ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (อังกฤษ: The 60th Anniversary of His Majesty the King’s Accession to the Throne International Convention Center) เป็นศูนย์ประชุมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อเป็นรองรับการจัดการประชุมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ, การจัดแสดงนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล[1]

ศูนย์ประชุมนานาชาติ
ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
The 60th Anniversary of His Majesty the King’s Accession to the Throne International Convention Center
บริเวณด้านหน้าศูนย์ประชุม
ชื่อเดิมศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(Prince of Songkla University International Convention Center: PSUICC)
ข้อมูลทั่วไป
เมืองตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเทศไทย ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2549
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกกมล ทัศนาญชลี
เว็บไซต์

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีชื่อเดิมว่า ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Prince of Songkla University International Convention Center: PSUICC) ซึ่งต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือที่ นร 0508/ท 6969 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 แจ้งเรื่องการขอพระราชทานชื่ออาคารศูนย์ประชุมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญตราสัญลักษณ์การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มาประดิษฐานที่ป้ายชื่อศูนย์ประชุม[1]

การแบ่งพื้นที่ภายในอาคาร แก้

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีพื้นที่ 54.68 ไร่ ส่วนประกอบของอาคาร ประกอบด้วยสามส่วน คือ[2]

  • โซน A เป็นที่ตั้งของห้องประชุมรอง (Conference Hall) พื้นที่ 960 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 900 คน ห้องประชุมสัมมนา (Seminar Room) จำนวน 8 ห้อง พื้นที่รวม 400 ตารางเมตร ลานเอนกประสงค์ และศูนย์อาหาร
  • โซน B ลานกิจกรรม พื้นที่ 3,930 ตารางเมตร ใจกลางของลานเป็นที่ตั้งของประติมากรรมทรงดินสอ ที่ออกแบบโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พ.ศ. 2540
  • โซน C เป็นที่ตั้งของห้องประชุมประธาน (Convention Hall) พื้นที่ 3,300 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 3,500 คน

สำหรับการบริหารงาน บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นผู้ดูแลด้านการบริหารทั้งหมด[3]

งานที่จัดในศูนย์ประชุม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "พระราชทานชื่อศูนย์ประชุม ม.อ. "ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.
  2. ม.อ.วางศิลาฤกษ์ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ [ลิงก์เสีย]
  3. "มอ.ทาบ'เอ็น.ซี.ซี.'บริหารศูนย์ประชุมนานาชาติหาดใหญ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้