวงการดนตรีสักเท่าไรนัก หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อนว่าจะมีใครเอา ซาวด์การ์ดมาใช้เล่นเพลง เล่นดนตรีกันทั่วบ้านทั่วเมืองแบบนี้ก็ได้ เลยเป็นผลทำให้ซาวด์การ์ดจำนวนมากยังคงใช้ชิพกำเนิดเสียงเครื่องดนตรีตาม มาตรฐาน GM กันอยู่ สังเกตได้จากราคาที่ค่อนข้างถูกและมักจะชอบแถมมากับคอมพิวเตอร์ที่สั่ง ประกอบสำเร็จจากร้านค้า
แต่ ก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยเสียทีเดียว เพราะว่าถ้าเป็นซาวด์การ์ดที่มีมาตรฐานหน่อยราคาก็มักจะสูงขึ้นตาม แต่ก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า มันจะสามารถให้เสียงเครื่องดนตรีที่ถูกต้องและครบถ้วนแน่นอน ตรงนี้เราต้องพิจารณากันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ
บริษัท ที่ผลิตเครื่องดนตรียักษ์ใหญ่อย่าง ROLAND CORPERATION ที่นอกจากจะมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแล้ว ก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวงการคอมพิวเตอร์ด้วย โดยการผลิตซาวด์การ์ดคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน GS เพื่อมาใช้ กับคอมพิวเตอร์ดนตรีโดยตรง มีทั้งแบบที่เป็นเหมือนซาวด์การ์ดทั่วไปที่ต้องเสียบเข้ากับสล้อตว่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ , แบบที่เรียกว่า Daughterboard ที่ต้องเสียบไปบนซาวด์การ์ดตัวเดิม และแบบติดตั้งภายนอกหรือที่เรียกกันว่า"ซาวด์โมดูล"นั่นเอง
อ้างอิง
แก้- ↑ ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นออนไลน์)
- ↑ http://mustech.net/2006/09/15/midi-standards-a-brief-history-and-explanation