รายชื่อผลงานของธงไชย แมคอินไตย์
บทความนี้เนื้อหาเกี่ยวกับผลงานของธงไชย แมคอินไตย์ สำหรับบทความหลักดูที่ ธงไชย แมคอินไตย์
ผลงานของ ธงไชย แมคอินไตย์ ในวงการบันเทิงเริ่มต้นจากการเป็นนักแสดงสมทบละครเรื่องแรก "น้ำตาลไหม้" ปี 2526 จากนั้นมีผลงานในหลากหลายบทบาทอย่างต่อเนื่อง ทั้งละคร และภาพยนตร์ โดยได้รับการตอบรับอย่างสูงจากภาพยนตร์ เรื่อง "ด้วยรักคือรัก" ปี 2528 ซึ่งได้รับบทเป็นพระเอกภาพยนตร์เรื่องแรกประกบกับนักร้องดังแห่งยุค "อัญชลี จงคดีกิจ" จนกระทั่งก้าวเข้าสู่วงการเพลงเต็มตัวปี 2529 กลายเป็นศิลปินนักร้องขวัญใจประชาชนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่นั้นมา ระหว่างนั้นยังมีผลงานละคร ซึ่งสร้างสถิติเรตติ้งสูงสุดตลอดกาล ละครเรื่อง "คู่กรรม" ปี 2533 นอกจากนั้นยังมีผลงานโฆษณา ซึ่งทางต้นสังกัดพิถีพิถันในเรื่องของการรับงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงงานถ่ายแบบนิตยสาร และการออกรายการ ซึ่งไม่มุ่งเน้นในเรื่องของปริมาณ แต่เน้นในเรื่องคุณภาพ ความเชื่อมั่น เพื่อให้ได้ผลตอบรับที่ดีที่สุดของผู้บริโภค เป็นอีกภาพลักษณ์ที่สำคัญของซุปเปอร์สตาร์อันดับ 1 ของไทย
สรุปผลงานสร้างชื่อเสียงที่สุด
แก้ธงไชย แมคอินไตย์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "พี่เบิร์ด" เป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในรอบ 30 ปี ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ [1] และประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศไทย [2] โดยสร้างปรากฏการณ์ในวงการบันเทิงประเทศไทย ด้วยผลตอบรับทางด้านละครที่มีเรตติ้งสูงสุด มียอดจำหน่ายอัลบั้มสูงสุด ตลอดจนจำนวนรอบและรายได้จากการจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตสูงสุดของประเทศ[3][4] โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงที่สุดของเบิร์ดในแต่ละด้านสรุป ดังนี้
ด้านการแสดง เบิร์ดแสดงภาพยนตร์ไทยทั้งหมด 7 เรื่อง โดยก้าวสู่การเป็นพระเอกภาพยนตร์อย่างเต็มตัว ในปี 2528 จากภาพยนตร์ เรื่อง "ด้วยรักคือรัก" ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างสูงในยุคนั้น โดยประกบคู่กับนักร้องดังแห่งยุค "อัญชลี จงคดีกิจ" ส่วนด้านละครที่สร้างชื่อเสียงที่สุด ในปี 2533 ละครคู่กรรม ออกอากาศทางช่อง 7 สร้างประวัติศาตร์ละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของไทย เรตติ้ง 40 จากการสวมบทบาทเป็น "โกโบริ" ประกบคู่ครั้งแรกกับ กมลชนก โกมลฐิติ ทำให้เบิร์ดได้รับรางวัลใหญ่ในยุคนั้นทั้ง 2 รางวัล คือ รางวัลเมขลา และรางวัลโทรทัศน์ทองคำ[5] นอกจากนั้นยังเป็นศิลปินคนแรกที่รับบทบาทเดียวกันในเรื่องเดียวกันอีกครั้ง ในภาพยนตร์ คู่กรรม ปี 2538
ด้านการร้องเพลง เบิร์ดมีอัลบั้มเต็ม 16 อัลบั้ม และอัลบั้มพิเศษต่างๆ รวมแล้วมียอดจำหน่ายมากกว่า 25 ล้านชุด โดยมียอดจำหน่ายอัลบั้มสูงสุดของประเทศไทย และติด 1 ใน 3 ศิลปินที่มียอดจำหน่ายอัลบั้มสูงสุดตลอดกาลของเอเชีย [6] โดยอัลบั้มที่สร้างชื่อเสียงที่สุด ในปี 2533 อัลบั้ม"บูมเมอแรง" สร้างประวัติศาตร์ยอดจำหน่ายเทปสูงสุดของไทยมากกว่า 2 ล้านตลับ โดยมีเพลงเด่น คือ เพลงคู่กัด และเพลงบูมเมอแรง เป็นต้น และในปี 2545 อัลบั้ม "ชุดรับแขก" สร้างประวัติศาสตร์ยอดจำหน่ายซีดีเพลงสูงสุดของไทยมากกว่า 5 ล้านชุด โดยมีเพลงเด่น คือ เพลงแฟนจ๋า และเพลงมาทำไม เป็นต้น และหากนับรวมยอดจำหน่ายดีวีดีคอนเสิร์ตในอัลบั้มดังกล่าวอีก 3 ล้านชุด รวมแล้วมียอดจำหน่ายมากกว่า 8 ล้านชุด [7] นอกจากผลงานประจำแล้ว เบิร์ดได้รับเกียรติให้ขับร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่สำคัญ เช่น เพลงต้นไม้ของพ่อ ของขวัญจากก้อนดิน รูปที่มีทุกบ้าน ตามรอยพระราชา สายใยแผ่นดิน ในหลวงในดวงใจ พระราชาผู้ทรงธรรม เป็นต้น และยังได้รับเลือกให้ขับร้องเพลงในเหตุการณ์พิเศษที่สำคัญ เช่น เหตุการณ์สึนามิ เพลงอีกไม่นาน Thai for Japan(ภาษาญี่ปุ่น) เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพลงฝากส่งใจไป Sampaikan Hati(ภาษายาวี) เอ็มวีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย เพลง Why the Tears(ภาษาจีนแมนดาริน) เป็นต้น
ด้านการแสดงคอนเสิร์ต เบิร์ดมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบที่สำคัญ คือ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 10 ครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนรอบการแสดง 153 รอบ มีผู้ชม 484,400 คน[8] อีกทั้งมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี โดยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มีผู้ซื้อบัตรเข้าชมแล้วประมาณ 2 ล้านคน [9] โดยคอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 ปี 2534 สร้างสถิติสูงสุดของ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ชม 58,000 คน จาก 29 รอบการแสดง [10]และคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 ปี 2551 เมื่อรวมรอบอังกอร์พลัสแล้ว สร้างสถิติสูงสุดของอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ด้วยจำนวนผู้ชม 120,000 คน จาก 12 รอบการแสดง[11] ขณะที่ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 10 ปี 2555 สร้างปรากฏการณ์ยอดผู้ชมสูงสุดในเมืองไทย จากการจำหน่ายบัตรต่อเนื่องในคราวเดียว กว่า 100,000 คน จาก 10 รอบการแสดง [12]
ด้านอื่นๆ ที่สำคัญ เบิร์ดในช่วงแรกของการก้าวสู่วงการบันเทิงนั้น นอกจากจะมีผลงานละคร และผลงานเพลงแล้ว ยังเป็นพิธีกรรายการ 7 สีคอนเสิร์ต ปี 2529-2530 โดยเบิร์ดดำเนินรายการคู่กับ ตั๊ก มยุรา ธนะบุตร ซึ่งเป็นพิธีกรคู่แรกคู่ประวัติศาสตร์ของรายการนี้ ที่มอบความสนุกสนานแบบสด ๆ ซึ่งทำให้เบิร์ด และตั๊ก ได้รับรางวัลผู้ดำเนินรายการดีเด่นทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง จากงานประกาศผลรางวัลเมขลา ปี 2529[13] และยังเป็นนักพากย์การ์ตูนแอนนิเมชั่นเรื่องแรกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ได้เบิร์ดเป็นต้นแบบ พร้อมพากย์เสียง "พี่เบิร์ด" ในเรื่อง เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ และได้รับรางวัลทีมพากย์การ์ตูนดีเด่น จากงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2555 อีกทั้งยังเป็นผู้บรรยายภาษาไทยในภาพยนตร์สารคดี ชุด “My King ในหลวงของเรา” จัดทำโดย มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ National Geographic ผู้ผลิตสารคดีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ถึง 3 ครั้ง โดยโครงการเที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก ถือเป็นโฆษณาที่สร้างการรับรู้ให้กับคนไทยสูงสุดถึง 99% จากการสำรวจ [14] [15][16]
ผลงานการแสดง
แก้ละครโทรทัศน์
แก้- ปี 2526 น้ำตาลไหม้ (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ นพพล, ลินดา เป็นละครเรื่องแรกของเบิร์ด ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยมรางวัลเมขลา ส่งให้เบิร์ดเป็นที่รู้จัก และกล่าวถึงในฐานะนักแสดงหน้าใหม่ที่มีความสามารถ กำกับการแสดงโดย ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา
- ปี 2527 มงกุฎฟาง (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ ภิญโญ, มยุรฉัตร, พรพรรณ
- ปี 2527 ทายาทท่านผู้หญิง (ช่อง 5) ซึ่งเรื่องนี้ต้องเล่นเป็นคนขาพิการ
- ปี 2527 เมื่อรักร้าว (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับ ยุรนันท์, มยุรา, นาถยา
- ปี 2527 วงเวียนหัวใจ (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับ ธิติมา, นาถยา
- ปี 2527 บ้านสอยดาว (ช่อง 7) เล่นเป็นตัวร้ายเรื่องแรกประชันบทบาทกับ มยุรา เศวตศิลา, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, อุทุมพร ศิลาพันธ์, ผุสรัตน์ ดารา
- ปี 2528 ขมิ้นกับปูน (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับกาญจนา จินดาวัฒน์
- ปี 2528 เบญจรงค์ห้าสี (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ เดือนเต็ม, มยุรา, ดวงใจ, อุทุมพร, อลิษา, จริยา, สมภพ, ชลิต, อภิชาติ, เป็นหนึ่ง
- ปี 2528 รักในสายหมอก (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ ดิลก, กาญจนา
- ปี 2528 เพลงแห่งชีวิต (ช่อง 5) ร่วมแสดงกับนพพล โกมารชุน, ก้ามปู สุวรรณปัทม์
- ปี 2528 ดอกรักสีรุ้ง (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ อนุสรณ์, มยุรา, ธิติมา
- ปี 2528 ระเบียงรัก (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับนาถยา แดงบุหงา
- ปี 2528 พลับพลึงสีชมพู (ช่อง 7) ร่วมแสดงกับ มนฤดี ยมาภัย) แล้วเบิร์ดได้ลาออกจากการทำงานประจำเพื่อเล่นละครอย่างเต็มตัว
- ปี 2529 เนื้อนาง (ช่อง 7) ประชันบทบาทกับ นิรุตติ์ ศิริจรรยา, นพพล โกมารชุน, มยุรา เศวตศิลา, ญาณี จงวิสุทธิ์, ดวงดาว จารุจินดา
- ปี 2529 มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ นิรุตติ์, ลินดา, หทัยรัตน์
- ปี 2530 ดวงไฟไยไม่ส่องฉัน (ช่อง 7) (ป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ได้เป็นนางเอกคู่กับ เบิร์ด)
- ปี 2532 ตะกายดาว (ช่อง 9เอ็มคอตเอชดี) ร่วมแสดงกับ เศรษฐา, เพ็ญพักตร์, วสันต์
- ปี 2533 คู่กรรม (ช่อง 7HD) เป็นละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดอันดับ 1 ของเมืองไทยตลอดกาล ด้วยเรตติ้ง 40 [17]สร้างโดย ดาราวิดีโอ แสดงร่วมกับกมลชนก โกมลฐิติ เรื่องนี้ได้รับรางวัลทั้งเมขลาและโทรทัศน์ทองคำในปีเดียวกัน ในบทบาท "โกโบริ"
- ปี 2536 วันนี้ที่รอคอย (ช่อง 7HD) สร้างโดย ดาราวิดีโอ รับบทฝาแฝด คือ เจ้าชายน่านปิงนรเทพ (จ้าวซัน) และ เจ้าชายศิขรนโรดม (แสดงคู่กับ สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ และ พงษ์นภา ดัสกร)
- ปี 2540 นิรมิต (ช่อง 7HD) สร้างโดย ดาราวิดีโอ รับบทฝาแฝด 3 ตัวละคร คือ ชื่อ ภูวง ภังคี ไทวัน (คู่กับ อารียา สิริโสภา มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ อรอนงค์ ปัญญาวงศ์)
- ปี 2541 ความทรงจำใหม่ หัวใจเดิม (ช่อง 5) สร้างโดย เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ ละครพิเศษเพื่อเป็นของขวัญให้กับแฟนเพลง (9 ตอน) รับบทเป็น เดี่ยว (คู่กับ คัทลียา แมคอินทอช)
- ปี 2546 กษัตริยา (ช่อง 5) รับบท พระยาจ่าแสนยากร (นักแสดงรับเชิญ)
- ปี 2546 มหาราชกู้แผ่นดิน (ช่อง 5) รับบท พระยาจ่าแสนยากร (นักแสดงรับเชิญ)
- ปี 2558 กลกิโมโน (ช่อง 3) สร้างโดย บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น รับบทเป็น ท่านชายโฮชิ ร่วมแสดงกับ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ และ ภูภูมิ พงศ์ภาณุ
- ปี 2559 เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ ตอน ชีวิตเพื่อให้ (ช่องวัน 31) สร้างโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และเอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ รับบทเป็น หมอดนย์ (นักแสดงรับเชิญ) ร่วมแสดงกับ ยุกต์ ส่งไพศาล[18]
- ปี 2560 เธอคือพรหมลิขิต (ช่องวัน 31)รับบท หมอคม (นักแสดงรับเชิญ) สร้างโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และเอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ
ภาพยนตร์
แก้- ปี 2527 บ้านสีดอกรัก รับบท กฤษ
- ปี 2527 ขอแค่คิดถึง รับบท เบิร์ด
- ปี 2528 ด้วยรักคือรัก รับบท พรพิชิต
- ปี 2529 อีกครั้ง
- ปี 2529 ด้วยรักและผูกพัน รับบท นฤนาท
- ปี 2530 หลังคาแดง รับบท ทองดี ทนนาน
- ปี 2538 คู่กรรม รับบท โกโบริ
- ปี 2547 2046[19]
พิธีกร นักพากย์ ผู้บรรยาย
แก้- เริ่มเป็นพิธีกรครั้งแรกคู่กับมยุรา ธนะบุตรจากรายการ แซทสตาร์ หรือรายการ โชคติดปุ่ม
- ปี 2529 - 2530 พิธีกรบนเวทีการประกวดนางสาวไทย ร่วมกับ พลากร สมสุวรรณ [20]
- ปี 2529 - 2531 พิธีกรในรายการ7 สีคอนเสิร์ต ร่วมกับ มยุรา เศวตศิลา
- พิธีกรรายการ สุริยาตาหวาน ของ JSL
- พิธีกรรายการ แฮบปี้เบิร์ดเดย์
- ปี 2531 พิธีกรรายการ ไนท์โชว์ ออกอากาศทางช่อง 9
- ปี 2554 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ซีซั่น 1 ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และเชลล์ฮัท
- ปี 2555 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ซีซั่น 2 ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และเชลล์ฮัท
- ปี 2555 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ซีซั่น 3 ชุด ตามรอยพระราชา ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และเชลล์ฮัท
- ปี 2555 เป็นผู้บรรยายสารคดีเฉลิมพระเกียรติวาระ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จำนวน 7ตอน ออกอากาศทุกช่อง หลังข่าวพระราชสำนัก ระหว่างวันที่ 9 - 15 กันยายน 2555 [21]
- ปี 2555 เป็นผู้บรรยายภาษาไทยในภาพยนตร์สารคดี ชุด “My King ในหลวงของเรา” จัดทำโดย มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ National Geographic ผู้ผลิตสารคดีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก[22]
- ปี 2556 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมจัดทำ การ์ตูนแอนิเมชั่น เบิร์ดแลนด์...แดนมหัศจรรย์ ซีซั่น 3 ตอนพิเศษ “ส่งเสริมคุณค่าของวัฒนธรรมไทย” เพื่อหวังปลูกฝังให้เยาวชนไทยได้ซึมซับศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยต่างๆอันล้ำค่าในแต่ละภูมิภาคที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทยให้ยังคงคุณค่าและงดงามซึ่งมีทั้งหมด 26 ตอน ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเชลล์ฮัท [23][24]
พรีเซ็นเตอร์ภาครัฐ / รัฐวิสหกิจ
แก้- ปี 2545 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์เสริมสร้างรอยยิ้มในคนไทยภายใต้โครงการ “สร้างสุขด้วยรอยยิ้ม” ของกระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต
- ปี 2545 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์ โครงการ รณรงค์ลดการแพร่เชื้อทางเดินหายใจ ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย โครงการในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ปี 2546 ได้รับเลือกเป็น Call Center บันทึกเสียงลงระบบตอบรับอัตโนมัติของธนาคารไทยพาณิชย์ (ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน) [25]
- ปี 2546 ได้รับเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์โครงการฝาแบรนด์สร้างขาเทียมเฉลิมพระเกียรติ
- ปี 2546 ได้รับเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์เสื้อยืดพระนามาภิไธยย่อ สก.72 พรรษา เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2547
- ปี 2546 ได้รับเลือกจากสภากาชาดไทย ให้เป็นตัวแทนเชิญชวนคนไทยร่วมส่งไปรษนียบัตรกาชาดมหากุศล ซึ่งสภากาชาดไทยจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา
- ปี 2548 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์โครงการตั้งสัจจะอธิษฐานปฏิบัติบูชาในโอกาสวันวิสาขบูชาโลก ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
- ปี 2548 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โครงการ "เที่ยวที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา" พร้อมเปิดตัว Mascot "น้องสุขใจ" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของความสุขที่สามารถพบได้ตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย (สถานที่ถ่ายทำที่กระบี่ พังงา ไปถึงเกาะเลย เกาะไผ่ พีพีใหญ่ พีพีเล เกาะเต่า รวมทั้งหาดมาหยา เป็นต้น)
- ปี 2552 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) "โครงการเที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก"[26] สถานที่ถ่ายทำสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี[27] หลังจากเผยแพร่ในช่วงต้นปีพบว่า สามารถสร้างการรับรู้ในวงกว้างให้กับคนไทยได้ถึง 99% จากการเปิดเผยของ ททท.[28][29]
- ปี 2552 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) "โครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน" สถานที่ถ่ายทำมอหินขาวจังหวัดชัยภูมิ [30] หลังจากเผยแพร่ในช่วงปลายปีได้สร้างปรากฏการณ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้มาเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของไทย [31][32]
- ปี 2554 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เลือกเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พร้อมนำทีมศิลปินชื่อดังมาร่วมประชาสัมพันธ์เชิญ ชวนคนไทยออกมาใช้สิทธิ์ [33]
- ปี 2554 ได้รับเลือกเป็นพรีเซนเตอร์ธรรมอาสาพาประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าเข้าวัดปฏิบัติภาวนา ของเสถียรธรรมสถานพร้อมเหล่าศิลปินดารารวม 22 ชีวิต ด้วยโจทย์ธรรมะ "สุขแป๊บเดียวก็เจอทุกข์ ทุกข์แป๊บเดียวก็เจอสุขอีกแล้ว สติของเราเท่านั้นที่จะคุยกับความทุกข์ให้รู้เรื่อง" และสรุปท้ายด้วย "ทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้มีไว้ให้เป็น" [34]
- ปี 2555 ได้รับเลือกจากสภากาชาดไทย ให้เป็นตัวแทนเชิญชวนคนไทยร่วมสนับสนุนการจัดทำ "สายรัดข้อมือเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์สภานายิกา ปวงประชารวมใจ ถวายพระพร" เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา โดยรายได้จากการจำหน่ายสายรัดข้อมือ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทยนำไปช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย[35]
- ปี 2555 ได้รับเลือกจากมูลนิธิชัยพัฒนา ให้เป็นตัวแทนเชิญชวนคนไทยร่วมสนับสนุนเสื้อยืด "ยิ้มให้พ่อ"ร่วมกับ 10 ศิลปินดัง โดยความหมายของเสื้อหมายถึงรอยยิ้มที่คนไทยยิ้มให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ผู้ซึ่งเปรียบเสมือน "พ่อ" ของคนไทยทั้งประเทศ โดยมูลนิธิชัยพัฒนาจะนำรายได้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการกุศลต่อไป[36]
- ปี 2557 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์กิตติมศักดิ์ จากเครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา รักเพื่อนอย่าทิ้งเพื่อน ดูแลกันตลอดไปนะ เพื่อช่วยรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมช่วยกันดูแลสุนัขและแมวจรจัด โดยให้เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์พระองค์ภาเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือ โดยมีการจัดงาน "สี่ขาขาจร-Give a chance 2014 ระหว่างวันที่ 1-3 สิงหาคม 2557 ณ ลาน Eden โซน 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ [37]
- ปี 2557 ได้รับเกียรติจาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) จัดทำแสตมป์ส่วนตัวภาพพี่เบิร์ด ตามโครงการส่งเสริมการสื่อของคนไทยผ่านการเขียนผ่านจดหมายและโปสการ์ดผ่านกิจกรรมพิเศษต่างๆ ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากบทเพลง "เขียนคำว่ารัก" ผ่านโปสการ์ดคอลเลกชั่นพิเศษ "เลิฟซีรีส์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกเพศ ทุกวัย หันมาให้ความสำคัญ และรักการเขียนเพิ่มมากขึ้น[38]
- ปี 2558 ได้รับเกียรติเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ประจำโครงการเครือข่ายคนรักน้องหมา ปี 5 เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา รักเพื่อนอย่าทิ้งเพื่อน ดูแลกันตลอดไปนะ เพื่อช่วยรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมช่วยกันดูแลสุนัขและแมวจรจัด โดยให้เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์พระองค์ภาเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือ [39]
- ปี 2559 เป็นผู้นำทีมรณรงค์อุดหนุน "ดอกป๊อปปี้" ช่วยครอบครัวทหารผ่านศึก ของมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี [40]
- ปี 2559 ได้รับเกียรติจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ร่วมถ่ายทำมิวสิกวีดีโอเพลง "กำลังใจ" เพื่อเป็นกำลังใจให้นักร้องนักดนตรีผู้พิการทางสายตาได้แสดงความสามารถ ในโครงการจากถนนสู่ดวงดาว "From street to stars" [41]
- ปี 2561 ร่วมเป็นศิลปินจิตอาสา ในภาพยนตร์โฆษณาของมูลนิธิรามาธิบดี ภายใต้แนวคิด “คำว่าให้…ไม่สิ้นสุด” เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง ให้กับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์[42]
- ปี 2562 ร่วมเป็นศิลปินเชิญชวนร่วมงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2562” และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากร้านพึ่งพา เพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ปีที่ 7 ภายใต้แนวคิด “แบ่งปัน พอเพียง ยั่งยืน” [43]
- ปี 2562 โครงการ "ไฟ จาก ฟ้า" พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยจัดในรูปแบบ นิทรรศการ “ไฟ จาก ฟ้า” และการแสดงดนตรี “คอนเสิร์ต Singing Bird” รอบพิเศษ เพื่อส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ความตระหนักและมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้าจากพลังงานที่สะอาด โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ร่วมกับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ [44]
- ปี 2564 โครงการ “โรงพยาบาลไฟจากฟ้า” พลังงานสะอาด เพื่อ 77 ภายใต้แคมเปญ “CLEAN ENERGY FOR LIFE ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” โดยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563 [45]
- ปี 2565 โครงการ “หยุดลมชักให้ชีวิตได้ไปต่อ” จัดโดยมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก[46]
- ปี 2566 ได้รับเลือกเป็นศิลปินผู้ถ่ายทอดอัตลักษณ์ความเป็นไทย ภายใต้โครงการ THAI 5F SOFT POWER ของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการยกระดับงานวัฒนธรรมผ่านสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น สื่อเพลง และสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลในการถ่ายทอดสู่สาธารณชน ผ่านมิวสิควิดีโอเพลง "ฟ้อนทั้งน้ำตา" ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของ 5F ประกอบด้วย อาหาร (Food) ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบ แฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณีไทย (Festival)[47]
- ปี 2566 ได้รับเลือกเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อกระตุ้นบรรยากาศการท่องเที่ยวภายในประเทศให้ฟื้นตัว ภายใต้แคมเปญ “เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” ตามแนวคิด “โมเมนต์ที่ใช่ สร้างได้ไม่ต้องรอ” โดยประชาสัมพันธ์ผ่านจิงเกิ้ลเพลง "ไปกันอีกซักที ก็ดีนะ"[48]
- ปี 2566 ประชาสัมพันธ์งาน ปตท. เนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี ปตท. โดยมีเพลงพิเศษ "เธอคือพลังของฉัน" ขับร้องร่วมกับ วรันธร เปานิล[49]เพื่อเป็นกำลังใจและเป็นพลังให้กับคนไทย รวมทั้งอยู่เคียงข้างเพื่อร่วมทุกข์ร่วมสุขกันอย่างต่อเนื่องมาตลอด 45 ปี ปตท.[50]
พรีเซ็นเตอร์ภาคเอกชน
แก้- โค้ก (2530 - 2533) สโลแกน "ต้องโค้กสิ" [51] [52]
- หมากฝรั่ง LOTTE ชุด“เพื่อน” 3 เวอร์ชัน สโลแกน "ลอตเต้เพื่อนคู่ปาก" สามารถสร้างการรับรู้ของประชาชนในอับดับต้นๆ ส่งผลให้หมากฝรั่งลอตเต้ประสบความสำเร็จสูงสุดทางด้านยอดจำหน่ายของหมากฝรั่งไทยในรอบปี (2533)
- ฟิล์มสีฟูจิ ชุด Jamaica สโลแกน “ตัวเล็ก...กว่าภูเขานิดนึง” จากผลสำรวจเป็นโฆษณาที่ประชาชนคุ้นเคยที่สุดอันดับ 1 ส่งผลให้ฟูจิประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาดฟิล์ม (2533) ชุด Japan สโลแกน "เมื่อภาพทุกภาพมีค่ากับความรู้สึกคุณเชื่อในความละเอียดอ่อนแห่งเทคโนโลยี"(2534)[53]ชุด ปราสาทหินพนมรุ้ง สโลแกน “คุณค่าแห่งสีสันต์โลกตะวันออกจะอยู่กับเราตลอดไป” (2536)[54]
- โทรทัศน์สี Panasonic ชุด อลาสก้า นิวยอร์ก สโลแกน “ภาพและเสียงของคนทั่วโลก” ซึ่ง Vote Award ยกให้เป็นโฆษณายอดนิยมแห่งปี 2536(2536) ชุด ทะลใต้ "เติมนิยามให้โลกส่วนตัว"(2539)
- มันฝรั่งเลย์ สโลแกน “อร่อยชิ้นเดียวไม่เคยพอ” กลายเป็นสินค้าที่ทำให้การรับรู้ของคนไทยเพิ่มขึ้นแบบทิ้งคู่แข่ง ถ่ายทำที่ไร่มันสำปะหลัง อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 3 เวอร์ชัน (2543) ได้แก่ แฟร์กันหน่อย, ขอบคุณค่ะ , ปลูกอนาคต นอกจากนั้นยังมีชุด อโรคา ร่วมกับ นัท นิโคล (2544) ชุด ร่วมกับ มาช่า (2545)
- เครื่องสำอาง U-Star สโลแกน "มาเป็นครอบครัวเดียวกับเบิร์ดนะครับ" โดย GMM ซึ่งการเปิดตัวในปีแรกมีผู้สมัครร่วมเป็นสมาชิกสูงสุดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในประเทศไทยในรอบปี 2546 อีกทั้งยังประสบความสำเร็จสูงสุดในยอดขาย และยังสามารถสร้าง Brand Awareness ใหกับคนทั่วไปในการจดจำผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก[55](2546)
- แบรนรังนก ชุด ฝาแบรนด์สร้างขาเทียมเฉลิมพระเกียรติ (2546) ชุด โยคะ “ชีวิตดูดี อยู่ที่คุณเลือก” (2548)
- HONDA ชุด Big Family สโลแกน "อยู่ด้วยกัน ผูกพันกัน เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน” เป็นการฉลองครบรอบ 40 ปี ของ HONDA ซึ่งผูกโยงกับความเป็น "ดาวค้างฟ้า" ของเบิร์ดที่ยังรักษาความนิยมมายาวนาน โดยโฆษณาดังกล่าวเป็นการถ่ายทอดความผูกพัน เพื่อขอบคุณลูกค้าที่มีให้กันตลอด 40 ปี[56](2548)
- เครื่องดื่มชาเขียวแท้ Namacha 2 เวอร์ชัน โดยการร่วมทุน ไทย-ญี่ปุ่น ของ KIRIN ซึ่งดูแลการตลาด และโอสถสภา ดูแลการกระจายสินค้าในไทย สโลแกน “น้ำชาเขียวแท้จากประเทศญี่ปุ่น” เป็นชาเขียวพร้อมดื่มสัญชาติญี่ปุ่นแบรนด์แรกที่จำหน่ายในไทย ชุดที่เบิร์ดแสดงสามารถจุดประกายความน่าสนใจในวงกว้าง สามารถสร้าง Brand Awareness ของการเปิดตัวในช่วงที่ตลาดชาเขียวซบเซา[57](2549)
- กล่องรับสัญญาณ GMMZ (2555) กล่องรับสัญญาณจานดาวเทียม ผลิตภัณฑ์ในเครือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรก โดยแสดงร่วมกับศิลปินในสังกัดกว่า 100 ชีวิต
- Smooth E(2555) สโลแกน "สมูทอีใจใสหน้าก็ใส" 3 เวอร์ชัน [58][59] ชุด "พี่เบิร์ดทำหน้าหรือเปล่า" ชุด "พี่เบิร์ดอายุเท่าไร" ชุด "ทายซิผู้ชายคนนี้อายุเท่าไร"
- สีเบเยอร์(2555-2556) เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี สีเบเยอร์ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และยอดขาย ตลอดจนใช้โอกาสพิเศษนี้กระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการดูแลสังคม เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน [60][61] ชุด "โลกสวยด้วยมือเรา" ชุด "ONE WALL ONE WORLD รวมพลังลดโลกร้อน"
- สีเบเยอร์(2557) ปีสอง ชุด “เบเยอร์คูล .. สีบ้านเย็น สบาย สบาย” ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเบเยอร์คูล ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ถึง 3-5 องศา ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ช่วยประหยัดค่าไฟ ประหยัดพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน[62]
- ดาวคอฟฟี(2559) กาแฟยี่ห้อดาวคอฟฟี่ (Dao Coffee) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท ดาวเฮือง ผู้ผลิตดาวคอฟฟี่จากที่ราบสูงโบลาเวน ประเทศลาว ภายในแคมเปญ "จากดินสู่ดาว..ด้วยพลังแห่งความรัก" [63][64]
- โครงการ สวอนเลค เรสซิเด้นท์ เขาใหญ่(กุมภาพันธ์ 2560) เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรซ์ ระดับเอ็กซ์คลูซีฟ ของบริษัท อีลิเชี่ยน ดิเวลลอปเม้นท์ ในแคมเปญ “สบาย สบาย แบบสตรอง สตรอง” ของโครงการ “สวอนเลค เขาใหญ่” โดยมีธงไชยเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซึ่งเขาเป็นคนรักธรรมชาติ รวมทั้งการให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลตัวเองรักษาสุขภาพ[65][66][67]
- โครงการ สวอนเลค เรสซิเด้นท์ เขาใหญ่(มิถุนายน 2560) เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรซ์ ระดับเอ็กซ์คลูซีฟ ของบริษัท อีลิเชี่ยน ดิเวลลอปเม้นท์ ในแคมเปญ “สวอนเลค สวอนเดอร์แลนด์” ของโครงการ “สวอนเลค เขาใหญ่” โดยมีธงไชยเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อีกครั้ง[68]
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่า โสม หลินจือ ตรา ‘ชี่’ (Qi) แคมเปญ “สามพี่น้องตระกูลชี่”(2564) โดยบริษัท โอทู คิส จำกัด (O2 KISS) บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)[69]
- CardX (2565) หรือ บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด ของธนาคารไทยพาณิชย์[70]โดยมีเพลงพิเศษสำหรับประชาสัมพันธ์เพลง "ทดลองใช้" Version เป็นได้อีกเยอะ" ร้องร่วมกับ อชิรญา นิติพน[71]
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ
แก้- เพลง สามช่าจงเจริญ ร้องโดย คาราบาว (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ เบิร์ด ธงไชย)
- เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ พี่เบิร์ด)
ผลงานเพลง
แก้หนังสือ
แก้- The Guitar Year Book 2011
- The Guitar Year Book 2012
- 100 เพลงฮิต คอร์ดอูคูเลเล่เล่นง่าย
- The Guitar Cover Song Hits
- โน้ตคีย์บอร์ด สเปเชียล
- Memmory Song Book Vol.1
- Grammy Forever Hits
- 100 โน้ตสากลเพลงเบิร์ด
- Memory Songbook Vol.3
- THE GUITAR รวมเทปเพลงดัง ชุด 4
- เมโมรี่ ซองบุ๊ค ฉบับที่ 5
- THE GUITAR รวมเทปเพลงดัง ชุด 5
- The Guitar Best Album
- THE GUITAR รวมเทปเพลงดัง ชุด 8
- The Guitar รวมเพลงฮิตฉบับพิเศษ Vol.26
- Retro Love Song
- THE GUITAR รวมเทปเพลงดัง ชุด 11
- The Greatest Bird Thongchai of All Time
- เพลงประทับใจ ฉบับที่2 รวมเพลงยอดนิยมยุค '70 - '90
- โน้ตคีย์บอร์ด คอร์ดกีต้าร์ ชุด เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ + MP3
- HIT.4.U Vol.1 ฉบับจัดหนัก
- The Piano Vol.3
- The Guitar รวมเทปเพลงดัง ชุด 13
- The Piano Vol.4
- The Best of Grammy 2000-2010
- The Best Album Collections
- HIT.4.U ฉบับจัดหนัก Vol.2
- The Best Songs Writer
- Ukulele Sing Along Vol.2
- The Guitar รวมเพลงฮิตฉบับพิเศษ Vol.32
- Basic For Play
- The Guitar Special Hall of Fame
- The Guitar Project Hits Vol.9
- HIT.4.U ฉบับเต็มอิ่ม Vol.7
- ฮิตส์ระเบิด Vol.1
- Basic For Play : เบสิค ฟอร์ เพลย์ Vol.2
- The Guitar Cover Song Hits
- รวมฮิต Rock รัก เลิก Like Vol.2
- The Guitar Pub Song Hits Vol.2
- ฮิตส์ระเบิด Vol.2
- The Guitar 10,000,000 Views
- The Guitar Express No.120
- 40 th The Legend of The Guitar
คอนเสิร์ต
แก้นอกจากผลงานเพลงซึ่งเป็นงานหลัก ยังประสบความสำเร็จทางด้านคอนเสิร์ตโดยเฉพาะ "คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์" นอกจากนั้นยังมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากผลสำเร็จทางด้านรายได้ จำนวนรอบคอนเสิร์ต จำนวนผู้ชม นอกจากนั้นยังมีคอนเสิร์ตพิเศษต่างๆ โดยในช่วงแรกของการก้าวสู่วงการเพลงได้มีคอนเสิร์ตเด่นด้วยการประชันกับ พรศักดิ์ ส่องแสง ซึ่งเป็นนักร้องหมอลำชื่อดังแห่งยุค ในคอนเสิร์ตสองคนสองคม นอกจากนั้นยังคอนเสิร์ตพิเศษอื่นๆ ซึ่งเน้นในเรื่องของผลที่จะได้รับต่อสังคมเป็นหลัก รวมทั้งคอนเสิร์ตสำหรับลูกค้าธุรกิจ ที่ให้การตอบรับด้วยดีมาโดยตลอด
คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 10 ครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนรอบการแสดง 153 รอบ มีผู้ชม 484,400 คน อีกทั้งมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี โดยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มีผู้ซื้อบัตรเข้าชมแล้วประมาณ 2 ล้านคน โดยคอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 ปี 2534 สร้างสถิติสูงสุดของ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ชม 58,000 คน จาก 29 รอบการแสดง และคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 ปี 2551 เมื่อรวมรอบอังกอร์พลัสแล้ว สร้างสถิติสูงสุดของอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ด้วยจำนวนผู้ชม 120,000 คน จาก 12 รอบการแสดง ขณะที่ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 10 ปี 2555 สร้างปรากฏการณ์ยอดผู้ชมสูงสุดในเมืองไทย จากการจำหน่ายบัตรต่อเนื่องในคราวเดียว กว่า 100,000 คน จาก 10 รอบการแสดง
คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบ
แก้ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ | แขกรับเชิญ | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|---|---|
คอนเสิร์ต สุดชีวิต ธงไชย | 1 พฤษภาคม 2529 | เซ็นทรัล ลาดพร้าว | 2 รอบ | ||
คอนเสิร์ต เกาเหลาธงไชย (ไม่งอก) | 23 เมษายน 2531 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต เบิร์ด เปิ๊ด-สะ-ก๊าด | 18-19 มิถุนายน 2531 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้ม มนุษย์บูมเมอแรง | 7 เมษายน 2533 | MBK HALL มาบุญครอง | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต พริกขี้หนู | 27-28 เมษายน 2534 | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต ธ.ธง กับ เธอ (นั่นแหละ) | 14-15 พฤษภาคม 2537 | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้ม ดรีม | 14-15 กันยายน 2539 | MCC HALL เดอะมอลล์บางกะปิ | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้ม ธงไชย เซอร์วิส ตอน ซ่าได้ | 19-21 กันยายน 2541 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ | 23-24 มกราคม 2542 | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ความรักไม่รู้จบ | 16-18 กุมภาพันธ์ 2544 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | 2 รอบ | ||
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้มสไมล์ คลับ | 2 ธันวาคม 2544 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ฟ.แฟน | 30 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2545 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ | รายชื่อเพลง | |
คอนเสิร์ต ฟ.แฟน FUN FAIR | 22-23 กุมภาพันธ์ 2546 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ | รายชื่อเพลง | |
คอนเสิร์ต โอ้ละหนอ My Love | 3-4 กันยายน 2548 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | รายชื่อเพลง | |
คอนเสิร์ต เบิร์ดเปิดฟลอร์ | 8-11 มีนาคม 2550 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | แขกรับเชิญพิเศษ
|
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ต ธงไชย แฟนซี แฟนซน ร้อง..เต้น..เล่น..แต่งตัว | 30 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2552 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | ศิลปินรับเชิญ
นักดนตรีรับเชิญ |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุก[72][73] คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุก อังกอร์พลัส[74] |
25-27 กุมภาพันธ์ 2554 19-21 สิงหาคม 2554 |
อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 8 รอบ | รอบ 25–27 กุมภาพันธ์ 2554 นักดนตรีรับเชิญ
รอบ 19–21 สิงหาคม 2554 |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ต รวมวง THONGCHAI concert ตอน สุขใจนักเพราะรักคำเดียว[75][76] |
27-28 กุมภาพันธ์ 2559 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ |
|
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ต SINGING BIRD Concert By Request ตอน เพลงตามคำขอ #1/2019[77] | 2-4 สิงหาคม 2562 | รอยัล พารากอน ฮอลล์ | 3 รอบ | ศิลปินรับเชิญ นักดนตรีรับเชิญ |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ต SINGING BIRD ตอน LIFETIME SOUNDTRACK #2/2022 [78] | 11-13 พฤศจิกายน 2565 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ | รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอื่น ๆ
แก้ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ | แขกรับเชิญ | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|---|---|
คอนเสิร์ต ปาร์ตี้ ขนนกกับดอกไม้ (โครงการ 1) | 19 กุมภาพันธ์ 2538 | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | 2 รอบ | รายชื่อเพลง | |
Green Concert Vol. 3 Singing Bird | 28-29 มิถุนายน 2540 | MBK HALL มาบุญครอง | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต เบิร์ดซน เบิร์ด-เสก (ฉลอง 20 ปีแกรมมี่) | 5-6 มิถุนายน 2547 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 2 รอบ | รายชื่อเพลง | |
คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ ตอน Secret Garden (โครงการ 2 ฉลอง 30 ปีแกรมมี่) |
18-20 ตุลาคม 2556 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | แขกรับเชิญพิเศษ |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ ตอน The Original Returns (โครงการ 3 ฉลอง 20 ปี ขนนกกับดอกไม้) |
28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2558 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | รายชื่อเพลง | |
คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ ตอน Dream For Love (โครงการ 4) |
23-24 พฤศจิกายน 2567 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 2 รอบ | รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตลูกค้าธุรกิจ
แก้ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ |
---|---|---|---|
คอนเสิร์ตต้นไม้แด่ในหลวง (ปตท.) | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | ||
คอนเสิร์ตฉลองความสำเร็จธุรกิจประกันชีวิต AIA | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ | |
คอนเสิร์ต U*Star Galaxy Of Star | 22 กุมภาพันธ์ 2547 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต หารายได้ช่วยมูลนิธิเด็กโรคหัวใจของ AIS STARRY NIGHT by SERENADE |
23 สิงหาคม 2547 | โรงละครกรุงเทพ | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต KTC MILLION THANKS[79] | 28 พฤศจิกายน 2547 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต Bird & Gen-Y Style by TOYOTA | 31 ธันวาคม 2547 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต ฉลอง 9 ปี ท็อบซุปเปอร์มาร์เก็ต Happy with Thongchai Concert |
8 ตุลาคม 2548 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ตฉลอง 40 ปี HONDA | ปี พ.ศ. 2549 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ตฉลองความสำเร็จธุรกิจประกันชีวิต AACP MOVE YOUR LIFE CONCERT[80][81] |
8 ธันวาคม 2550 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต We Care Concert สิทธิผลกรุ๊ป | 6 ธันวาคม 2552 | รอยัล พารากอน ฮอลล์ | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต เบิร์ดอาสาสนุก(พิเศษ) GIFFARINE The Power of Positive Thinking ฉลองกิฟฟารีนครบรอบ 16 ปี [82] |
10 มีนาคม 2555 | ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) |
1 รอบ (ผู้ชม 2 หมื่นคน) |
คอนเสิร์ตต่างจังหวัด ต่างประเทศ ทัวร์คอนเสิร์ต
แก้ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ |
---|---|---|---|
7 สี คอนเสิร์ต | ปี พ.ศ. 2529 - 2537 | ||
โลกดนตรี | ปี พ.ศ. 2530 - 2537 | ||
ทัวร์คอนเสิร์ตมนุษย์บูมเมอแรง | ปี พ.ศ. 2533 | ||
ทัวร์คอนเสิร์ตพริกขี้หนู | ปี พ.ศ. 2534 | ||
ทัวร์คอนเสิร์ต ฟ.แฟน FUN FAIR[83] | ปี พ.ศ. 2546 | ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงราย เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา | จังหวัดละ 1 รอบ |
ทัวร์คอนเสิร์ต เบิร์ดซน เบิร์ด-เสก[84] | ปี พ.ศ. 2547 | ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ | จังหวัดละ 1 รอบ |
คอนเสิร์ต เบิร์ดคอนเสิร์ต สนุกกันใหญ่...ที่หาดใหญ่[85] | 29 สิงหาคม 2552 | ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | 2 รอบ |
คอนเสิร์ต สายใยไทย สู่ใจพ่อ[86][87] | 23 พฤษภาคม 2553 | LA,Galen Center ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา |
1 รอบ (ผู้ชม 1 หมื่นคน) |
คอนเสิร์ต สายใยไทย สู่ใจพ่อ[88][89] | 31 พฤษภาคม 2553 | Avery Fisher Hall,Lincoln Center นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
1 รอบ |
คอนเสิร์ตพิเศษอื่น ๆ
แก้ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
คอนเสิร์ต นกแล | 2529 | ||
คอนเสิร์ต เยาวชนเพื่อเยาวชน | 21-22 มีนาคม 2530 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | |
คอนเสิร์ต สองคนสองคม[90] | 1 พฤษภาคม 2530 | สนามกีฬาเวโลโดรม หัวหมาก | ร่วมกับ พรศักดิ์ ส่องแสง |
คอนเสิร์ต สวนหลวง ร.9 | 1 พฤศจิกายน 2530 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | |
คอนเสิร์ต เขียวเสียดดอย | 21 กุมภาพันธ์ 2531 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต รวมใจให้อิสานเขียว | 12 มีนาคม 2531 | ||
คอนเสิร์ต รวมน้ำใจ | 14 กรกฎาคม 2531 | นาซ่า | |
คอนเสิร์ต สร้างบ้านหลังใหม่ให้ชาวใต้ | 17 ธันวาคม 2531 | เซ็นทรัล | |
คอนเสิร์ต สายใจไทยครั้งที่ 3 | 23 กรกฎาคม 2531 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต วันเมตตา | 8 กรกฎาคม 2532 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต ดร. เทียม | 24 มีนาคม 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต วันมหิดล | 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต จิตรลดา | 21 เมษายน 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต T-Concert | 4 กรกฏาคม 2533 | เซ็นทรัลหัวหมาก | |
คอนเสิร์ต สายใจไทยครั้งที่ 5 | 8 กรกฎาคม 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงทรัมเป็ต เพลงคู่กัด โดยมีธงไชยขับร้อง[91] |
งานแสดงพิเศษในฟุตบอลเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จย่า |
3 พฤศจิกายน 2533 | สนามศุภชลาศัย | ร่วมร้องเพลงเทิดพระเกียรติ และมีการแสดงควงคฑา |
คอนเสิร์ต 100 ปี ศิริราชเพื่อตึกสยามมินทร์ | 2533 | ||
คอนเสิร์ต EARTH DAY ครั้งที่ 1 | 21 เมษายน 2534 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต 10 ปีแกรมมี่ | 9 มกราคม 2537 | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | |
Earth Day Concert ครั้งที่ 4 | เมษายน 2537 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต ถวายชัย ธ.ครองไทย 50 ปี | 1-7 มิถุนายน 2539 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต ICF เทศกาลเด็กนานาชาติ 1997 | 30 พฤษภาคม - 7 มิถุนายน 2540 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต Earth Day Concert ครั้งที่ 8 | เมษายน 2541 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่ และน้อง แด่เรวัต พุทธินันทน์ | 4-5 กันยายน 2541 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | |
คอนเสิร์ต พลังแผ่นดิน | 20 พฤศจิกายน 2542 | ลานพระบรมรูปทรงม้า | |
คอนเสิร์ต ชูใจดีเจ | 2543 | ||
คอนเสิร์ต ส.ค.ส.ช่วยครูภาคใต้ | 2544 | ท้องสนามหลวง | |
คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใช้สินค้าถูกกฎหมาย | 17 สิงหาคม 2545 | ท้องสนามหลวง | |
คอนเสิร์ต "Pattaya Music Festival 2003" | 21 มีนาคม 2546 | พัทยา | |
คอนเสิร์ต HOTWAVE BIRTHDAY CINEPLEX | 6 พฤศจิกายน 2547 | โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์ | |
คอนเสิร์ต แม่ของแผ่นดิน | 17 ธันวาคม 2547 | ราชมังคลากีฬาสถาน | |
คอนเสิร์ต หารายได้ช่วยผู้ประสอบภัยสีนามิ ด้วยแสงแห่งรัก(The Light of Love) |
13 กุมภาพันธ์ 2548 | สวนลุมพินี | |
คอนเสิร์ต 25 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค | 25 กันยายน 2548 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | แขกรับเชิญ |
คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก | 8 กรกฏาคม 2550 | เสรีเซ็นเตอร์ | |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 |
19-20 กรกฎาคม 2550 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับ กองทัพเรือ |
ในบทเพลง “ใกล้รุ่ง“ เพลง “ต้นไม้ของพ่อ และของขวัญจากก้อนดิน” |
คอนเสิร์ต King Of The King | ธันวาคม 2553 | ท้องสนามหลวง | |
จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ #42 'Saturday Jazz Fever' สาวสะดุ้ง แบนด์ VS OMAH | 11 ธันวาคม 2553 | หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ตเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ชุดรวมใจภักรักพ่อ |
5 ธันวาคม 2554 | ท้องสนามหลวง | |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 |
28-29 สิงหาคม 2555 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับกองทัพเรือ |
ในบทเพลง “ยิ้มสู้“ และเพลง “สายใยแผ่นดิน” |
คอนเสิร์ต GRAMMY WONDERLAND มันหยดหมดตึก | 6 ตุลาคม 2555 | อิมแพ็ค เมืองทองธานี | |
คอนเสิร์ตทัพฟ้าคู่ไทย เพื่อชัยพัฒนา ครั้งที่ 7 | 17-18 มิถุนายน 2556 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยกองทัพอากาศ |
ในเพลง “เธอผู้ไม่แพ้ ทำไมต้องเธอ“ และเพลง “ทหารอากาศขาดรัก”[92] |
มหาดุริยางค์ไทยสากลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว | 10 สิงหาคม 2556 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยกองดุริยางค์กองทัพไทย 3 เหล่าทัพ กองดุริยางค์ตำรวจแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ในบทเพลงพิเศษ "ขวัญแห่งแผ่นดิน[93] |
คอนเสิร์ตแสดงดนตรีและวัฒนธรรม ครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับ กลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ASEAN-Japan Music Fair [94] |
28 พฤศจิกายน 2556 | ณ NHK Hall กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
ในเพลงเรามา sing Too much so much very much Thai for japan |
ก๊อบปี้โชว์ ไทยแลนด์ | 12-21 กันยายน 2557 | ลานกลาง ชั้น1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอน บางแค | |
คอนเสิร์ตแข่งขัน เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 11 สัปดาห์ที่ 4 ในหัวข้อ "เพลงของพี่เบิร์ด" |
28 มีนาคม 2558 | เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ | ในเพลงไม่แข่งยิ่งแพ้ Feat.เกรซ หญิง จุ้งจิ้ง มาตัง เอก |
โครงการ มหกรรมดนตรีไทยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้ชื่องาน “สังคีตสามัคคีเฉลิมบรมราชกุมารี 60 พรรษา” |
25 - 26 เมษายน 2558 | ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | บทเพลงพิเศษ รัตนราชกุมารี ร่วมร้องกับวิชญาณี เปียกลิ่น |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 43 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559[95] |
28-29 มิถุนายน 2559 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับกองทัพเรือ |
ในบทเพลง “ของขวัญจากก้อนดิน“ และเพลง “สายใยแผ่นดิน” |
การแสดงดนตรี "แผ่นดินของเรา" ครั้งที่ 2 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเผยแพร่พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อพระราชทานความสุขแก่คนไทย อีกทั้งยังเป็นการขับกล่อมให้แก่ประชาชนที่มาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 8 กรกฎาคม 2560 | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เปิดพื้นที่เขตพระราชฐานพระราชวังดุสิต จัดแสดงดนตรีชุด "แผ่นดินของเรา" ณ ลานพระราชวังดุสิต จัดโดยศาลาเฉลิมกรุง[96] | ในบทเพลง “ต้นไม้ของพ่อ“ และ“ของขวัญจากก้อนดิน“ |
ตำนานล้านตลับ | 11-22 เมษายน - 24 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2561 | ซีคอน บางแค, ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ | |
วิสุทธ Cowboy Night Party | 5 เมษายน 2562 | บริเวณสนามหน้าโรงเรียนวิสุทธรังษี | |
งานแสดงมหรสพสมโภชละคร "ในสวนฝัน ผสานใจภักดิ์จงรักนฤบดี" เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[97] | 26 พฤษภาคม 2562 | สนามหลวง | ในบทเพลง “ลาวคำหอม" |
การแสดงในงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022[98] | 17 พฤศจิกายน 2565 | หอประชุมกองทัพเรือ | |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 49 เทิดพระเกียรติองค์บิดาของทหารเรือไทย “แสงทิพย์แห่งอาภากร เสียงทิพย์จากราชนาวี” เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์[99] |
20-21 มิถุนายน 2566 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับกองทัพเรือ |
ในบทเพลง “วอลซ์นาวี” เพลง “บ้านเรา” เพลง “เกียรติยศนาวี” (ร้องหมู่) |
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ,14 พฤศจิกายน 2555,เรื่อง "30 ปี แห่งที่สุดของแกรมมี่ บนเส้นทางสายดนตรี"
- ↑ "เบิร์ดนักร้องยอดนิยม เป็นระดับแนวหน้าของเอเชีย จากการจัดระดับโดยนิตยสารเอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-01. สืบค้นเมื่อ 2014-10-27.
- ↑ นิตยสารแพรว ปีที่ 31 ฉบับที่ 734 วันที่ 25 มีนาคม 2553,หัวข้อ "ผู้สร้างปรากฏการณ์หนึ่งเดียวของไทย"
- ↑ นิตยสาร FREEVIEW ฉบับที่ 12,เรื่องศิลปินที่เป็นที่สุดของทุกปรากฏการณ์
- ↑ ข่าวเจาะประเด็น ช่อง 7, 17 เม.ย. 2555, ช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ "ตอนอวสานโกโบริ",สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดของละครไทย เรตติ้ง 40
- ↑ นิตยสาร Forbes ปี 2009,นิตยสารธุรกิจและการเงินของสหรัฐอเมริกา,จัดอันดับศิลปินที่มียอดขายสูงสุดของเอเชีย
- ↑ นิตยสารแพรว ปีที่ 31 ฉบับที่ 734 วันที่ 25 มีนาคม 2553,หน้า 173,หัวข้อ "Did you know about Thongchai
- ↑ [เว็บไซต์ Sanook,19 สิงหาคม 2556,เรื่อง"10 ตำนานคอนเสิร์ต แบบเบิร์ดเบิร์ดที่ยังคงประทับใจ"]
- ↑ บทความประวัติเบิร์ด ธงไชย ใน pamphlet ASEAN- Japan music fair[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายการ "ฮัลโหลวันหยุด" ช่อง 7,คอนเสิร์ตที่สร้างปรากฏการณ์จำนวนรอบสูงสุดของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
- ↑ [รายการไนน์เอ็นเตอร์เทน ช่อง 9 ปี 2551,สรุปวงการเพลงปี 2551]
- ↑ "ปกดีวีดีคอนเสิร์ตBBBครั้งที่ 10 สร้างปรากฏการณ์ยอดผู้ชมสูงสุดในเมืองไทย กว่า 100,000 คน จาก 10 รอบการแสดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-27.
- ↑ 27 ปี 7 สีคอนเสิร์ต เวทีเกียรติยศของศิลปิน
- ↑ "ททท. แถลง 8 ก.ย. 52 เผยผลสำรวจโฆษณาเที่ยวไทยครึกครื้นที่เบิร์ดแสดงสร้างการรับรู้ให้กับคนไทยได้ถึง 99%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ ปีใหม่ 31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวแห่งเที่ยวมอหินขาวกว่า 2 หมื่น นำรายได้ให้ชัยภูมินับล้าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวทั่วสารทิศแห่เที่ยวมอหินขาว จนได้รับการโหวตติด 1 ใน 5 สถานที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ เจาะประเด็นช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ ตอนอวสานโกโบริ
- ↑ "สน-วิว-พี่เบิร์ด ถ่ายทอด "ให้" สุดซึ้ง"เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์"". ผู้จัดการออนไลน์. 2016-11-11. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
- ↑ "ย้อนตำนานค่าตัว 2 ล้านบาท กับ 3 วินาทีของ "เบิร์ด ธงไชย" ใน "2046"". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ ประวัตินางสาวไทย
- ↑ สารคดีเฉลิมพระเกียรติวาระ 150ปี พระราชสมภพ
- ↑ ตัวอย่างภาพยนตร์สารคดี My King ในหลวงของเรา
- ↑ เบิร์ด เนื้อหอม...ผู้จัดละครรุมตอม
- ↑ ก.วัฒนธรรมฯ จับมือแกรมมี่ เซลล์ฮัทฯ และช่อง 3 ส่งซีรีส์ 'เบิร์ดแลนด์ฯ…' เพื่อเยาวชน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ป๋าเบิร์ดทำลูกค้าแบงค์กรี๊ด รับคอลเซ็นเตอร์7หลัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ โฆษณาชุดเบิร์ดสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโฆษณาของ ททท.ที่สุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ททท.เลือกเบิร์ดพรีเซ็นเตอร์ เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก
- ↑ "เผยหลังดึงเบิร์ดเป็นพรีเซ็นเตอร์สร้างการรับรู้ของคนไทยถึง99%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ นักท่องเที่ยวทะลักสามพันโบกหลังดึงเบิร์ดเป็นพรีเซ็นเตอร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ททท.เลือกเบิร์ดอีกครั้งกับโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ ปีใหม่ 31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวแห่งเที่ยวมอหินขาวกว่า 2 หมื่น นำรายได้ให้ชัยภูมินับล้าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวทั่วสารทิศแห่เที่ยวมอหินขาว จนได้รับการโหวตติด 1 ใน 5 สถานที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ "กกต.เลือกเบิร์ดนำทีมเชิญชวนเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ "เปิดตัว 22 พรีเซ็นเตอร์ธรรมะฯ เสถียรธรรมสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
- ↑ สายรัดข้อมือเฉลิมพระเกียรติ...เพื่อแม่
- ↑ เบิร์ดร่วมเชิญชวนสนับสนุนเสื้อยืดยิ้มให้พ่อ[ลิงก์เสีย]
- ↑ เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์พระองค์ภา คัดเลือกเบิร์ด-ธงไชย, ชมพู่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชวนคนไทยเขียนจม.-โปสการ์ดบอกรัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-26. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
- ↑ ‘เบิร์ด’ ร่วมถ่ายโปสเตอร์รณรงค์ โครงการเครือข่ายคนรักน้องหมา - เดลินิวส์
- ↑ ""เบิร์ด" นำทีมรณรงค์อุดหนุน "ดอกป๊อปปี้" ช่วยครอบครัวทหารผ่านศึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2016-06-25.
- ↑ รายการข่าวเที่ยงวัน,ช่อง ONE 31,27 มิถุนายน 2559
- ↑ "พี่'เบิร์ด' ชวนร่วมทำบุญ บริจาคเงินซื้อเครื่องมือแพทย์ ให้กับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์". ข่าวสด. 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-17.
- ↑ "'เบิร์ด,พลพล,ลูกหว้า, มาตัง, เอิร์น,เอิ้นขวัญ'เชิญชวนอุดหนุนสินค้าการกุศลจากร้านพึ่งพาในงาน'เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2562'". แนวหน้า. 2019-04-14. สืบค้นเมื่อ 2019-06-30.
- ↑ "กกพ.ผนึก แกรมมี่ เปิดโครงการ "ไฟ จาก ฟ้า" หนุนพลังงานสะอาด". ฐานเศรษฐกิจ. 2019-08-04.
- ↑ "ให้โลกได้เห็น". ไทยรัฐ. 2021-01-12.
- ↑ ""เบิร์ด ธงไชย" วอนช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กลมชัก ผ่านโครงการ "หยุดลมชักให้ชีวิตได้ไปต่อ"". ไทยรัฐ. 2022-03-11.
- ↑ "เบิร์ด ธงไชย ปล่อย "ฟ้อนทั้งน้ำตา" ผลักดัน SOFT POWER ความเป็นไทยให้ดังระดับโลก". สนุก.คอม. 2023-03-01. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
- ↑ ""เบิร์ด ธงไชย" นั่งแท่นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ชวนเที่ยวทั่วไทย". เนชั่นออนไลน์. 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
- ↑ "ปตท. x เบิร์ด-ธงไชย อิ้งค์-วรันธร ฉลอง 45 ปี มอบเพลงพิเศษ "เธอคือพลังของฉัน" แทนคำขอบคุณ". ไทยรัฐ. 2023-07-07.
- ↑ "ครั้งแรก!! กับการโคจรมาร่วมงานกันของ "เบิร์ด-ธงไชย" และ "อิ้งค์-วรันธร" ในเพลง "เธอคือพลังของฉัน"". สยามรัฐ. 2023-07-07.
- ↑ พรีเซ็นเตอร์โค้ก 2530
- ↑ พรีเซ็นเตอร์โค้ก 2533
- ↑ ชิโยมิเด็กหญิงญี่ปุ่นในโฆษณาฟิล์มสีฟูจิของพี่เบิร์ด
- ↑ นิตยสารผู้จัดการ,กุมภาพันธ์ 2537,"วิเคราะห์ฟิล์มสีฟูจิ"
- ↑ "บทวิเคราะห์ตลาดเครื่องสำอาง U-STAR ช่วงดึงเบิร์ดเป็นพรีเซ็นเตอร์ประสบความสำเร็จสูงสุด พร้อมวิเคราะห์การตลาดหลังจากนั้นขาดความต่อเนื่อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
- ↑ Honda ดึงเบิร์ดชื่อมความผูกพันฉลอง 40 ปี พร้อมเจาะค่าตัว 50 ล้าน
- ↑ เปิดตัวนามะชะในไทยใช้เบิร์ดเป็นป๋าดันสามารถสร้าง Brand Awareness ในช่วงที่ตลาดชาเขียวเริ่มซบเซา
- ↑ สรรพากรเงี่ยหู ป๋าเบิร์ดค่าตัวโฆษณา30ล้าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ซุปตาร์ตัวจริงป๋าเบิร์ดค่าตัว 30 ล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ 2012-08-12.
- ↑ “สีเบเยอร์” ฉลอง 50 ปี ดึงซุป’ตาร์อันดับ 1 “พี่เบิร์ด-ธงไชย” เป็นพรีเซนเตอร์ ช่วยดันยอดขาย
- ↑ "ซี้ดเบิร์ดฟัน30ล้านค่าจ้างพรีเซนเตอร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-03. สืบค้นเมื่อ 2012-09-18.
- ↑ พี่เบิร์ดนั่งแท่นพรีเซนเตอร์สีเบเยอร์ปี2.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1fEu20G[ลิงก์เสีย]
- ↑ ไทยรัฐ:'เบิร์ด' ปัดฟันค่าตัวดาวคอฟฟี่ 100 ล้าน
- ↑ คมชัดลึก:‘เบิร์ด’โต้ค่าตัวโฆษณาร้อยล้านขอโทษเกิดข้อผิดพลาดงานที่ลาวเก็บถาวร 2016-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ทำไม? พี่เบิร์ด ถึงยอมเป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ “สวอนเลค เขาใหญ่”
- ↑ สวอนเลค ดึง "เบิร์ด ธงไชย" โปรโมทโครงการเขาใหญ่
- ↑ เบิร์ด ธงไชย โต้ฟาดค่าตัวพรีเซ็นเตอร์คอนโด 40 ล้าน!
- ↑ ""สวอนเลค เรสซิเด้นซ์ เขาใหญ่" สร้างเซอร์ไพรส์เหนือคาด พร้อมเปิดเฟสสุดท้ายด้วยแคมเปญ "สวอนเลค สวอนเดอร์แลนด์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 2017-06-12.
- ↑ "เปิดตัว "3 พี่น้องตระกูลชี่" นำโดย "เบิร์ด-ธงไชย" "ก้อง-สหรัถ" และ "ต่อ-ธนภพ" ครั้งแรกของการรวมพลังการทำงานร่วมกันของ 3 ซูเปอร์สตาร์ของเมืองไทย". มติชน. 2021-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
- ↑ "CardX รับโอนธุรกิจ SCB ดึง เบิร์ด-ธงไชย ปลุกเชื่อมั่นสินเชื่อ AI". โพสต์ทูเดย์. 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "ตัวเต็มมาแล้ว!! CardX กับบทเพลงพิเศษ "ทดลองใช้" Version เป็นได้อีกเยอะ". สยามรัฐ. 2022-12-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-08.
- ↑ "แฟนนับหมื่นแห่มากรี๊ดเบิร์ดอาสาสนุก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-21. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
- ↑ คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุกสนุกทั้งอิมแพ็ค
- ↑ คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุกอังกอร์พลัสแน่นขนัด
- ↑ "พี่เบิร์ด นำทัพขบวนความสนุกสุขใจ แถลง "รวมวงธงไชย คอนเสิร์ต"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
- ↑ "พี่เบิร์ด จัดใหญ่! คอนเสิร์ต รวมวงธงไชย เปิดตัว Guest สายโจ๊ะ โดด แดนซ์ ครบวง!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-06. สืบค้นเมื่อ 2015-12-13.
- ↑ ไทยรัฐ 5 มิถุยายน 2562 "SINGING BIRD เพิ่มรอบ "เบิร์ด-ธงไชย" ขอบคุณแฟนๆ"
- ↑ "ช่องทางซื้อบัตร! ลำไยลองกอง ของดี เบิร์ด แรงจนเพิ่มรอบคอนเสิร์ต". ทรู. 2022-08-02. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
- ↑ KTC ฉลองบัตรเครดิตครบล้านใบ มอบ KTC Million Thanks คอนเสิร์ตกับเบิร์ด ธงไชย
- ↑ เอเอซีพีประกาศความยิ่งใหญ่ขึ้นแท่นเบอร์ 2 ของธุรกิจประกันชีวิต พร้อมฉลองความสำเร็จกับงานงาน AACP Day# 3: Move Your Life
- ↑ "ตู่ แอม มาช่า แจมคอนเสิร์ตเบิร์ด Move your life เรตติ้งดีไม่มีตก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
- ↑ งานฉลองครบรอบ 16 ปี กิฟฟารีน กว่า 2 หมื่นคน/[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สนุกไม่มียั้ง คอนเสิร์ต ฟ.แฟน ฟันแฟร์ ของ เบิร์ด ธงไชย". สยามโซน.คอม. 2003-02-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ "ช่อง 3 นำภาพ "เบิร์ดซน เบิร์ด-เสก" ออกอากาศเอาใจแฟน 12 ก.ค.นี้". อาร์วายทีไนท์. 2004-07-17. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ เบิร์ดซุปเปอร์สตาร์ตลอดกาลของเมืองไทย
- ↑ อลังการงานสร้างคอนเสิร์ตเบิร์ด in LA
- ↑ ฺBird live in USA ข่าวจาก www.konthaiusa.com
- ↑ "แรงไม่หยุดคอนเสิร์ตเบิร์ด in New York". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
- ↑ คอนเสิร์ตเบิร์ดนิวยอร์ก ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาชม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""พี่เบิร์ด" ส่งโพสต์อาลัย "พรศักดิ์ ส่องแสง" 30 ปีที่ไม่เคยลืม". เนชั่นทีวี. 2021-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ ""สมเด็จพระเทพฯ" ทรงทรัมเป็ตเพลง "คู่กัด" ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย โดยมี "เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์" เป็นนักร้องยืนเคียงพระองค์". ทีนิวส์. 2017-04-28. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ พี่เบิร์ดร้องเพลงทหารอากาศขาดรักงานทัพไทยคู่ฟ้า
- ↑ เบิร์ดและลูกหว้าร้องเพลงพิเศษขวัญแห่งแผ่นดิน
- ↑ เบิร์ด-ธงไชยได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน ASEAN-Japan Music Fair ณ ประเทศญี่ปุ่น
- ↑ กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 43
- ↑ ศาลาเฉลิมกรุง 7 กรกฎาคม 2560 การแสดงดนตรีชุด "แผ่นดินของเรา" ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 เวลา 19.30 น. ณ ลานพระราชวังดุสิต
- ↑ เดลินิวส์ 22 พฤษภาคม 2562,"เบิร์ด" ปลาบปลื้มร่วมแสดงละคร "ในสวนฝันฯ"... อ่านต่อที่ : หนังสือพิมพ์ dailynews
- ↑ "'พี่เบิร์ด' มาแน่ ! โชว์ร้องเพลงงานเลี้ยงผู้นำเอเปค". bangkokbiznews. 2022-11-14.
- ↑ "เบิร์ด-จิ๋ว โชว์พลังเสียง ร่วมวงซิมโฟนีออเคสตร้า ในงานกาชาดคอนเสิร์ต". สปริงนิวส์. 2023-06-30.