สามัญสำนึก (อังกฤษ: common sense) คือความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน [1] สามัญสำนึกพัฒนาจากความรู้ที่ได้จากการผ่านประสบการณ์ การลองผิดลองถูก หรือบรรดาความรู้ที่ได้รับจากจารีตประเพณี หลายคนใช้วลีนี้เพื่ออธิบายสิ่งที่อ้างถึงความเชื่อและญัตติที่คนส่วนใหญ่วินิจฉัยและประเมินอย่างรอบคอบ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ที่ซับซ้อน การเรียน หรือการวิจัยเพิ่มเติม แต่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้ที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าใจ สามัญสำนึกไม่เหมือนกับความรู้หรือประสบการณ์

แอริสตอเติลเป็นบุคคลแรกที่ทราบว่าอภิปรายเรื่อง "สามัญสำนึก" เขาอธิบายว่าสามัญสำนึกเป็นความสามารถของสัตว์ที่ประมวลประสาทสัมผัส-สัญชาน, ความทรงจำ และจิตนาการ (φρονεῖν, phroneîn) เพื่อบรรลุการตัดสินใจพื้นฐานหลายประเภท แต่มีมนุษย์เพียงชนิดเดียวที่มีการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างแท้จริง (νοεῖν, noeîn), ซึ่งทำให้มนุษย์อยู่เหนือสามัญสำนึก

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542