นกแล (อังกฤษ: Noklae) เป็นภาษาถิ่นเหนือ แปลว่า นกแก้ว ตั้งชื่อวงเป็นทางการโดย จรัล มโนเพ็ชร เป็นวงดนตรีสัญชาติไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 เจ้าของเพลง ‘หนุ่มดอยเต่า’ ที่สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2528

นกแล
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงเพลงสตริง
อาชีพนักดนตรี, นักร้อง
ช่วงปี2523 - 2533
2546 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
เว็บไซต์http://monnoklae.com/

ประวัติ แก้

วงนกแล มีอาจารย์สมเกียรติ สุยะราช อดีตอาจารย์ผู้สอนโรงเรียนพุทธิโสภณ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ควบคุมวง โดยเริ่มต้นจากการคัดเด็กมาเป็นนักดนตรีวงดุริยางค์ และให้เด็กๆ แต่งกายชุดชาวเขา

ปี พ.ศ. 2526 นกแลเริ่มตั้งเป็นวงสตริง โดยหาเครื่องดนตรีมาให้เด็กๆ เล่นดนตรีกันเอง จนเริ่มเข้าตาแมวมอง และได้ขึ้นเวทีใหญ่แห่งแรก คือ รายการ 'โลกดนตรี' ที่มี เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เป็นโฆษก ซึ่งในวันนั้นนกแลได้เล่นเป็นวงเปิดคอนเสิร์ทให้กับวง พิ้งค์แพนเตอร์ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลา ทำให้วงมีโอกาสแสดงเพียง 3 เพลง (ในวันนั้นคอนเสิร์ทโลกดนตรีได้จัดขึ้นที่ริมอ่างเก็บน้ำกาแล ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

หลังจากนั้นอีกไม่นาน อาจารย์สมเกียรติก็ได้รับโทรศัพท์ติดต่อให้นำวงดนตรีนกแลไปเล่นแบบเต็มวงที่ลานโลกดนตรีช่อง 5 สนามเป้า และวันนั้นเองที่ เรวัต พุทธินันทน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งค่ายเพลงแกรมมี่ ได้มีโอกาสชมการแสดง จึงนำมาสู่การทำอัลบั้มเพลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2528 โดยใช้ชื่อชุด ‘หนุ่มดอยเต่า’ จนสร้างปรากฏการณ์กลายเป็นเพลงฮิตไปทั่วประเทศ

นกแลมีอัลบั้มเพลงกับแกรมมี่จำนวน 5 ชุด คือ หนุ่มดอยเต่า (2528), อุ๊ย (2529), สิบล้อมาแล้ว (2530), ช้าง (2531) และ ทิงนองนอย (2532) ด้วยเสียงร้องกวนๆ ของทินกร ศรีวิชัย เจ้าของเพลง หนุ่มดอยเต่า หรือความน่ารักสดใสของ ‘ตุ๊ดตู่’ ในเพลง ‘อย่าลืมน้องสาว’ กับการเล่นดนตรีของสมาชิกทั้งหมดซึ่งอยู่ในวัยเด็ก ทำให้ชื่อของนกแล กลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของวง

ภาพยนตร์เรื่อง ‘แฟนฉัน’ (2546) ที่มีเหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2528 โดยผู้กำกับทั้ง 6 คน ได้เลือกใช้เพลง ‘คอนเสิร์ตคนจน’ ของวงนกแล มาประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

สมาชิกวงนกแล มีมาแล้ว 15 รุ่น หมุนเวียนเข้าออกผลัดเปลี่ยนกันไป

สมาชิกวงในยุคแกรมมี่ (2528-2532) แก้

  • ครูสมเกียรติ สุยะราช : ควบคุมวง, กีตาร์
  • นพดล สุยะราช (แจ๊ค): กีตาร์ (2530-2532)
  • สุวิทย์ ไชยช่วย (หนึ่ง 1): กลอง, ร้องนำ (2528-2529)
  • ปรัชญา ปัญจปัญญา (หนุ่ม 1): คีย์บอร์ด, ร้องนำ
  • โสฬส สุขเจริญ : กีตาร์ (2528-2529)
  • ทิพย์พร นามปวน (นก): เบส
  • ทินกร ศรีวิชัย (ยัน): กลองบองโก้, ทรัมเป็ท, ร้องนำ
  • อุดร ตาสุรินทร์ (ดร): กลอง, ทรอมโบน, กลองทอมบ้า, กลองทิมบาเลส
  • ศิริลักษณ์ จุมปามณีวร (น้อย): ร้องนำ, กลองทอมบ้า, เทนเน่อร์ แซ็คโซโฟน
  • ดาราภรณ์ ศรีวิชัย (หนึ่ง 2): ร้องนำ, จังหวะ, ทรัมเป็ท
  • แพรวพราว ไชยทิพย์ (ตุ๊กตา): โฆษก, จังหวะ, อัลโต้ แซ็คโซโฟน (2528-2531)
  • อภิชาติ ขันแข็ง (เอ): ร้องนำ, เครื่องเคาะ (2529-2531)
  • ศรัญญา อุปพันธ์ (ตุ๊ดตู่): ร้องนำ (2529-2532)
  • สุพรรณิการ์ เมธาปริญญา (กุ๊กไก่): ร้องนำ (2530-2532)

อัลบั้ม แก้

  • หนุ่มดอยเต่า (2528)
    • หนุ่มดอยเต่า
    • มาโรงเรียน
    • ร้องไห้หาแม่
    • สุดสาคร
    • นกแล
    • กิ๋นกำหน้อย
    • เลือกเกิดไม่ได้
    • อย่าหลงผิด
    • กระต่ายน้อย
    • คืนถิ่น
  • อุ๊ย (2529)
    • อุ๊ย
    • ลองดู
    • ลักเตี่ยว
    • สงกรานต์
    • ดอยเต่าอินเจแปน
    • พร้อมใจ
    • บ้านเฮา
    • อย่ากินทิ้งขว้าง
    • ลูกแม่ระมิงค์
    • ก.ไก่กินข้าว
    • บ่ถ้ากี๊ดนัก
  • สิบล้อมาแล้ว (2530)
    • สิบล้อมาแล้ว
    • ค.ย.คำย่อ
    • อย่าลืมน้องสาว
    • มีวัวมาขาย
    • รอไปก่อน
    • สบายใจไทยแลนด์
    • หมาน้อยเอย
    • ลูกทหาร
    • เกิดเป็นเทวดา
    • เกิดเป็นคน
  • ช้าง (2531)
    • ช้างชื่อน้อย
    • คนเดียวโด่เด่
    • คนพลัดถิ่น
    • ไอ้หนุ่มผมยาว
    • ลูกสาวเชียงใหม่
    • เรื่องเก่าเล่าใหม่
    • ครูขา
    • กบ อ๊บ อ๊บ
    • คิดถึงพ่อ
    • จ.จาน จ.จน
    • คอนเสิร์ตคนจน
  • ทิงนองนอย (2532)
    • ปุ๊บปั๊บ
    • ติดอ่าง
    • เราสองคน
    • จุกตาย
    • พี่สาว
    • ทิงนองนอย
    • ซุบซิบ
    • ลาก่อน กทม.
    • ปลูกป่า
    • แบบไทยไทย

เชิงอรรถ แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้